Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 (มาตรา 12 (บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสด…
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550
มาตรา 5
บุคคลมีสิทธิในการดํารงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและ สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
บุคคลมีหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานของรัฐในการดําเนินการให้เกิด สิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมตามวรรคหนึ่ง
มาตรา 6
สุขภาพของหญิงในด้านสุขภาพทางเพศและสุขภาพ ของระบบเจริญพันธุ์ซึ่งมีความจําเพาะ ซับซ้อนและมีอิทธิพลต่อสุขภาพหญิง
ตลอดช่วงชีวิต ต้องได้รับการสร้างเสริม และคุ้มครองอย่าง สอดคล้องและเหมาะสม
สุขภาพของเด็ก คนพิการ คนสูงอายุ คนด้อยโอกาสในสังคมและ กลุ่มคนต่างๆ ที่มีความจําเพาะในเรื่องสุขภาพต้องได้รับ
การสร้างเสริม และคุ้มครองอย่างสอดคล้องและเหมาะสมด้วย
มาตรา 12
บุคคลมีสิทธิทําหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะ รับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของ ชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
การดําเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไป ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กําหนดในกฎกระทรวง
เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของ บุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทํานั้นเป็นความผิดและให้ พ้นจากความรับผิดทั้งปวง
มาตรา 8
ในการบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุข ต้องแจ้งข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการให้ผู้รับบริการทราบ
อย่างเพียงพอที่ผู้รับบริการจะใช้ประกอบการตัดสินใจ
ในการรับหรือไม่รับบริการใด และในกรณีที่ผู้รับบริการ
ปฏิเสธไม่รับบริการใด จะ ให้บริการนั้นมิได้
ในกรณีที่เกิดความเสียหายหรืออันตรายแก่ผู้รับบริการเพราะเหตุ ที่ผู้รับบริการปกปิด ข้อเท็จจริงที่ตนรู้และควรบอกให้แจ้ง หรือแจ้ง ข้อความอันเป็นเท็จ ผู้ให้บริการไม่ต้องรับผิดชอบในความเสียหายหรือ อันตรายนั้น เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ให้บริการประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
(๑) ผู้รับบริการอยู่ในภาวะที่เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
และมีความ จําเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นการรีบด่วน
(๒) ผู้รับบริการไม่อยู่ในฐานะที่จะรับทราบข้อมูลได้ และไม่อาจ
แจ้งให้บุคคลซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ ผู้ปกครอง ผู้ปกครองดูแล ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาลของ
ผู้รับบริการ แล้วแต่กรณี รับทราบข้อมูลแทนในขณะนั้นได้
มาตรา 7
ข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคล เป็นความลับส่วนบุคคล ผู้ใดจะนําไปเปิดเผยในประการที่น่าจะทําให้บุคคลนั้นเสียหายไม่ได้
เว้นแต่ การเปิดเผยนั้นเป็นไปตามความประสงค์ของบุคคล นั้นโดยตรง หรือ มีกฎหมายเฉพาะบัญญัติให้ต้องเปิดเผย
ไม่ว่าในกรณีใด ๆ ผู้ใดจะอาศัยอํานาจหรือสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการหรือกฎหมายอื่นเพื่อขอเอกสารเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพของบุคคลที่ไม่ใช่ของตนไม่ได้
มาตรา 9
ในกรณีที่ผูhประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขประสงค์ จะใช้ผู้รับบริการเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองในงานวิจัย ผู้ประกอบ วิชาชีพด้านสาธารณสุขต้องแจ้งให้ผู้รับบริการทราบล่วงหน้า และต้อง ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากผู้รับบริการก่อนจึงจะดําเนินการได้ ความยินยอมดังกล่าว ผู้รับบริการจะเพิกถอนเสียเมื่อใดก็ได้
มาตรา 11
บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิร้องขอให้มีการ ประเมินและมีสิทธิร่วมในกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ จากนโยบายสาธารณะ
บุคคลหรือคณะบุคคลมีสิทธิได้รับรู้ข้อมูล คําชี้แจง และเหตุผล จากหน่วยงานของรัฐก่อนการอนุญาตหรือการดําเนินโครงการหรือ กิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพของตนหรือของชุมชนและแสดง ความเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว
มาตรา 10
เมื่อมีกรณีที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน เกิดขึ้น หน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ต้องเปิดเผย ข้อมูลนั้นและวิธีป้องกันผลกระทบต่อสุขภาพให้ประชาชนทราบและ จัดหาข้อมูลให้โดยเร็ว
การเปิดเผยข้อมูลตามวรรคหนึ่งต้องไม่มีลักษณะเป็นการละเมิด สิทธิส่วนบุคคลของบุคคลใดเป็นการเฉพาะ