Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Reference and Blibiography (การลงชื่อผู้แต่ง (ผู้แต่งคนเดียว…
Reference and Blibiography
การอ้างอิงเอกสาร citation
ความหมาย การบอกแหล่งที่มาของข้อมูลที่ผู้เขียนนำมาใช้
อ้างอิงในการเขียนผลงาน การอ้างอิงในส่วนเนื้อหา
บรรณานุกรม รายชื่อเอกสารที่ผู้เขียนใช้ศึกษาค้นคว้าในการ เรียบเรียงรายการเรื่องนั้นๆ ทั้งที่ได้เขียนรายการอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่อง และเอกสารที่ไม่ได้ใช้อ้างอิงในส่วนเนื้อเรื่องแต่ได้อ่านประกอบเรียบเรียง นำมาใส่
ไว้ในส่วนท้ายรายงาน
เอกสารอ้างอิง รายชื่อเอกสารที่ผู้เขียนใช้ศึกษาค้นคว้าในการ
เรียบเรียงรายงานเรื่องนั้นๆ และเป็นเอกสารที่ได้เขียนรายการอ้างอิงไว้ในส่วนเนื้อเรื่องเท่านั้น
การอ้างอิงแทรกในเนื้อหา
รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา ที่นิยมใช้มาก คือ ระบบนาม-ปี (Author date) โดยระบุชื่อผู้แต่ง ปีพิมพ์ และเลขหน้าที่อ้างอิง ถ้าผู้แต่งเป็นชาวต่างประทศให้ลงเฉพาะชื่อสกุล หรือชื่อท้าย
ตัวอย่างการอ้างอิงแทรกในเนื้อหาจากสื่อสิ่งพิมพ์
“...หนังสือพิมพ์ เป็นสื่อใกล้ตัวที่มีเนื้อหาสาระหลายด้าน ทั้งข่าว บทความ สารคดี สาระบันเทิงด้านภาพยนตร์ ดนตรี กีฬา ปัจจุบันหนังสือพิมพ์ยังเพิ่มเติมเนื้อหาบทละครโทรทัศน์ เพื่อจูงใจผู้ชมละครที่ต้องการรู้เรื่องล่วงหน้า (ฟองจันทร์ สุขยิ่ง และคนอื่น ๆ. 2552 : 38)...”
การเขียนบรรณานุกรม
ผู้แต่ง. //ชื่อหนังสือ. //ครั้งที่พิมพ์. //สถานที่พิมพ์ / : /สำนักพิมพ์, / ปีที่พิมพ์.
ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม
เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศ. กาพย์ห่อโคลงนิราศธารโศก. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2505.
นพมาศ. ตำราท้าวศรีจุฬาลักษณ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. พระนคร : ศิลปบรรณคาร, 2513.
การลงชื่อผู้แต่ง
ผู้แต่งคนเดียว
ผู้แต่งชาวไทยให้ใส่ชื่อตามด้วยนามสกุลในกรณีที่มีฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ หรือยศ เครื่องหมายจุลภาค (,) หลังนามสกุลและตามด้วยฐานันดรศักดิ์ บรรดาศักดิ์ หรือยศ เช่น คึกฤทธิ์ ปราโมช, พลตรี ม.ร.ว.
ผู้แต่งที่มีสมณศักดิ์ ให้คงไว้ปกติไม่ต้องย้ายไว้ด้านหลัง เช่น พระเทพคุณาธาร พระเทพวาทีพระพิศาลธรรมเวที ยกเว้น ผู้แต่งที่เป็นพระสังฆราชและเชื้อพระวงศ์ ให้ลงพระนามจริงก่อน แล้วกลับคำนำหน้าที่แสดงลำดับชั้นเชื้อพระวงศ์ ไปไว้ข้างหลัง โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (,)
ผู้แต่งเป็นชาวต่างประเทศให้ใส่ชื่อสกุลตามด้วยอักษรย่อทั้งชื่อต้น และชื่อกลาง(ถ้ามี) โดยใช้เครื่องหมายจุลภาค (comma) (,) แบ่งชื่อสกุล และชื่อต้น
การลงบรรณานุกรมผู้แต่งคนเดียว
ชื่อ // ชื่อสกุลผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์). / /ชื่อหนังสือ. / / ครั้งที่พิมพ์. / /เมืองที่พิมพ์/: /สำนักพิมพ์.
ผู้แต่ง ๒ คน
ใช้คำว่าและ ตัวอย่างเช่น สิทธิ พินิจภูวดลและนิตยา กาญจนวรรณ. (๒๕๒๐). ความรู้ทั่วไปทางวรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ : ดวงกมล.
ผู้แต่ง ๓-๕ คน
ระบุชื่อคนแรกไปจนถึงคนที่ 5 จึงเชื่อมด้วยคำว่า และ
บรรพต วีระชัย, สุขุม นวลสกุลและบวร ประพฤติดี. (๒๕๒๘). ศาสตร์ทั่วไป. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง
หนังสือที่มี
ผู้แต่งมากกว่า6 คน
ระบุชื่อคนที่ 1-6 จากนั้นใช้คำว่าและคณะ หรือ คนอื่นๆ ฉวีวรรณ จุณณานนท์และคนอื่นๆ. (๒๕๒๐). คุยกันกับหมอเรื่องลูก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์.
ผู้แต่งใช้นามแฝง
ถ้าทราบชื่อจริงให้วงเล็บต่อท้าย
ถ้าไม่ทราบให้วงเล็บไว้ว่า นามแฝง
การลงปีที่พิมพ์
ให้ระบุเฉพาะตัวเลข ไว้ในเครื่องหมาย ( ) เสมอ
ถ้าไม่ปรากฏปี พิมพ์ให้ใส่ ม.ป.ป. หมายถึง ไม่ปรากฏ ปี พิมพ์หรือ n.d.
หมายถึง no date แทน โดยใส่ไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ [ ]
การลงครั้งที่พิมพ์
ใส่ครั้งที่พิมพ์ตั้งแต่ครั้งที่2 เป็นต้นไป
การลงสถานที่พิมพ์
ถ้าไม่ปรากฏชื่อเมืองให้ใส่ ม.ป.ท. หมายถึง ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์
หรือ n.p. (no place) แทน โดยใส่ในเครื่องหมาย [ ]