Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการและเทคนิคการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล (การนวดหลัง (back rub) (Stroking…
หลักการและเทคนิคการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
การดูแลความสะอาดผิวหนัง
วัยทารก ควรหลีกเลี่ยงการขัดถูเวลาอาบน้ำ เพราะจะทำให้
เขียวหรือแตกได้ง่าย
วัยเด็ก ผิวหนังมีความต้านทานทนต่อการเกิดแผลและติดเชื้อหรือการเสียดสี
วัยรุ่น ควรดูแลกลิ่นตัวและอาจมีสิว
วัยชรา ควรระวังการใช้สบู่ และระวังการเกิดฟกช้ำหรือผิวแตก
ควรดูแลผิวหนังแต่ละวัยให้ถูกต้องเหมาะสม
สังเกตสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับความยืดหยุ่น ความชุ่มชื้นหรือสีที่ผิดปกติ เช่น ผิวซีด แดง เขียวคล้ำ รอยฟกช้ำ แผล อาการบวม และผื่นต่างๆ
การอาบน้ำผู้ป่วย
การอาบน้ำผู้ป่วยบนเตียงแบบสมบูรณ์ (Complete bed bath)
การอาบน้ำผู้ป่วยที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ทั้งหมด หรือผู้ป่วยที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหวบนเตียง โดยพยาบาลเป็นผู้อาบให้
การอาบน้ำผู้ป่วยเฉพาะบางส่วนของร่างกาย (Partial bath)
การอาบน้ำบางส่วนของร่างกาย เช่นมือ หน้า รักแร้ ขาหนีบและบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ โดยผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเองได้บ้าง แต่ลุกจากเตียงเองไม่ได้หรือในบางคนที่สามารถยืนได้และสามารถนั่งรถเข็นไปเช็ดตัวใกล้อ่างน้ำ
การอาบน้ำโดยผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเอง (Self – help bath)
การอาบน้ำของผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ถูกจำกัดให้อยู่บนเตียง โดยพยาบาลเป็นผู้เตรียมเครื่องใช้ต่างๆ ให้ผู้ป่วยแต่ช่วยเล็กน้อย
การอาบน้ำที่ห้องน้ำ (Self bath)
ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น และสามารถลุกจากเตียงเดินไปอาบน้ำที่ห้องน้ำเองได้ หรือบางคนอาจต้องให้พยาบาลช่วยเหลือบ้าง
การอาบน้ำเพื่อช่วยรักษาโรคบางชนิด (Therapeutic bath)
การจุ่มอวัยวะลงในน้ำ (Immersion bath)
เป็นการแช่ทั้งร่างกายหรือส่วนใดส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกายลงในน้ำ ยกเว้นศีรษะ
การลูบตัวเพื่อลดความร้อน (Sponge bath)
เป็นการเช็ดตัวหรือลูบตัวให้ความร้อนในร่างกายลดลง และช่วยผ่อนคลายความเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท
การอาบน้ำด้วยน้ำยา (Medicated bath)
เพื่อให้ลื่นหรือลดอาการคันและระคายเคืองจากความผิดปกติต่างๆ ของ
ผิวหนัง
การนวดหลัง (back rub)
Stroking down (ท่าลูบแผ่นหลัง)
Kneading (ท่าบิดกล้ามเนื้อ)
Hacking (ท่าสับกล้ามเนื้อ)
Clapping or Percussion (ท่าตบกล้ามเนื้อ)
Digital Kneading (ท่ากด)
Vibration (ท่าสั่นสะเทือน)
Stroking down (ท่าลูบแผ่นหลัง)
การสระผมที่เตียงผู้ป่วย (Bed shampoo)
ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือผู้ป่วยที่ต้องนอนพักบนเตียง
ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนการสระผม เช่น ไม่มีอาการเหนื่อย ไม่มีอาการหายใจลำบาก ไม่มีแผลที่ศรีษะ หรือไม่มีการบาดเจ็บข้อกระดูกคอ
การดูแลความสะอาดมือและเล็บ (Hand and nail care)
แช่มือและเล็บด้วยน้ำสบู่อุ่นๆ อาจใช้แปรงนุ่มๆขัดตามซอกเล็บเบาๆ แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
ควรตัดเล็บมือหลังจากอาบน้ำหรือแช่น้ำอุ่น
ไม่ควรใช้วัสดุใดๆ แงะงัดขอบเล็บ จมูกเล็บ เพราะอาจเกิดบาดแผลและการอักเสบได้
การดูแลความสะอาดตา (Eye care)
การรักษาความสะอาดดวงตาต้องทำด้วยความระมัดระวังซึ่งอาจเกิดอันตรายได้
โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีขี้ตามากและช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พยาบาลจะต้องทeความสะอาดด้วยการเช็ดตาให้
การดูแลความสะอาดหู (Ear care)
ทำเฉพาะภายนอกโดยใช้ผ้าถูตัวเช็ดขณะที่ล้างหน้า ห้ามใช้ไม้แข็ง
ของมีคม กิ๊บหนีบผม หรือสิ่งแปลกปลอมใส่เข้าหูเพื่อเช็ดขี้หูออก
การดูแลความสะอาดจมูก
การทำความสะอาดจมูกที่ปลอดภัยคือเช็ดเบาๆ โดยเฉพาะบริเวณรอบๆจมูกและรูจมูกด้านนอก ในระหว่างที่เจ็บป่วยน้ำมูกจะแห้งและรวมกันอยู่ในรูจมูกทำให้ไม่สุขสบาย
ควรใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำสะอาด หรือน้ำเกลือเช็ดจมูกให้สะอาด
ในเด็กถ้ามีน้ำมูกใช้ลูกสูบยางแดงดูด
ผู้ป่วยที่ใส่สายยางให้อาหารต้องทำความสะอาดบริเวณรูจมูกที่ใส่สายด้วย แต่ต้องระมัดระวังสายหลุดหรือเคลื่อนจากที่เดิม
การดูแลความสะอาดปากและฟัน(Mouth Care)
วัตถุประสงค์
ป้องกันการเกิดแผลและการติดเชื้อภายในปาก
รักษาความชุ่มชื้นของริมฝีปากและเยื่อบุภายในช่องปาก
สังเกตความผิดปกติภายในช่องปาก เช่น การมีแผลที่เหงือก
ข้อควรระวัง
กรณีที่ผู้ป่วยมีแผลหรือเป็นฝ้า ให้ใช้ Gentian violet ทา
ภายหลังทำความสะอาดแล้ว
เด็กเล็กที่มีฟันบ้างแล้ว เช็ดฟันด้วยน้ ายา หรือ 0.9% NSS. หรือน้ าต้มสุก
ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ ให้ใส่ถุงมือก่อนทำการพยาบาล
การทำความสะอาดฟันปลอม
ข้อควรระวัง
ไม่ควรถอดฟันปลอมไว้เป็นเวลานาน เมื่อถอดแล้วควรใส่ภาชนะที่น้ำเต็มแล้วล้างในภาชนะนั้น ไม่ควรล้างใส่อ่างล้างมือเพราะอาจลื่นหลุดมือได้
ควรล้างด้วยน้ำสะอาดกับสบู่หรือยาสีฟันธรรมดา ไม่ควรขัดถูพื้นของฟันปลอม เพราะอาจทำให้เสียรูปเกิดการกดทับที่เหงือกของผู้ป่วย
เมื่อถอดฟันปลอมแล้ว ควรให้ผู้ป่วยอมน้ำยาบ้วนปากเพื่อทำความสะอาดและช่วยให้ปากสดชื่น
การทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก (Flushing or Perineal care)
วัตถุประสงค์
รักษาความสะอาดของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก
ความสุขสบายของผู้ป่วย
ป้องกันการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธุ์
จัดท่าผู้ป่วย
เพศหญิง นอนหงายชันเข่า แยกขาออกจากกัน
เพศชาย นอนหงาย แยกขาออกจากกัน
จำนวนสำลี
ผู้หญิง 6ก้อน
ผู้ชาย 9ก้อน
ประเภทของการทำเตียง
การทำเตียงว่าง (Closed bed or ordinary bed)
เพื่อเตรียมรับผู้ป่วยใหม่หรือเมื่อจำหน่ายผู้ป่วยออกจากหอผู้ป่วย
การทำเตียงผู้ป่วยที่สามารถลุกจากเตียงได้ (Open bed)
สำหรับผู้ป่วยที่สามารถลุกออกจากเตียงได้
การทำเตียงที่มีผู้ป่วยนอนอยู่ (Occupied bed)
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว มีอาการอ่อนเพลียมาก มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว หรือเป็นข้อห้ามทางการรักษาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและเพื่อผลทางการรักษา
การทำเตียงรอรับผู้ป่วยดมยาสลบ (Ether bed or Anesthetic bed)
เพื่อรับผู้ป่วยกลับจากห้องผ่าตัด หรือการดมยาสลบ
การใช้ความร้อนและความเย็นในการบำบัด (Hot and Cold Application)
การใช้ความร้อนในการบำบัด (Hot Application)
เป็นการนำความร้อนเพิ่มเข้าไปในส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
ประโยชน์
ลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
ให้ความอบอุ่นต่อร่างกาย
ให้ความรู้สึกสุขสบาย และผ่อนคลายความตึงเครียด
ชนิดของความร้อนที่ใช้ในการบำบัด
การประคบร้อนแบบแห้ง
การประคบด้วยความร้อนแบบเปียก
การใช้ความเย็นในการบำบัด
เป็นการนำเอาความร้อนออกไปจากส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย
วัตถุประสงค์
ห้ามเลือดในขณะที่มีการตกเลือด
ทำให้เกิดอาการชาและลดความเจ็บปวด
บรรเทาอาการปวดศีรษะ
ชนิดของความเย็นที่ใช้ประคบ
การใช้ความเย็นชนิดแห้ง
การใช้ความเย็นชนิดเปียก (Moist cold application)
นางสาวปัทมา พูลทวี sec.B เลขที่49 รหัสนักศึกษา613601157