Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคไข้รากสาดใหญ่ (Scrub Typhus) (อาการ มักจะเกิดขึ้นภายใน…
โรคไข้รากสาดใหญ่ (Scrub Typhus)
ความหมาย
Scrub Typhus (โรคสครับไทฟัส) หรือโรคไข้รากสาดใหญ่ เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในกลุ่มริกเก็ตเซีย (Rickettsia) มีไรอ่อนเป็นพาหะนำโรค ซึ่งไรอ่อนมักจะอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ หรือทุ่งหญ้าในป่าละเมาะ เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้ออาจทำให้เกิดอาการ เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดตามตัว มีผื่นคัน คลื่นไส้และอาเจียน
พยาธิสภาพ
เชื้อ R. orientalis อาศัยอยู่ในระบบทางเดินอาหารของไรหลายชนิด โดยเฉพาะ Leptothh2rombidium akamushi และ L. deliense ตัวแก่ของไรทั้งสองชนิดนี้ อาศัยอยู่บนหญ้า ออกไข่บนดิน เมื่อไข่ฟักตัวออกเป็นตัวไรอ่อนจะมี 6 ขา เรียก chigger ไรอ่อนอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ ต้องการน้ำเหลืองหรือสารน้ำจากเนื้อเยื่อเป็นอาหาร เพื่อเจริญเติบโตเป็นตัวแก่ จะได้น้ำเหลืองโดยการกัดดูดจากสัตว์ เมื่อคนหรือสัตว์ผ่านมา ไรอ่อนจะกระโดดเกาะ กัดดูดน้ำเหลืองเมื่ออิ่มแล้วก็ปล่อยตัวหลุดตกไป ถ้าสัตว์ที่ถูกกัดดูดน้ำเหลืองเป็นรังโรคมีเชื้อ R. orientallis อยู่ เชื้อนี้จะผ่านลำไส้ของตัวไรอ่อนเข้าสู่ homocele และต่อมน้ำลาย มีการเจริญแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้นระหว่างที่ไรอ่อนกลายเป็นตัวแก่ เมื่อไรแก่ออกไข่ เชื้อจะเข้าไปในไข่ ทำให้ลูกของตัวไรมีเชื้อมาแต่กำเนิด (Transovarian) เมื่อไข่ที่มีเชื้ออยู่แล้วฟักออกเป็นตัวอ่อน ตัวอ่อนนี้จะเป็น infective chigger ไรอ่อนครอกนี้กัดคนหรือสัตว์ ก็สามารถแพร่เชื้อริคเกตเซียใปยังคนหรือสัตว์ได้
การรักษา
แพทย์จะใช้ยาปฏิชีวนะ
ยาดอกซีไซคลินและยาคลอแรมเฟนิคอล จะใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมาก
ยาอะซิโธรมัยซิน อาจใช้กับผู้ป่วยที่มีการดื้อยาและพบว่าอาจให้ผลดีกว่ายาดอกซีไซคลิน โดยเฉพาะกับผู้ป่วยวัยเด็กและผู้ป่วยที่ตั้งครรภ์
นอกจากนั้น ยังพบว่ามีบางพื้นที่ที่อาจมีการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย ซึ่งในประเทศไทยก็มีการดื้อยาดังกล่าว
การป้องกัน
ป้องกันมิให้ตัวไรอ่อนกัดโดยการป้องกันส่วนบุคคล ได้แก่ใช้ยาทากันแมลงกัด ใส่เสื้อผ้าชุบสารเคมี
การเลือกที่ตั้งค่ายพักในป่า ควรทำให้บริเวณค่ายพักโล่งเตียน และควรใช้ยากำจัดแมลงพ่นรอบๆที่พัก
หลีกเลี่ยงการนั่งและนอนบริเวณพุ่มไม้ ป่าละเมาะ หรือหญ้าขึ้นรก
เมื่อถูกไรอ่อนกัดควรไปพบแพทย์ทันที
ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรคได้
อาการ มักจะเกิดขึ้นภายใน 10 วัน หลังจากที่โดนไรอ่อนกัด โดยอาจทำให้เกิดอาการ เช่น
ปวดศีรษะ
มีไข้สูง ประมาณ 40-40.5 องศาเซลเซียส
หนาวสั่น
ปวดกล้ามเนื้อและปวดเมื่อยตามตัว
ปวดท้อง
คลื่นไส้และอาเจียน
ผื่นแดงเริ่มขึ้นบริเวณลำตัว
นอกจากนั้น ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจทำให้การทำงานของอวัยวะล้มเหลวและเลือดออก หรือหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เสียชีวิตได้
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากโรคนี้
โรคตับอักเสบ
ปอดอักเสบ (Pneumonitis)
กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis)
เยื่อหุ้มสมองกับสมองอักเสบ (Meningoencephalitis)
ภาวะที่มีการแข็งตัวของก้อนเลือดกระจายไปทั่วร่างกาย (Disseminated Intravascular Coagulation)
การทำงานของอวัยวะในร่างกายล้มเหลว (Multi-Organ Failure)
ระยะฟักตัว
ตั้งแต่ 6-21 วัน โดยเฉลี่ยประมาณ 10-12 วัน