Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปรัชญาจิตนิยม
Idealism (แนวคิดการศึกษา (การเรียนการสอน (●…
ปรัชญาจิตนิยม
Idealism
-
สาระสำคัญ
1. ภวนิยม ปรัชญาสาขานี้เชื่อว่า ความจริงอันเป็นที่สุด เป็นเรื่องเกี่ยวกับ จิตใจ มากกว่า วัตถุ สรรพสิ่งทั้งหลายที่แวดล้อมตัวเราสัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัส เช่น บ้าน ภูเขา ก้อนเมฆ เป็นสิ่งที่ปรากฎเป็นรูปให้เห็น เป็นเพียงอาการที่ปรากฎของความจริง แต่ที่จริงกว่าและเป็นความจริงอันเป็นที่สุดคือ ความคิดและจิตใจ
2. ญาณนิยม ปรัชญาสาขานี้ถือว่าความรู้เกิดจาก ความคิด เหตุผล และการหยั่งรู้ โดยญาณทัศน์เป็นสำคัญ ความรู้ที่เกิดจากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไม่ใช่ความรู้ที่แท้จริง เพราะประสาทสัมผัสมีความไม่แน่นอนอยู่ในตัว กระบวนการ ของการรับรู้จึงเป็นกระบวนการทางจิตมากกว่าทางกาย
3. คุณวิทยา นักปรัชญาสาขาจิตนิยม มีความเชื่อเกี่ยวกับจริยศาสตร์และสุนทรียศาสตร์ โดยยึดหลักความดีและความงามตามอุดมคติ
:red_flag: ด้านจริยธรรม ยึดถือกฎแห่งความดีสูงสุดเป็นกฎสากล โดยถือว่าคุณธรรมความดีนั้นมี "แบบ" แห่งความดีและคุณธรรม มนุษย์จะรู้แบบแห่งคุณธรรมก็ต้องอาศัยความรู้ จึงถือว่า คุณธรรมคือความรู้
:red_flag: ด้านสุนทรียศาสตร์ นักปรัชญาจิตนิยมถือว่า ความงามต้องสะท้อนให้เห็นถึงจิตและอุดมการณ์ คุณค่าของความงามอยู่ที่การถ่ายทอดความงามจากความคิด เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งในคุณค่าแห่งสุนทรียรสนั้นๆ
ผู้ก่อตั้งปรัชญา
:silhouette: เพลโต (Plato)
เป็นนักปรัชญาชาวกรีก เชื่อว่า วิญญาณมนุษย์ มีบ่อเกิดจากวิญญาณโลก (World Soul) วิญญาณโลกนี้ เป็นโลกแห่งแบบ (World of Form) หรือโลกแห่งความคิด (World of Ideas) ซึ่งมีมาก่อนร่างกาย ดังนั้น วิญญาณจึงสำคัญกว่าร่างกาย เป็นตัวบังคับกิจกรรมของร่างกาย
สาขาของจิตนิยม
:black_flag: ปรากฎการณ์นิยม (Phenomenalism)
เชื่อว่า มนุษย์รับรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นรอบตัวโดยผ่านทางประสาทสัมผัสประกอบกับมโนภาพที่ติดตัวมา ดังนั้นมนุษย์จึงไม่สามารถล่วงรู้หรือเข้าใจใน "สรรพสิ่งที่แท้" ได้
นักปรัชญาปรากฎการณ์นิยม คือ อิมมานูเอล คานท์
:black_flag: จิตนิยมเชิงปรวิสัย (Objective Idealism)
เชื่อว่าวัตถุทุกชนิดเป็นจริงด้วยตัวของมันเอง แต่ไม่เป็นอิสระจากจิตโดยสิ้นเชิง วัตถุไม่ได้เป็นอิสระจากจิต คือ ต้องมีจิตเป็นพื้นฐานในการรู้วัตถุ แต่ในขณะเดียวกันถ้าไม่มีจิตรับรู้วัตถุ
วัตถุก็มีอยู่และอยู่อย่างที่มันเป็น
นักปรัชญาเชิงปรวิสัย คือ จอร์จ วิลเฮลม ไฟร์ดริช เฮเกล
:black_flag: จิตนิยมเชิงอัตวิสัย (Subjective Idealism)
เชื่อว่า สิ่งที่เรารู้ทั้งปวงขึ้นอยู่กับผู้รู้หรือขึ้นอยู่กับจิตนั่นเอง นักปรัชญาจิตนิยมเชิงอัตวิสัย คือ จอร์จ เบริคเลย์