Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
hepatoblastoma มะเร็งตับ (ความหมาย (เป็นมะเร็งตับที่พบบ่อยที่สุดในเด็กเล็ก…
hepatoblastoma มะเร็งตับ
ความหมาย
เป็นมะเร็งตับที่พบบ่อยที่สุดในเด็กเล็ก (ส่วนมากมักมีอายุน้อยกว่า 3 ปี) หากพบตั้งแต่ระยะแรกมักจะตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดและการผ่าตัดได้ดี
อาการ
-
ปวดที่บริเวณท้องด้านขวาบริเวณตำแหน่งของตับ (หากเนื้องอกนั้นกดเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้ออาจทำให้มีอาการปวดร้าวไปด้านบนและหลังได้)
-
-
-
-
การวินิจฉัย
-
-
-
Laparoscope คือส่องกล้องเข้าไปในช่องเพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายเข้าท้องหรือยัง เป็นการวางแผนก่อนผ่าตัด
Biopsy คือการนำชิ้นเนื้อที่ส่งตรวจทางพยาธิ ส่วนชิ้นเนื้อจะได้จากการใช้เข็มเจาะ หรือการใช้วิธีการผ่าตัด
เจาะเลือดตรวจ alfe-fetoprotein ในรายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งตับสูง และเพื่อติดตามว่าจะกลับเป็นซ้ำหรือไม่
ระยะการเกิด
ระยะเริ่มแรก เป็นระยะที่กระตุ้นให้เกิด (Initiation) เมื่อร่างกายได้รับสารก่อมะเร็ง ซึ่งได้แก่ มลพิษ อาหารที่เป็นโทษ เชื้อโรคบางชนิด รังสี ความเครียด การใช้แรงงานกายไม่เหมาะสม ฯลฯ และเมื่อกลไกลเหล่านี้ข้าสู่ร่างกายและเข้าไปสู่เซลล์แล้ว เมื่อถึงสถานะที่เอื้อต่อการเกิดมะเร็ง สารก่อมะเร็งเหล่านี้ก็จะไปทำหน้าที่เปลี่ยนเซลล์ปกติให้เป็นเซลล์ที่มีแนวโน้มจะเป็นเซลล์มะเร็งต่อไป สารก่อมะเร็งส่วนใหญ่มักทำปฏิกิริยากับเอนไซม์ เกิดผลผลิตที่มีปฏิกิริยาสูง ไปยึดติดแน่นกับดีเอ็นเอ เกิดเป็นสารประกอบร่วมของสารก่อมะเร็งกับดีเอ็นเอ ซึ่งในระยะนี้ร่างกายสามารถที่จะซ่อมแซมความเสียหายได้ แต่ถ้าร่างกายยังได้รับสารก่อมะเร็งเข้าไปอีก เมื่อเซลล์เกิดการบ่งตัวใหม่ ความเสียหายทางพันธุกรรมก็จะถูกส่งต่อไปยังเซลล์ใหม่ต่อไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในยีนและทำให้ดีเอ็นเอเสียหาย ในระยะแรกนี้เกือบทั้งหมด สามารถที่จะพื้นคืนสภาพปกติได้ หากเราดูแลสุขภาพร่างกายของเราให้ดีไม่รับสารก่อมะเร็งเข้าสู่ร่างกายอีก
ระยะที่ 2 เป็นระยะการส่งเสริม (Promotion) เป็นระยะเวลาที่ใช้เวลามากกว่าระยะแรก คือเป็นปีๆ ระยะนี้เป็นระยะที่สามารถพื้นคืนสู่สภาพปกติได้ หากได้รับสารอาหารที่ต่อต้านการส่งเสริมการเกิดมะเร็ง ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ก็จะสามารถไปลดกลไกกระบวนการเกิดมะเร็งให้ช้าลงหรือหยุดได้ และในทำนองเดียวกันหากได้รับอาหารส่งเสริมเซลล์มะเร็ง มะเร็งก็จะสามารถเจริญเติบโตและดำเนินต่อไปได้ ฉะนั้นใน ระยะนี้เราควรปรับพฤติกรรมการดำเนินชีวิต รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย หลีกเลี่ยงอาหารที่ไปส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง เราก็จะสามารถหายขาดจากมะเร็งได้
ระยะที่ 3ระยะก้าวหน้า (Progression) เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งสามารถเจริญเติบโตงอกงาม เกิดการเกาะกลุ่มเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่เห็นชัดเจน และลุกลามไปสู่เซลล์รอบข้าง
รักษา
การผ่าตัด (Surgical Resection) ในระยะเริ่มแรก เมื่อเนื้องอกยังมีขนาดเล็กและอยู่ในส่วนเล็ก ๆ ของตับ การรักษาสามารถทำได้โดยการผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อส่วนที่มีมะเร็งออก ปกติแล้วเซลล์ตับสามารถสร้างขึ้นใหม่เอง จึงอาจเป็นไปได้ที่การผ่าตัดชิ้นเนื้อขนาดใหญ่ออกไปจะไม่ส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้ป่วย
การผ่าตัดเอาชิ้นเนื้อร้ายออกจะทำระหว่างการดมยาสลบ แต่วิธีนี้อาจตามมาด้วยภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ เลือดออกหลังการผ่าตัด มีการติดเชื้อ ภาวะหลอดเลือดขาและปอดอุดตัน ปอดบวม น้ำดีรั่วออกจากตับ ตับวาย อาการดีซ่าน เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาสลบได้ หลังจากผ่าตัด แพทย์ต้องเฝ้าระวังอาการของผู้ป่วยต่อเนื่อง และใช้เวลาหลายเดือนกว่าผู้ป่วยจะฟื้นตัวได้เต็มที่
การผ่าตัดเปลี่ยนตับ แพทย์จะเปลี่ยนถ่ายตับใหม่ที่ได้รับบริจาคแทนที่ตับที่มีมะเร็งให้กับผู้ป่วย โดยวิธีนี้สามารถใช้รักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งตับระยะเริ่มแรกที่มีเนื้องอกขนาดเล็กและมีจำนวนไม่มาก ไม่เช่นนั้นจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งอีกครั้งได้สูง
รังสีรักษา (Radiation Therapy) การรักษาด้วยการฉายรังสีพลังงานสูง เช่น รังสีเอกซเรย์และโปรตอนตรงไปยังเซลล์เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งและทำให้เนื้องอกหดตัวเล็กลง การฉายรังสีอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อเซลล์ปกติที่ตับและบริเวณรอบข้างได้ง่าย รวมถึงร่างกายอาจมีอาการอ่อนล้า คลื่นไส้ และอาเจียนได้
เคมีบำบัด (Chemotherapy) การให้ยารับประทานหรือฉีดยาฆ่าเซลล์มะเร็งไปยังหลอดเลือดดำหรือหลอดเลือดแดง หรือเพื่อกำจัดเซลล์มะเร็ง การทำเคมีบำบัดนี้ผู้ป่วยแต่ละรายอาจมีอาการข้างเคียงที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับการตอบสนองของคนไข้และชนิดของยา เช่นฟกช้ำง่าย อ่อนเพลีย คลื่นไส้และอาเจียน ผมร่วง ขาบวม เจ็บปาก และท้องเสีย ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะคงอยู่เพียงชั่วคราว
Ablative Therapy การฆ่าเซลล์มะเร็งโดยการฉีดสารเข้าไปที่เนื้อร้ายโดยตรง สารที่ใช้ฉีดอาจเป็นความร้อน เลเซอร์ กรด หรือแอลกอฮอล์ชนิดพิเศษ หรืออาจใช้คลื่นวิทยุก็ได้ วิธีนี้สามารถใช้ในการรักษาเพื่อบรรเทาอาการได้ ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัด
การให้ยาเจาะจงเซลล์มะเร็ง (Targeted Drug Therapy) เป็นวิธีการใช้ยาเพื่อชะลอหรือยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งตับ โดยเจาะจงกับเซลล์ที่มีความผิดปกติมากขึ้นกว่าการทำเคมีบำบัดทั่วไป
ภาวะแรกซ้อน
นอกจากอาการที่ผู้ป่วยมะเร็งตับแสดงและผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการรักษาที่กล่าวไปแล้ว มะเร็งตับยังอาจสามารถแพร่กระจายไปสู่อวัยวะบริเวณอื่น ๆ เช่นตามต่อมน้ำเหลืองหรืออวัยวะที่อยู่ห่างไกลออกไปหรือส่งผลให้มีเลือดออกภายใน เช่น ในระบบทางเดินอาหาร และก้อนเนื้องอกเกิดแตกได้ นอกจากนี้อาจรุนแรงถึงขั้นทำให้ตับวาย ซึ่งมักจะเกิดขึ้นได้ในระยะท้าย ๆ ของโรคมะเร็งตับ