Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เรื่องความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า (การใช้เครื่องมือช่างเดินสายไฟ…
เรื่องความรู้เกี่ยวกับไฟฟ้า
การเกิดไฟฟ้า
1 ธรรมชาติของไฟฟ้าสสารที่มีในโลกนี้ประกอบด้วยอนุภาคเล็ก ๆ ซึ่งเราเรียกว่า อะตอมหรือ ปรมาณู (Atoms)ภายในอะตอมจะประกอบไปด้วยอนุภาคไฟฟ้าเล็กๆ 3 ชนิด คืออิเล็กตรอน โปรตอนและนิวตรอน โดยที่อิเล็กตรอนจะมีประจุไฟฟ้าเป็นลบ โปรตอนมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก และในนิวตรอนมีประจุไฟฟ้าเป็นกลาง การอยู่ร่วม กันของอนุภาคทั้งสามในอะตอมเป็นลักษณะที่โปรตอนและนิวตรอนร่วมกันอยู่ ตรงกลาง เรียกว่า นิวเคลียส และมีอิเล็กตรอนโคจรอยู่รอบ ๆ
2 การไหลของอิเล็กตรอนภายในอะตอมจะมีอิเล็กตรอนโคจรอยู่รอบ ๆ นิวเคลียส เป็นวง ๆ ซึ่งอิเล็กตรอนที่อยู่วงนอกสุดเรียกว่า อิเล็กตรอนอิสระ และถ้าอิเล็กตรอนที่อยู่วงนอกนี้ได้รับพลังงานก็จะทำให้อิเล็กตรอน เคลื่อนที่ไปอยู่ในอะตอมที่ถัดไปทำให้เกิดการไหลของอิเล็กตรอน พลังงานที่จะทำให้อิเล็กตรอน ในวัตถุตัวนำไหลได้ คือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งจะทำหน้าที่ทั้งการรับและจ่ายอิเล็กตรอน ซึ่งเราเรียกว่า ขั้วไฟฟ้า โดยกำหนดไว้ว่าขั้วที่รับอิเล็กตรอนเรียกว่า ขั้วบวก ขั้วที่จ่ายอิเล็กตรอนเรียกว่า ขั้วลบ
ตัวนำฉนวน
ฉนวน (Insulator) คือ สสาร วัตถุ วัสดุ หรือ อุปกรณ์ที่ไม่สามารถยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปได้ หรือ ต้านการไหลของกระแสไฟฟ้าไม่ให้ผ่านไปได้ ได้แก่ ไม้แห้ง พลาสติก, ยาง, แก้ว และกระดาษแห้ง เป็นต้น
ตัวนำ (Conductor) คือ สสาร วัตถุ วัสดุ หรือ อุปกรณ์ที่สามารถยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ง่าย หรือวัตถุที่มีความต้านทานต่ำ ได้แก่ ทองแดง อลูมิเนียม ทอง และเงิน ซึ่งเป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดีที่สุด แต่ในสายไฟทั่วไปจะใช้ทองแดงเป็นตัวนำ เพราะตัวนำที่ทำจากจะเงินมีราคาแพง
แหล่งกำเนิดไฟฟ้า
1แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการเสียดสีของวัตถุ
2 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดจากพลังงานทางเคมี
3 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดจากพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า
4 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดจากพลังงานแสง
5 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดจากพลังงานความร้อน
6 แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่เกิดจากแรงกด
หน่วยวัดไฟฟ้า
หน่วยวัดไฟฟ้าเบื้องต้นที่ช่างไฟฟ้าจำเป็นจะต้องรู้ไว้ได้แก่ แรงเคลื่อนไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ความต้านทานไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า ความถี่ แรงม้า
แรงเคลื่อนไฟฟ้า และแรงดันไฟฟ้ามีหน่วยเป็นโวลต์ ใช้สัญลักษณ์เป็น V
1,000 ไมโครโวลต์ (µV) = 1 มิลลิโวลต์ (mV)
1,000 มิลลิโวลต์ (mV) = 1 โวลต์ (V)
1,000 โวลต์ (V) = 1 กิโลโวลต์ (kV)
แรงเคลื่อนไฟฟ้า (Voltage)
กระแสไฟฟ้า (Current)
กระแสไฟฟ้ามีหน่วยวัดเป็นแอมแปร์ (Ampere) ใช้สัญลักษณ์เป็น A
1,000 ไมโครแอมแปร์ (µA) = 1 มิลลิแอมแปร์ (mA)
1,000 มิลลิแอมแปร์ (mA) = 1 แอมแปร์ (A)
กระแสไฟฟ้า มี 2 ชนิด คือ
o กระแสไฟฟ้าตรง (Direct Current) หรือฟ้าตรง คือ ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลของอิเล็กตรอนไปในทิศทางเดียวตลอด ได้แก่ ถ่านไฟฉาย, แบตเตอรี่
o กระแสไฟฟ้าสลับ (Alternating Current) คือ ไฟฟ้าที่มีทิศทางการไหลของอิเล็กตรอนไปในทิศทางเปลี่ยนแปลงซ้ำๆกันตลอดเวลา
คุณสมบัติของไฟฟ้า
คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสตรง
(1) กระแสไฟฟ้าไหลไปทิศทางเดียวกันตลอด
(2) มีค่าแรงดันหรือแรงมารถเก็บประจุไว้ในเซลล์ หรือแบตเตอรี่ได้
คุณสมบัติของไฟฟ้ากระแสสลับ
สามารถส่งไปในที่ไกล ๆ ได้ดี กำลังไม่ตก
สามารถแปลงแรงดันให้สูงขึ้นหรือต่ำลงได้ตามต้องการโดยการใช้หม้อแปลง (Transformer)
การใช้เครื่องมือช่างเดินสายไฟ
ไขควงหรือสกรูไดร เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการขันตัวสกรูแบบต่าง ๆ
คีม เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับในการจับ ยึด ตัด ดัดงอสายไฟ ซึ่งต้องมีด้ามที่เป็นฉนวนหุ้มกันกระแสไฟฟ้าดูด
โดยมีอยู่ด้วยกันหลายๆ ขนาด เพื่อความเหมาะสมในการใช้งาน
ค้อน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตอกตะปูในการเดินสายไฟฟ้า ซึ่งต้องเป็นค้อนหน้าแข็งที่ทำด้วยเหล็ก เช่น ค้อนเหลี่ยมสันขวาง ซึ่งมีด้วยกันหลายขนาดตามน้ำหนักของหัวค้อน ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับผู้ปฏิบัติงาน
สว่าน เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานเจาะรูขนาดต่าง ๆ ตามต้องการ
เลื่อยมือ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตัดวัสดุชนิดต่างๆ หรือใช้ตัดชิ้นงาน
สิ่ว เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานไม้ในการเซาะร่องต่างๆ เพื่อให้สายไฟฟ้ารอดผ่านได้
เครื่องมือวัดระยะ หมายถึง การใช้วัดความยาวขนาดต่างๆ ว่ามีระยะมากน้อยเท่าไร เช่น ตลับเมตร ทำด้วยโลหะ วัดความยาวได้ 2 ระบบ คือ ระบบนิ้วและระบบเซนติเมตร
เต้า ใช้ในการตีเส้นตรงในแนวนอนหรือแนวดิ่งใช้ในการเดินสายไฟฟ้า