Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มะเร็งต่อมไทรอยด์
(Thyroid Cancer) oral-thyroid-surgery-thairath-insert…
มะเร็งต่อมไทรอยด์
(Thyroid Cancer)
-
อาการของมะเร็งไทรอยด์
มะเร็งไทรอยด์ในระยะแรกมักไม่แสดงอาการใด ๆ ออกมา แต่เมื่อเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตขึ้น ผู้ป่วยอาจคลำพบก้อนนูนใต้ผิวหนังบริเวณกึ่งกลางลำคอ ซึ่งอาจพบเพียงก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ และอาจพบอาการป่วยอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนี้
เสียงแหบลง เนื่องจากก้อนเนื้อมะเร็งโตขึ้นจนเบียดทับหรือลุกลามไปยังเส้นประสาทของกล่องเสียงที่ติดอยู่กับต่อมไทรอยด์ หรือไอบ่อยทั้งที่ไม่ได้เป็นหวัด
หายใจลำบากหรือหายใจมีเสียงหวีด เนื่องจากก้อนมะเร็งโตขึ้นจนเบียด กดทับ หรือลุกลามเข้าไปที่หลอดลม ซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์
-
กลืนลำบาก หรือรู้สึกเจ็บขณะกลืน เนื่องจากก้อนเนื้อมะเร็งโตขึ้นจนเบียด กดทับ หรือลุกลามเข้าไปที่หลอดอาหาร ซึ่งเป็นอวัยวะที่อยู่ติดกับต่อมไทรอยด์
-
สาเหตุของมะเร็งไทรอยด์
มะเร็งไทรอยด์เป็นการกลายพันธุ์ของสารพันธุกรรมในต่อมไทรอยด์ที่ทำให้เซลล์ต่าง ๆ เพิ่มจำนวนขึ้นและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถควบคุมได้ และทำให้เกิดก้อนเนื้อมะเร็งขึ้นในที่สุด ซึ่งในปัจจุบันยังไม่สามารถบอกได้อย่างแน่ชัดว่ามะเร็งไทรอยด์เกิดจากสาเหตุใด แต่มีหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งไทรอยด์
เพศ แม้มะเร็งไทรอยด์จะเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่มีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นกับเพศหญิงได้มากกว่าเพศชายถึง 3 เท่า
-
กรรมพันธุ์ โรคทางพันธุกรรมบางชนิดมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งไทรอยด์ รวมถึงผู้ที่มีญาติสายตรง อันได้แก่ พ่อ แม่ พี่ น้อง ที่เป็นมะเร็งไทรอยด์ ก็จะมีแนวโน้มของการเกิดโรคนี้เพิ่มขึ้น
โรคประจำตัว การเจ็บป่วยด้วยโรคบางอย่างอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งไทรอยด์ได้ เช่น โรคที่เกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ โรคอ้วน รวมถึงความผิดปกติของฮอร์โมนบางชนิด เป็นต้น
ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีไอโอดีนน้อยเกินไป นอกจากจะทำให้เกิดคอพอกหรือโรคเอ๋อแล้ว หากร่างกายมีระดับไอโอดีนต่ำอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งไทรอยด์ได้ด้วยเช่นกัน
การสัมผัสกับรังสี เช่น การฉายรังสีบริเวณศีรษะหรือลำคอเพื่อรักษาโรคในวัยเด็ก รวมถึงเคยประสบอุบัติเหตุเกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าหรืออาวุธนิวเคลียร์ อาจเพิ่มความเสี่ยงเผชิญโรคนี้ได้ ซึ่งความเสี่ยงจะขึ้นอยู่กับปริมาณรังสีที่ได้รับด้วย แต่ผู้ใหญ่ที่ได้รับรังสีจะเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งไทรอยด์ได้น้อยกว่าเด็ก
-
การรักษามะเร็งไทรอยด์
ผู้ป่วยมะเร็งไทรอยด์อาจได้รับการดูแลรักษาจากทีมแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจากสหวิชาชีพ เพื่อวางแผนวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับชนิดและระยะโรคของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งการรักษามะเร็งไทรอยด์อาจทำได้หลายวิธี ดังต่อไปนี้
-
-
-
-
-
-
-
การป้องกันมะเร็งไทรอยด์
-
รับประทานอาหารที่มีไอโอดีนสูง เช่น นม ไข่ ธัญพืช กุ้ง ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน หรืออาหารที่ปรุงด้วยเกลือเสริมไอโอดีน เป็นต้น
ปรึกษาแพทย์เพื่อผ่าตัดต่อมไทรอยด์ สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น มีสมาชิกในครอบครัวเป็นมะเร็งไทรอยด์หรือมีประวัติการกลายพันธุ์ของสารพันธุกรรมในต่อมไทรอยด์
ลดความเสี่ยงจากรังสี สำหรับผู้ที่ต้องอาศัยอยู่หรือทำงานใกล้กับรังสี ควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการดูแลสุขภาพ รวมทั้งอาจรับประทานยาโพแทสเซียมไอโอไดด์ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งไทรอยด์
-
-
-
-
-