Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความหมายเเละประเภทของวัสดุของสารสนเทศ (ความหมาย (หนังสือ…
ความหมายเเละประเภทของวัสดุของสารสนเทศ
ความหมาย
วัสดุสารสนเทศ คือ สื่อที่บันทึกข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ ซึ่งแบ่งตามสิ่งที่ใช้บันทึก ได้เป็น 3 ประเภท คือ วัสดุตีพิมพ์ วัสดุไม่ตีพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ วัสดุตีพิมพ์ คือ กระดาษที่พิมพ์ข้อความเพื่อใช้ประกอบการสื่อสารเป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งเป็น 5 ประเภทดังนี้
หนังสือ เป็นเรื่องราวความรู้ของคนที่เรียบเรียงแล้วจัดพิมพ์ไว้อ่านมีส่วนประกอบที่สำคัญ คือ
1.1 ส่วนปก มีใบหุ้มปก ปกหนังสือ ใบยึดปก และใบรองปก
1.2 ส่วนต้น มีหน้าปกใน คานา สารบัญ เป็นต้น
1.3 ส่วนเนื้อหา
1.4 ส่วนท้าย มีบรรณานุกรม ภาคผนวก ดัชนี และอภิธานศัพท์
วารสาร หรือนิตยสาร เป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องที่ออกติดต่อกันเป็นประจาภายใต้ ชื่อเรื่องเดิม เรียงลำดับเนื้อหาตามที่แจ้งไว้ในสารบัญ
หนังสือพิมพ์ เป็นสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องมักออกเป็นรายวัน เพื่อเสนอข่าว เหตุการณ์ ที่น่าสนใจ
จุลสาร เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีความยาวไม่มาก
กฤตภาค เป็นการรวบรวมเรื่องจากสิ่งพิมพ์ นำมาจัดเก็บเป็นระบบ วัสดุไม่ตีพิมพ์ เป็นวัสดุที่สามารถมองเห็น (ทัศนวัสดุ) หรือฟัง (โสตวัสดุ) หรือทั้งมองเห็น และฟัง (โสตทัศนวัสดุ) ได้โดยตรง หรือต้องอาศัยเครื่องมือนำเสนอข้อมูล เช่น รายการวิทยุ รูปภาพ หุ่นจาลอง รายการโทรทัศน์ ไมโครฟิล์ม เป็นต้น สื่ออิเล็กทรอนิกส์ มีลักษณะเป็นสื่อประสมของข้อมูล ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เป็นซอฟ์แวร์ทางการศึกษาที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเอง ทำกิจกรรมตอบสนองร่วมกับสื่อได้โดยผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นต้น สื่อการเรียนบนอินเทอร์เน็ต หรืออีเลิร์นนิ่ง หนังสือ และวารสารอิเล็กทรอนิกส์ บอกรับเป็นสมาชิกได้ทางซีดีรอม ฐานข้อมูล และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ประเภท
วัสดุสิ่งพิมพ์ (Printed materials) หรือวัสดุตีพิมพ์
วัสดุสิ่งพิมพ์ คือ วัสดุที่ให้ความรู้ที่มีการพิมพ์ขึ้นมาเพื่อการศึกษาค้นคว้าโดยอาศัยการอ่าน ดังนี้
1.1 หนังสือ (Book) คือสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นรูปเล่ม อาจมีเล่มเดียวจบหรือหลายเล่มจบมุ่งให้ ความรู้และความ เพลิดเพลินแก่ผู้อ่าน
1.2 วารสาร (Periodicals) คือ สิ่งพิมพ์ที่มีกำหนดระยะเวลาการออกแน่นอนและต่อเนื่อง เช่น ออกเป็นรายสัปดาห์ รายปักษ์ (15วัน) รายเดือน รายครึ่งปี
1.3หนังสือพิมพ์ (Newspaper) คือสิ่งพิมพ์ที่ออกรายวันและทุกวัน เสนอข่าว เหตุการณ์
ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกประเทศ นอกจากนี้ยังมีบทความและข้อคิดเห็นต่างๆเรื่อง การเมือง เศรษฐกิจ
กีฬา การศึกษาฯลฯ
1.4 กฤตภาค (Clippings) คือ ข่าวสาร บทความ สำคัญ ๆ และน่าสนใจ โดยตัดจากหนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร หรือเอกสารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้ นำมาผนึกลงบนกระดาษ บอกแหล่งที่มา เช่น ชื่อสิ่งพิมพ์ เลขหน้า วัน เดือน ปี นำมาให้หัวเรื่อง จัดเก็บเข้าแฟ้ม โดยเรียงสำดับตามตัวอักษร เก็บไว้ในตู้จุลสาร เพื่อนำมาใช้ค้นคว้า อ้างอิง
1.5 จุลสาร (Pamphlets) คือสิ่งพิมพ์ที่มีรูปเล่มขนาดเล็กมีจำนวนหน้าไม่เกิน 60 หน้า เนื้อหาส่วนมากจบในเล่ม จัดทำโดยผู้ทรงคุณวุฒิหรือหน่วยราชการ องค์การ สถาบันที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวนั้นๆ มักเป็นสิ่งพิมพ์ที่ให้เปล่าหรือจำหน่ายในราคาถูก
วัสดุไม่ใช่สิ่งพิมพ์ หรือวัสดุไม่ตีพิมพ์
คือวัสดุที่ให้ความรู้ความเพลิดเพลินโดยใช้เสียงและภาพเป็นหลัก เพื่อช่วยให้เข้าใจได้ง่ายและจำได้นาน เกิดการเรียนรู้ที่ถูกต้อง โสตทัศนวัสดุแบ่งได้ตามการใช้ มี 3 ประเภทคือ
2.1 ทัศนวัสดุ คือวัสดุที่ถ่ายทอดความรู้โดยการดู เช่น ลูกโลก หุ่นจำลอง ของตัวอย่าง
2.2 โสตวัสดุ คือวัสดุที่ถ่ายทอดความรู้โดยการฟัง เช่น แผ่นเสียง เทปบันทึกเสียง
2.3 โสตทัศนวัสดุ คือวัสดุที่ถ่ายทอดความรู้โดยการดูและฟัง เช่น วีดิทัศน์ ภาพยนตร์