Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สุขวิทยาส่วนบุคคล (Personal Hygiene) (การทำเตียงและสิ่งแวดล้อม…
สุขวิทยาส่วนบุคคล (Personal Hygiene)
การดูแลความสะอาดของผิวหนัง
จุดมุ่งหมาย
กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตตามส่วนต่างๆของร่างกาย
ช่วยให้ผู้ป่วยสดชื่น สุขสบาย ลดความตึงเครียด
สังเกตลักษณะผิวหนังผู้ป่วยว่ามีความผิดปกติหรือไม่
ชนิดการอาบน้ำ
การอาบน้ำบางส่วนของร่างกาย (partial bath)
การอาบน้ำบนเตียงแบบสมบูรณ์ (complete bed bath)
การอาบน้ำที่ห้องน้ำ
การดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
จุดประสงค์
เพื่่อกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ และกำจัดสิ่งที่ขับออกมา
ป้องกันและลดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย
หลักในการปฏิบัติ
ไม่เปิดเผยผู้ป่วย
เช็ดให้แห้งจากบนลงล่าง และไม่เช็ดย้อนไปย้อนมา เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
สำลีที่เช็ดแล้วไม่ทิ้งลงในหม้อนอน เพื่อป้องกันการอุดตันของชักโครก
ในผู้ป่วยรายที่กลั้นอุจจาระและปัสสาวะเองไม่ได้ หรือได้รับการผ่าตัดบริเวณฝีเย็บ ทวารหนัก หรืออวัยวะเพศ ขาหนีบ ต้องระมัดระวังการติดเชื้อเข้าสู่ท่อทางเดินปัสสาวะ
การเช็ดบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
สตรี
สำลีก้อนที่ 1 เช็ดจากหัวเหน่าด้านซ้ายไปขวา
สำลีก้อนที่ 2 เช็ดแคมนอกด้านไกลตัวจากด้านบนลงสู่ด้านล่างจนถึงทวารหนัก
สำลีก้อนที่ 3 เช็ดแคมนอกด้านใกล้ตัวจากด้านบนจนถึงทวารหนัก
สำลีก้อนที่ 4 เช็ดแคมในด้านไกลตัวเช่นเดียวกับสำลีก้อนที่ 2
สำลีก้อนที่ 5 เช็ดแคมในด้านใกล้ตัวเช่นเดียวกับก้อนที่ 3
สำลีก้อนที่ 6 เช็ดตรงกลางจากด้านบนลงถึงทวารหนัก
บุรุษ
ในผู้ป่วยเพศชาย ต้องรูดหนังหุ้มปลายองคชาตขึ้น แล้วเช็ดเป็นวงกลมจากรูเปิดของท่อปัสสาวะลงมา เช็ดจนสะอาด เมื่อเช็ดเสร็จรูดหนังหุ้มปลายองคชาตกลับปิดคงเดิมและเช็ดลูกอัณฑะอย่างเบามือให้สะอาด
หลังจากเช็ดทำความสะอาดอวัยวะเพศด้วยน้ำสบู่หรือน้ำยา
ฆ่าเชื้อแล้วราดน้ำ และซับอวัยวะเพศของผู้ป่วยให้แห้ง
การทำเตียงและสิ่งแวดล้อม
การทำเตียง (bed making)
เตียงที่ยังมีผู้ป่วยครองเตียงอยู่ แต่ผู้ป่วยไม่ได้นอนอยู่ที่เตียง (open bed)
เตียงที่มีผู้ป่วยอยู่บนเตียง (occupied bed)
เตียงสำหรับรอรับผู้ป่วยที่ดมยาสลบ (ether bed)
เตียงว่าง (closed bed or anesthetic bed)
การประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนทำเตียง
ความสามารถในการช่วยเหลือตนเอง
คำสั่งการรักษาที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วย ข้อควรระวังเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว
การประเมินสิ่งแวดล้อมก่อนทำเตียง
ความเพียงพอของแสงสว่าง
การระบายอากาศ
สิ่งกีดขวางการปฏิบัติการพยาบาล
ผู้ป่วยนอนบนเตียงที่สะอาด เรียบตึง
ผู้ป่วยไม่มีความผิดปกติที่ผิวหนัง เช่น มีอาการระคายเคือง คัน เกิดรอยแดง
ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย กล้ามเนื้อผ่อนคลาย
ผู้ป่วยปลอดภัย ไม่มีอุบัติเหตุขณะทำเตียง
การโกนหนวดเครา
สำหรับผู้ป่วยชายต้องโกนหนวดทุกวัน พยาบาลควรช่วยเหลือให้ผู้ป่วย หลังจากโกนหนวดแล้วทำความสะอาดผิวหนัง และซับผิวหนังให้แห้ง
การนวด
การนวดหลัง
การเตรียมผู้ป่วย
บอกประโยชน์และอธิบายขั้นตอนการนวดหลังให้ผู้ป่วยทราบ
สอบถามความต้องการในการนวดหลัง
เลื่อนตัวผู้ป่วยมาชิดริมเตียงด้านที่จะให้การพยาบาล
การปฏิบัติ
เทโลชั่น แป้ง หรือแอลกอฮอล์ลงบนมือพยาบาล แล้วทาลงบนแผ่นหลังของผู้ป่วย
นวดบริเวณแผ่นหลัง
ท่าลูบ (effleurage or stroking)
ท่าจับกล้ามเนื้อยกบิดไปมาสลับกัน (petrissage)
ท่าใช้สันมือสับ (tapotement)
ท่าใช้อุ้งมือตบ (percussion)
ท่าใช้นิ้วหัวแม่มือกด (Digital kneading)
ท่าสั่นสะเทือน (Vibration)
หลังเสร็จสิ้นการนวดหลังใส่เสื้อให้ผู้ป่วย และจัดท่าให้อยู่ในท่าที่สุขสบาย
ลงบันทึกลักษณะผิวหนัง และปฏิกิริยาของผู้ป่วยขณะที่ได้รับการนวดหลัง
การบำบัดด้วยความร้อนและความเย็น (Hot – cold therapy)
ชนิดของการประคบ
ความร้อนแห้ง เช่น กระเป๋าน้ำร้อน ขวดน้ำร้อน กระเป๋าไฟฟ้า ผ้าห่มไฟฟ้า การประคบร้อนด้วยแสง ถุงความร้อนทางเคมี วัสดุอื่นๆ เช่น อิฐเผาไฟ การนึ่งหม้อเกลือ พืชต่างๆ เช่น ใบพลับพลึง ใบแพงพวยน้ำ
ความร้อนเปียก เช่น การประคบด้วยความร้อน การประคบและ อบด้วยความร้อน การประคบความร้อนด้วยน้ำมันสน การแช่ก้นด้วยน้ำร้อน การแช่ตัว แช่มือ และแช่เท้า
การดูแลความสะอาดช่องปากและฟัน
จุดประสงค์
ทำให้ปากและฟันสะอาด
ลดจำนวนแบคทีเรียในช่องปาก และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่น
สังเกตการณ์ติดเชื้อ แผลในช่องปาก
สามารถทำบ่อยๆได้อย่างน้อยทุก 4 ชั่วโมง เพราะผู้ป่วยมีเยื่อเมือกในช่องปากแห้ง ทำให้มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้ การทำความสะอาดช่องปากในผู้ป่วยที่หมดสติต้องจัดท่าให้ผู้ป่วยนอนตะแคงกึ่งคว่ำหันหน้ามาทางพยาบาล และต้องใช้ไม้กดลิ้นช่วยให้ผู้ป่วยอ้าปาก สอดปากคีบที่คีบผ้ากอซเข้าไปเช็ดที่ลิ้น ฟัน กระพุ้งแก้ม ทำซ้ำๆจนกว่าจะสะอาด
การดูแลผม
ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายหนังศีรษะ ไม่รู้สึกคัน
จุดประสงค์
กำจัดสิ่งสกปรก ไขมัน ลดจำนวนเชื้อโรคที่สะสมที่หนังศีรษะ
กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตที่หนังศีรษะ
กระตุ้นต่อมไขมันให้ขับไขมันออกมาหล่อเลี้ยงผม
เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย
การดูแลความสะอาดเล็บ
การดูแลเล็บให้สั้นจะเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ดีกว่าเล็บยาว เล็บมือและเท้าจะต้องสั้นและสะอาด เล็บมือควรตัดเป็นรูปมน แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดอันตราย กับหนังกำพร้า ส่วนเล็บเท้าตัดให้เป็นรูปตรง เพื่อป้องกันเล็บงอกในเนื้อเยื่อและเป็นแหล่ง เพาะเชื้อโรค ระวังไม่ตัดเล็บให้สั้นเกินไปเพราะจะทำให้ลึกเข้าไปในเนื้อ และรู้สึกเจ็บได้