Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 6 ความเป็นครู - การจัดการความรู้ (การจัดการความรู้ในสถานศึกษา…
บทที่ 6 ความเป็นครู - การจัดการความรู้
การจัดการความรู้ในสถานศึกษา
การจัดการความรู้ในสถานศึกษา
การหาความรู้ ในการเก็บรวบรวมความรู้จากแหล่งความรู้ภายในและภายนอก ทั้งจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ สิ่งพิมพ์และบุคคล และการสร้างสรรค์ความรู้ในวิทยาลัย เช่น การเรียนรู้จากการปฏิบัติ วิธีการทำงาน และใช้การวิจัย
การเก็บรักษาความรู้ คือ การทำให้ความรู้คงอยู่ เข้าถึงได้สะดวก และสะดวกในการนำออกมาใช้
การนำไปใช้ เพื่อสร้างสรรค์ให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยใช้เวลาน้อยที่สุดในการปลูกฝังอบรมบ่มเพาะ และเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ยอดเวลาโดยการส่งมอบการเรียนรู้ที่เป็นคุณภาพ
การวิเคราะห์ การพิจารณาว่าสถานศึกษาขาดความรู้ในเรื่องใด และต้องการความรู้ประเภทใด อยากเพิ่มความรู้ความชำนาญของครูโดยความรู้ชนิดใด วิเคราะห์ความมีประโยชน์และความเหมาะสมที่จะใช้ในสถานศึกษา เข้าใจปัญหา โอกาส ยุทธศาสตร์ และการแก้
การดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้วยการจัดการความรู้
จัดให้มีการประชุม แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียนและคุณภาพการศึกษา
จัดกระบวนการกลุ่มให้ครูผู้สอนในวิชาเดียวกันได้ระดมสมองแก้ปัญหาการเรียนการสอนร่วมกันโดยมีการผลัดกันทำหน้าที่ผู้จัดการความรู้
ค้นหาและส่งเสริมครูที่มีความสามารถพิเศษในด้านความรู้และทักษะการสอนและหาทางส่งเสริมให้อยู่ในสถานศึกษาด้วยการสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน
พัฒนาหลักสูตรอบรม แลธกิจกรรมเพื่อพัฒนาครูในรูปแบบต่างๆ แบบฝึกอบรมและพัฒนาครูแต่ละคนในสถานศึกษา
เสริมยกย่องให้รางวัลแก่ผู้ที่มีการจัดการความรู้ที่นำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันหรือการสอนงานครูรุ่นน้อง
จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการค้นคว้าความรู้และการประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อการสอนให้บังเกิดผลดียิ่งขึ้น
การแลกเปลี่ยนความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคนโดยใช้วิธีการผู้ฝึกสอนหรือการจัดเป็นเพียงผู้สอนที่มีการร่วมคิดร่วมทำงานโดยการวางแผนการสอนเป็นทีมและใช้วิธีการประชุมแบบระดมสมอง
การแลกเปลี่ยนความรู้ที่ฝังในตัวคน โดยนำความรู้ในครูต้นแบบออกมานำเสนอในรูปแบบของการเล่าเรื่อง การเปรียบเทียบ และการเขียนรายงานเพื่อนำเสนอ
การดึงความรู้ออกมาจากครูต้นแบบ และการกระจายความรู้ให้แก่รูคนอื่น
ความสำคัญของการจัดการความรู้
นักวิชาการจำนวนมากได้สนับสนุนให้องค์กรทุบประเภทนำการจัดการความรู้ไปใช้ในองค์กรของตนเนื่องจากเห็นว่าการจัดการความรู้ทำให้องค์กรมีความเข้มแข็งสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
เป็นสิ่งจำเป็นขององค์กรเพื่อการส่งผ่านความรู้สู่กันโดยใช้การจัดการความรู้เป็นวิธีการสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้เกิดการบริหารคุณภาพในองค์กรและทำให้เป้าหมายขององค์กรทั้งหลายที่ต้องการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นจริง
การจัดการความรู้แบบต่อเนื่อง
การจัดการความรู้เบื้องต้น โมเดลปลาทู
ตัวปลา
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ การแบ่งปันความรู้วัฒนธรรมองค์กรให้บุคลากรแบ่งปันความรู้ซึ่งกันและกัน
หางปลา
ขุมความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หางปลาจึงเป็นส่วนของการจัดการความรู้ เป็นการสกัดความรู้ที่ซ่อนเร้นในองค์กรให้เป็นความรู้ที่เด่นชัด
หัวปลา
ด้วยวิสัยทัศน์ เป็นเป้าหมายหลักของการดำเนินการจัดการความรู้ที่สะท้อน วิสัยทัศน์ ความรู้ หรือหัวใจของความรู้เพื่อการบรรลุวิสัยทัศน์ขององค์กร
บุคคลสำคัญของการจัดการความรู้
คุณอำนวย
เป็นผู้ทำหน้าที่เชื่อมโยงคน สร้างความสัมพันธ์ต่อกัน
คุณกิจ
เป็นผู้รับผิดชอบตามหน้าที่ของตน
คุณลิขิต
เป็นผู้ทำหน้าที่จดบันทึกสกัดองค์ความรู้
คุณวิศาสตร์
เป็นผู้ออกแบบระบบไอที
คุณเอื้อ
เป็นผู้บริหารระดับสูงทำหน้าที่จัดการความรู้ขององค์กร
ความหมายของการจัดการความรู้
การจัดการความรู้การจัดการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูลสารสนเทศ ความคิด การ กระทำ ประสบการณ์ของบุคคล และความรู้จากเอกสารตำรา เพื่อกำหนดสร้างเป็นความรู้ และดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดเก็บความรู้ การนำความรู้ที่มีอยู่มาใช้ในการปฏิบัติงาน ทำให้เกิดการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเผยแพร่ ถ่ายโอนความรู้ และการประเมินผลความรู้เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาผลผลิตให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามต้องการ
หลักการจัดการความรู้และวิธีจัดการความรู้
หลักการจัดการความรู้
การให้บุคลากรร่วมกันพัฒนาวิธีการทำงานใหม่ๆ
การให้บุคลากรได้เรียนรู้
การบุคลากรนำความรู้ภายนอกมาใช้พัฒนางานอย่างเหมาะสม
การให้บุคลากรหลากหลายทักษะและความคิดทำงานร่วมกัน
วิธีจัดการความรู้
วิธีการจัดการความรู้ไว้
การสร้างวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความรู้ เป็นความรู้หลักขององค์กรสำหรับใช้เป็นเข็มทิศในการจัดการความรู้ขององค์กร และสร้างความเชื่อและค่านิยมร่วมกันสังคมกร โดยการเปิดโอกาสให้บุคลากรในหน่วยงานได้ร่วมกันเพื่อนำไปสู่การสร้างวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร
การสร้างทีมการจัดการความรู้ในองค์กร
วิศวกรความรู้ คือ กลุ่มผู้บริหารระดับกลางมีหน้าที่หลัก คือการตีความและแปลความรู้ในตัวคนให้เป็นความรู้ในกระดาษที่จับต้องได้ นำไปปฏิบัติได้ และทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานระหว่างผู้บริหารบุคลากรผู้ปฏิบัติความรู้
ผู้เชี่ยวชาญความรู้ คือ มีหน้าที่จัดการความรู้ที่อยู่ในกระดาษแล้วจัดส่งให้แก่ผู้ปฏิบัติงานนำไปใช้ได้ง่าย
ผู้ปฏิบัติจัดการความรู้ คือ แสวงหาความรู้ สร้างความรู้ สั่งสมความรู้ และใช้ความรู้