Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล (การสระผมที่เตียงผู้ป่วย(Bed shampoo)…
การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
การทำเตียงและสิ่งแวดล้อม
หลักการ
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
ประหยัดเวลาและพลังงาน
คำนึงถึงการทรงตัวของผู้ปฏิบัติ
ร่างกายผู้ป่วยให้อยู่ในท่าที่ถูกสุขลักษณะ
ประเภทของการทำเตียง
การทำเตียงว่าง(Closed bed or ordinary bed)
รับผู้ป่วยใหม่
ใช้ผ้าคลุมถึงหมอน
กรณีกลับบ้าน
ผู้ป่วยลุกจากเตียงได้(Open bed)
คนไข้ดูแลตนเองได้
พับผ้าห่มซ้อนกันไปมาที่ปลายเตียง
เตียงรอรับผู้ป่วยดมยาสลบ(Ether bed or Anesthetic bed)
รับผู้ป่วยจากห้องผ่าตัดหรือดมยาสลบ
อุปกรณ์เพิ่มเติม
ชามรูปไต
เสาแขวนสารละลาย
ลูกสูบยางแดง
ผ้ายางหรือผ้าขวาง
เตียงที่มีผู้ป่วยนอนอยู่(Occupied bed)
ผู้ป่วยอัมพาต
ผู้ป่วยอ่อนเพลีย
การดูแลทำความสะอาดปากและฟัน(Mouth Care)
หลักการ
สะอาด
ปลอดภัย
สุขสบาย
วัตถุประสงค์
รักษาความสะอาดของช่องปากและฟัน ป้องกันการเกิดแผลและการติดเชื้อภายในปาก
รักษาความชุ่มชื้นของริมฝีปากและเยื่อบุภายในช่องปาก
สังเกตความผิดปกติภายในช่องปาก เช่น การมีแผลที่เหงือก
กรณีผู้ป่วยช่วยตัวเองไม่ได้
จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนตะเเคง หนุนหมอนมาทางพยาบาล ใช้ผ้าเช็ดตัวคลุมใต้คางและหน้าอกผู้ป่วย
ใช้ไม้พันสำลีหรือปากคีบหยิบสำลี ชุบน้ำยาบ้วนปากพอหมาด
Dobell's solution 1:3
Special mouth wash
เช็ดฟัน เหงือก กระพุ้งแก้ม และลิ้น ให้ทั่วจนสะอาด
การแปรงฟัน
ใช้ไม้พันสำลี
ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว
มีเลือดอออกง่าย เช่น ไข้เลือดออก
ใช้ผ้าก๊อส
มีคราบหรือน้ำลายเยอะ
ใช้แปรงสีฟัน
คนปกติ
ผู้ป่วยจิตเวช
ไม่มีแผลที่ช่องปาก
วิธีนี้ดีที่สุด
การทำความสะอาดฟันปลอม
ไม่ควรถอดฟันปลอมไว้นานๆเพราะจะทำให้เหงือกเปลี่ยนรูปได้
ควรล้างด้วยน้ำสะอาดกับสบู่หรือยาสีฟันธรรมดา
เมื่อถอดฟันปลอมแล้วควรให้อมน้ำยาบ้วนปาก เพื่อทำความสะอาดปากให้สดชื่น
การสระผมที่เตียงผู้ป่วย(Bed shampoo)
หลักการ
สะอาด
ปลอดภัย
สุขสบาย
ข้อควรระวัง
ป้องกันน้ำเข้าหู ใช้สำลี 2 อัน
ใช้ปลายมือในการสระผม(ใส่ถุงมือ)
เหมาะกับผู้ป่วย
ติดเตียง
เส้นผมมัน,รังแค,กลิ่นเหม็น
ไม่เหมาะกับผู้ป่วย
สัญญาณชีพผิดปกติ
มีแผลที่ศรีษะ
มีไข้
คนไข้หายใจเหนื่อย
วัตถุประสงค์
กำจัดสิ่งสกปรก ไขมัน แบคทีเรียที่อยู่บนหนังศรีษะและผม
กระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่หนังศรีษะ
กระตุ้นต่อมไขมันให้ขับน้ำมันมาหล่อเลี้ยงผม
ช่วยให้ผู้ป่วยสุขสบาย
วิธีปฏิบัติ
ศรีษะผู้ป่วยอยู่ริมเตียง
มีสอดผ้ายางรองน้ำใต้ศรีษะ
ใช้สำลีอุดหู
สระผมและล้างให้สะอาด
เช็ดผมให้แห้ง
การบำบัดด้วยความร้อนและความเย็น
การประคบเย็น
ทำภายใน 24-48 ชม.แรกหลังได้รับบาดเจ็บ
ประโยชน์
เลือดออกน้อยลง
ลดปวด
ประคบร้อน
ทำหลังจาก 48 ชม. โดยประคบที่จุดที่มีอาการปวดเมื่อย ทำให้หลอดเลือดขยายตัว
ประโยชน์
เพิ่มการไหลเวียนโลหิต
ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และเนื้อเยื่อพังผืด
ลดบวม ลดปวด
ให้ความอบอุ่นต่อร่างกาย
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธ์ภายนอก(Flushing or Perineal care)
หลักการ
สะอาด
ปลอดภัย
ไม่เปิดเผย
วัตถุประสงค์
รักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธ์ภายนอก
ความสุขสบายของผู้ป่วย
ป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธ์
สังเกตอาการผิดปกติของอวัยวะสืบพันธ์ภายนอก
เตรียมผู้ป่วยตรวจภายในสำหรับเพศหญิง
อุปกรณ์
น้ำสบู่เหลว
น้ำยา
0.9% NSS
Savlon 1:100
การปฏิบัติ
เพศหญิง
นอนหงายชันเข่า(Dorsal recumbent) แยกขาออกจากกัน
Drape ผ้า
สอดหม้อนอน
เทน้ำสบู่
ฟอกสบู่
ล้างน้ำสบู่
ซับให้แห้ง
การทำความสะอาดด้วยน้ำยา
ก้อน 1 เช็ดหัวหน่าว แบบซิกแซก
ก้อน 2 เช็ดแคมใหญ่ ด้านไกลตัว
ก้อน 3 เช็ดแคมใหญ่ ด้านใกล้ตัว
ก้อน 4 เช็ดแคมเล็ก ด้านไกลตัว
ก้อน 5 เช็ดแคมเล็ก ด้านใกล้ตัว
ก้อน 6 เช็ดตรงกลางจากบนลงล่างถึงทวารหนัก
ซับให้แห้ง
จัดท่าให้สบาย
เพศชาย
นอนหงายแยกขาออกจากกัน
การเช็ดด้วยน้ำยา
ก้อน 1 เช็ด urethral orifice
ก้อน 2 และก้อน 3 เช็ดรอบๆลำกล้องจากบนลงล่าง
ก้อน 4 เช็ดหัวหน่าว
ก้อน 5 และก้อน 6 เช็ดลูกอัณฑะ
ก้อน 7 และก้อน 8 เช็ดขาหนีบไกลตัวและใกล้ตัว
ก้อน 9 เช็ดใต้ลูกอัณฑะถึงทวารหนัก
ซับให้แห้ง
จัดท่าให้สบาย
การนวดหลัง(back rub)
หลักการ
ปลอดภัย
ไม่เปิดเผย
สุขสบาย
วัตถุประสงค์
กระตุ้นการไหลเวียนของเหลือด ป้องกันการเกิดแผลกดทับ
กระตุ้นผิวหนัง และการทำงานของต่อมเหงื่อ
สังเกตผิวหนังบริเวณหลัง
เพื่อให้กล้ามเนื้อหย่อนตัวและประสาทคลายความตึงเครียด
การปฏิบัติ
จัดท่านอนคว่ำหรือนอนตะเเคงกึ่งคว่ำ
ไม่นวดบริเวณที่มีความผิดปกติของระบบไหลเวียน มีบาดแผล บาดเจ็บที่กระดูกสันหลังและเป็นโรคหัวใจ
ทาแป้ง ครีม หรือโลชั่นก่อนทำการนวด
น้ำหนักมือต้องไม่แรงเกินไป
วิธีการนวดหลัง
Stroking down(การลูบตามแนวยาว)
ใช้ฝ่ามือ 2 ข้างวางที่ก้นกบ
ค่อยๆลูกขึ้นตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงคอ
แยกมือที่หัวไหล่ลูบมาด้านล่างจนถึงก้นกบ
Friction(ท่าถูกล้ามเนื้อ)
วางฝ่ามือถูขึ้นลง
ตามใยกล้ามเนื้อทราพีเซยส และลาทิสสิมัส ดอร์ไซ
Kneading/Petrissage(ท่าบิดกล้ามเนื้อ)
กระตุ้นการไหลเวียนที่อยู่ลึกลงไปและส่งเสริมให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
Clapping การใช้อุ้งมือตบเบาๆ
ห่อมือให้ปลายนิ้วชิดกันเกิดช่องว่างตรงกลางฝ่ามือ
ตบเบาๆสลับมือกัน โดยกระดกข้อมือ
Hacking(การใช้สันมือตบเบาๆ)
ใช้สันหลังมือด้านนิ้วก้อย สับสลับกันเร็วๆ
โดยกระดกข้อมือ สับขวางใยกล้ามเนื้อบริเวรตะโพก ก้น และต้นขา
Vibration(ท่าสั่นสะเทือน)
ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือข้างถนัด กดด้านของกระดูกสันหลังสั่นสะเทือนเบาๆ
Stroking down(การลูบตามแนวยาว)
การอาบน้ำ
หลักการ
สะอาด ฟอกสบู่เปลี่ยนน้ำ
ปลอดภัย ยกไม้กั้นเตียง
เคารพความเป็นบุคคล ไม่เปิดเผย กั้นม่านหรือคลุมผ้า
สุขสบาย ให้ความอบอุ่น น้ำร้อน/เย็น
จุดประสงค์
เพื่อให้ผิวหนังสะอาด กำจัดสิ่งสกปรก
เพื่อกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตและผ่อนคลาย
เพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบาย สดชื่น
เพื่อสังเกตความผิดปกติของผิวหนังผู้ป่วย และการเคลื่อนไหวของร่างกายด้วย
ชนิดของการอาบน้ำ
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงแบบสมบรูณ์(Complete bed bath)
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ทั้งหมด
ถูกจำกัดการเคลื่อนไหวบนเตียง
พยาบาลจะเป็นผู้อาบให้ทั้งหมด
เหมาะสำหรับ
เด็กทารก
ผู้ป่วยติดเตียง
ผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ
หลักการ
การพันผ้าเช็ดตัว
เอามือสอดเข้าไป
พันผ้าไว้ในมือ
ตลบปลายผ้าเข้ามาไว้ด้านใน
วิธีทำ
บนลงล่าง
ไกลมาใกล้
ปลายมาต้น
การอาบน้ำผู้ป่วยเฉพาะบางส่วนของร่างกาย(Partial bath)
เหมาะสำหรับ
ผู้ป่วยแขนหัก
ผู้ป่วยขาหัก
ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้บ้าง
ไม่สามารถลุกจากเตียงเองได้
ไม่สามารถเช็ดตัวเองได้ครบทุกส่วน
การอาบน้ำโดยผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเอง(Self-help bath)
การอาบน้ำทุกส่วนของร่างกาย
พยาบาลเตรียมเครื่องใช้ต่างๆและช่วยเช็ดบางส่วน เช้น เท้า,หลัง
การอาบน้ำที่ห้องน้ำ(Self bath)
ผู้ป่วยสามารถไปอาบน้ำได้เองในห้องน้ำที่มิดชิด
ผู้ป่วยสามารถอาบน้ำได้เอง หรือในผู้ป่วยบางรายอาจต้องให้ผู้อื่นช่วยบ้าง
การอาบน้ำเพื่อช่วยรักษาโรคบางชนิด(Therapeutic bath)
การดูแลความสะอาดมือและเล็บ
แช่มือและเล็บด้วยน้ำสบู่อุ่นๆ
ใช้แปรงนุ่มๆขัดตามซอกเล็บ
ไม่ตัดเล็บสั้นจนเกินไป และไม่ใช้วัสดุงัดขอบเล็บ
ควรตัดเล็บหลังจากอาบน้ำหรือแช่น้ำอุ่น
มือ ตัดให้โค้งมนไปตามนิ้วมือ
เท้า ตัดให้เป็นเส้นตรงมากที่สุด
การทำความสะอาดตา
เช็ดหัวตา
เช็ดเปลือกตาบนจากหัวตาไปหางตา
เช็ดเปลือกตาล่างจากหัวตาไปหางตา
เช็ดทีละข้าง โดยเช็ดข้างที่ติดเชื้อทีหลัง
เช็ดผู้ป่วยที่ติดเชื้อ เป็นรายสุดท้าย
การดูแลทำความสะอาดหู
ทำความสะอาดเฉพาะภายนอก ใช้สำลีเช็ดเบาๆ
ห้ามใช้ไม้แข็ง มีคม กิ๊บหนีบผม หรือสิ่งแปลกปลอมใส่เข้าหู
ถ้าขี้หูมาก ทำให้นุ่มโดยใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ หยดไปในหูแล้วใช้ไม้พันสำลีเช็ด
การดูแลทำความสะอาดจมูก
ใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือเช็ดจมูกให้สะอาด
ในเด็กถ้ามีน้ำมูกใช้ลูกสูบยางแดงดูด
ผู้ป่วยที่ใส่ NG tube ต้องทำความสะอาดสายยางที่จมูกทุกวัน ระวังไม่ให้สายเลื่อนหลุดออก