Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 4 ทฤษฎีการออกแบบ การสร้าง และการประยุกต์ใช้นวัตกรรม …
บทที่ 4
ทฤษฎีการออกแบบ การสร้าง
และการประยุกต์ใช้นวัตกรรม
และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ทางการศึกษา :red_flag:
นวัตกรรม หรือ นวกรรม มาจากคำว่า “นว” หมายถึง ใหม่ และ
“กรรม” หมายถึง การกระทำ
นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมาย
ถึง สิ่งใหม่ที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษา
นวัตกรรมการเรียนการสอน (Instructional Innovation) หมายถึง สิ่งใหม่ที่
นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
นวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Innovation) หมายถึง สิ่งใหม่ที่นำมาใช้ให้
ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ ในการนำนวัตกรรมมาใช้เพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพของการสอนซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน แต่บางครั้งมีการนำนวัตกรรมมาใช้ เพื่อแก้ปัญหาของผู้เรียน
องค์ประกอบของนวัตกรรมการเรียนรู้
วัตถุประสงค์เป็นส่วนที่บอกว่านวัตกรรมนั้นใช้เพื่อพัฒนาอะไร
แนวคิดพื้นฐาน
เป็นส่วนที่ทำให้นวัตกรรมมีความน่าเชื่อถือว่าเมื่อนำไปใช้ จะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ดังนั้นทฤษฎี หลักการ ที่นำมาใช้เป็นแนวคิดพื้นฐาน ต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และให้แนวทางในการจัดกิจกรรม
โครงสร้างหรือขั้นตอนการใช้เป็นส่วนที่แสดงภาพรวมของนวัตกรรมถ้านวัตกรรม
เป็นวัตถุ สิ่งของถ้านวัตกรรมจะมีโครงสร้างที่แสดงส่วนประกอบต่างๆเช่น ชุดการสอนแผนจุฬา
การประเมินผลเป็นส่วนที่แสดงความสำเร็จของนวัตกรรมโดย
จะระบุวิธีวัดผล เครื่องมือที่ใช้วัดผล และวิธีการประเมินผลหากใช้วิธีประเมินผลที่ต่างออกไป
เป้าหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา
เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น
เพื่อทำให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาที่วางไว้
เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายได้ดี
การออกแบบและพัฒนานวัตกรรม
ศึกษาประเภทของนวัตกรรม
ศึกษาวิธีการสร้าง
ศึกษาหลักสูตรการศึกษา
ลงมือสร้าง
ทดลองใช้ในการจัดการเรียนการสอน และปรับปรุง
ประเมินผล
การสร้างนวัตกรรม
ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร และจะแก้อย่างไร ประเด็นนี้มีความสำคัญ
นำปัญหาที่พบมาวาดเป็นภาพ โดยลงข้อมูลที่สำคัญ ๆ
นำภาพที่ได้มาวิเคราะห์ หาสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไรและจะแก้ไขได้
การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation)การกระทำใหม่ การสร้างใหม่ หรือการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งใดๆ แล้วทำให้การศึกษาหรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม ทำให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มีแรงจูงใจในการเรียน ทำให้เกิดประสิทธิภาพ