Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 5 การประเมินและ การปรับปรุงนวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศ…
บทที่ 5 การประเมินและ
การปรับปรุงนวัตกรรม
และเทคโนโลยีสารสนเทศ
วัตถุประสงค์การเรียนรู้
เพื่อศึกษารูปแบบการประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรมและเทคโนโลยี
สารสนเทศ
นักศึกษาสามารถประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศได้
การประเมินและการปรับปรุงนวัตกรรมและเทคโนโลยี
สารสนเทศ
การประเมินสื่อการเรียนการสอนนับว่าเป็นขั้นตอนที่สาคัญมากอีกขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอนการประเมินสื่อการเรียนการสอนมักจะควบคู่ไปกับวิธีการประเมินไปด้วย การประเมินสื่อเป็นการพิจารณาประสิทธิภาพและคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนซึ่งถ้าจะให้ได้ผลดีนั้นควรจะมีการประเมินสื่อนั้นเมื่อมีการใช้สื่อเป็นครั้งแรกเพื่อการปรับปรุงการใช้สื่อในครั้งต่อไป
ความหมายของการประเมินผลสื่อการเรียนรู้
การประเมินผลสื่อการเรียนรู้ หมายถึง การนาเอาผลการวัดและประเมินสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย ( Interpretation ) และ ตัดสินคุณค่า ( Value Judgment ) เพื่อที่จะรู้ว่าสื่อนั้นทาหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใด มีลักษณะถูกต้องตามที่ต้องการหรือไม่ประการใด จะเห็นได้ว่าการประเมินผลสื่อการเรียนรู้กระทาได้โดยการพิจารณาจากข้อมูลที่ได้จากการวัดผลสื่อการเรียนรู้นั้นเทียบกับวัตถุประสงค์ที่กาหนดไว้ ข้อมูลที่ได้จากการวัดผลซึ่งมีความสาคัญ
ความสาคัญของการประเมินผลสื่อการเรียนรู้
ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนและคุณภาพของการเรียนการสอน
ได้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพของสื่อการเรียนรู้
เกิดการพัฒนาการใช้สื่อการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
สร้างความมั่นใจและอานวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนรู้
วิธีการประเมินผลสื่อการเรียนรู้
การประเมินโดยผู้สอน
การประเมินโดยผู้ชานาญ
การประเมินโดยคณะกรรมการเฉพาะกิจ
การประเมินผลโดยผู้เรียน
การประเมินประสิทธิภาพของสื่อ
การประเมินผลโดยตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
1.การประเมินโดยผู้สอน ผู้สอนควรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการสอน เคยได้รับการฝึกอบรมจนมีความรู้ความชานาญเกี่ยวกับการผลิตและการใช้สื่อและมีประสบการณ์ในการใช้สื่อการเรียนการสอนมาเป็นอย่างดี
การประเมินโดยผู้ชานาญ
ผู้ชานาญในที่นี้ หมายถึง ผู้ชานาญด้านสื่อการเรียนการสอนและจะต้องมีประสบการณ์ด้านการประเมินด้วย ดังนั้น ผู้ชานาญอาจเป็นผู้สอน เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่สอนในสาขาวิชาสื่อและเทคโนโลยีการศึกษา รวมทั้งอาจารย์ด้านการวัดผลและการประเมินผลที่มีความรู้ความสามารถด้านสื่อการเรียนการสอน เป็นต้น
การประเมินโดยคณะกรรมการเฉพาะกิจ
คณะกรรมการเฉพาะกิจเพื่อประเมินสื่อการสอนเป็นกลุ่มบุคคลที่หน่วยงานแต่งตั้งขึ้นมาประเมินสื่อ ซึ่งลักษณะของกรรมการชุดนี้จะประเมินคุณลักษณะ ประสิทธิภาพการใช้และคุณลักษณะด้านอื่นๆของสื่อการเรียนการสอนด้วย
การประเมินผลโดยผู้เรียน ผู้เรียนเป็นเป้าหมายสาคัญของการใช้สื่อการเรียนการสอน ผู้เรียนเป็นผู้ใช้สื่อหรือเรียนรู้จาสื่อการเรียนรู้นั้นๆ หรือได้ใช้ประสาทสัมผัสกับสื่อการเรียนรู้นั้นในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งหรือหลายรูปแบบ
การประเมินประสิทธิภาพของสื่อ
เป็นอีกวิธีหนึ่งที่อาจทาได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งการประเมินประสิทธิภาพของสื่อนั้นสื่อที่จะต้องได้รับการประเมินประสิทธิภาพส่วนใหญ่จะเป็นสื่อที่ผลิตขึ้นตามหลักการของการสอนแบบโปรแกรม เช่น บทเรียนโปรแกรมชุดการสอนโมดุลและโสตทัศนูปกรณ์โปรแกรม เป็นต้น
การประเมินผลโดยตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
การประเมินผลสื่อการเรียนรู้โดยตรวจสอบผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน เป็นการหาประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอนเพื่อหาความเที่ยงตรง และนับว่าเป็นการพิสูจน์คุณภาพและคุณค่าของสื่อการเรียนรู้นั้น การประเมินผลโดยวิธีนี้จะต้องมีการวัดว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง โดยวัดเฉพาะผลที่เป็นจุดประสงค์ของการสอนที่เกิดจากการใช้สื่อการเรียนรู้นั้นๆ
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จะเป็นเครื่องมือวัดความรู้ของผู้เรียนภายหลังการเรียนจากสื่อแล้ว
แบบทดสอบความถนัดเพื่อวัดสมรรถนะของผู้เรียนภายหลังที่เรียนจากสื่อ
แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสารวจซึ่งเครื่องมือนี้จะประกอบด้วยข้อความหรือคาถามต่างๆเกี่ยวกับสื่อหรืออาจจะมีช่องว่างให้เติมข้อความด้วยก็ได้ เครื่องมือลักษณะนี้ใช้ประเมินได้กับทุกกลุ่มเรียน
การสังเกตเป็นการเฝ้าดูผลที่เกิดขึ้นจากการใช้สื่อการสอนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการใช้
การสัมภาษณ์เป็นการซักถามและพูดคุยกับทั้งผู้ผลิต ผู้ใช้และผู้เรียนเกี่ยวกับสื่อนั้น เพื่อนาข้อมูลมาประกอบพิจารณาในการประเมินสื่อ ลักษณะของเครื่องมือการประเมินสื่อการเรียนการสอน