Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Acute Respiratory Distress Syndrome (ARDS) (อาการของกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉ…
Acute Respiratory Distress Syndrome (ARDS)
ARDS เป็นภาวะที่เกิดจากของเหลวภายในหลอดเลือดขนาดเล็กในปอดไหลเข้าไปในถุงลมปอด ซึ่งโดยปกติแล้วหลอดเลือดนี้จะปล่อยให้เพียงอากาศซึมผ่านเข้าไปในถุงลมปอดได้เท่านั้น แต่ในกรณีที่เกิดการอักเสบอย่างรุนแรงก็อาจทำให้ผนังหลอดเลือดปล่อยให้ของเหลวภายในหลอดเลือดซึมออกมาจากหลอดเลือดและเข้าไปอยู่ในถุงลมปอดได้ ทำให้ปอดและถุงลมสูญเสียการทำงานเฉียบพลัน ร่างกายและอวัยวะต่าง ๆ จึงขาดออกซิเจน
อาการของกลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน
หายใจลำบาก หายใจเร็ว หอบเหนื่อย
กล้ามเนื้ออ่อนแรง ร่างกายอ่อนแรง
ผิวหนังหรือเล็บเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือสีเขียว เนื่องจากภาวะขาดออกซิเจน
ไอแห้ง ๆ
มีไข้ ปวดศีรษะ
ชีพจรเต้นเร็ว
สับสน รู้สึกเหนื่อยล้าอย่างรุนแรง
การวินิจฉัย ARDS
การเอกซเรย์ทรวงอก การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หรือซีทีสแกน (CT Scan)
การตรวจทางห้องปฏิบัติการนำตัวอย่างเลือดของผู้ป่วยไปตรวจระดับออกซิเจน หรืออาจตรวจสอบการติดเชื้อและตรวจหาภาวะโลหิตจาง
การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
สาเหตุ
ภาวะพิษเหตุติดเชื้อ (Sepsis) เป็นภาวะการติดเชื้อในกระแสเลือดที่รุนแรง และเป็นสาเหตุที่พบว่าทำให้เกิด ARDS บ่อยที่สุด
ปอดบวมอย่างรุนแรง ในรายที่มีอาการปอดบวมรุนแรงมาก มักส่งผลกระทบต่อกลีบปอดทั้ง 5 กลีบ และเป็นสาเหตุทำให้เกิด ARDS
การสูดดมสารพิษที่เป็นอันตราย การสูดหายใจเอาควันหรือสารเคมีที่มีความเข้มข้นสูงเข้าไปอาจทำให้เกิดภาวะ ARDS ได้
อุบัติเหตุกระทบกระเทือน อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บอย่างรุนแรงบริเวณศีรษะและหน้าอก โดยสามารถสร้างความเสียหายกับปอดโดยตรง หรืออาจส่งผลกระทบต่อสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ
สาเหตุอื่น ๆ เช่น ตับอ่อนอักเสบ ถ่ายเลือดในปริมาณมาก มีประวัติติดสุราเรื้อรัง ใช้ยาเสพติดในปริมาณมาก อยู่ในภาวะใกล้จมน้ำเสียชีวิต หรือไฟไหม้
การรักษากลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน
การใช้เครื่องช่วยหายใจ
เพิ่มความเข้มข้นของออกซิเจน (FiO2) ได้เต็มที่จนถึง 100% ช่วยถ่างถุงลมที่แฟบอยู่ให้เปิดออกดันลมหายใจให้เข้าไปถึงถุงลมได้มากขึ้น สามารถแลกเปลี่ยนก๊าซได้ดีขึ้น ลดการเกิด intrapulmonary shunt
ยา
ยานอนหลับ, ยาลดความเจ็บปวด, ยาคลายกล้ามเนื้อ
การดูแลรักษาด้านโภชนาการ สารน้ำ และเกลือแร่
การรักษาและป้องกันปอดอักเสบแทรกซ้อนจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ.
มักจะให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วย ARDS
หลักใหญ่ในการตั้งเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วย ARDS4
Plateau pressure หรือ alveolar pressure ควรน้อยกว่า 30 ซม.น้ำ.5
Tidal volume ควรตั้งประมาณ 6 มล./กก. ของ ideal body weight หรือระหว่าง 4-8 มล./กก.
ตั้ง positive end expiratory pressure (PEEP) ให้เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในขณะนั้นๆ ซึ่งจะทำให้ถุงลมที่แฟบอยู่เปิดออก ลดการกระชากเปิดปิดถุงลม เพิ่มประสิทธิภาพของถุงลมในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน ลด intrapulmonary shunt PEEP ที่เหมาะสมที่สุดคือ PEEP ที่ทำให้การแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนดีที่สุดและ compliance หรือความยืดหยุ่นของปอดเพิ่มขึ้นมากที่สุด.7
ไม่ควรตั้ง FiO2 สูงเกินไป นานๆ เพราะจะเกิด oxygen toxicity ทำลายเนื้อปอดได้ ถ้าเป็นไปได้ควรพยายามลด FiO2 ให้ได้ต่ำกว่า 0.6