Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูเเลสุขวิทยาส่วนบุคคล (ทำเตียง และสิ่งแวดล้อม (Unit Care )…
การดูเเลสุขวิทยาส่วนบุคคล
สุขวิทยาส่วนบุคคลทุกวัย (Personal Hygiene)
การที่บุคคลแต่ละช่วงวัยได้แก่ วัยเด็ก วัยผู้ใหญ่ และวัยผู้สูงอายุ มีสภาพร่างกายที่สะอาด แต่งกายเรียบร้อย และสามารถ ดูแลรักษาความสะอาดร่างกายได้ด้วยตนเอง ซึ่งบุคคลจะต้องดูแลร่างกายของตนเองให้สะอาดตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า ตลอดจนสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัวให้สะอาด ปราศจากสิ่งที่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกายทั้งในภาวะปกติและเจ็บป่วย
การดูแลสุขวิทยา (Hygiene practice or hygiene care) ได้แก่ การดูแลความสะอาด ของร่างกาย เช่น ผม ความสะอาดในช่องปาก ฟัน ผิวหนังทั่วร่างกาย อวัยวะสืบพันธุ์ เล็บมือ และเท้าให้สะอาดปราศจากสิ่งที่ทำให้เกิดโทษต่อร่างกาย
การดูเเลผม ผู้ป่วยที่ต้องนอนอยู่บนเตียงนานๆ การสระผมจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นขึ้น เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายหนังศีรษะ ไม่รู้สึกคัน เนื่องจากการนอนบนเตียงจะมีเหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะมากขึ้นกว่าภาวะปกติ และในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถไปสระผมที่ห้องน้ำได้เอง พยาบาลจะเป็นผู้ที่ต้องช่วยสระผมให้ที่เตียงผู้ป่วย (bed shampoo)
การดูแลความสะอาดช่องปาก การดูแลความสะอาดในช่องปากและฟันจะช่วยให้บุคคลมีสุขภาพในช่องปากที่ดีโดยปกติบุคคลควรได้รับการตรวจฟันจากทันตแพทย์ทุก 3-6 เดือน ผู้ที่มีสุขภาพในช่องปากดี จะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ดี โดยปกติควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง แต่จะดีที่สุดถ้าแปรงฟันทุกครั้งหลังการรับประทานอาหาร และควรใช้ไหมขัดฟันหลังจาก แปรงฟันเสร็จแล้วในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำความสะอาดปากและฟันได้เองพยาบาลต้องช่วยดูแลให้ เช่น ผู้ป่วยที่มีไข้สูง ผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยที่มีบาดแผลในช่องปาก
การดูแลความสะอาดเล็บ การดูแลเล็บให้สั้นจะเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้ดีกว่าเล็บยาว เล็บมือและเท้าจะต้องสั้นและสะอาด เล็บมือควรตัดเป็นรูปมน แต่ต้องระวังไม่ให้เกิดอันตรายกับหนังกำพร้า ส่วนเล็บเท้าตัดให้เป็นรูปตรงเพื่อป้องกันเล็บงอกในเนื้อเยื่อและเป็นแหล่ง เพาะเชื้อโรคระวังไม่ตัดเล็บให้สั้นเกินไปเพราะจะทำให้ลึกเข้าไปในเนื้อ และรู้สึกเจ็บได้ สำหรับผู้สูงอายุเล็บจะมีความแข็งมาก ต้องแช่เล็บในน้ำอุ่นก่อนตัดเล็บ จะสามารถตัดได้ง่ายขึ้น
การดูแลความสะอาดของผิวหนัง พยาบาลต้องให้ความสนใจต่อผิวหนังผู้ป่วยในขณะที่เจ็บป่วย เนื่องจากผู้ป่วย จะมีภูมิต้านทานร่างกายต่ำ และติดเชื้อได้ง่าย จึงจำเป็นต้องทำความสะอาดผิวหนังทุกวัน ผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียงจะมีเหงื่อออกมากกว่าปกติ ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง ในการอาบน้ำหรือทำความสะอาดผิวหนังได้ในขณะเจ็บป่วย พยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญ ในการช่วยดูแลความสะอาดของผิวหนังให้ผู้ป่วย
การอาบน้ำบางส่วนของร่างกาย (partial bath) หมายถึง การอาบน้ำที่อวัยวะบางส่วนของร่างกาย ซึ่งถ้าไม่อาบแล้วจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่สุขสบาย เช่น มือ หน้า รักแร้ ขาหนีบ และบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ผู้ป่วยบางรายสามารถทำความสะอาดร่างกายบางส่วนได้เอง และในส่วนที่ผู้ป่วยทำเองไม่ได้ พยาบาลจะเป็นผู้ที่ช่วยทำให้ในส่วนที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำได้เอง เช่น บริเวณหลังและเท้า
การอาบน้ำบนเตียงแบบสมบูรณ์ (complete bed bath) หมายถึง การอาบน้ำ ที่ผู้ป่วยไม่สามารถทำเองได้ทั้งหมด พยาบาลต้องเป็นผู้ทำให้ทั้งหมด เช่น ในผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว ผู้ป่วยที่อ่อนเพลียไม่มีแรง หรือผู้ป่วยที่จำกัดการเคลื่อนไหว เป็นต้น
การอาบน้ำที่ห้องน้ำ ผู้ป่วยสามารถไปอาบน้ำได้เองในห้องน้ำที่มิดชิด (self bath)โดยสามารถอาบน้ำได้เอง หรือในผู้ป่วยบางรายอาจต้องให้ผู้อื่นช่วยบ้างขณะที่ทำความสะอาดผิวหนังให้ผู้ป่วย สิ่งที่พยาบาลต้องรวบรวมข้อมูลในเรื่องเกี่ยวกับผิวหนัง คือ การสังเกตลักษณะของผิวหนัง ผื่น ลักษณะที่เสี่ยงต่อการเกิดแผล เช่น มีรอยถลอก รอยแดง มีแผล หรือพบผิวหนังพอง
ทำเตียง และสิ่งแวดล้อม (Unit Care )
เตียงที่ยังมีผู้ป่วยครองเตียงอยู่ แต่ผู้ป่วยไม่ได้นอนอยู่ที่เตียง (open bed)เช่น นั่งข้างๆเตียง ไปห้องน้ำ ซึ่งเมื่อทำเตียงเสร็จจะไม่ต้องคลุมผ้า เพื่อให้ผู้ป่วยเข้านอนได้อย่างสะดวกสบาย
เตียงที่มีผู้ป่วยอยู่บนเตียง (occupied bed) เป็นเตียงที่มีผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงและไม่สามารถลุกออกจากเตียงได้ในขณะที่ทำเตียง การทำเตียงประเภทนี้ต้องระมัดระวังมาก เพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบายและได้รับความปลอดภัยมากที่สุด
เตียงสำหรับรอรับผู้ป่วยที่ดมยาสลบ (ether bed) เป็นการทำเตียงเพื่อรอรับผู้ป่วย ที่ได้รับยาสลบจากการที่ทำผ่าตัด การได้รับการตรวจวินิจฉัยอื่นๆ การทำเตียงแบบนี้มีหลักใน การปฏิบัติเช่นเดียวกับการทำเตียงแบบไม่มีผู้รับบริการนอนอยู่บนเตียง แต่ต้องเตรียมสิ่งของเครื่องใช้เพิ่มเติม เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้ายาง ผ้าขวางเตียง ชามรูปไต ไม้กดลิ้น เทอร์โมมิเตอร์ เครื่องมือวัดความดันโลหิต หูฟัง เสาแขวนขวดสารละลายที่ให้ทางหลอดเลือดดำ เป็นต้น
เตียงว่าง (closed bed or anesthetic bed) เป็นเตียงที่ไม่มีผู้ป่วยครองเตียงเป็นการทำเตียงภายหลังจากการที่ผู้ป่วยกลับบ้าน ย้าย หรือถึงแก่กรรม และเป็นการเตรียมเตียงเพื่อรับผู้ป่วยรายใหม่ อาจคลุมด้วยผ้าคลุมเตียง เพื่อรักษาที่นอนและหมอนให้สะอาด
การนวด (Massage)
เป็นศิลปะของการรักษาพยาบาลอย่างหนึ่งในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา ในโรงพยาบาลและต้องนอนอยู่บนเตียงนานๆจะมีความรู้สึกเมื่อยล้าเกิดขึ้น การนวดที่พยาบาลสามารถกระทำได้ในหอผู้ป่วยและนิยมปฏิบัติอย่างหนึ่ง คือ การนวดหลัง ซึ่งการนวดหลัง มีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่นอนรับการรักษาอยู่บนเตียง เนื่องจากการนอนทำให้การไหลเวียนโลหิตที่บริเวณหลังลดลง เพราะผิวหนังบริเวณหลังต้องรับน้ำหนักมากเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดของร่างกาย และบรรเทาความวิตกกังวล ส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย และเป็นการเสริมสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยได้ด้วย
การนวดหลังมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่นอนรับการรักษาอยู่บนเตียง เนื่องจาก การนอนทำให้การไหลเวียนโลหิต ที่บริเวณหลังจะลดลง เนื่องจากผิวหนังบริเวณหลังรับน้ำหนักมากเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด ของร่างกาย และช่วยบรรเทาความวิตกกังวล ส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย และเป็นการเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยได้อีกด้วย
การบำบัดด้วยความร้อน ความเย็น (Hot – Cold therapy)
การใช้ความร้อน หรือความเย็น ในการบำบัดรักษาอาการ ซึ่งปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายต่อความร้อนและเย็นจะแตกต่างกัน การใช้ความร้อนหรือความเย็นในการบำบัดรักษามีข้อพึงระวังหลายประการเช่น อายุ ระดับของความรู้สึกตัว สภาวะของโรค และระยะเวลาการนำมาใช้ ความร้อนหรือความเย็นนอกจาก จะช่วยบรรเทาอาการทุกข์ทรมานแล้วยังสามารถช่วยทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบายด้วย
การใช้ความร้อนและความเย็นเพื่อการรักษาพยาบาล มีใช้กันมานานทั้งที่อยู่ในบ้าน และโรงพยาบาล เช่น การใช้น้ำแข็งวางบริเวณดั้งจมูกเมื่อเลือดกำเดาออก การใช้ขวดน้ำร้อน วางบริเวณท้องน้อยเมื่อมีอาการปวดประจำเดือน
ขนาดของพื้นผิวที่จะใช้ความร้อน ถ้าขนาดพื้นผิวใหญ่ ควรจะใช้อุณหภูมิต่ำ ไม่ร้อนจัดจนเกินไป
อุณหภูมิที่ใช้ต้องคงที่เสมอ
การใช้ความร้อนเปียก ความร้อนจะผ่านเนื้อเยื่อได้ดีกว่าและทำให้พองน้อยกว่าความร้อนแห้ง
ความทนต่อความร้อนของแต่ละบุคคลแตกต่างกัน
ความทนของผิวหนังของอวัยวะแต่ละแห่งไม่เท่ากัน
อายุ และสภาวะของผู้ป่วยที่แตกต่างกันจะทนต่อความร้อนได้ไม่เท่ากัน เช่น เด็กและผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบไหลเวียนจะทนต่อความร้อนได้น้อย
นางสาวอรสา จักรานุจร เลขที่95ฺ
รหัสนักศึกษา613601204