Coggle requires JavaScript to display documents.
คำว่าสาธารณสุขเกิดมาจากการรวมคำสองคำได้แก่“ สาธารณะ” และ“ สุขภาพ” จะได้เป็น“ สุขภาพของสาธารณะ” ซึ่งโดยสรุปรวมนั้นการสาธารณสุขคือการดำเนินการใดๆที่มุ่งเพื่อสุขภาพของสาธารณะโดยมีกระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้รับผิดชอบงานสาธารณสุขของประเทศดังนั้นการสาธารณสุขจึงเสมือนเป็นวิธีการ (Mean) โดยมีผลลัพธ์คือสุขภาพที่ดีนั้นเองอันเป็นวิทยาการและศิลปะแห่งการป้องกันโรคโดยการทำให้ประชาชนมีชีวิตยืนยาวการยกระดับสภาวะอนามัยและประสิทธิภาพของบุคคลโดยได้รับความร่วมมือจากชุมชน
ความหมายของการสาธารณสุขมีผู้ให้ความหมายของการสาธารณสุขไว้หลายท่าน แต่ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นที่รู้จักกันในวงการสาธารณสุข คือ ความหมายของ ศาสตราจารย์ วินสโลร์ (Winslow's definition) ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้ "การสาธารณสุข" เป็นวิทยาศาสตร์และศิลปะของ (1)การป้องกันโรค (2)การทำให้ชีวิตยืนยาวและ (3)การส่งเสริมสุขภาพ และการเพิ่มประสิทธิภาพส่วนบุคคลโดยอาศัยความเพียรพยายามของชุมชนเพื่อให้มี
ปัจจัยภายในบุคคลที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพของตนเอง ประกอบด้วย ปัจจัยทางชีวภาพ จิตใจ และ พฤติกรรม ปัจจัยทางชีวภาพถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่ติดตัวมาแต่กำเนิดที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษทั้ง 2 ฝ่าย คือ พันธุกรรม ที่แฝงตัวอยู่ในโครโมโซมของทุกคน
ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมแบ่งเป็น 3 ด้านได้แก่ ด้านกายภาพ ชีวภาพ และ สังคม ค่านิยมบรรทัดฐาน (WHO, 2017; สุรเกียรติ อาชานานุภาพ, 2550)
บุคคลที่มีเครือข่ายทางสังคมที่ดี มีครอบครัว และเพื่อนที่สนับสนุนการมีพฤติกรรม สุขภาพที่ดี เข้าถึงบริการสุขภาพได้ จะมีสุขภาพที่ดี (WHO, 2017)
ระบบความคิดของบุคลากรสุขภาพให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค มากกว่าการรักษาพยาบาล และ กำหนดทางเลือกของการดูแลตนเองโดยใช้ภูมิปัญญาในพื้นที่ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของบุคคล
ส่งเสริมให้มีการป้องกันและควบคุมโรคที่ป้องกันได้ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
ระบบบริการสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างสังคม นโยบาย สิทธิ์ ความเท่าเทียมการจัดบริการสุขภาพที่ครอบคลุมทั้งสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล และฟื้นฟูสภาพ การพัฒนาเทคโนโลยีทางการแพทย์และการสาธารณสุข และการสร้างเครือข่าย
ระบบบริการสาธารณสุข ส่งผลต่อการลดอัตราป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ โดยเฉพาะโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนและการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม เช่น กาฬโรค โปลิโอ ไข้ทรพิษ เป็นต้น เน้นที่การเข้าถึงบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
ปัจจัยกำหนดสุขภาพ หรือ Health Determinants มีความหลากหลายเชิง มิติจำแนกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ บุคคล สิ่งแวดล้อมทางกายภาพและสังคม และระบบบริการสาธารณสุข
สุขภาพและการเจ็บป่วย : ไตรมาสสองปี 2562 2562 มีผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังรวม 158,028 ราย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2561 ร้อยละ 25.9 เป็นการเพิ่มขึ้นของโรคที่แพร่ระบาดในช่วงฤดูฝน
โรคไข้เลือดออก พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาร้อยละ 30.7 เนื่องจากในหลายพื้นที่มีฝนตกชุก ทำให้เกิดนํ้าท่วมขัง ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุของยุงลาย ที่เป็นพาหะของโรค พบผู้ป่วยสูงสุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โรคไข้หวัดใหญ่ พบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 135.4 จาก 25,698 รายในไตรมาสสองปี 2561 เป็น 60,518 ราย
เป็นการแพร่ระบาดของโรคตามฤดูกาล พบมีการระบาดในสถานที่ที่มีการรวมตัวกันของคนหมู่มากโดยพบมากที่สุด คือโรงเรียนทำให้เกิดการระบาด ของโรคได้ง่าย ผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มเด็กอายุ 5-14 ปี จึงต้องมีการให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อการป้องกัน และควบคุมโรคในกลุ่มวัยเรียนและเด็ก สำหรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคที่สำคัญ คือ การคัดกรองและแยกผู้ป่วย รวมทั้งประชาชนควรดูแลตนเอง โดยใช้มาตรการ “ปิด ล้าง เลี่ยง หยุด” ได้แก่
นอกจากนี้ ประชาชนทั่วไป โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง (หญิงตั้งครรภ์/เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยเรื้อรัง) ควรรับการฉีด วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เพื่อลดความรุนแรงของโรค และการเสียชีวิต