Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
มิติการให้บริการอนามัยชุมชน (ลักษณะของงานของพยาบาลชุมชน (4…
มิติการให้บริการอนามัยชุมชน
2.การป้องกันโรค (Disease prevention)
เป็นบริการพยาบาลเกี่ยวกับการป้องกันควบคุมโรคติดต่อทั้งโรคติดต่อรุนแรง โรคติดต่อที่ป้องกันได้และโรคไม่ติดต่อ การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ทางวิทยาการระบาดของโรคต่างๆ การรายงานโรค หากมาตราการป้องกันโรคไม่สำเร็จปละเกิดโรค จำเป็นต้องใช้แนวปฏิบัติในการควบคุมและป้องกันโรคเฉพาะไม่ให้โรคทวีความรุนแรงหรือแพร่กระจายสู่ชุมชน แบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้
การป้องกันโรคระดับปฐมภูมิ เป็นการให้บริการป้องกันในระยะแรกก่อนการเกิดโรค เช่น ชุมชนปลอดบุหรี่
การป้องกันโรคระดับทุติยภูมิ เป็นการให้บริการด้านการป้องกันโรคในขณะเริ่มมีโรค ได้แก่ ภาวะโรคแฝง มีพาหะของโรคอยู่ในตัวบุคคล เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาทันท่วงที
การป้องกันโรคระดับตติยภูมิ เป็นบริการที่ให้ขณะที่เกิดโรคแล้วเพื่อไม่ให้โรคแพร่ระบาดไปสู่ชุมชน เช่น การพ่นหมอกควันกำจัดยุงลาย
3.การให้บริการตรวจรักษาโรคเบื้องต้นและการดูแลสุขภาพต่อเนื่องในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ (Curative of disease/disorder and continuing care)
เป็นการให้บริการตรวจวินิจฉัยและรักษาโรค โดยเฉพาะโรคทั่วไปที่เกิดขึ้นบ่อยในชุมชน เช่น โรคหวัด ปวดท้อง ปวดตึงกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ การทำแผลจากอุบัติเหตุเล็กน้อย และโรคเรื้อรังที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์และส่งต่อมายังสถานีบริการสุขภาพปฐมภูมิเพื่อการดูแลรักษาและการจัดการอย่างต่อเนื่อง
4.การให้บริการฟื้นฟูสุขภาพของผู้รับบริการ (Rehabilitation of diseases and disorders)
เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้รับบริการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจกลับคืนสู่สภาพปกติหรือใกล้เคียงปกติมากที่สุดหรือเกิดความพิการน้อยที่สุดเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุขให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ตามระยะและอาการของโรค
ลักษณะของงานของพยาบาลชุมชน
1.งานมุ่งสู่สุขภาพ (Orientation to health)
ตัวอย่างกิจกรรม
โครงการอบรมการเลี้ยงดูบุตรแก่แม่มือใหม่
โครงการสายใยรักครอบครัว
โครงการบ้านปลอดบุหรี่
โครงการเมาไม่ขับ
สร้างเสริมสุขภาพและการป้องกัน/ควบคุมการเกิดโรค
การดำเนินงาน
ให้รูปแบบของการให้ความรู้ (Health education)
การฝึกอบรมทักษะต่างๆ (Skills training)
การให้คำปรึกษาสุขภาพ (Health counseling)
การให้สนับสนุนทางสังคมผ่านเครือข่าย (Social support)
การเสริมสร้างพลังอำนาจแห่งตน (Empowerment)
3.งานที่มีความเป็นเอกสิทธิ์ (Autonomy)
พยาบาลชุมชนจะมีอิสระในการตัดสินใจเลือกให้บริการหรือใช้วิธีการที่ดีและเหมาะสมที่สุด
ผู้รับบริการก็มีสิทธิ์ที่จะเลือกรับบริการสุขภาพตามความภาวะสุขภาพ/โรคของตนเองได้
พยาบาลต้องเคารพสิทธิและความคิดเห็นของปะชาชน
พยาบาลต้องคำนึงถึงความถูกต้องและถูกหลักการตามมาตราฐานวิชาชีพ
2.งานเน้นตามประชากร (Population focus)
มุ่งผลสัมฤทธิ์ที่เกิดกับกลุ่มคนในชุมชนมากกว่าบุคคลใดบุคลหนึ่ง
พยาบาลอนามัยชุมชนจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลสุขภาพของประชากรกลุ่มเป้าหมายมาทำการวิเคราะห์และแปลผล
เมื่อทราบสาเหตุ/ปัจจัยที่เกี่ยวข้องพยาบาลสามารถให้การวินิจฉัย วางแผน ลงมือกระทำกิจกรรมการพยาบาล
4.งานที่มีความต่อเนื่อง (Continuity)
ความต่อเนื่องในการดูแลสุขภาพของผู้รับบริการ
ให้การบริการและประเมินผลการบริการ
ระยะสั้น
ระยะยาว
ระยะกลาง
นำผลไปปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการพยาบาล
เหมาะสมกับบริบทของชุมชน
เหมาะสมกับความต้องการของผู้รับบริการ
ผู้รับบริการรู้สึกเชื่อถือ มั่นใจและไว้ใจ
สัมพันธภาพที่ดีระหว่างพยาบาลกับผู้รับบริการ
ผู้รับบริการรู้สึกเชื่อถือ มั่นใจและไว้ใจ
ผู้รับบริการก้าวผ่านจุดเปลี่ยนแปลงของชีวิต (Transition)
เข้าถึงประชาชนที่เป็นผู้รับบริการ
ทุกช่วงจังหวะของชีวิต
ทุกระดับ
ทุกภาวะสุขภาพ
5.งานที่มีความหลากหลาย (Variability)
คุณสมบัติของพยาบาล
มีความรู้เชิงวิชาการ
มีทักษะการปฏิบัติงานทั่วไป
มีการปฏิบัติงานเฉพาะ
มีการบริหารจัดการ
ตัวอย่าง
การจัดโครงการป้องกันการสูบบุหรี่
โครงการป้องกันการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ของวัยรุ่น
โครงการป้องกันอันตรายของคนงานในสถานประกอบการต่างๆ
โครงงานดูแลสุขภาพและฟื้นฟูสุขภาพของผู้เจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังชนิดต่างๆ
ให้บริการการดูแล
สุขภาพแก่ผู้รับบริการ
ปรับเปลี่ยนการให้บริการการดูแลและการรักษาพยาบาลให้สอดคล้องกับความหลากหลายของกลุ่มเป้าหมาย
ระดับ
บุคคล
ครอบครัว
ประเภท
มารดาและทารก
เด็กในโรงเรียน
วัยทำงาน
ผู้สูงอายุ
ผู้ประกอบอาชีพตามสถานประกอบการต่างๆ
6.งานเชื่อมโยงปฏิสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆต่อสุขภาพ(lnteractivity)
บริการ/กิจกรรมพยาบาล
มองเห็นปัญหาสุขภาพและปัจจัยที่เชื่อมโยงสุขภาพและความเจ็บป่วยในแง่มุมต่างๆ
สถานที่ต่างกัน จากการลงปฏิบัติงานในพื้นที่ในกิจกรรมที่แตกต่างกัน
มีความหลากหลายตามภาวะสุขภาพ
7.งานด้านการประสานความร่วมมือ(Collaboration)
สาธารณสุขเจ้าหน้าที่ต่างๆ
องค์กรอิสระผู้นำชุมชนและประชาชน
องค์กรปกครองส่วนภูมิภาค
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเอกชน
บุคลากรทางการแพทย์
พยาบาลชุมชนมักเป็นตัวประสานความร่วมมือที่ดีนำพาบุคลากร
มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยกัน
ทำให้สามารถเเก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
นำไปสู่การสร้างเครือข่าย
ภาคีความร่วมมือในการเเก้ปัญหา
8.งานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม(Public accountability)
ความรับผิดชอบในการทำงาน และการให้บริการที่ดีและหมาะสม นำมาซึ่งความเชื่อถือ และความไว้ใจของผู้รับบริการ
ในแง่ผู้บังคับบัญชา
พยาบาลชุชนต้องมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับการมอบหมาย สามารถพิสูจน์ให้ผู้บังคับบัญชา เห็นว่าตนเองมีศักยภาพในการทำงาน และมีสมรถนะในการให้บริการที่มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ
ในแง่ผู้รับบริการ
พยาบาลชุมชนสามารถให้ บริการที่ช่วยให้ผู้รับบริการคลายทุกข์จากโรคภัยตามขอบเขตของวิชชีพ มีคุณธรมและจริยธรรมในการ ให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพ
เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆในชุมชน
ผู้นำและผู้ตามในชุมชน
กลุ่มเสี่ยง
ประชาชนทั่วไป
คนเจ็บป่วย
บทบาทของพยาบาลชุมชน (Roles of community health nurses)
1.บทบาทผู้ให้บริการดูแลสุขภาพ (Health care provider/clinician role)
การให้บริการดูแลสุขภาพและการรักษาพยาบาลของพยาบาลชุมชนมี 3 ระดับคือ
ระดับปฐมภูมิ
เป็นการให้บริการสุขภาพของพยาบาลชุมชนในหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ ซึ่งบูรณาการการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันการเจ็บป่วยและอันตรายจากการประกอบอาชีพการตรวจ รักษาโรคเบื้องต้นรวมถึงการส่งต่อเพื่อการดูแลรักษาที่เหมะสมกรณีโรคมีความซับซ้อน
ระดับทุติยภูมิ
เป็นรูปแบบการให้บริการสุขภาพของพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ฝ่ายส่งเสริม
สุขภาพหรือกลุ่มงานเวชกรรมสังคมที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน
ตัวอย่าง
คลินิกฝากครรภ์
คลินิกการวางแผนครอบครัว
ระดับตติยภูมิ
เป็นรูปแบบการให้บริการพยาบาลในโรงพยาบาลศูนย์ หรือโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โดยมากเป็นการให้บริการของพยาบาลที่ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาล พยาบาลชุมชนมักไม่ได้มีปฏิบัติการในระดับนี้ ยกเว้นเป็นความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย
ในกรณีให้บริการดูแลสุขภาพผู้ป่วยต่อเนื่องจากโรงพยาบาลไปสู่ชุมชน
2.บทบาทผู้ให้ความรู้ด้านสุขภาพ (Health educator role)
การให้ความรู้เป็นบทบาทที่สำคัญและได้รับการยอมรับว่าเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการพยาบาลชุมชน การให้ความรู้แก่ผู้รับบริการในระดับต่างๆ
มีประโยชน์โดยตรงต่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคและการบาดเจ็บ
การดูแลสุขภาพของตนเองทั้งในภาวะปกติและเจ็บป่วย ในการให้ความรู้แต่ละครั้ง พยาบาลจำเป็นต้องเข้าใจปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมบรรยากาศให้ผู้รับบริการเกิดการเรียนรู้ และลดอุปสรรคที่ขัดวางการเรียนรู้ของผู้รับบริการ
การให้ความรู้ของพยาบาลชุชนแต่ละครั้งอาจให้กับปัจเจกบุคคลหรือเป็นกลุ่มขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ เนื้อหาที่ต้องการสอน วิธีการสอน เวลาและสถานที่ที่ใช้สอน
การให้ความรู้อาจไม่จำกัดอยู่เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งแต่เป็นการให้ความรู้ที่กระจายสู่ผู้รับบริการทุกกลุ่ม ทุกระดับโดยหวังผลให้การเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง
ตัวอย่าง
การให้ความรู้ถึงโทษของการสูบบุหรี่ต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โทษของการได้รับควันบุหรี่มือสอง การให้ความรู้ไม่ได้เจาะจงเฉพาะกลุ่มคนที่สูบบุหรี่แต่จะกระจายไปสู่บุคคล
ทั่วไปที่ไม่ได้สูบบุหรี่ด้วย
3.บทบทผู้พิทักษ์สิทธิ์ (Advocator role)
การพิทักษ์สิทธิ์ของผู้รับบริการเป็นบทบาทที่สำคัญของพยาบาลชุมชน ผู้รับบริการทุกคนมีสิทธิ์ที่จะได้รับความคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ์ในการรับบริการดูแลรักษาพยาบาล
พยาบาลต้องเป็นตัวกลางในการให้ข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพ รักษาสิทธิและผลประโยชน์ด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการตลอดจนการช่วยเหลือให้ประชาชนเลือกใช้บริการที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของตนเอง
4.บทบาทผู้จัดการรายกรณี (Case manager role)
การให้บริการของพยาบาลชุมชนในบทบาทของผู้จัดการรายกรณีเกี่ยวข้องกับผู้รับบริการมีการอาการเจ็บป่วยแล้ว โดยจะจัดการให้ผู้รับบริการได้รับการรักษาเฉพาะโรคอย่างต่อเนื่อง
พยาบาลที่เป็นผู้จัดการรายกรณีต้องมีความสามารถในการบริหารจัดการทรัพยากร แหล่งประโยชน์และทุนสังคมในชุมชน ติดต่อและประสานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ในชุมชนในการร่วมกันดูแลผู้รับบริการที่ต้องการความช่วยเหลือเพื่อให้ผู้รับริการได้รับบริการได้รับการดูแลสุขภาพและรักษาพยาบาลอย่างเต็มที่และสามารถมีชีวิตอยู่ในชุมชนได้อย่างมีปกติสุข
5.บทบาทผู้ประสานความร่วมมือ (Collaborator role)
งานของพยาบาลชุมชนมักต้องทำงานร่วมกับบุคลากรต่างๆ หลากหลายอาชีพ/วิชาชีพ ในฐานะที่หนึ่งในผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพชุมชน พยาบาลชุมชนจำเป็นต้องมีการประสานความร่วมมือกับบุคคลากรในฝ่ายต่างๆ เช่น แพทย์ ครู นักสังคมสงเคราะห์ โภชนาการ นักจิตวิทยา นักบาดวิทยา ผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเพื่อแก้ไข/บรรเทา/ลดความรุนแรงของปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชน
6.บทบาทผู้นำ (Leadership role)
เป้าหมายของปฏิบัติการของพยาบาลชุมชนคือ ส่งเสริมให้ประชาชนมีพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรงทั้งกายและใจ งานของพยาบาลจึงมีการพัฒนาและปรับปรุงการบริการสุขภาพให้เหมาะกับวิถีชีวิต บริบทและเทคโนโลยีไร้ขอบเขต
พยาบาลมีบทบาทเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agent) มีความล้ำในการคิดนอกกรอบและการบูรณาการความคิดต่าง ๆ ไปสู้การสร้างสรรค์ผลงาน/นวัตกรรมใหม่ ๆ สู่การดูแลสุขภาพี่ดีขึ้น และมีความกล้าในการนำผลงานนวัตกรรมใหม่ ๆ ลงสู่การปฏิบัติจริงเพื่อให้ปฏิบัติการบริการพยาบาล
มีประสิทธิภาพละประสิทธิผลมากขึ้น
7.บทบาทผู้วิจัย (Researcher role)
การปฏิบัติงานของพยาบาลชุมชนเป็นปฏิบัติการที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการประเมินและสืบสวนประเด็น/ปัญหาที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
การประเมินและการสืบสวนประเด็น/ปัญหาอย่างเป็นระบบเป็นจุดเริ่มต้นของการแตกหน่อทางความคิดและนำไปสู่การวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และคุณภาพบริการของพยาบาลชุมชน
องค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นจะช่วยให้พยาบาลชุชนมีความเข้าใจในสัมพันธภาพของปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวต่อสุขภาพและความเจ็บป่วยของผู้รับบริการในชุมชน ทำให้พยาบาลชุมชนสามารถจัดบริการต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลและตรงตามความต้องการของชุมชน
การศึกษาวิจัยจึงเป็นหนทางหนึ่งที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆ ที่ช่วยในการพัฒนาวิชาชีพให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทันยุคสมัยและสอดคล้องกับบริบทของสังคมและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
1.การสร้างเสริมสุขภาพ (Health promotion)
เป็นการให้บริการ จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมกระตุ้นให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขและการจัดสิ่งแวดล้อม
ตัวอย่าง
บริการทันตะสาธารณสุข
บริการดูแลอาหารและโภชนาการ
บริการแม่และเด็กให้บริการดูแลสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์มารดาและทารก
บริการวางแผนครอบครัว
บริการอนามัยสิ่งแวดล้อม
บริการส่งเสริมสุขภาพจิต