Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล (การดูแลสุขวิทยา (Hygiene practice or hygiene …
การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
เมื่อมีภาวะเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับบุคคล บุคคลนั้นจะขาดความสุขสมบูรณ์ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ขาดความกระตือรือร้นหรือละเลยที่จะดูแลตนเองให้มีสุขวิทยาส่วนบุคคลที่ดี จึงเป็นเหตุให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น เนื่องจากมีภูมิต้านทานต่อเชื้อโรคลดลง พยาบาลในฐานะที่เป็นบุคคลที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลภาวะสุขภาพของบุคคลเมื่ออยู่ในภาวะเจ็บป่วย โดยสามารถดูแลบุคคลที่เจ็บป่วยให้มีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น ส่งเสริมให้บุคคลที่มีภาวะสุขภาพ ที่ดีและคงไว้ซึ่งภาวะสุขภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง จึงมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความสุขสบายให้กับบุคคลในเรื่องสุขวิทยาส่วนบุคคล เพื่อให้บุคคลที่มีภาวะเจ็บป่วยได้รับความสุขสบาย ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้หายเจ็บป่วยเร็วขึ้น
สุขวิทยาส่วนบุคคล หมายถึง การที่บุคคลมีร่างกายที่สะอาดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า แต่งกายเรียบร้อย ซึ่งโดยทั่วไปในภาวะปกติแต่ละบุคคลจะสามารถดูแลรักษาความสะอาดร่างกายได้ด้วยตนเอง แต่ถ้าไม่สามารถปฏิบัติได้เอง เช่น อยู่ในภาวะเจ็บป่วย มีอายุมากขึ้น อาจต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือจากบุคคลอื่น เมื่อบุคคลเจ็บป่วยและได้รับไว้รักษาในโรงพยาบาล พยาบาลจะเป็นบุคคลที่ช่วยดูแลสิ่งเหล่านี้ให้ เพื่อช่วยทำให้สุขวิทยาส่วนบุคคลของบุคคลนั้นอยู่ในสภาวะที่ดี ไม่ก่อให้เกิดพยาธิสภาพของโรค
การดูแลสุขวิทยา (Hygiene practice or hygiene care) ได้แก่ การดูแลความสะอาด ของร่างกาย เช่น ผม ความสะอาดในช่องปาก ฟัน ผิวหนังทั่วร่างกาย อวัยวะสืบพันธุ์ เล็บมือ และเท้าให้สะอาดปราศจากสิ่งที่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย
การดูแลผม
ผู้ป่วยที่ต้องนอนอยู่บนเตียงนานๆ การสระผมจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นขึ้น เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายหนังศีรษะ ไม่รู้สึกคัน เนื่องจากการนอนบนเตียงจะมีเหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะมากขึ้นกว่าภาวะปกติ และในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถไปสระผมที่ห้องน้ำได้เอง พยาบาลจะเป็นผู้ที่ต้องช่วยสระผมให้ที่เตียงผู้ป่วย (bed shampoo)
-
-
การดูแลความสะอาดเล็บ
การดูแลเล็บให้สั้นจะเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ดีกว่าเล็บยาว เล็บมือและเท้าจะต้องสั้นและสะอาด เล็บมือควรตัดเป็นรูปมน แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดอันตราย กับหนังกำพร้า ส่วนเล็บเท้าตัดให้เป็นรูปตรง เพื่อป้องกันเล็บงอกในเนื้อเยื่อและเป็นแหล่ง เพาะเชื้อโรค ระวังไม่ตัดเล็บให้สั้นเกินไปเพราะจะทำให้ลึกเข้าไปในเนื้อ และรู้สึกเจ็บได้ สำหรับผู้สูงอายุเล็บจะมีความแข็งมาก ต้องแช่เล็บในน้ำอุ่นก่อนตัดเล็บ จะสามารถตัดได้ง่ายขึ้น
-
-
การโกนหนวดเครา
สำหรับผู้ป่วยชายต้องโกนหนวดทุกวัน พยาบาลควรช่วยเหลือให้ผู้ป่วย คือ ก่อนการโกนหนวดควรทำความสะอาดเคราให้อ่อนตัวลง โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นคลุมไว้ แล้วใช้ ฟองสบู่หรือครีมโกนหนวดทา ดึงผิวหนังให้ตึง วางที่โกนหนวดทำมุม 45 องศา แล้วเคลื่อนไปในช่วงสั้นๆ ลูบไปตามแนวเส้นขน เพื่อลดการระคายเคือง สำหรับผู้ป่วยที่อ่อนเพลีย ไม่มีแรง และไม่สามารถใช้มือได้สะดวก พยาบาลต้องทำให้อย่างระมัดระวังไม่ให้ผิวหนังผู้ป่วยเกิดแผลจากการถูกคมมีดโกนหนวดบาด หลังจากโกนหนวดแล้วทำความสะอาดผิวหนัง และซับผิวหนังให้แห้ง
-
การนวด (Massage)
การนวดเป็นศิลปะของการรักษาพยาบาลอย่างหนึ่ง การนวดจะเป็นการกระตุ้น การไหลเวียนโลหิตบริเวณผิวหนัง แล้วยังสามารถแสดงออกถึงความรู้สึกห่วงใย เอาใจใส่ และความปรารถนาดีต่อผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องนอนรักษาตัวอยู่บนเตียงนานๆ จะมีความรู้สึกเมื่อยล้า การนวดที่สามารถกระทำได้ในหอผู้ป่วย และที่นิยมปฏิบัติ คือ การนวดหลัง
การนวดหลัง
การนวดหลังมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่นอนรับการรักษาอยู่บนเตียง เนื่องจาก การนอนทำให้การไหลเวียนโลหิต ที่บริเวณหลังจะลดลง เนื่องจากผิวหนังบริเวณหลังรับน้ำหนักมากเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด ของร่างกาย และช่วยบรรเทาความวิตกกังวล ส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย และเป็นการเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยได้อีกด้วย
-
-
-