Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 (มาตรา…
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
ชื่อกฎหมาย : พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
วันบังคับใช้กฎหมาย : 18 กรกฎาคม 2550
ผู้รักษาการ : รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที)
สาเหตุที่กระทำ
ความคึกคะนอง
เพราะอยากแก้แค้น
เพื่อการทำโจรกรรม
ส่งไวรัส โปรแกรมหนอน โทรจัน และสปายแวร์
ลักษณะการกระทำความผิด
ที่พบในประเทศไทย
หมิ่นประมาทบนกระดานข่าว, เว็บบอร์ด , เว็บไซต์
ก่อความเดือดร้อนรำคาญ/หมิ่นประมาท โดยใส่เบอร์โทรศัพท์ของผู้อื่นลงบนกระดานข่าว ทำนองต้องการเพื่อนแก้เหงา หรือขายบริการทางเพศ
หมิ่นประมาทด้วยการตัดต่อภาพ
ข่มขู่ผู้นำประเทศอื่นผ่านทางอีเมล์
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์
เป็นอาชญากรรมรูปแบบใหม่ซึ่งกฎหมายที่มีอยู่เดิมไม่เพียงพอที่จะปรับใช้และดำเนินคดีได้ต้องใช้พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
การเจาะระบบคอมพิวเตอร์ (การบุกรุก)
∙ การดักรับข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Sniffer)
∙ การขโมย เพิ่ม แก้ไข เปลี่ยนแปลง ทำลายข้อมูล(Virus , Trojan , Backdoor)
∙ Spam Mail
∙ การก่อการร้ายทางไซเบอร์
มาตรา 5 - 16
เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ชอบ (มาตรา 5-8)
หากเข้าไปเจาะข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของคนอื่น โดยที่เจ้าของข้อมูลไม่ได้อนุญาต (ละเมิด Privacy) หรือในเคสที่เรารู้จักกันดีก็คือ การปล่อยไวรัส มัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่น เพื่อเจาะข้อมูลบางอย่าง หรือพวกแฮคเกอร์ ที่เข้าไปขโมยข้อมูลของคนอื่นก็มีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
บทลงโทษ
1.เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
2.เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
3.ล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย: จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
4.ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์: จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แก้ไข ดัดแปลง หรือทำให้ข้อมูลผู้อื่นเสียหาย (มาตรา 9-10)
ในข้อนี้จะรวมหมายถึงการทำให้ข้อมูลเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลของผู้อื่นโดยมิชอบ หรือจะเป็นในกรณีที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ อย่างเช่น กรณีของกลุ่มคนที่ไม่ชอบใจกับการกระทำของอีกฝ่าย แล้วต่อต้านด้วยการเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบเว็บไซต์ของฝ่ายตรงข้าม ให้บุคคลอื่นๆ ใช้งานไม่ได้ ก็มีความผิด
บทลงโทษ
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ส่งข้อมูลหรืออีเมลก่อกวนผู้อื่น หรือส่งอีเมลสแปม (มาตรา 11)
ข้อนี้ก็เข้ากับประเด็นพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ หรือนักการตลาดที่ส่งอีเมลขายของที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับ หรือที่รู้จักกันว่า อีเมลสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook กับ IG ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และยังรวมถึงคนที่ขโมย Database ลูกค้าจากคนอื่น แล้วส่งอีเมลขายของตัวเอง
บทลงโทษ
ถ้าส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท และถ้าส่งโดยไม่เปิดโอกาสให้ปฏิเสธตอบรับได้โดยงาน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เข้าถึงระบบ หรือข้อมูลทางด้านความมั่นคงโดยมิชอบ (มาตรา 12)
โพสต์เกี่ยวกับเรื่องการเมืองที่ส่งผลให้เกิดความเสียหายหรือความมั่นคงต่อประเทศ หรือโพสต์ที่เป็นการก่อกวน หรือการก่อการร้ายขึ้น ก็มีความผิดค่ะ เพราะมาตรา 12 ได้บอกไว้ว่าการเข้าถึงระบบหรือข้อมูลทางด้านความมั่งคงโดยมิชอบ หรือการโพสต์ข้อความในโลกออนไลน์ที่เข่าข่ายข้อมูลเท็จที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ หรือทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก และล่วงรู้ถึงมาตรการการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และนำไปเปิดเผย
บทลงโทษ
1.กรณีไม่เกิดความเสียหาย: จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
2.กรณีเกิดความเสียหาย: จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 หมื่น – 2 แสนบาท
3.กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย: จำคุก 5-20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท
จำหน่ายหรือเผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อนำไปใช้กระทำความผิด (มาตรา 13)
1.กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ตามมาตรา 5-11 (หรือข้อ 1-3 ในบทความนี้) ต้องจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย2.กรณีทำเพื่อเป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ มาตรา 12 ต้องจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ หากมีผู้นำไปใช้กระทำความผิด ผู้จำหน่ายหรือผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบร่วมด้วย
นำข้อมูลที่ผิดพ.ร.บ.เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ (มาตรา 14)
โพสต์ข้อมูลปลอม ทุจริต หลอกลวง (อย่างเช่น ข่าวปลอม โฆษณาธุรกิจลูกโซ่ที่หลอกลวงเอาเงินลูกค้า และไม่มีการส่งมอบของให้จริงๆ เป็นต้น)โพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่งคงปลอดภัยโพสต์ข้อมูลความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง ก่อการร้ายโพสต์ข้อมูลลามก ที่ประชาชนเข้าถึงได้เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูล ที่รู้แล้วว่าผิด (อย่างเช่น กด Share ข้อมูลที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก็มีความผิด )
บทลงโทษ
หากเป็นการกระทำที่ส่งผลถึงประชาชน ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นกรณีที่เป็นการกระทำที่ส่งผลต่อบุคลใดบุคคลหนึ่ง ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ในกรณีอย่างหลังนี้สามารถยอมความกันได้)
ให้ความร่วมมือ ยินยอม รู้เห็นเป็นใจกับผู้ร่วมกระทำความผิด (มาตรา 15)
กรณีนี้ถ้าเทียบให้เห็นภาพชัดๆ ก็เช่น เพจต่างๆ ที่เปิดให้มีการแสดงความคิดเห็น แล้วมีความคิดเห็นที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็มีความผิดค่ะ แต่ถ้าหากแอดมินเพจตรวจสอบแล้วพบเจอ และลบออก จะถือว่าเป็นผู้ที่พ้นความผิด
บทลงโทษ
แต่ถ้าไม่ยอมลบออกต้องได้รับโทษ ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดตามมาตร 14 ต้องได้รับโทษเช่นเดียวกันผู้โพสต์ หรือแสดงความคิดเห็นทางออนไลน์ แต่ถ้าผู้ดูแลระบบพิสูจน์ได้ว่า ตนได้ปฏิบัติตามขั้นตอนการแจ้งเตือนแล้วไม่ต้องรับโทษ
ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงภาพ (มาตรา 16)
• การโพสต์ภาพของผู้อื่นที่เกิดจากการสร้าง ตัดต่อ หรือดัดแปลง ที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อย่างเช่นกรณีที่เอาภาพดาราไปตัดต่อ และตกแต่งเรื่องขึ้นมา จนทำให้บุคคลนั้นเกิดความเสียหาย ก็ถือว่ามีความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
• การโพสต์ภาพผู้เสียชีวิต หากเป็นการโพสต์ที่ทำให้บิดามารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย
บทลงโทษ
ต้องได้รับโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
: