Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Nursing care during the postpartum period (การเปลี่ยนแปลงด้านสรีระวิทยา…
Nursing care during the postpartum period
การเปลี่ยนแปลงด้านสรีระวิทยา
มดลูก (Uterus) หลังคลอดทันทีมดลูกจะอยู่ระหว่างสะดือกับ symphysis pubis หรือ ต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย และจะลดลง 0.5 - 1 นิ้ว/วัน ประมาณ 10-12 วัน จะคลำมดลูกไม่พบ 6-8 สัปดาห์จะขนาดเท่าปกติ
น้ำคาวปลา (Lochia)
Lochia Rubra ในช่วง 1-3 วัน จะมีสีแดงคล้ำ ข้นและไม่เป็นก้อน
Lochia serosa ในช่วง 4-9 วัน จะมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีชมพู
Lochia alba ในช่วง 10-15 วัน จะมีสีขาว (ครีม) หรือเหลืองจางๆ
ฝีเย็บ (Perinium) หลังคลอดจะบวมช้ำและได้รับการซ่อมแซม ถ้าดูแลดีจะหายภายใน 5-7 วัน
ประจำเดือน (Menstruation)
มารดาที่เลี้ยงทารกด้วยน้ำนมมารดา จะมาประมาณเดือนที่ 9 เนื่องจาก Prolactin จะกด Pituitary gonadopin ทำให้รังไข่ไม่สนองต่อารกระตุ้น
มารดาที่ไม่ได้เลี้ยงทารกด้วยนมมารดา จะมาใน 7-9 สัปดาห์หลังคลอด
ระบบทางเดินปัสสาวะ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะลดลงความจุมากขึ้น ความดันลดลงจึงเกิดกระเพาะปัสสาวะโป่งพอง ปัสสาวะออกไม่หมด จากการหย่อนกำลังของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ จะกลับสู่สภาวะปกติใน 5-7 วัน
ระบบทางเดินอาหาร จากการงดน้ำงดอาหารทำให้ 24 ชม.หลังคลอด มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง อยากอาหารลดลง เมื่ออาการอ่อนเพลียดีขึ้นจะหิวเเละกระหายน้ำมาก
เต้านม หลังคลอด 24 ชม.แรก เต้านมจะมีขนาดเท่ากับเต้านมในระยะท้ายของการตั้งครรภ์ หลังคลอดวันที่ 2-3 จะขยายใหญ่ขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของ Lobules เพื่อสร้าง Hormones prolactin กระตุ้นการสร้างน้ำนม
ระบบเลือด 3 วันแรกหลังคลอด ค่า Hct.สูงขึ้นเล็กน้อยจากปริมาณ Plasma ที่ลดลงสู่สภาพปกติภายใน 1 สัปดาห์ Clotting factor มีค่าสูงจะลดลงสู่ระดับปกติใน 2-3 สัปดาห์หลังคลอด ถ้าไม่มีการเคลื่อนไหวร่วมกับการติดเชื้อ จะกระตุ้นให้เกิดหลอดเลือดอุดตัน (Thromboembolism) ได้ง่าย
การขับถ่ายอุจจาระ 24 ชม.แรกความบอบช้ำของเนื้อเยื่อทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่ดี มีเลือดคั่งบริเวณทวารหนักมาก อาจทำให้ท้องผูก
เยื่อบุช่องท้องและผนังช่องท้อง จะกลับคืนสู่สภาพเดิมใช้เวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ การออกกำลังกายช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องตึงตัวเร็วขึ้น
บทบาทการเป็นมารดา
ระยะพึ่งพา (Dependent phase หรือ Taking in phase) เกิดขึ้น 1-3 วันหลังคลอด
ดูแลช่วยเหลือกิจกรรมบางส่วน
อธิบายให้ญาติเข้าใจ
ให้การพยาบาลด้วยท่าทีที่อบอุ่น
เปิดโอกาสให้ระบายความรู้สึก
ระยะกึ่งพึ่งพา (Independent phase หรือ Taking hold phase) เกิดขึ้นใน 3- 10 วันหลังคลอด
ให้คำแนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวหลังคลอดและการดูแลทารก
ระยะอิสระ (Interdependent phase หรือ Letting go phase) เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 หลังคลอดเป็นต้นไป
แนะนำให้มารดาหลังคลอด สามีและสมาชิกภายในครอบครัวสามารถปรับตัวและวางแผนการดำเนินชีวิตตามพัฒนกิจของครอบครัว
จิตสังคมหลังคลอด
Postpartum Depression เกิดขึ้น 1 - 2 สัปดาห์หลังคลอด มีอาการซึมเศร้า ไม่สนใจตนเอง รู้สึกผิด สิ้นหวัง
ดูแลให้คำปรึกษา
Postpartum Psychosis เกิดขึ้น 2-4 สัปดาห์หลังคลอด มีอาการจิตหลอน ไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง อารมณ์ไม่เหมาะสมกับเหตุการณ์
พบจิตแพทย์
Admit โรงพยาบาล
Postpartum Blues เกิดขึ้น 2-3 วันหลังคลอด มีอาการซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน กังวล สับสน ไม่มีสมาธิ
ส่งเสริมให้กำลังใจ
ส่งเสริมกิจกรรมบทบาทการเป็นมารดา
การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะเบี่ยงเบนทางสุขภาพ
Reactionary fever
กระตุ้นให้มารดาดื่มน้ำบ่อยๆ
ดูแลเช็ดตัวระบายความร้อน
ดูแลให้มารดาพักผ่อนอย่างเพียง
ดูแลให้มารดาดื่มเครื่องดื่มอุ่นๆ ให้สบายท้อง นอนหลับสนิท
After pain
จัดท่านอนคว่ำโดยใช้หมอนประคองกล้ามเนื้อที่ท้องน้อย
ถ้าปวดมากให้ยา paracetamol (500mg) ตามแผนการรักษา
เจ็บแผลฝีเย็บ
ประคบเย็นบริเวณแผลฝีเย็บ เป็นเวลา 15 นาทีใน 24 ชม.แรก
หลัง 24 ชม.ใช้ความร้อนอบแผลประมาณ 20-30 นาที
นอนตะแคงด้านตรงข้ามกับแผล
ถ้าปวดมากให้ยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
แนะนำการขมิบช่องคลอด (Kegel exercise)
ท้องผูก
จัดให้มารดาพักผ่อนศีรษะสูง ลดแรงดันก๊าซในช่องท้อง
สนับสนุนให้มารดาลุกจากเตียงโดยเร็ว 3-4 ชม.หลังคลอด
แนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นอย่างน้อยวันละ 2,500-3,000 ml.
แนะนำให้รับประทานอาหารที่มีกากมาก
ให้ยาระบายอย่างอ่อน (M.alba) หรือ milk of magnesium
แนะนำให้ฝึกขับถ่ายเป็นเวลา