Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แนวคิดเศรษฐศาสตร์นิโอคลาสสิกและสำนักเคนส์ (แนวคิดเศรษฐศษสตร์นิโอคลาสสิก…
แนวคิดเศรษฐศาสตร์นิโอคลาสสิกและสำนักเคนส์
แนวคิดเศรษฐศษสตร์นิโอคลาสสิก (Neo-classical Economic)
มีการคิดค้นเทคนิคการผลิตใหม่ๆขึ้น โดยเฉพาะในอังกฤษ โรงงานอุสาหกรรมหันไปใช้ระบบการผลิตที่มีขนาดใหญ่เพื่อลดต้นทุนต่อหน่วยมากขึ้น มีการขยายโรงงาน ซึ่งนำไปสู่การรวบรวมกิจการ ผู้ประกอบการรายเล็กที่ไม่สามารถแข่งขนได้ก็ต้องหันไปหาพันธมิตรทางธุรกิจ มีการรวมตัวทางธุรกิจมากขึ้น
ปัญหาความขัดแย้งในเรื่องค่าจ้างและสวัสดิการระหว่างนาจ้างและลูกจ้างมีมากขึ้น
ผู้นำทางความคิดของสำนักนีโอคลาสสิกที่สำคัญที่สุดคือ Alfred Marshall ซึ่งคำว่า Neo-classic ต้องการสื่อความหมายว่าเป็นการพัฒนาต่อจากสำนักคลาสสิกที่เน้นการวิเคราะห์ในด้านอุปทาน ในขณะที่แนวคิดของ Marshall จะให้ความสำคัญกับด้านอุปสงค์เท่าๆ กับด้านอุปทาน
ในความหมายที่แคบ เศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิกจะหมายถึงเศรษฐศาสตร์ของสำนักเคมบริดจ์ที่ก่อตั้งโดย Marshall เท่านั้น ไม่ได้รวมไปถึงแนวคิดของกลุ่มอรรถประโยชน์หน่วยสุดท้าย แต่หากเป็นความหมายกว้าง ซึ่งมักนิยมเรียกเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก (Mainstream Economics) ที่รวมทฤษฏีอรรถประโยชน์หน่วยสุดท้าย ทฤษฏีผลิตผลหน่วยสุดท้าย ทฤษฎีดุลยภาพทั่วไป ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ เป็นต้น ว่าเป็นเศรษฐศาสตร์นีโอคลาสสิก
การเปลี่ยนแปลงวิธีวิเคราะห์และแนวคิดทางทฤษฎีต่างๆ ทำให้ลักษณะวิชานี้ค่อยๆ เปลี่ยนจากวิชา "เศรษฐกิจการเมือง" (Political Economy) เป็น "เศรษฐศาสตร์" (Economics) ซึ่งเน้นความเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น มีการนำเอาคณิตศาสตร์มาใข้ในการวิเคราะห์มากขึ้น กลายเป็นการวิเคราะห์แบบ "ปัจเจกนิยมเชิงวิธีวิทยา" (Methodological Individualism)
ไม่ว่าเศรษฐกิจนั้นจะเป็นระบบทุนนิยม หรือสังคมนิยม ย่อมสามารถใช้ทฤษฎีการจัดสรรทรัพยากรตามแนวคิดของกลุ่มนีโอคลาสสิกได้
แนวคิดเศรษฐศาสตร์เคนส์ (Keynesian Economics)
Great Depression
ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษเป็นประเทศมหาอำนายทั้งทางเศรษฐกิจและการเมืองของโลก มีการขยายตัวของกระบวนการพัฒนาอุตสาหกรรมจากสหราชอาณาจักรไปสู่ประเทศอื่นๆ ทั้งในยุโรปและสหรัญอเมริกา นอกจากปริมาณการค้าระหว่าประเทศจะขยายตัวเพิ่มขึ้น การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศทั้งการลงทุนโดยตรงและการลงทุนโดยอ้อมก็เพิ่มขึ้นมากด้วย
การเข้าสู่ภาวะสงครามทำให้การค้าระหว่างประเทศหยุดชะงัก ประเทศมหาอำนาจในยุโรปที่เข้าร่วมสงครามต่างสูญเสียกำลังแรงงานไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อการผลิตและการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศในช่วงสงครามเป็นอย่างมาก
เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจโลกเข้าสู่สภาวะยุ่งเหยิง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศไม่มีเสถียรภาพ อัตราการว่างงานสูงขึ้น หลายประเทศได้หันมาใช้นโยบายกีดกันการค้ารหว่างปรเทศโดยการตั้งกำแพงภาษีและห้ามการนำเข้า ส่งผลให้แทบทุกประเทศประสบปัญหาเงินเฟ้าเนื่องจากอาหารขาดแคลน
ผลจากภาวะสงครามทำให้มูลค่าการถือครองทรัพย์สินของประเทศชั้นนำทางอุตสาหกรรมในยุโรปลดลง ในขณะที่สหรัฐอเมริการกลับมีสัดส่วนการถือครองทรัพย์สินมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะในช่วงสงครามสหรัฐฯ เป็นประเทศที่ขายอาวุทยุทโธปกรณ์ รวมทั้งอาหารและยารักษาโรค นอกจากนี้ยังเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของโลกอีกด้วย จนกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกแทนสหราชอาณาจักร
แม้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 จะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก แต่ในนขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตทั้งในภาคการเกษตรกรรมและอุตสหกรรม
ภาวะการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงของโลกได้ยุติลง เพราะผลผลิตส่วนเกินมีอยู่เป็นจำนวนมากทั้งการผลิตในภาคเกษตรกรรมและอุตสหกรรม ส่งผลให้ระดับราคาลดลงอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะสินค้าเพื่อการส่งออก จึงมีผลต่อการขาดดุลการค้าและดุลการชำระเงินของประเทศอุตสาหกรรม อีกทั้งยังทำให้ค่าจ้างแรงงานลดลง รวมถึงอัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น
เนื่องด้วยเกิดภาวะราคาหุ้นลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว จึงทำให้กำลังซ์้อของสหรัฐฯ ลดลง ส่งผลให้ยุโรปขายสินค้าน้อยลง จึงส่งผลให้ยุโรปต้องทรุดตัวลงไปอีก สหรัฐฯ ได้ออกกฎหมายขึ้นภาษีควบคุมการนำเข้า-ส่งออก เพื่อป้องกันอุตสหกรรมภายในประเทศ โดยมุ่งหวังให้แรงงานในประเทศมีงาานทำ ส่งผลให้แต่ละประเทศที่ค้าขายกับสหรัฐฯ ตอบโต้การค้าโดยการขึ้นภาษีควบคุมนำเข้า-ส่งออกกับสหรัฐฯ ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจของโลกยิ่งตกต่ำลงจนถึงจุดวิกฤตต่ำสุดในปี ค.ศ. 1932
แนวคคิด Keynes
ทฤษฎีว่าด้วยการกำหนดระดับของการผลิต
ปัจจัยที่กำหนดระดับการจ้างงานและระดับการผลิตคือ อุปสงค์ที่มีผล (Effective Demand)
อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงจะทำให้มีการลงทุนเพิ่มขึ้นจะส่งผลให้การจ้างงานเพิ่มขึ้นได้
อาศัยการลงทุนจากภาครัฐ ร่วมกับการลงทุนของภาคเอกชน
นโยบายการคลัง
การนำแนวคิดของ Keynes มาปฏิบัติใช้
นโยบาย New Deal Policy
ส่งเสริมให้มี Collective Bargaining
กระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของครัวเรือนที่เรียกว่าการใช้จ่ายทางอ้อมโดยผ่านการเพิ่มค่าจ้างทางอ้อม
State Welfare Model