Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความหมายและรูปแบบของงานคอมพิวเตอร์text (ประเภทของคอมพิวเตอร์…
ความหมายและรูปแบบของงานคอมพิวเตอร์text
โครงงานคอมพิวเตอร์
หมายถึง กิจกรรมการเรียนที่นักเีรียนมีอิสระในการเลือกศึกษาปัญหาที่ตนเองสนใจ โดยจะต้องวางแผนการดำเนินงาน ศึกษา พัฒนาโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูล การพัฒนาโปรแกรม หรือศึกษาเพิ่มเติมจากผลงานเดิมที่มีผู้รายงานไว้ จุดมุ่งหมายสำคัญของการทำโครงงานเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรงในการใช้ระบบคอมพิวเตอร์แก้ปัญหา ประดิษฐ์คิดค้น หรือค้นคว้าหาความรู้ต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้เพื่อการศึกษา ประดิษฐ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรืออุปกรณ์ใช้สอยต่างๆ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ
คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยในทุก ๆ สาขาวิชา ดังนั้นโครงงานคอมพิวเตอร์จึงมีความหลากหลายเป็นอย่างมาก ทั้งในลักษณะของเนื้อหา กิจกรรม และลักษณะของประโยชน์หรือผลงานที่ได้ ซึ่งอาจแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 5 ประเภท คือ
ประเภทของคอมพิวเตอร์
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
โครงงานพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษา (Educational Media)
โครงงานพัฒนาเครื่องมือ (Tools Development)
โครงงานประเภทการประยุกต์ใช้งาน (Application)
โครงงานประเภทจำลองทฤษฎี (Theory Experiment)
คอมพิวเตอร์ (Computer) หมายถึงอุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ สามารถเก็บและจำข้อมูลรวมถึงชุดคำสั่งในการทำงานได้ทำให้สามารถทำงานได้โดยอัตโนมัติ ด้วยอัตราความเร็วที่สูงมาก ใช้เพื่อประโยชน์ในการคำนวณหรือทำงานต่าง ๆ ได้เกือบทุกชนิดทุกประเภทและแสดงผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบต่าง ๆได้อย่างรวดเร็วถูกต้อง คอมพิวเตอร์มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า Computare
กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์
กระบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์ มี 3 ขั้นตอน คือ
รับเข้า (Input) คอมพิวเตอร์จะรับข้อมูลเข้ามา แล้วปฏิบัติตามคำสั่งข้อมูลนั้น อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง
ประมวลผล (Process) คอมพิวเตอร์จะทำการคำนวณ เปรียบเทียบ วิเคราะห์ โดยการใช้คำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้น
ส่งออก (Output) คอมพิวเตอร์จะนำผลที่ทำการประมวลผลเสร็จเรียบร้อยมาแสดงในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้สื่อความหมายและนำไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย
ประโยชน์ของโครงงานคอมพิวเตอร์
สร้างความสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาและพัฒนาระบบด้วยตนเอง
เปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาและแสดงความสามารถตามศักยภาพของตนเอง
เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า และเรียนรู้ในเรื่องที่นักเรียนสนใจได้ลึกซึ้งกว่าการเรียนในห้องตามปกติ
ส่งเสริมและพัฒนากระบวนการคิด การแก้ปัญหา การตัดสินใจ รวมทั้งการสื่อสารระหว่างกัน
กระตุ้นให้นักเรียนมีความสนใจในการเรียนวิชาสาขาคอมพิวเตอร์ และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทางด้านนี้
ส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้เวลาอย่างเป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับครูและชุมชน รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนสนใจคอมพิว เตอร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องมากขึ้น
เป็นการบูรณาการเอาความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่ได้รับมาจัดทำผสมผสานกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นโครงงานเพื่อนำเสนอต่อชุมชน