Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สุขวิทยาส่วนบุคคล (Personal Hygiene) (ความหมายของคำว่า สุขวิทยาส่วนบุคคล…
สุขวิทยาส่วนบุคคล (Personal Hygiene)
ความหมายของคำว่า สุขวิทยาส่วนบุคคล
การที่บุคคลมีร่างกายที่สะอาดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า แต่งกายเรียบร้อย ซึ่งโดยทั่วไปในภาวะปกติแต่ละบุคคลจะสามารถดูแลรักษาความสะอาดร่างกายได้ด้วยตนเอง
ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้เองต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจากบุคคลอื่น เมื่อบุคคลเจ็บป่วยและได้รับไว้รักษาในโรงพยาบาล พยาบาลจะเป็นบุคคลที่ช่วยดูแลสิ่งเหล่านี้ให้ เพื่อช่วยทำให้สุขวิทยาส่วนบุคคลของบุคคลนั้นอยู่ในสภาวะที่ดี ไม่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพของโรค
การทำเตียง และสิ่งแวดล้อม
การทำ เตียง (bed making) 4 ประเภท
เตียงที่ยังมีผู้ป่วยครองเตียงอยู่ แต่ผู้ป่วยไม่ได้นอนอยู่ที่เตียง (open bed)
เตียงที่มีผู้ป่วยอยู่บนเตียง (occupied bed)
เตียงสำหรับรอรับผู้ป่วยที่ดมยาสลบ (ether bed)
เตียงว่าง (closed bed or anesthetic bed)
การนวด (Massage)
การนวดหลัง
การประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนการนวดหลัง
การเตรียมผู้ป่วย
การปฏิบัติการพยาบาล
นวดบริเวณแผ่นหลัง ด้วยวิธีในการนวด
ท่าลูบ (effleurage or stroking) โดยพยาบาลใช้ฝ่ามือทั้ง 2 ข้าง วางบนก้นกบของผู้ป่วย แล้วค่อยๆลูบขึ้นไปตามแนวกระดูกสันหลังจนถึงต้นคอ แล้ววกกลับลงมาตามแนวสีข้าง และสะโพก โดยใช้ฝ่ามือลูบช้าๆอย่างนุ่มนวล
ท่าจับกล้ามเนื้อยกบิดไปมาสลับกัน (petrissage) ใช้นิ้วหัวแม่มือและปลายนิ้วทั้งสี่ถึงกล้ามเนื้อผู้ป่วยให้อยู่ในอุ้งมือประมาณ 3 นิ้ว ทั้งสองข้าง บีบและคลายสลับกัน พร้อมกับหมุนมือทั้งสองข้างขึ้นลง โดยไม่ยกมือขึ้น นวดไปตามแนวกระดูกสันหลัง เนื้อของผู้ป่วยจะถูกยกลักษณะเป็นคลื่น
ท่าใช้สันมือสับ (tapotement) ใช้สันมือทั้งสองข้างสับลงที่หลัง ทำสลับกันที่ละมืออย่างเร็วโดยให้แรงที่เกิดจากการสับมาจากการสบัดข้อมือของพยาบาล โดยสับขวางกับ เส้นใยของกล้ามเนื้อ เริ่มสับตั้งแต่หัวไหล่ด้านไกลตัวมาจบที่หัวไหล่ผู้ป่วยด้านใกล้ตัว
ท่าใช้อุ้งมือตบ (percussion) พยาบาลห่อมือให้ปลายนิ้วชิดกันทั้งห้านิ้ว ตบลงบนหลังของผู้ป่วยสลับกันไปทั้งสองมือเป็นจังหวะตามแนวกระดูกสันหลัง
ท่าใช้นิ้วหัวแม่มือกด (Digital kneading) โดยลงบนแผ่นหลังของผู้ป่วยในแนวด้านข้างของกระดูกสันหลัง เป็นระยะตามยาวตลอดแนวสันหลัง
ท่าสั่นสะเทือน (Vibration) ทำได้โดยใช้มือข้างหนึ่งจับมืออีกข้างหนึ่ง ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมืออีกข้างหนึ่งกดด้านข้างกระดูกสันหลังของผู้ป่วย กดและคลึงเบาๆเป็นแนวยาวไปจนถึงบริเวณก้นกบ
จบการนวดหลังด้วยท่าการลูบ ทั้งนี้การนวดในแต่ละท่าจะทำท่าละประมาณ 4-5 รอบ ระหว่างการนวดจะต้องไม่ปล่อยมือออกจากแผ่นหลังผู้ป่วย และจบการนวดลงด้วยท่าลูบ
การประเมินผลการพยาบาลหลังการนวดหลัง
การบำบัดด้วยความร้อนและความเย็น (Hot – cold therapy)
ความหมาย
ใช้ความร้อน หรือความเย็น ในการบำบัดรักษาอาการ ซึ่งปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อความร้อนและเย็นจะแตกต่างกัน การใช้ความร้อนหรือความเย็นในการบำบัดรักษามีข้อพึงระวังหลายประการเช่น อายุ ระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย สภาวะของโรค และระยะเวลาการนำมาใช้ ความร้อนหรือความเย็นนอกจากจะช่วยบรรเทาอาการทุกข์ทรมานแล้วยังสามารถช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบายด้วย
การประคบร้อนและการประคบเย็น
การประคบร้อน
วัตถุประสงค์ของการประคบด้วยความร้อน
เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด
เพื่อบรรเทาอาการอักเสบ
เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว
เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย
2.การประคบเย็น
การประคบเย็นต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
ขนาดความเย็นที่จะใช้ประคบ ถ้าพื้นผิวขนาดใหญ่ควรใช้อุณหภูมิที่สูงขึ้น
อุณหภูมิของความเย็นต้องคงที่เสมอ
การประคบเย็นแบบเปียก ความเย็นจะทะลวงผ่านเนื้อเยื่อได้ดีกว่าการประคบด้วย ความเย็นแบบแห้ง
อายุและสภาวะของผู้ป่วย
การดูแลผม
จุดประสงค์ของการสระผมให้ผู้ป่วยที่เตียง
กำจัดสิ่งสกปรก ไขมัน ลดจำนวนเชื้อโรคที่สะสมที่หนังศีรษะ
กระตุ้นการไหลเวียนโลหิตที่หนังศีรษะ
กระตุ้นต่อมไขมันให้ขับไขมันออกมาหล่อเลี้ยงผม
เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย
การดูแลความสะอาดช่องปาก (mouth care)
จุดประสงค์การทำความสะอาดปากและฟัน
ทำให้ปากและฟันสะอาด
ลดจำนวนแบคทีเรียในช่องปาก และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่น
สังเกตการณ์ติดเชื้อ แผลในช่องปาก
การดูแลความสะอาดเล็บ
การดูแลเล็บให้สั้นจะเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ดีกว่าเล็บยาว เล็บมือและเท้าจะต้องสั้นและสะอาด เล็บมือควรตัดเป็นรูปมน แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดอันตราย กับหนังกำพร้า ส่วนเล็บเท้าตัดให้เป็นรูปตรง เพื่อป้องกันเล็บงอกในเนื้อเยื่อและเป็นแหล่ง เพาะเชื้อโรค ระวังไม่ตัดเล็บให้สั้นเกินไปเพราะจะทำให้ลึกเข้าไปในเนื้อ และรู้สึกเจ็บได้ สำหรับผู้สูงอายุเล็บจะมีความแข็งมาก ต้องแช่เล็บในน้ำอุ่นก่อนตัดเล็บ จะสามารถตัดได้ง่ายขึ้น
การดูแลความสะอาดของผิวหนัง
พยาบาลต้องให้ความสนใจต่อผิวหนังผู้ป่วยในขณะที่เจ็บป่วย เนื่องจากผู้ป่วย จะมีภูมิต้านทานร่างกายต่ำ และติดเชื้อได้ง่าย จึงจำเป็นต้องทำความสะอาดผิวหนังทุกวัน ผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียงจะมีเหงื่อออกมากกว่าปกติ ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง ในการอาบน้ำหรือทำความสะอาดผิวหนังได้ในขณะเจ็บป่วย พยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญ ในการช่วยดูแลความสะอาดของผิวหนังให้ผู้ป่วย
การอาบน้ำ
การอาบน้ำให้ผู้ป่วยมีหลายชนิด
การอาบน้ำบางส่วนของร่างกาย (partial bath) หมายถึง การอาบน้ำที่อวัยวะบางส่วนของร่างกาย ซึ่งถ้าไม่อาบแล้วจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่สุขสบาย เช่น มือ หน้า รักแร้ ขาหนีบ และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ผู้ป่วยบางรายสามารถทำความสะอาดร่างกายบางส่วนได้เอง และในส่วนที่ผู้ป่วยทำเองไม่ได้ พยาบาลจะเป็นผู้ที่ช่วยทำให้ในส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้เอง เช่น บริเวณหลังและเท้า
การอาบน้ำบนเตียงแบบสมบูรณ์ (complete bed bath) หมายถึง การอาบน้ำ ที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำเองได้ทั้งหมด พยาบาลต้องเป็นผู้ทำให้ทั้งหมด เช่น ในผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยที่อ่อนเพลียไม่มีแรง หรือผู้ป่วยที่จำกัดการเคลื่อนไหว เป็นต้น
การอาบน้ำที่ห้องน้ำ ผู้ป่วยสามารถไปอาบน้ำได้เองในห้องน้ำที่มิดชิด (self bath)โดยสามารถอาบน้ำได้เอง หรือในผู้ป่วยบางรายอาจต้องให้ผู้อื่นช่วยบ้าง
การดูแลความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์
จุดประสงค์
เพื่อกำจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ และกำจัดสิ่งที่ขับออกมา
ป้องกันและลดการติดเชื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย
การโกนหนวดเครา
สำหรับผู้ป่วยชายต้องโกนหนวดทุกวัน พยาบาลควรช่วยเหลือให้ผู้ป่วย คือ ก่อนการโกนหนวดควรทำความสะอาดเคราให้อ่อนตัวลง โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นคลุมไว้ แล้วใช้ ฟองสบู่หรือครีมโกนหนวดทา ดึงผิวหนังให้ตึง วางที่โกนหนวดทำมุม 45 องศา แล้วเคลื่อนไปในช่วงสั้นๆ ลูบไปตามแนวเส้นขน เพื่อลดการระคายเคือง สำหรับผู้ป่วยที่อ่อนเพลีย ไม่มีแรง และไม่สามารถใช้มือได้สะดวก พยาบาลต้องทำให้อย่างระมัดระวังไม่ให้ผิวหนังผู้ป่วยเกิดแผลจากการถูกคมมีดโกนหนวดบาด หลังจากโกนหนวดแล้วทำความสะอาดผิวหนัง และซับผิวหนังให้แห้ง