Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เรื่อความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า (การใช้เครื่องมือช่างเดินสายไฟ…
เรื่อความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า
หน่วยวัดไฟฟ้า
แรงเคลื่อนไฟฟ้า (Voltage)
แรงเคลื่อนไฟฟ้า และแรงดันไฟฟ้ามีหน่วยเป็นโวลต์ ใช้สัญลักษณ์เป็น V
1,000 ไมโครโวลต์ (µV) = 1 มิลลิโวลต์ (mV)
1,000 มิลลิโวลต์ (mV) = 1 โวลต์ (V)
1,000 โวลต์ (V) = 1 กิโลโวลต์ (kV)
กระแสไฟฟ้า (Current)
กระแสไฟฟ้ามีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์ (Ampere) ใช้สัญลักษณ์เป็น A
1,000 ไมโครแอมแปร์ (µA) = 1 มิลลิแอมแปร์ (mA)
1,000 มิลลิแอมแปร์ (mA) = 1 แอมแปร์ (A)
การกำเกิดไฟฟ้า
วิธีการที่จะทำให้อิเล็กตรอนหลุดเป็นอิสระหรือทำให้เกิดไฟฟ้ามีอยู่หลายวิธีดังนี้
การเสียดสี เมื่อนำวัตถุ 2 ชนิดมาถูกัน เช่น ขนสัตว์กับแท่งแก้ว หรือเมื่อเราใช้หวีสางผม ไฟฟ้าที่เกิดจากการเสียดสีนี้จะเป็นฟ้าสถิต ซึ่งเกิดจากการถ่ายเทอิเล็กตรอนจากวัตถุหนึ่งไปยังอีกวัตถุหนึ่ง ไฟฟ้าสถิตจะเกิดขึ้นชั่วครั้งคราวแล้วจะหมดไป
ปฏิกิริยาทางเคมี สารเคมีบางชนิดทำปฎิกริยากับโลหะบางชนิด จะทำให้เกิดการถ่ายเทอิเล็กตรอนขึ้น เช่น แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย
แรงกดอัด เมื่อออกแรงกดอัดกับสารบางชนิด แรงกดจะผ่านเนื้อสารเข้าถึงอะตอมและไล่อิเล็กตรอนให้หลุดเป็นอิสระและเคลื่อนที่ เช่น ไมโครโฟน (เปลี่ยนพลังงานเสียงเป็นพลังงานไฟฟ้า)
ความร้อน เนื่องจากสารบางชนิดมีคุณสมบัติเป็นตัวรับอิเล็กตรอนบางชนิดเป็นตัวให้อิเล็กตรอนถ้าเรานำโลหะต่างชนิดกันที่ให้และรับอิเล็กตรอนมาเชื่อมต่อกันเมื่อเราให้ความร้อนกับโลหะต่างชนิดกันที่นำมาเชื่อมต่อกันโลหะสองชนิดจะไวต่อความร้อนไม่เท่ากันทำให้อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ได้ ไฟฟ้าที่ได้จากวิธีนี้จะมีจำนวนน้อยมาก
แสง แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ง ประกอบขึ้นจากอนุภาคพลังงานเล็กๆ ที่เรียกว่า โฟตอน เมื่อโฟตอนในลำแสงกระทบวัตถุบางชนิดมันจะคายพลังงานออกมาสามารถทำให้อะตอมปล่อยอิเล็กตรอนออกมาได้ สารพวกนี้ได้แก่ ลิเธียม เยอรมันเนียม แคดเมี่ยม
แม่เหล็ก เมื่อตัวนำเคลื่อนที่ตัดกับสนามแม่เหล็กจะทำให้เกิดไฟฟ้าขึ้นที่ตัวนำ วิธีการนี้จะทำให้เกิดไฟฟ้าได้มากที่สุด
3.แหล่งกำเนิดไฟฟ้า
แหล่งกำเนิดไฟฟ้ามีหลายชนิด ดังนี้
3.1 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีของวัตถุ ุ ........
การนำวัตถุ 2 ชนิดมาเสียดสีกันจะเกิดไฟฟ้า เรียกว่า ไฟฟ้าสถิต .........
ผู้ค้นพบไฟฟ้าสถิตครั้งแรก คือ นักปราชญ์กรีกโบราณ ท่านหนึ่งชื่อเทลิส(Philosopher Thales) แต่ยังไม่ทราบ อะไรเกี่ยวกับไฟฟ้ามากนัก ..จนถึงสมัยเซอร์วิลเลี่ยมกิลเบอร์ค (Sir William Gilbert)ได้ทดลองนำเอาแท่งอำพันถูกับ ผ้าขนสัตว์ปรากฏว่าแท่งอำพันและผ้าขนสัตว์สามารถดูด ผงเล็ก ๆ ได้ปรากฏการณ์นี้คือการเกิดไฟฟ้าสถิตบน วัตถุทั้งสอง
3.2 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากพลังงานทางเคมี แหล่งกำเนิดไฟฟ้าจากพลังงานทางเคมีเป็นไฟฟ้าชนิดกระแสตรง (Direct Current) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
ตัวนำฉนวน
ตัวนำ (Conductor) คือ สสาร วัตถุ วัสดุ หรือ อุปกรณ์ที่สามารถยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย หรือวัตถุที่มีความต้านทานต่ำ ได้แก่ ทองแดง อลูมิเนียม ทอง และเงิน ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีที่สุด แต่ในสายไฟทั่วไปจะใช้ทองแดงเป็นตัวนำ เพราะตัวนำที่ทำจากจะเงินมีราคาแพง
ฉนวน (Insulator) คือ สสาร วัตถุ วัสดุ หรือ อุปกรณ์ที่ไม่สามารถยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปได้ หรือ ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าไม่ให้ผ่านไปได้ ได้แก่ ไม้แห้ง พลาสติก, ยาง, แก้ว และกระดาษแห้ง เป็นต้น
การใช้เครื่องมือช่างเดินสายไฟ
ไขควงและไขควงวัดไฟ
คีม เป็นเครื่องมือช่างไฟฟ้าที่ใช้สำหรับในการดัดงอ จับ ตัด ปอกสายไฟ ซึ่งด้ามของคีมจะต้องมีฉนวนหุ้มเพื่อป้องกันไฟดูดสำหรับผู้ใช้ คีมที่ใช้สำหรับการเดินสายไฟมี 4 ชนิด คือ คีมปอกสาย คีมปากจระเข้ คีมปากจิ้งจก และคีมย้ำหัว
ค้อน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตอกตะปูในการเดินสายไฟ ซึ่งต้องเป็นค้อนหน้าแข็งที่ทำด้วยเหล็กด้านหน้าเรียบหรือค้อนหงอน ซึ่งมีหลายขนาดตามน้ำหนักของหัวค้อน ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้ใช้
สว่าน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานเจาะรูขนาดต่างๆ ในการเดินสายไฟเพื่อยึดอุปกรณ์ไฟฟ้า สว่านมือด้ามเหล็กและสว่านไฟฟ้าซึ่งใช้เจาะได้ทั้งไม้และผนังปูนควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับงาน
เลื่อยมือ เลื่อยที่ใช้สำหรับงานช่างไฟฟ้า คือเลื่อยปากไม้หรือเลื่อยรอปากไม้ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันด้านบนเป็นเหล็กหนา มีฟันเลื่อยละเอียด ใช้สำหรับตัดปากไม้ในการเข้าไม้ต่างๆ
สิ่ว เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานไม้ในการเซาะร่องต่างๆ เพื่อให้สายไฟฟ้ารอดผ่านได้
เครื่องมือวัดระยะ เป็นเครื่องวัดไฟฟ้าที่ใช้ในการวัดระยะชิ้นงานต่างๆ ซึ่งตอนนี้เครื่องมือวัดระยะมีทั้งแบบที่ทำด้วยโลหะ เช่น ตลับเมตร และอีกแบบคือเครื่องวัดไฟฟ้า เช่น มัลติมิเตอร์ ที่สามารถใช้วัดโวลต์ แอมแปร์และโอห์มได้ เป็นต้น
เต้าตีเส้น ใช้ในการตีเส้นตรงในแนวนอนหรือแนวดิ่งใช้ในการเดินสายไฟฟ้า
คุณสมมบัติของไฟฟ้า
คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสตรง
(1) กระแสไฟฟ้าไหลไปทิศทางเดียวกันตลอด
(2) มีค่าแรงดันหรือแรงมารถเก็บประจุไว้ในเซลล์ หรือแบตเตอรี่ได้
คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสสลับ
สามารถส่งไปในที่ไกล ๆ ได้ดี กำลังไม่ตก
สามารถแปลงแรงดันให้สูงขึ้นหรือต่ำลงได้ตามต้องการโดยการใช้หม้อแปลง (Transformer)