Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล (8. การนวดหลัง (8.2 Friction ท่ากล้ามเนื้อ, 8.3…
การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
1. สุขวิทยาส่วนบุคคล (Personal Hygiene) หมายถึง ในภาวะปกติบุคคลจะสามารถดูแลรักษาความสะอาดร่างกายได้ด้วยตนเอง ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้เอง เช่น อยู่ในภาวะเจ็บป่วย มีอายุมากขึ้น อาจต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจากบุคคลอื่น พยาบาลจะเป็นบุคคลที่ช่วยดูแลสิ่งเหล่านี้ให้ เพื่อช่วยทำให้สุขวิทยาส่วนบุคคลของบุคคลนั้นอยู่ในสภาวะที่ดี ไม่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพของโรค
4.การประคบร้อนและเย็น การใช้ความร้อนหรือความเย็นในการบำบัดรักษามีข้อพึงระวังหลายประการเช่น อายุ ระดับของความรู้สึกตัว สภาวะของโรค และระยะเวลาการนำมาใช้ ความร้อนหรือความเย็นนอกจาก จะช่วยบรรเทาอาการทุกข์ทรมานแล้วยังสามารถช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบายด้วย
-
-
2. การทำเตียง และสิ่งแวดล้อม หมายถึง การดูแลรักษาความสะอาดเตียง อุปกรณ์เครื่องใช้ในการนอน ตลอดจนสภาพสิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวผู้ป่วยให้สะอาด และอยู่ในสภาพที่จัดวางอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย
-
จึงต้องได้รับการดูแลทุกวัน เพื่อให้มีการระบายอากาศที่เหมาะสม ปราศจากกลิ่นรบกวน การจัดวางสิ่งของต่างๆเป็นระเบียบ จะไม่เป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
3. การนวด เป็นศิลปะของการรักษาพยาบาล ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา ในโรงพยาบาลและต้องนอนอยู่บนเตียงนานๆจะมีความรู้สึกเมื่อยล้า
เนื่องจากการนอนทำให้การไหลเวียนโลหิตที่บริเวณหลังลดลง ช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดของร่างกาย ส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย
2. การดูแลความสะอาดช่องปาก ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำความสะอาดปากและฟันได้เอง พยาบาลต้อง ช่วยดูแลให้ เช่น ผู้ป่วยที่มีไข้สูง ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยที่มีบาดแผลในช่องปาก เป็นต้น
1. การดูแลผม กรณีผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียงนานๆ การสระผมจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นขึ้น เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายหนังศีรษะ ไม่รู้สึกคัน เนื่องจากการนอนบนเตียงจะมีเหงื่อออกมาก พยาบาลจะเป็นผู้ที่ต้องช่วยสระผมให้ที่เตียงผู้ป่วย (bed shampoo)
3. การดูแลความสะอาดเล็บ เล็บมือและเท้าจะต้องสั้นและสะอาด เล็บมือควรตัดเป็นรูปมน แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดอันตราย กับหนังกำพร้า ส่วนเล็บเท้าตัดให้เป็นรูปตรง เพื่อป้องกันเล็บงอกในเนื้อเยื่อและเป็นแหล่ง เพาะเชื้อโรค
4. การดูแลความสะอาดของผิวหนัง ผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียงจะมีเหงื่อออกมากกว่าปกติ ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง ในการอาบน้ำหรือทำความสะอาดผิวหนังได้ในขณะเจ็บป่วย พยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญ ในการช่วยดูแลความสะอาดของผิวหนังให้ผู้ป่วย
-
-
-
-
-
อภิญญา เพียรพิจารณ์ (2548) คู่มือปฏิบัติการพยาบาล เล่ม 1. นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการ สถาบันพระบรมราชชนก
-