Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary care) (หน่วยบริการปฐมภูมิ (Primary Care…
ระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Primary care)
ลักษณะสำคัญของการบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ
ผสมผสานทั้งด้านการสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันการเจ็บป่วยการรักษาพยาบาลและฟื้นฟูสภาพโดยพิจารณาปัญหาอย่างเป็นองค์รวม
เป็นการบริการสุขภาพระดับแรกที่ประชาชนเข้าถึงได้ง่ายทั้งในด้านภูมิศาสตร์ สังคม สิ่งแวดล้อมจิตวิทยาและเศรษฐกิจ
เน้นการให้บริการสุขภาพในเชิงรุกเพื่อสร้างเสริมสุขภาพการป้องกันการเจ็บป่วย/โรคและการเพิ่มศักยภาพการพึ่งตนเองของประชาชน
ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกระยะของภาวะสุขภาพตามความเหมาะสม พร้อมกับการจัดทำระบบข้อมูลของประชาชนตั้งแต่เกิดจนเสียชีวิต
ทำหน้าที่ประสานกับหน่วยบริการอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้บริการครอบคลุมปัญหาและความต้องการของผู้ใช้บริการรอบด้าน
หมายถึง ระบบบริการสุขภาพขั้นต้นที่ให้บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ เช่น สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขกำหนดให้มีบทบาททั้งด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ เป็นสถานบริการสุขภาพที่ตั้งอยู่ใกล้บ้าน เข้าถึงบริการได้ง่าย มีบริการพื้นฐานที่ต้องการ และให้บริการโดยบุคลากรวิชาชีพ
หน่วยบริการปฐมภูมิ
(Primary Care Unit : PCU)
ทำหน้าที่ให้บริการสุขภาพทั่วไปทั้งส่วนที่เป็นการรักษา พยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟู สภาพพนื้ฐาน
ลักษณะการให้บริการแบบผู้ป่วยนอก การให้บริการที่บ้านและบริการในชุมชน
ตั้งอยู่ในที่สามารถเดินทางไปใช้บริการ ได้สะดวกภายใน 30 นาที
มีบุคคลากร เครื่องมือปุกรณ์และ การจัดการตามเกณฑ์มาตรฐาน
ต้องมีประชากรที่ขึ้นทะเบียนที่ชัดเจนและรับผิดชอบดูแลประชากรไมเ่กิน 10,000 คนต่อหน่วย
มีบริการให้ความรู้ประชาชนที่มาใช้บริการที่หน่วยบริการทุกวันทำการ
มีบริการด้านการชันสูตรพื้นฐานที่ควรทำได้เอง และมีระบบส่งต่อไปยังหน่วยอื่นได้อย่างรวดเร็ว
การจัดบริการสุขภาพปฐมภูมิพบโครงสร้าง 5 ลักษณะ
การจัดให้มีศูนย์สุขภาพชุมชนในอาคารหรือบริเวณโรงพยาบาลหรือในเขตเมืองโดยทำเป็นหน่วยเวชปฏิบัติ (extended OPD) มีบุคลากรประจำหรือหมุนเวียนบุคลากรโรงพยาบาลไปปฏิบัติงาน
การสร้างศูนย์สุขภาพชุมชนในโรงพยาบาลหรือในเขตเมืองเพื่อเป็นต้นแบบ PCU โดยมีบุคลากรประจำปฏิบัติงาน
การปรับหรือจัดให้มีหน่วยเวชปฏิบัติครอบครัวหรือทีมเยี่ยมบ้านที่ประกอบด้วยสหวิชาชีพโดยไปเยี่ยมทั้งผู้ป่วยที่จำหน่ายจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยเรื้อรัง และประชาชนทั่วไปที่บ้าน
การพัฒนาสถานีอนามัยที่มีศักยภาพ ศูนย์สาธารณสุข หรือศูนย์สุขภาพชุมชนเดิมให้เป็นศูนย์สุขภาพชุมชน
การเป็นร้านขายยาโดยให้ความรู้เรื่องการใช้ยาและการสร้างเสริมสุขภาพ
เป้าหมาย
เพื่อให้ประชาชนพึ่งพาตนเองได้ทางสุขภาพและส่งเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการสร้างสุขภาพ
บุคลากรหลักที่ให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ
พยาบาล
ตรวจสุขภาพเด็ก
ให้ภูมิคุ้มกันโรค
ตรวจครรภ์
การสอน ให้คำแนะนำเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลตนเอง
ตรวจและให้การรักษาโรคเบื้องต้น
บริการเยี่ยมบ้าน
บริหารจัดการหน่วยบริการ
เจ้าหน้าที่สาธารณสุข
สำรวจข้อมูลทำแฟ้มประวัติครอบครัว
เฝ้าระวังโรคระบาดต่างๆ
สร้างความร่วมมือกับชุมชน
บริหารจัดการหน่วยบริการ
การสอน ให้คำแนะนำเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพและการดูแลตนเอง
แพทย์
ตรวจวินิจฉัยให้การรักษาโรคทั่วไป โรคเรื้อรัง
ให้การสอน ให้คำแนะนำด้านการดูแลสุขภาพ
เยี่ยมบ้าน
บริหารจัดการหน่วยบริการ
เภสัชกร
การให้คำแนะนำ
บริหารยาและเวชภัณฑ์ที่ใช้ใน PCU การจ่ายยา
คำปรึกษาเรื่องการใช้ยา
เยี่ยมบ้าน
ทันตแพทย์
ให้การรักษาฟัน
ส่งเสริมและป้องกันปัญหาของสุขภาพช่องปาก
ให้คำแนะนำให้ประชาชนดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง
ทันตาภิบาล
ส่งเสริมและป้องกันปัญหาของสุขภาพช่องปาก
ให้คำแนะนำให้ประชาชนดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง
พนักงานสุขาภิบาล
การเก็บขยะและการกำจัดน้ำเสีย
ดูแลสิ่งแวดล้อม
หน่วยคู่สัญญาของบริการระดับปฐมภูมิ
(Contracting Unit for Primary Care, CUP)
หน่วยงานที่ สามารถเป็นหน่วยคู่สัญญารับงบประมาณเหมาจ่ายต่อหัว ประชากรได้ โดยที่ต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์มาตรฐาน