Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล : (การดูแลความสะอาดเล็บ (การดูแลเล็บให้สั้นจะเป็น…
การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล :
การดูแลผม
ผู้ป่วยที่ต้องนอนอยู่บนเตียงนานๆ การสระผมจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นขึ้น เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายหนังศีรษะ ไม่รู้สึกคัน เนื่องจากการนอนบนเตียงจะมีเหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะมากขึ้นกว่าภาวะปกติ และในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถไปสระผมที่ห้องน้ำได้เอง พยาบาลจะเป็นผู้ที่ต้องช่วยสระผมให้ที่เตียงผู้ป่วย (bed shampoo)
วัตถุประสงค์
กำจัดสิ่งสกปรก ไขมัน ลดจำนวนเชื้อโรคที่สะสมที่หนังศีรษะ
กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตที่หนังศีรษะ
กระตุ้นต่อมไขมันให้ขับไขมันออกมาหล่อเลี้ยงผม
เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย
การดูแลความสะอาดเล็บ
การดูแลเล็บให้สั้นจะเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ดีกว่าเล็บยาว
เล็บมือและเท้าจะต้องสั้นและสะอาด เล็บมือควรตัดเป็นรูปมน ระวังไม่ให้เกิดอันตราย กับหนังกำพร้า
เล็บเท้าตัดให้เป็นรูปตรง เพื่อป้องกันเล็บงอกในเนื้อเยื่อและเป็นแหล่ง เพาะเชื้อโรค
ระวังไม่ตัดเล็บให้สั้นเกินไปเพราะจะทำให้ลึกเข้าไปในเนื้อ และรู้สึกเจ็บได้
ผู้สูงอายุเล็บจะมีความแข็งมาก ต้องแช่เล็บในน้ำอุ่นก่อนตัดเล็บ จะสามารถตัดได้ง่ายขึ้น
การดูแลความสะอาดช่องปาก :
จุดประสงค์
ทำให้ปากและฟันสะอาด
ลดจำนวนแบคทีเรียในช่องปาก และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่น
สังเกตการณ์ติดเชื้อ แผลในช่องปาก
ควรได้รับการตรวจฟันจากทันตแพทย์ทุก 3-6 เดือน
ควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง แต่จะดีที่สุดถ้าแปรงฟันทุกครั้งหลังการรับประทานอาหาร และควรใช้ไหมขัดฟันหลังจาก แปรงฟันเสร็จแล้ว
ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำความสะอาดปากและฟันได้เอง พยาบาลต้อง ช่วยดูแลให้ เช่น ผู้ป่วยที่มีไข้สูง ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยที่มีบาดแผลในช่องปาก
การดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
จุดประสงค์
เพื่อกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ และกำจัดสิ่งที่ขับออกมา
ป้องกันและลดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์หลังการขับถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ และก่อนอาบน้ำ ก่อนสวนปัสสาวะให้ผู้ป่วย
ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย
การโกนหนวดเครา
พยาบาลควรช่วยเหลือให้ผู้ป่วย คือทำความสะอาดเคราให้อ่อนตัวลง โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นคลุมไว้แล้วใช้ ฟองสบู่ดึงผิวหนังให้ตึง วางที่โกนหนวดทำมุม 45 องศา ลูบไปตามแนวเส้นขน เพื่อลดการระคายเคือง
สำหรับผู้ป่วยที่อ่อนเพลีย ไม่มีแรง และไม่สามารถใช้มือได้สะดวก พยาบาลต้องทำให้อย่างระมัดระวังไม่ให้ผิวหนังผู้ป่วยเกิดแผลจากการถูกคมมีดโกนหนวดบาด
โกนหนวดแล้วควรทำความสะอาดผิวหนัง และซับผิวหนังให้แห้ง
การดูแลความสะอาดของผิวหนัง
จุดมุ่งหมายในการอาบน้ำให้ผู้ป่วย
กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตตามส่วนต่างๆของร่างกาย
ช่วยให้ผู้ป่วยสดชื่น สุขสบาย ลดความตึงเครียด
สังเกตลักษณะผิวหนังผู้ป่วยว่ามีความผิดปกติหรือไม่
การอาบน้ำให้ผู้ป่วย
การอาบน้ำบางส่วนของร่างกาย (partial bath)
การอาบน้ำที่อวัยวะบางส่วนของร่างกาย ซึ่งถ้าไม่อาบแล้วจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่สุขสบาย เช่น มือ หน้า รักแร้ ขาหนีบ และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ผู้ป่วยบางรายสามารถทำความสะอาดร่างกายบางส่วนได้เอง และในส่วนที่ผู้ป่วยทำเองไม่ได้ พยาบาลจะเป็นผู้ที่ช่วยทำให้ในส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้เอง เช่น บริเวณหลังและเท้า
การอาบน้ำบนเตียงแบบสมบูรณ์ (complete bed bath)
การอาบน้ำ ที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำเองได้ทั้งหมด พยาบาลต้องเป็นผู้ทำให้ทั้งหมด เช่น ในผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยที่อ่อนเพลียไม่มีแรง หรือผู้ป่วยที่จำกัดการเคลื่อนไหว
การอาบน้ำที่ห้องน้ำ
ผู้ป่วยสามารถไปอาบน้ำได้เองในห้องน้ำที่มิดชิด (self bath)โดยสามารถอาบน้ำได้เอง หรือในผู้ป่วยบางรายอาจต้องให้ผู้อื่นช่วยบ้าง
ขณะที่ทำความสะอาดผิวหนังให้ผู้ป่วย สิ่งที่พยาบาลต้องรวบรวมข้อมูลในเรื่องเกี่ยวกับผิวหนัง คือ การสังเกตลักษณะของผิวหนัง ผื่น ลักษณะที่เสี่ยงต่อการเกิดแผล เช่น มีรอยถลอก รอยแดง มีแผล หรือพบผิวหนังพอง
การทำเตียงและสิ่งแวดล้อม (Unit Care)
เตียงที่ยังมีผู้ป่วยครองเตียงอยู่ แต่ผู้ป่วยไม่ได้นอนอยู่ที่เตียง (open bed) เมื่อทำเตียงเสร็จจะไม่ต้องคลุมผ้า เพื่อให้ผู้ป่วยเข้านอนได้อย่างสะดวกสบาย
เตียงที่มีผู้ป่วยอยู่บนเตียง (occupied bed) เป็นเตียงที่มีผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงและไม่สามารถลุกออกจากเตียงได้ในขณะที่ทำเตียง การทำเตียงประเภทนี้ต้องระมัดระวังมาก เพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบายและได้รับความปลอดภัยมากที่สุด
เตียงสำหรับรอรับผู้ป่วยที่ดมยาสลบ (ether bed) มีหลักในการปฏิบัติเช่นเดียวกับการทำเตียงแบบไม่มีผู้รับบริการนอนอยู่บนเตียง แต่ต้องเตรียมสิ่งของเครื่องใช้เพิ่มเติม เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้ายาง ผ้าขวางเตียง ชามรูปไต ไม้กดลิ้น เทอร์โมมิเตอร์ เครื่องมือวัดความดันโลหิต หูฟัง เสาแขวนขวดสารละลายที่ให้ทางหลอดเลือดดำ
เตียงว่าง (closed bed or anesthetic bed) เป็นการทำเตียงภายหลังจากการที่ผู้ป่วยกลับบ้าน ย้าย หรือถึงแก่กรรม และเป็นการเตรียมเตียงเพื่อรับผู้ป่วยรายใหม่ อาจคลุมด้วยผ้าคลุมเตียง เพื่อรักษาที่นอนและหมอนให้สะอาด
การดูแลสภาพแวดล้อม หมายถึง การดูแลสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวผู้ป่วย สภาพแวดล้อม ที่สะอาดและได้รับการดูแลทุกวัน รวมทั้งการมีการระบายอากาศที่เหมาะสมและปราศจาก กลิ่นรบกวน การจัดวางสิ่งของเป็นระเบียบย่อมสบายตา ไม่เป็นที่สะสมของเชื้อโรค
การนวดหลัง
กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด ป้องกันการเกิดแผลกดทับ
กระตุ้นผิวหนังและการทำงานของต่อมเหงื่อ
เพื่อให้กล้ามเนื้อหย่อนตัวและประสาทคลายความตึงเครียด
หลักการนวด
จัดท่านอนคว่ำ หรือนอนตะแคงกึ่งคว่ำ
ไม่นวดบริเวรที่มีแผล หรือบริเวณที่มีการบาดเจ็บ
ทาแป้ง โลชั่นก่อนนวด ไม่ลงน้ำหนักแรงเกินไป
การบำบัดด้วยความร้อนและความเย็น
การประคบเย็น
ประคบภายใน 24-48 ชั่วโมงแรกหลังได้รับการบาดเจ็บ เมื่อบาดเจ็บจะมีการบวมเกิดขึ้น เพื่อช่วยให้เลือดออกน้อยลงและลดบวม
การประคบร้อน
ภายหลังจาก 48 ชั่วโมงเพื่อเพิ่มการไหลเวียนเลือด
ผ่อนนคลายกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น ลดบวม
ลดปวด บรรเทาการอักเสบ
เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
นางสาวจิราพร ทองดอนพุ่ม เลขที่12 ห้องB
รหัสนักศึกษา 613601120
อ้างอิง : บุษยารัตน์ ลอยศักดิ์.การพยาบาลด้านความสุขสบาย.(2553).สืบค้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562.สืบค้นจาก
https://www.http://app2.pnc.ac.th/km/?p=56