Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล (การอาบน้ำ เป๋นการทำความสะอาดร่างกาย…
การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
ความหมาย Personal hygine เป็นการดูแลความสะอาดของร่างกาย รวมทั้งสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่ดี ป้องกันการเจ็บป่วย
-
การดูแลความสะอาดผิวหนัง พยาบาลควรดูแลผิวหนังแต่ละช่วงวัยด้วยความเหมาะสม สังเกตสิ่งต่างๆ ความยืดหยุ่น ความชุ่มชื้น สิ่งผิดปกติ เช่น รอยเขียว แดง ช้ำ แผลและอาการบวมรวมถึงผื่นต่างๆ
วัยทารกผิวหนังจะบางและอ่อนนุ่มมีไขมันใต้ผิวหนังน้อยเพราะยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ควรหลีกเลี่ยงการขัดถูเวลาอาบน้ำเพราะทำให้เขียวหรือแตกได้ง่าย
-
วัยรุ่นผิวหนังจะโตเต็มที่ต่อมไขมันจะขับไขมันเพื่อมาหล่อลื่นผิวหนังทำให้มีความยืดหยุ่นไม่ขาดง่ายมีฮอร์โมนและต่อมเหงื่อเจริญเต็มที่จึงควรดูแลกลิ่นตัวและอาจมีสิว
วัยชรา ผิวหนังจะแห้งและแตกง่ายเนื่องจากต่อมไขมันทำงานลดลงจึงขับไขมันออกมาน้อยผิวหนังบางขาดการยืดหยุ่นทำให้มีรอยย่น ควรระวังเรื่องการใช้สบู่และการฟกช้ำหรือผิวแตก
การอาบน้ำ เป๋นการทำความสะอาดร่างกาย ลดโอกาสการติดเชื้อ เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนโลหิต ผ่อนคลายความตึงเครียด สังเกตความผิดปกติของผิวหนัง อุณหภูมิของน้ำที่ใช้ ผู้ใหญ่ 37.7-40.5 C ทารก 43.3-58.3 C
อาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงสมบูรณ์ (Complete bed bath) การอาบน้ำให้ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ทั้งหมด ถูกจำกัดการเคลื่อนไหวบนเตียง เช่น ผู้ป่วยอัมพาต เด็กทารก
การอาบน้ำผู้ป่วยเฉพาะบางส่วนของร่างกาย(Partial bath) การอาบน้ำบางส่วนของร่างกาย ผู้ป่วยช่วยเหลือตนเองได้บ้างแต่ลุกจากเตียงเองไม่ได้ พยาบาลต้องช่วยเช็ดบริเวณที่ผู้ป่วยเช็ดเองไม่ได้เช่น เท้า บริเวรหลัง ได้แก่ผู้ป่วยใส่เฝือกลำตัว แขน ผู้ป่วยผ่าตัดระยะแรก
การอาบน้ำโดยผู้ป่วยช่วยเหลือตนเอง(Self help bath) ผู้ป่วยสามารถช่วยหลือตนเองได้แต่ถูกจำกัดให้อยู่บนเตียง พยาบาลต้องเป็นผู้เตรียมเครื่องใช้ต่างๆ
การอาบน้ำที่ห้องน้ำ(self bath) เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นและสามารถลุกจากเตียงเดินไปที่ห้องน้ำได้เอง หรือพยาบาลอาจช่วยพยุงและเตรียมของใช้ให้
การอาบน้ำเพื่อช่วยรักษาโรคบางชนิด (Therapeutic bath) เป็นการอาบน้ำที่เฉพาะเจาะจงอาจมีผลที่ต้องการพิเศษ ซึ่งผู้ป่วยต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของพยาบาลขณะอาบน้ำและภายหลังอาบน้ำแล้วเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอันตราย
การจุ่มอวัยวะลงในน้ำ (Immersion bath)เป็นการแช่ทั้งตัวหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายลงในน้ำ ยกเว้น ศรีษะ
Continuous bath การอาบน้ำที่ต่อเนื่องกันเป็นการแช่ทั้งตัวยกเว้นศรีษะในอ่างอาบน้ำเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียด
Hot sitz bathการแช่ก้น แช่แค่ส่วนสะโพกลงในน้ำอุณห๓ูมิ 43-45องศาเซลเซียส มักใช้กับริดสีดวงทวารหนักหรือช่องคลอดเพื่อลดการอักเสบ ส่งเสริมการหายของแผล
-
Relaxing bath การอาบน้ำเพื่อผ่อนคลาย มักใช้กับผู้ป่วยที่นอนไม่หลับ แช่ในอ่างอาบน้ำยกเว้นศรีษะ อุณภูมิน้ำที่40.5องศาเซลเซียสตลอดเวลา
การลูบตัวเพื่อลดความร้อน(Sponge bath)เป็นการเช็ดหรือลูบตัวใฟ้ความร้อนในร่างกายลดลงและช่วยผ่อนคลายความเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อและเส้นประสาทใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีไข้
การอาบน้ำด้วยน้ำยา(Medicated bath)เป็นการใช้น้ำยารักษาโรคผิวหนังบางชนิด อาจแช่ในอ่างน้ำหรือลูบตัว เพื่อลดอาการคันและระคยเคือง
ข้อควรระวังในการอาบน้ำ ไม่เปิดเผยผู้ป่วยขณะปฏิบัติ ดูแลผู้ป่วยให้ได้รับความอบอุ่นตลอดเวลาที่ปฏิบัติ ทำด้วยความนิ่มนวล ว่องไว ผ้าถุพันตัวต้องไม่จับกันเป็นก่อนควรชุบให้พอหมาดไม่เปียกเกินไป ใช้ผ้าฟอกสบู่เล็กน้อย ไม่จุ่มสบู่ลงในอ่างอาบน้ำ ระวังสบู่เข้าตา เปลี่ยนน้ำทุกครั้งที่สกปรก พูดคุยสนทนาสังเกตอาการผู้ป่วยในขณะปฏิบัติ
-
ท่าลูบ (effleurage or stroking) โดยพยาบาลใช้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง วางบนก้นกบของผู้ป่วย แล้วค่อยๆลูบขึ้นไปตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงต้นคอ แล้ววกกลับลงมาตามแนวสีข้าง และสะโพก โดยใช้ฝ่ามือลูบช้าๆอย่างนุ่มนวล
ท่าจับกล้ามเนื้อยกบิดไปมาสลับกัน (petrissage) ใช้นิ้วหัวแม่มือและปลายนิ้วทั้งสี่ถึงกล้ามเนื้อผู้ป่วยให้อยู่ในอุ้งมือประมาณ 3 นิ้ว ทั้งสองข้าง บีบและคลายสลับกัน พร้อมกับหมุนมือทั้งสองข้างขึ้นลง โดยไม่ยกมือขึ้น นวดไปตามแนวกระดูกสันหลัง เนื้อของผู้ป่วยจะถูกยกลักษณะเป็นคลื่น
ท่าสั่นสะเทือน (Vibration) ทำได้โดยใช้มือข้างหนึ่งจับมืออีกข้างหนึ่ง ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งกดด้านข้างกระดูกสันหลังของผู้ป่วย กดและคลึงเบาๆเป็นแนวยาวไปจนถึงบริเวณก้นกบ
ท่าสับกล้ามเนื้อHacking ใช้มือ2ข้างสลับกันเร็วๆ โดยใช้แรงสับเกิดจากข้อมือของผู้ทำ สันมือวางกับใยของกล้ามเนื้อโดยเริ่มทำจากหัวไหล่มายังก้นกบ3ครั้ง
ท่าใช้นิ้วหัวแม่มือกด (Digital kneading) โดยลงบนแผ่นหลังของผู้ป่วยในแนวด้านข้างของกระดูกสันหลัง เป็นระยะตามยาวตลอดแนวสันหลัง
ท่าใช้อุ้งมือตบ (percussion) พยาบาลห่อมือให้ปลายนิ้วชิดกันทั้งห้านิ้ว ตบลงบนหลังของผู้ป่วยสลับกันไปทั้งสองมือเป็นจังหวะตามแนวกระดูกสันหลัง
-
การบำบัดด้วยความร้อนและความเย็น (Hot – cold therapy)
การบำบัดด้วยความร้อน ความเย็น หมายถึง การใช้ความร้อน หรือความเย็น ในการบำบัดรักษาอาการ ซึ่งปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อความร้อนและเย็นจะแตกต่างกัน การใช้ความร้อนหรือความเย็นในการบำบัดรักษามีข้อพึงระวังหลายประการเช่น อายุ ระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย สภาวะของโรค และระยะเวลาการนำมาใช้ ความร้อนหรือความเย็นนอกจากจะช่วยบรรเทาอาการทุกข์ทรมานแล้วยังสามารถช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบายด้วย
- ความร้อนแห้ง เช่น กระเป๋าน้ำร้อน (hot water bag) ขวดน้ำร้อน (hot water bottle) กระเป๋าไฟฟ้า ผ้าห่มไฟฟ้า (electrical heating pads) การประคบร้อนด้วยแสง (infrared lamp) ถุงความร้อนทางเคมี (chemical hot packs) วัสดุอื่นๆ เช่น อิฐเผาไฟ การนึ่งหม้อเกลือ พืชต่างๆ เช่น ใบพลับพลึง ใบแพงพวยน้ำ
- ความร้อนเปียก เช่น การประคบด้วยความร้อน (hot compress) การประคบและ อบด้วยความร้อน (hot formentation) การประคบความร้อนด้วยน้ำมันสน (hot turpentine stupe) การแช่ก้นด้วยน้ำร้อน (hot sitz bath) การแช่ตัว แช่มือ และแช่เท้า (body soaks, hand soaks and foot soaks)
-
-
การประคบเย็น
-
-
-
การประคบด้วยความเย็นนิยมใช้กับบริเวณที่มีอาการปวดหรืออาการอักเสบ เล็กน้อย เช่น ปวดศีรษะ ปวดขมับ ปวดข้อเข่า ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณตา เต้านมอักเสบ
การบำบัดด้วยความร้อน เย็น มีประโยชน์มากถ้าผู้ใช้ปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี จากที่กล่าวมาแล้วว่าความร้อนทำให้เกิดการอักเสบอย่างเฉียบพลัน หรือทำให้อาการอักเสบเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนในระยะที่มีการอักเสบ เมื่อจำเป็นต้องใช้การบำบัดด้วย ความร้อน หรือเย็นในเด็กและผู้สูงอายุต้องใช้ความระมัดระวังมากเป็นพิเศษ เพราะประสาทการรับความรู้สึกยังเจริญไม่เต็มที่ในเด็ก และการรับความรู้สึกช้าหรือไม่มีความรู้สึกในผู้สูงอายุ เพราะจะทำให้เกิดความร้อนมากไปจนเกิดผิวหนังไหม้ได้ นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้ การบำบัดด้วยความร้อนในผู้ป่วยที่มีผิวหนังมีลักษณะที่อ่อนบาง และมีการยืดหยุ่นน้อย หรือมีภาวะเลือดออกง่าย เนื่องจากความร้อนทำให้หลอดเลือดขยายตัว เกิดเลือดออกได้ง่ายขึ้น และมีอาการบวมเพิ่มขึ้น และต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้นในการให้ความร้อนกับผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคของระบบประสาทและผิวหนังที่ไม่มีความรู้สึก เพราะจะทำให้เกิดความร้อนมากไป จนทำให้เกิดผิวหนังไหม้ได้
การทำเตียง และสิ่งแวดล้อม หมายถึง การดูแลรักษาความสะอาดเตียง อุปกรณ์เครื่องใช้ในการนอน ตลอดจนสภาพสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวผู้ป่วยให้สะอาด และอยู่ในสภาพที่จัดวางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ซึ่งสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาลมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วยอย่างมาก เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่สะอาดและได้รับการดูแลทุกวัน รวมทั้งการมีการระบายอากาศที่เหมาะสม ปราศจากกลิ่นรบกวน การจัดวางสิ่งของต่างๆเป็นระเบียบ จะไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค