Microsoft Visual Studio C#2012

Microsoft Visual Studio 2012

ความสำคัญภาษา C#

ที่มาภาษา C# และ Visual C# 2012

คือ ชุดพัฒนาโปรแกรมที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยบริษัทไมโครซอฟต์ โดยใช้สำหรับเขียนโปรแกรมด้วยภาษาต่างๆ เพื่อทำงานภายใต้ .NET Framework ได้แก่ ภาษาC# ภาษา C++,ภาษา ASP ,ภาษา Visual Basic เป็นต้น โดยสามารถนำไปพัฒนาโปรแกรมได้ทั้งแบบ Windows Form, แบบ Web Base Application และการพัฒนา Windows Store App

VisualC#

ปรากฏตัวขึ้นครั้งแรกในปี2000ถูกพัฒนาขึ้นจากภาษาCและC++เวอร์ชันล่าสุด เป็นเวอร์ชั่น 5 มีความสามารถในการนามาใช้เขียนโปรแกรมได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การเขียน โปรแกรมเชิง โครงสร้าง, การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ, การเขียนโปรแกรมโดยใช้เหตุการณ์ ควบคุมการทำงาน

Visual C# 2012

เป็นโปรแกรมภายในชุดเครื่องมือ Visual studio 2012 ที่ช่วยในการเขียน โปรแกรมด้วยภาษา C# โดยที่ชุดเคร่อื งมอื Visual studio 2012 และภาษา C# นั้นถูกพัฒนาขึน้ โดย บริษัท Microsoft ภาษา C# เป็นภาษาสาหรับการเขียนโปรแกรมยุคใหม่ที่ถูกสร้างขึน้ มาสาหรับการ พัฒนาซอฟแวร์ภายใต้การทางานของ.NETFrameworkซึ่งเฟรมเวิรค์ยอดนิยมของบริษัท ไมโครซอฟต์

C#เขียนง่าย

เนื่องจากถูกพัฒนาขึ้นจากภาษาCและC++ทำให้นักเขียนโปรแกรมที่มี ความคุ้นเคยกับการเขียนโปรแกรมแล้ว สามารถทำเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ยาก และ นอกจากนั้นแล้วยังมีชุดเครื่องมอืที่ช่วยให้สามารถเขียนโปรแกรมได้สะดวกรวดเร็วมาก ยิ่งข้ึน นั้นก็คือ Visual C# นั่นเอง

C# แข็งแกร่ง

เพราะ C# เป็นภาษาใหม่ ซึ่งถูกพัฒนามาจากภาษา C++ และ Java จึงทำให้มีการปรับปรุงข้อ ผิดพลาดเดิมและพัฒนาความสามารถใหม่ๆเพิ่มเติม

C# ได้รับความนิยมมากขึ้น

เนื่องจากเป็นภาษาที่พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ซึ่งเป็น บริษัทผู้พัฒนาโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่และมีอทิธิพลอย่างมากหากพบปัญหามีฝ่ายสนับ สนับที่จะช่วยตอบคำถามในการใช้งาน อีกทั้งยังมีนักพัฒนาอีกหลายมากคอยช่วยเหลือ แลกเปลี่ยนแนวคิดกันมีแหล่งข้อมูลจำนวนมากให้เราเรียนรู้และค้นคว้า

ส่วนประกอบหลักของโปรแกรม Visual C#

เมนูบาร์ (Menu Bar)

เมนูบาร์ เป็นเมนูหลักที่รวบรวมคำสั่งสาหรับควบคุมการทำงานทั้งหมดของ Visual Studio 2012 ไว้โดยจัดเป็นกลุ่มคำสั่งแยกตามประเภทการใช้งาน สามารถเรียกใช้ได้โดยใช้เมาส์คลิกจากเมนู ที่ต้องการ ซึ่งมีกลุ่มคำสั่งเรียกใช้งานดังนี้

ทูลบาร์ (Toolbar)

ทูลบาร์ เป็นแถบเครื่องมือที่รวมคำสั่งจากเมนูบาร์บางคำสั่งที่มีการใช้งานบ่อยมาแสดงไว้ใน
รูปแบบของปุ่มสัญลักษณ์เพื่อให้สามารถเรียกใช้งานได้สะดวกขึ้น

File กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับจัดการแฟ้มข้อมูลของแอพลิเคชัน

Editกลุ่มคำสั่งที่ช่วยในการแก้ไขส่วนต่างๆ ของโปรแกรมที่เขียนขึ้น

Viewกลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการรูปแบบการแสดงผล Visual Studio 2012

Project กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการโปรเจ็กต์

Build กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการสร้างหรือคอมไพล์โปรเจ็กต์

Debug กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการแก้ไขข้อผิดพลาดของโปรเจ็กต์

Team กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการที่ทำเป็นทีม

SQL กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการฐานข้อมูลด้วย SQL

Format กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการจัดรูปแบบ Form

Tools กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือต่างๆ ภายใน Visual Studio 2012

Test กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการทดสอบการทำงานของโปรแกรมที่เขียนขึ้น

- Window กลุ่มคำสั่งเกี่ยวกับการจัดการรูปแบบการแสดงผลหน้าต่าง

Help คำสั่งขอความช่วยเหลือจาก Visual Studio 2012

หน้าต่าง Toolbox

click to edit

Toolbox เป็นหน้าต่างที่แสดงคอนโทรลและคอมโพเนนต์ต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการ สร้างและออกแบบแอพพลิเคชัน มีการจัดแบ่งคอนโทรลและคอมโพเนนต์ ออกเป็นกลุ่มตามลักษณะการใช้งาน

หน้าต่าง Form Designer

Form Designer เป็นหน้าต่างที่ใช้สำหรับการออกแบบหน้าต่างหรือหน้าตาของแอพพลิเคชัน
โดยการลากคอนโทรลต่างจาก Toolbox มาวางบน Form

หน้าต่าง Solution Explorer

Solution Explorer เป็นหน้าต่างแสดงรายการหรือไอเท็ม (item) ทั้งหมดที่มีอยู่ในโปรเจ็กต์
เช่น Form, Module, Component และ Class เป็นต้น

หน้าต่าง Properties Window

click to edit

Properties Window เป็นหน้าต่างที่ใช้แสดงและกำหนดคุณสมบัติของชิ้นส่วน (หรือ องค์ประกอบ) ต่างๆ ของตัวแอพพลิเคชันที่เรากำลังจะสร้างขึ้น เช่น การกำหนดข้อความบนคอนโทรล เป็นต้น

หน้าต่าง Code Editor

click to edit

Code Editor เป็นหน้าต่างที่ใช้สำหรับเขียนคำสั่งในภาษา C# เพื่อกำหนดการทำงานของแอพ พลิเคชัน ซึ่งปกติจะทำหลังจากการออกแบบหน้าตาแอพพลิเคชันในหน้าต่าง Code Editor จะแสดงคำสั่งโดยใช้สีสันแสดงความแตกต่างของคำสั่ง, คำสงวน, ตัวแปรไว้อย่างชัดเจน ทำให้ง่ายต่อการเขียนโปรแกรม

Error List

Error List จะเป็นส่วนที่ใช้แสดงความผิดพลาดของโปรแกรม หรือการเตือนต่าง ๆ เช่น
การพิมพ์ โค้ดหรือคำสั่งต่าง ๆ ที่ผิดพลาด

นางสาววีรดา พุทธมาเล เลขที่21 ม.6/2