Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาษีศุลกากร (พิกัดอัตราภาษีศุลกากร (2.พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร…
ภาษีศุลกากร
พิกัดอัตราภาษีศุลกากร
1.หนังสือพิกัดอัตราศุลกากรฉบับนี้รวบรวมโดยกรมศุลกากรเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ข้าราชการ และพ่อค้าประชาชนในการปฎิบัติจัดเก็บอากรศุลกากรที่เรียกเก็บจากของที่นำเข้าและส่งออก โดยแสดงประเภทสินค้า รายการสินค้าและอัตราอากรและรหัสสถิติ เรียงตามลำดับที่กำหนดไว้ในกฎหมายพิกัดอัตราศุลกากร
2.พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พุทธศักราช 2530 ที่บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ มกราคม 2531 นี้ได้ มีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยมีกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม ที่ตราเป็นพระราชบัญญัติและพระราชกำหนดรวม 6 ฉบับและประกาศกระทรวงการคลังดังนี้
-
-
-
-
-
-
2.7 ประกาศกระทรวงการคลัง ที่ ศก. 23/2541 (ฮมน.1) เรื่อง ยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติมพิกัดอัตราอากรขาเข้าในภาคที่ 2 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530
2.8 ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องการยกเลิก เพิ่ม และแก้ไขเพิ่มเติมพิกัดอัตราศุลกากรขาเข้าในภาค 2 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 ( ฮมน.)
3.หนังสือพิกัดอัตราศุลกากรฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นโดยนำพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530 มาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมตามกฎหมายที่ได้แก้ไขเพิ่มเติ่มในข้อ 2 ทั้งหมด ส่วนบทบัญญัติของกฎหมายและประกาศกระทรวงการคลังนั้น ได้จัดพิมพ์ไว้ท้ายหนังสือพิกัดอัตราศุลกากรเล่มนี้
-
-
6.ความที่เกี่ยวกับพิกัดอัตราศุลกากรในหนังสือนี้เป็นไปตามพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530 และกฎหมายพิกัดอัตราศุลกากรที่แก้ไขเพิ่มเติมตามที่ระบุไว้ในข้อ 2 และการ พิจารณาความหมายของถ้อยคำที่เกี่ยวกับพิกัดอัตราศุลกากรต้องพิจารราตามหลักการตีความ พิกัดอัตราศุลกากรประกอบกับคำอธิบายพิกัดอัตราศุลกากรของคณะมนตรีความร่วมมือทาง ศุลกากร
7.นอกจากอากรศุลกากรแล้วผู้นำเข้าและส่งออกจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามประมวลรัษฏากร และภาษีสรรพสามิตตามกฎหมายว่าด้วยสรรพสามิต (ถ้ามี)
8.อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม
8.1 ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 7 กับการนำเข้าสินค้า เว้นแต่การนำเข้าที่ได้รับยังเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (2)(ก) -(ง) แห่งประมวลรัษฎากร
8.2 ให้ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 กับการส่งออกสินค้าที่มิใช่การส่งออกซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 81 (3) แห่งประมวลรัษฎากร
9.ข้อความใดๆในหนังสือพิกัดอัตราศุลกากรฉบับนี้ใช้เพื่อการอ้างอิงเท่านั้นโดยไม่ผูกพันกรมศุลกากรแต่ประการใด
ความหมาย
ภาษีศุลกากร หรือ Customs Duty เป็นภาษีชนิดที่เรียกว่า กำแพงภาษี หรือ Tariff Barrier คือเป็นภาษีที่ไม่เกิดจากการมีรายได้เพิ่มขึ้น แต่เป็นภาษีที่สกัดกั้นการไหลบ่าของสินค้าจากต่างประเทศที่จะเข้ามาภายในประเทศ ทั้งนี้ เพื่อปกป้องสินค้าที่ผลิตภายในประเทศไม่ให้ถูกโจมตีจากสินค้าต่างประเทศที่มีคุณภาพดีกว่าแต่ราคาย่อมเยากว่า
ฉะนั้น ภาษีศุลกากรของสินค้าแต่ละตัวจึงมีอัตราที่ไม่เท่ากัน สินค้าใดที่สามารถผลิตภายในประเทศได้ อัตราภาษีขาเข้าของสินค้าชนิดนั้นจะสูง เพราะเราไม่ได้ต้องการที่จะให้ใครนำสินค้าชนิดนั้นมาขายแข่งกับเรา เช่น เสื้อผ้า เป็นต้น ที่จะมีอัตราอากรตั้งแต่ 30-60% ส่วนสินค้าที่เราผลิตเองไม่ได้ หรือต้องการนำเข้า จะมีอัตราที่ต่ำ เช่น เครื่องจักรโรงงาน เป็นต้น มีอัตราอากรตั้งแต่ 0-5% นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ภาษีศุลกากรแตกต่างกันไป เช่น สินค้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้หรือเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ หนังสือ อัตรา 0% สินค้าฟุ่มเฟือย เช่น น้ำหอม เครื่องสำอาง อัตรา 40% สินค้าที่เป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น ไม้ หนังดิบ ไหม สารเคมี อัตรา 0-5%
ฉะนั้น ภาษีศุลกากรของสินค้าแต่ละตัวจึงมีอัตราที่ไม่เท่ากัน สินค้าใดที่สามารถผลิตภายในประเทศได้ อัตราภาษีขาเข้าของสินค้าชนิดนั้นจะสูง เพราะเราไม่ได้ต้องการที่จะให้ใครนำสินค้าชนิดนั้นมาขายแข่งกับเรา เช่น เสื้อผ้า เป็นต้น ที่จะมีอัตราอากรตั้งแต่ 30-60% ส่วนสินค้าที่เราผลิตเองไม่ได้ หรือต้องการนำเข้า จะมีอัตราที่ต่ำ เช่น เครื่องจักรโรงงาน เป็นต้น มีอัตราอากรตั้งแต่ 0-5% นอกจากนี้ ยังมีเหตุผลอื่นๆ ที่ทำให้ภาษีศุลกากรแตกต่างกันไป เช่น สินค้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้หรือเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ หนังสือ อัตรา 0% สินค้าฟุ่มเฟือย เช่น น้ำหอม เครื่องสำอาง อัตรา 40% สินค้าที่เป็นวัตถุดิบในการผลิต เช่น ไม้ หนังดิบ ไหม สารเคมี อัตรา 0-5%