Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax) (ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอ…
ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax)
ภาวะที่มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอด สามารถแบ่งออกได้เป็น
Spontaneous Pneumothoraxหมายถึง ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดซึ่งเกิดขึ้นเองในผู้ป่วยที่ไม่มีพยาธิสภาพที่ปอดมาก่อน (primary spontaneous pneumothorax; PSP) หรือในผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพในปอดอยู่เดิม (secondary spontaneous pneumothorax)
Iatrogenic Pneumothorax
หมายถึง ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดซึ่งเกิดภายหลังการกระทำหัตถการทางการแพทย์ เช่น การเจาะดูดน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด การตัดชิ้นเนื้อปอด เป็นต้น
Traumatic Pneumothorax
หมายถึง ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดซึ่งเกิดในผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุ
Primary Spontaneous Pneumothorax
คือภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดซึ่งเกิดขึ้นเองในผู้ป่วยที่ไม่มีพยาธิสภาพที่ปอดมาก่อน มักพบในผู้ป่วยเพศชายมากกว่าเพศหญิง คิดเป็นอัตราส่วน 15 รายต่อผู้ป่วยหนึ่งแสนรายต่อปี และ 5 รายต่อผู้ป่วยหนึ่งแสนรายต่อปี ตามลำดับ โดยมักจะเกิดขึ้นในผู้ป่วยที่สูงมาก รวมถึงผู้ป่วยกลุ่มโรคทางพันธุกรรมอื่น ๆ เช่น Marfan’s syndrome เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบว่าภาวะนี้มีความสัมพันธ์กับการสูบบุหรี่
อาจเกิดจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจขนาดเล็ก (small airway obstruction) ซึ่งเกิดขึ้นจากการที่มีเซลล์อักเสบ (inflammatory cell) ภายในทางเดินหายใจขนาดเล็กมากกว่าปกติ เป็นผลให้ถุงลมมีการโป่งขยาย (emphysema-like changes; ELC) คล้ายภาวะที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (chronic obstructive pulmonary diseases; COPD)
Secondary Spontaneous Pneumothorax
ภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด ซึ่งเกิดในปอดที่มีพยาธิสภาพอยู่เดิมพบในผู้ป่วยชายมากกว่าผู้หญิง คิดเป็นอัตราส่วนประมาณ 3 ต่อ 1 โดยพบมากที่สุดในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD) ประมาณ 50-70% นอกจากนั้นยังพบได้ในผู้ป่วยมะเร็งปอด และผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อของปอด รวมถึงผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น cystic fibrosis เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงแตกต่างกันขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น ปริมาณของลมที่รั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด อัตราเร็วในการสะสมของลมที่รั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด และความผิดปกติของปอดเดิมของผู้ป่วย เป็นต้น โดยอาการที่อาจพบ ได้แก่ เจ็บหน้าอกข้างเดียวกับที่มีลมรั่ว เหนื่อย หายใจไม่สะดวก แน่นหน้าอก อาการแสดงที่สามารถตรวจพบได้ เช่น การขยับตัวของทรวงอกลดลงในข้างที่มีลมรั่ว (decrease lung expansion) การได้ยินเสียงหายใจเบาลง และเคาะทรวงอกได้เสียงโปร่งมากกว่าปกติ (hyperresonance) เป็นต้น
หากผู้ป่วยที่สงสัยภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดและมีความผิดปกติของสัญญาณชีพ ให้คิดถึงภาวะ tension pneumothorax ด้วย เนื่องจากต้องการการรักษาอย่างรีบด่วนเพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย
การตรวจวินิจฉัย
การตรวจภาพถ่ายรังสีของปอด
การตรวจภาพถ่ายรังสีของปอดถือว่าเป็นการตรวจที่สามารถทำได้ง่าย และมีประโยชน์ในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษา
การตรวจด้วยอัลตราซาวนด์ (Ultrasonography)
ในปัจจุบันพบว่ามีการนำอัลตราซาวนด์มาเพื่อช่วยในการวินิจฉัยผู้ป่วยภาวะลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดมากขึ้น โดยเฉพาะในห้องฉุกเฉิน ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถยืนหรือนั่งได้ และในผู้ป่วยอุบัติเหตุ เป็นต้น
การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (Computerized tomography; CT scan)
การตรวจ CT scan ถือว่าเป็นการตรวจวินิจฉัยที่เป็นมาตรฐาน (gold standard) สามารถให้การวินิจฉัยและคำนวณปริมาณลมที่รั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดได้โดยมีความแม่นยำสูงที่สุด นอกจากนั้นยังสามารถตรวจพบพยาธิสภาพในปอดอื่น ๆ ได้ เช่น small pneumothorax, loculated pneumothorax เป็นต้น
การรักษา
การกำจัดลมที่รั่วอยู่ในช่องเยื่อหุ้มปอด ซึ่งวิธีการรักษาจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยพิจารณาร่วมกับขนาดของลมที่รั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด เพื่อเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม
จากนั้นยังมีวิธีในการช่วยกำจัดลมที่รั่วในช่องเยื่อหุ้มปอดด้วยวิธีอื่น ได้แก่ การเจาะดูดลมในช่องเยื่อหุ้มปอด (needle aspiration) และการใส่สายระบายทรวงอก (intercostal drainage)
การเจาะดูดลมในช่องเยื่อหุ้มปอดสามารถทำได้โดยจัดท่าผู้ป่วยในท่านอนหงาย และยกหัวสูงทำมุมประมาณ 45 องศากับพื้นราบ ระหว่างการเจาะให้ผู้ป่วยดมออกซิเจน และมีการตรวจวัดสัญญาณชีพและปริมาณออกซิเจนในเลือด ตำแหน่งที่จะทำการเจาะ ได้แก่ ช่องระหว่างกระดูกซี่โครงที่ 2 และ 3 บริเวณกึ่งกลางของกระดูกไหปลาร้า (mid clavicular line)