Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยาและนีโอพลาสมา (โรคโลหิตจางจากการขา…
การพยาบาลเด็กป่วยที่มีปัญหาทางโลหิตวิทยาและนีโอพลาสมา
โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (Iron Deficiency Anemia)
สาเหตุ
การได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอกับความต้องการ
2.การสะสมธาตุเหล็กน้อยเช่นทารกคลอดก่อนกำหนด ทารกแฝด
การสูญเสียเลือดเรือรังในหญิงวัยเจริญพันธุ์อาจมีการขาดธาตุเหล็กจากประจำเดือนออกมากกว่าปกติ
อาการและอาการแสดง
เหนื่อยง่ายเมื่อออกแรงอ่อนเพลียเวียนศีรษะใจสับหากเป็นรุนแรงอาจถึงขั้นหมดสติหรือหัวใจวายได้
การวินิจฉัย
Hb และ Hct ต่ำ
เม็ดเลือดแดงมีขนาดเล็ก (rmicrocytic) ติดสีจาง (hypochromia)
Serum transferrin ลดลง
การตรวจเยื่อบุตาซีตเล็บมือฝ่ามือซีด
การรักษา
1.สาเหตุของการขาดธาตุเหล็ก
ให้ยา Ferrous sulfate หรือ FBC เป็นเวลา 3-6 เดือน
การพยาาบาล
ดูแลให้ได้รับยา Ferrous sulfate
ดูแลให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอและอาหารที่มีธาตุเหล็กมากเช่นเนื้อสัตว์ตับ เครื่องในสัตว์ เลือดหมู นม ผักใบเขียว
แนะนำมารดาเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาเพราะช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กของทารกดีกว่านมผสม
โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia)
อาการและอาการแสดง
ซีดเรื้อรังหรือซีดเมื่อมีไข้ไม่สบาย
การเจริญเติบโตไม่สมวัยท้องป่องแขนขาเล็กม้ามโตตับโต
ใบหน้ามีลักษณะ Thalassemia face โดยมีสันจมูกแบะหน้าผากโหนกขันกระดูกแก้มและขากรรไกรกว้างใหญ่ฟันยื่นเขยินลูกตาอยู่ห่างกันมากกว่าคนปกติ
การถ่ายทอดพันธุกรรม
พาหะแต่งงานกับพาหะจะมีบุตรร้อยละ 25 ปกติร้อยละ 50 เป็นพาหะร้อยละ 25 เป็นโรค
พาหะแต่งงานกับคนปกติจะมีบุตรร้อยละ 50 ปกติร้อยละ 50 เป็นพาหะ
ผู้ที่เป็นโรคแต่งงานกับพาหะจะมีบุตรร้อยละ 50 เป็นพาหะร้อยละ 50 เป็นโรค
ผู้ที่เป็นโรคแต่งงานกับปกติจะมีบุตรร้อยละ 100 เป็นพาหะ
การรักษา
การรักษาทั่วไปอธิบายให้ผู้ป่วยเด็กและผู้ปกครองเข้าใจเกี่ยวกับโรคและการถ่ายทอดทางพันธุกรรมควรให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารพวกโปรตีนและอาหารที่มีกรดโฟลิคสูง (เช่นผักใบเขียวเนื้อสัตว์) มาก ๆ
2 การรักษาที่เฉพาะ
1 การให้เลือด ควรให้ชนิด pack red cell (PRC) หรือเม็ดเลือดแดงเข้มข้นที่แยกเม็ดเลือดขาวออก (Leukocyte poor blood, LPB)
2 การให้ยาขับเหล็กเนื่องจากเม็ดเลือดแดงมีการแตกจำนวนมากถ้าระดับ ferritin ใน serum มากกว่า 1, 000 mg / dL ถือว่าเหล็กเกินควรได้รับยาขับเหล็ก (Iron Chelator) ได้แก่ ยา desferal ให้หยดเข้าใต้ผิวหนังและชนิดรับประทานคือ Deferiprone (L1) ให้ 75 มิลลิกรัม / กิโลกรัม / วัน การใช้ยาขับเหล็กจะทำให้ปัสสาวะมีสีน้ำตาลแดง 2.3 การคัดม้าม (Splenectomy) จะช่วยทำให้หายอึดอัดในช่องท้องผ่าตัดเมือม้ามโตมากกว่า 6 ซมเพื่อลดอัตราการให้เลือดแต่ข้อเสียทำให้ติดเชื้อได้ง่ายโดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี
การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (stem cell transplantation) ช่วยให้หายขาดได้แต่ยังทำได้จำกัดและค่าใช้จ่ายสูง
การพยาบาล
ดูแลให้ได้รับอาหารที่มีประโยชน์ต่อการสร้างเม็ดเลือดเช่นโปรตีนวิตามินซีและอาหารที่มีโฟเลตสูงมีมากในผักต่าง ๆ และผลไม้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง
สอนผู้ป่วยเด็กและครอบครัวเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ได้แก่ การรักษาความสะอาดร่างกายปากฟันและสิ่งแวดล้อม
ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม ได้แก่ นม ปลาเล็กปลาน้อยและระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมเพื่อป้องกันกระดูกหัก
ดูแลการได้รับยา Folic acid เพื่อช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดง
ภายหลังได้รับยาขับเหล็กให้สังเกตลักษณะสีของปัสสาวะจะน้ำตาลแดง
ภาวะชิดจากการพร่องเอนไซม์ GP6D (G6PD Deficiency)
อาการที่สำคัญ
ภาวะซีดอย่างเฉียบพลัน (acute hemolytic anemia) จะมีเม็ดเลือดแดงแตกอย่างรวดเร็วสาเหตุจากภาวะติดเชื้อภาวะเครียดได้รับยา
ภาวะเหลืองในทารกแรกเกิดเม็ดเลือดแดงในทารกแรกเกิดแตกมากระดับ bilirubin ในเลือดสูงจะเข้าไปจับที่เนื้อสมองจนทำให้เกิดภาวะอันตรายต่อสมองคือภาวะ Kerriterus ซึ่งทารกจะมีสติปัญญาอ่อนตามมา
การพาบาล
ดูแลให้ได้รับอาหารที่มีประโยชน์ต่อการสร้างเม็ดเลือดเช่นโปรตีนวิตามินซีและอาหารที่มีโฟเลตซึ่งมีมากในผักต่าง ๆ และผลไม้
อธิบายให้ผู้ป่วยและครอบครัวเข้าใจโรคสาเหตุอาการและการหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกไม่ควรซื้อยามารับประทานเองแจ้งแพทย์ทุกครั้งเมื่อเกิดเจ็บป่วย
ทำบัตรประจำตัวผู้ป่วยระบุหมู่เลือดและโรงพยาบาลประจำ
แนะนำให้สังเกตอาการที่ควรมาพบแพทย์ ได้แก่ ซีดลงอย่างรวดเร็วอ่อนเพลียปัสสาวะมีสีโคล่าควรดูแลให้น้ำอย่างเพียงพอก่อนส่งโรงพยาบาล
ภาวะโลหิตจางจากไขกระดูกไม่ทำงาน (Aplastic Anemia)
อาการอาการแสดง
อาการซีดจากการสร้างเม็ดเลือดแดงลดลงเลือดออกในอวัยวะต่าง ๆ มีจุดจ้ำเลือดจากการมีเกล็ดเลือดต่ำ ถ้ามีใข้ แสดงว่ามีการติดเชื้อเนื่องจากภูมิต้านทานต่ำจากการมีเม็ดเลือดขาวน้อยผู้ป่วยมักเสียชีวิตจากการติดเชื้อ
การวินิจฉัย
โรคผิวหนังซีดมีจุดเลือดออก (petechiae), CBC พบ pancytopenia, Bleeding time มีระยะเวลานานผิดปกติ
การพยาบาล
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้ทำให้เกิดอุบัติเหตุหรือเลือดออก
หากมีเลือดกำเดาไหลให้ประสบความเย็นที่ดั้งจมูกหรือก๊อซชุบ adrenaline 1% อุดในรูจมูกข้างที่เลือดกำเดาออก
สังเกตอาการแสดงของการมีเลือดออกทั้งทางผิวหนังและภายใน เช่นจุดจ้ำเลือดอุจจาระและปัสสาวะมีเลือดปนระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงปวดศีรษะตามัวแสดงถึงการมีเลือดออกในสมอง
สังเกตอาการติดเชื้อ เช่น มีไข้จากการภูมิคุ้มกันของร่างกายและได้รับยากดภูมิ
ดูแลให้ได้รับยา prednisolone, ฮอร์โมน androgen หรือยากดภูมิต้านทานสังเกตพิษจากยาตาตัวเหลืองบวมมีผื่นแดง
โรคฮีโมฟีเลีย (Hemophilia)
อาการและอาการแสดง
ทารกหลังคลอดมักไม่มีอาการเลือดออกแต่มีจุดจำเขียวหรือมี cephathematorna ที่ศีรษะ
วัยทารกจะมีอาการจ้ำเขียวตามตัวหรือแขนขาเมื่อเริ่มหัดคลานตั้งไข่เดินจะมีน้ำเขียวมากขึ้นเมื่อฟันหลุดจะมีเลือดออกมากกว่าปกติ
อาการเลือดออกในข้อ (Spontaneous hemarthrosis) เป็นลักษณะเฉพาะของโรคข้อที่มีเลือดออกบ่อยที่สุดคือข้อใหญ่ ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วเท้า
การวินิจฉัย
ประวัติเลือดออกง่ายออกนานหยุดยากแม้จะเป็นแผลขนาดเล็กในครอบครัวญาติฝ่ายบิดาที่เป็นเพศชายมักจะเป็นโรคนี้ลักษณะพิเศษคือมีเลือดออกในข้อ ผลการตรวจ PTT นานผิดปกติและ factor Vll ต่ำ
การพยาบาล
ผู้ป่วยมีอาการปวดข้อข้อบวมใช้ผ้ายืด (Elastric bandage) พันรอบข้อที่มีอาการปวดบวมและจำกัดการเคลื่อนไหวของข้อหากปวดมากดูแลให้ได้รับยาแก้ปวดพาราเซตามอลไม่ควรให้แอสไพรินหรือบรูเฟน
แนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อเพื่อป้องกันการมีเลือดออก
แนะนำให้ทำบัตรผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียหมู่เลือดและโรงพยาบาลที่รักษาประจำพกติดตัวเพื่อให้เด็กได้รับการรักษาที่เหมาะสมและถูกต้องเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (Idiopathic thrombocytopenic purpura (ITP)
เป็นภาวะที่มีเกล็ดเลือดน้อยกว่า 100, 000 cell/cumm (Thrombocytopenia) หากเกล็ดเลือดน้อยกว่า 20, 000 cell/cumm ผู้ป่วยจะมีอาการมีเลือดออกได้เองในอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายคือจุดเลือดเล็ก ๆ (pefichiae) จ้ำเลือด (ecchymosis) ที่ผิวหนังเลือดกำเดาไหลเลือดออกในเยื่อบุทางเดินอาหาร
การรักษา
การรักษาด้วยยาสเตียรอยด์เช่น Prednisolone หรือ Dexamethasone เพื่อยับยั้งการทำลายเกล็ดเลือดและทำให้ผนังหลอดเลือดแข็งแรง
การให้ Immunoglobulin (MG) ทางหลอดเลือดดำช่วยเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือดได้เร็ว แต่อาจลดต่ำได้ภายหลังจึงให้เป็นครั้งคราว
การห้ามเลือดที่ออกในจมูกด้วยการทำ anterior nasal packing ถ้าไม่หยุดให้ทำ posterior nasat packing
ให้เกล็ดเลือดเข้มข้นเฉพาะในรายที่เลือดออกรุนแรงเนื่องจากร่างกายมีการทำลายเกล็ดเลือดของตนเอง
ผ่าตัดม้าม (splenectomy) กรณีที่เกล็ดเลือดลดต่ำลงมากมีเลือดออกรุนแรงจำนวนมากและรักษาด้วยยาไม่ได้ผล
การพยาบาล
หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เลือดออกเช่นหลีกเลี่ยงการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อหรือเจาะเลือดห้ามใช้ยา aspirin หรือ Ibuprofen
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีจะช่วยเพิ่มจำนวนเกล็ดเลือดและช่วยให้หลอดเลือดแข็งแรง
โรคเลือดออกง่ายหยุดยาก
(Acquired prothrombin complex
deficiency (APCD))
เกิดจากการมี prothrombin Complex ตำซึ่งเป็นพลาสมาโปรตีนเกี่ยวกับปัจจัยการแข็งตัวของเลือด 4 ชนิดคือ factor Il, Vil, IX, X เกิดจากการขาดวิตามินเค (vitamin K)
สาเหตุ
มารดามีการใช้ prothrombin Complex มากเช่นในมารดาที่คลอดยากได้รับการผ่าตัดทางหน้าท้องมีภาวะพิษแห่งครรภ์หรือมารดามีภาวะขาดสารอาหารหรือภาวะขาดวิตามินเคมาก่อน
ทารกคลอดก่อนกำหนดตับยังทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์หรือขาดออกซิเจนทำให้การสร้าง prethrombin Complex ไม่ดี
อาการและอาการแสดง
มีเลือดออกในกะโหลกศีรษะโดยมีอาการซึมกระสับกระส่ายร้องกวนไม่ดูดนมอาเจียนชักไม่รู้สึกตัวกระหม่อมหน้าโป่งตึง
ซีดจากการเสียเลือดในเยื่อหุ้มสมองชั้น subdural หรือชั้น Subarachnoid
การวินิจฉัย
จากประวัติและการตรวจร่างกายทารกอายุ 2 สัปดาห์-2 เดือนมีประวัติคลอดที่บ้านไม่ได้รับวิตามินเคแรกเกิด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-ระดับ factor Il, Vil, IX, X ต่ำมาก
-PT PTT นานกว่าปกติ
-Hb, Hct ต่ำจากการเสียเลือด
การรักษา
กรณีมีเลือดออกในกะโหลกศีรษะจะทำให้มีความพิการทางสมองได้จึงจำเป็นต้องรักษาอย่างรีบด่วนเช่นถ้ามีอาการชักให้ยากันชัก diazepam ลดอาการบวมของสมองโดยให้ dexamethasone
การให้วิตามินซีเพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือดและให้วิตามินเครายที่มีปัจจัยการแข็งตัวของเลือดตัวที่ 2, 1, 9 และ 10 น้อย