Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 11 ความเป็นครู - หลักธรรมาภิบาล (ยุทธศาสตร์ของธรรมาภิบาล…
บทที่ 11 ความเป็นครู - หลักธรรมาภิบาล
หลักธรรมาภิบาลกับการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิภาพ
หลักธรรมาภิบาลกับการศึกษา
ควรจัดและส่งเสริมให้สังคมไทยอยู่บนพื้นฐานของหลักสำคัญอย่างน้อย 6 ประการ คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่าคุ้มทน
การกระจายอำนาจทางการศึกษา
จุดแข็งและโอกาส
พื้นที่และชุมชน
หน้าที่จากผู้สั่งการหรือผู้สอนมาเป็นผู้ประสานงานและเอื่ออำนวยความสะดวก
การมีส่วนร่วมเป็นหลักในการจัดการศึกษา
ความก้าวหน้าของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
จุดอ่อนและอุปสรรคหรือข้อจำกัด
งบประมาณสนับสนุนของรัฐมีจำกัด
การขาดความจริงใจและเข้าใจของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับนโยบายและนักการเมืองท้องถิ่น
ระบบและโครงสร้างการบริหารจัดการยังปรับตัวไม่ทันตั้งแต่ส่วนกลางที่ยังต้องการปฏิรูประบบต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบราชการ
มีกลไกความร่วมมือน้อยในลักษณะของพหุภาคี
การบริหารโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ
มีความซื่อสัตย์สุจริตถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของการบริหาร
มีความยุติธรรมการบริหารงานด้วยความเสมอภาคเป็นกลางและยุติธรรมกับทุกคน
มีความมุ่งมั่นขยันอดทนและเป็นคนสู้งาน
มีความรับผิดชอบสูง
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นำแนวคิดและวิธีการใหม่ๆมาปฏิบัติในโรงเรียน
มีภาวะผู้นำสูงผู้บริหารต้องเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียน
กล้าที่จะคิดกล้าที่จะพูดกล้าที่จะนำกล้าที่จะทำกล้าที่จะตัดสินใจและกล้าที่จะรับผิดชอบในฐานะผู้บริหาร
มีคุณธรรมและจริยธรรมยึดพรหมวิหาร 4 เป็นธรรมะในการบริหารบุคลากร เมตตากรุณามุทิตาอุเบกขา
มีวุฒิภาวะทางอารมณ์สูง
เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่บุคลากรในโรงเรียน
มีความจริงใจยึดอุดมการณ์ในการทำงานให้มีความเป็นกันเองแก่ผู้ร่วมงาน
ธรรมาภิบาลกับกิจการนักเรียน
หลักนิติธรรม การมีกฎหมายและกฎเกณฑ์ที่มีความเที่ยงตรงเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายในสังคม
หลักคุณธรรม การที่คนในสังคมมีจิตสำนึกและยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม
หลักความโปร่งใส เป็นการสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกัน
หลักความมีส่วนร่วม การเปิดโอกาสให้ประชาชนในสังคมทุกๆระดับเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่สำคัญ
หลักความรับผิดชอบ การตระหนักในสิทธิและหน้าที่มีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคม
หลักการคุ้มค่า การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
วิวัฒนาการของธรรมาภิบาล
ธรรมาภิบาลเป็นแนวคิดที่ใช้ในสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์โดยเป็นคำที่อยู่รวมกับกลุ่มคำประชาธิปไตยประชาสังคมการมีส่วนร่วมของประชาชนสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาที่ยั่งยืนในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา
การปฏิบัติของภาครัฐให้มีประสิทธิภาพอย่างจริงจังและต่อเนื่องมีการศึกษาและนำแนวคิดของธรรมาภิบาลมาผสมผสานกับรูปแบบการปกครองที่ใช้อยู่และมีการผลักดันให้เป็นหลักในการสร้างการปกครองที่ดีของประเทศ
อภิบาลเป็นแนวคิดการปกครองที่มีมาแต่สมัยเพลโตและอริสโตเติล นักปราชญ์หลายท่านพยายามค้นหารูปแบบการปกครองที่ดี ซึ่งวิวัฒนาการรูปแบบอภิบาลที่ดีเกิดขึ้นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
ธรรมาภิบาลกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2540
ธรรมาภิบาลของรัฐในมาตรา 71 ถึงมาตรา 81(3)
เป็นรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่ได้สร้างกระแสความคิดหลักธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นและสุดท้ายได้บรรจุหลักธรรมาภิบาลไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ในหลายมาตราที่สำคัญบรรจุไว้เป็นแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ยุทธศาสตร์ของธรรมาภิบาล
ยุทธศาสตร์ที่ 1 รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์เอกราชและบูรณภาพแห่งราชอาณาจักร
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ต้องจัดให้มีกำลังทหารไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชความมั่นคงของรัฐสถาบันพระมหากษัตริย์ผลประโยชน์แห่งชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนาและศาสนาอื่น
ยุทธศาสตร์ที่ 4 รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศและพึ่งถือหลักการปฏิบัติต่อกันอย่างเสมอภาค
ยุทธศาสตร์ที่ 5 รัฐต้องดูแลให้มีการพัฒนาตามกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคล
ยุทธศาสตร์ที่ 6 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายการตัดสินใจทางการเมือง
ยุทธศาสตร์ที่ 7 รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมืองตามมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ยุทธศาสตร์ที่ 8 รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง
วิทยาศาสตร์ที่ 9 รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวนบำรุงรักษาและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล
ยุทธศาสตร์ที่ 10 รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชนส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชายเสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว
ยุทธศาสตร์ที่ 11 รัฐต้องการศึกษาอบรมและสนับสนุนให้เอกชนจัดการศึกษาอบรมให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมจัดให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 12 รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง
ยุทธศาสตร์ที่ 13 รัฐต้องดำเนินการให้มีการกระจายรายได้อย่างเป็นธรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 14 รัฐต้องโรงเรียนจัดระบบการถือครองที่ดินและการใช้ที่ดินอย่างเหมาะสมจัดหาแหล่งน้ำเพื่อเกษตรกรอย่างทั่วถึง
ยุทธศาสตร์ที่ 15 เกษตรกรรัฐต้องส่งเสริมสนับสนุนและคุ้มครองระบบสหกรณ์
ยุทธศาสตร์ที่ 16 รัฐต้องส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีงานทำคุ้มครองแรงงานโดยเฉพาะแรงงานเด็กและแรงงานหญิง
ยุทธศาสตร์ที่ 17 รัฐต้องสนับสนุนระบบเศรษฐกิจแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาดกำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรมคุ้มครองผู้บริโภค
ความหมายของธรรมาภิบาล
การบริหารของภาครัฐที่มุ่งความดีงามและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่รัฐและประชาชนอย่างทั่วถึงและยุติธรรม
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
มีความโปร่งใส
ไม่มีคอรัปชั่นหรือผลประโยชน์ที่ทับซ้อนมีความยุติธรรมอย่างทั่วถึง
ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างทั่วถึง
งานวิจัยเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาลกับการศึกษา
ทับทิม ปันสา
วิจัยเรื่อง
การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากําแพงเพชรเขต 1 จังหวัดกำแพงเพชร
กวี เจ๊ะหมัดและนพรัตน์ ชัยเรือง
วิจัยเรื่อง
พฤติกรรมการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลาม
ธรรมาภิบาล
การมีส่วนร่วม การตัดสินใจที่สำคัญในสังคมและสร้างความสามัคคีให้เกิดกับประชาชน
การปฏิบัติตามกฎ ธรรมาภิบาลต้องการความถูกต้องตามกรอบของกฎหมายไม่เลือกปฏิบัติไม่ลำเอียงมีการปฏิบัติอย่างเสมอภาค
ความโปร่งใส เป็นการตรวจสอบความถูกต้องมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา
ความรับผิดชอบ เป็นการพยายามให้คนทุกฝ่ายทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดในการปฏิบัติงานกล้าที่จะคิดกล้าที่จะตัดสินใจ
ความสอดคล้อง เป็นการกำหนดและสรุปความต้องการของคนในสังคม
ความเสมอภาค เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนเพิ่งได้รับจากรัฐบาล
หลักประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นวิธีการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดโดยการผลิตและจำหน่ายเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่คุ้มค่ากับเงินที่ลงทุน
การมีเหตุผล เป็นความต้องการในสังคมประชาชนทุกคนต้องตัดสินใจและรับผิดชอบต่อการกระทำของตนด้วยเหตุผลที่สมเหตุสมผล