Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
(personal hygiene) เป็นการดูแลความสะอาดของร่าง…
การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
(personal hygiene) เป็นการดูแลความสะอาดของร่างกาย เพื่อส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีและป้องกันการเจ็บป่วย
การดูแลผม💇🏻♀️
-
ผู้ป่วยที่ต้องนอนอยู่บนเตียงนานๆ การสระผมจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสดชื่นขึ้น เพราะจะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายหนังศีรษะ ไม่รู้สึกคัน เนื่องจากการนอนบนเตียงจะมีเหงื่อออกมาก ผู้ป่วยจึงต้องได้รับการดูแลความสะอาดของเส้นผมและหนังศีรษะมากขึ้นกว่าภาวะปกติ และในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถไปสระผมที่ห้องน้ำได้เอง พยาบาลจะเป็นผู้ที่ต้องช่วยสระผมให้ที่เตียงผู้ป่วย (bed shampoo)
-
การโกนหนวดเครา🧔🏻
สำหรับผู้ป่วยชายต้องโกนหนวดทุกวัน พยาบาลควรช่วยเหลือให้ผู้ป่วย คือ ก่อนการโกนหนวดควรทำความสะอาดเคราให้อ่อนตัวลง โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นคลุมไว้ แล้วใช้ ฟองสบู่หรือครีมโกนหนวดทา ดึงผิวหนังให้ตึง วางที่โกนหนวดทำมุม 45 องศา แล้วเคลื่อนไปในช่วงสั้นๆ ลูบไปตามแนวเส้นขน เพื่อลดการระคายเคือง สำหรับผู้ป่วยที่อ่อนเพลีย ไม่มีแรง และไม่สามารถใช้มือได้สะดวก พยาบาลต้องทำให้อย่างระมัดระวังไม่ให้ผิวหนังผู้ป่วยเกิดแผลจากการถูกคมมีดโกนหนวดบาด หลังจากโกนหนวดแล้วทำความสะอาดผิวหนัง และซับผิวหนังให้แห้ง
การทำความสะอาดเล็บ💅🏻
การดูแลเล็บนั้นให้อยู่ในสภาพดี จะช่วยให้เล็บสุขภาพดี ความผิดปกติของระบบที่พบบ่อยเช่นเล็บเป็นเชื้อรามักพบในผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำหรือผู้ที่ปล่อยปละละเลยไม่สนใจทำความสะอาดเล็บพยาบาลจึงควรเป็นผู้ดูแลทำความสะอาดมือและเล็บให้ผู้ป่วย
-
-
-
การนวด
การนวดหลังมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยที่นอนรับการรักษาอยู่บนเตียง เนื่องจาก การนอนทำให้การไหลเวียนโลหิต ที่บริเวณหลังจะลดลง เนื่องจากผิวหนังบริเวณหลังรับน้ำหนักมากเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียด ของร่างกาย และช่วยบรรเทาความวิตกกังวล ส่งเสริมให้ผู้ป่วยรู้สึกสุขสบาย และเป็นการเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างพยาบาลกับผู้ป่วยได้อีกด้วย
-
การทำเตียง🛏
- เตียงที่ยังมีผู้ป่วยครองเตียงอยู่ แต่ผู้ป่วยไม่ได้นอนอยู่ที่เตียง (open bed)เช่น นั่งข้างๆเตียง ไปห้องน้ำ ซึ่งเมื่อทำเตียงเสร็จจะไม่ต้องคลุมผ้า เพื่อให้ผู้ป่วยเข้านอนได้อย่างสะดวกสบาย
- เตียงที่มีผู้ป่วยอยู่บนเตียง (occupied bed) เป็นเตียงที่มีผู้ป่วยนอนอยู่บนเตียงและไม่สามารถลุกออกจากเตียงได้ในขณะที่ทำเตียง การทำเตียงประเภทนี้ต้องระมัดระวังมาก เพื่อให้ผู้ป่วยสุขสบายและได้รับความปลอดภัยมากที่สุด
- เตียงสำหรับรอรับผู้ป่วยที่ดมยาสลบ (ether bed) เป็นการทำเตียงเพื่อรอรับผู้ป่วย ที่ได้รับยาสลบจากการที่ทำผ่าตัด การได้รับการตรวจวินิจฉัยอื่นๆ การทำเตียงแบบนี้มีหลักใน การปฏิบัติเช่นเดียวกับการทำเตียงแบบไม่มีผู้รับบริการนอนอยู่บนเตียง แต่ต้องเตรียมสิ่งของเครื่องใช้เพิ่มเติม เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้ายาง ผ้าขวางเตียง ชามรูปไต ไม้กดลิ้น เทอร์โมมิเตอร์ เครื่องมือวัดความดันโลหิต หูฟัง เสาแขวนขวดสารละลายที่ให้ทางหลอดเลือดดำ เป็นต้น
- เตียงว่าง (closed bed or anesthetic bed) เป็นเตียงที่ไม่มีผู้ป่วยครองเตียงเป็นการทำเตียงภายหลังจากการที่ผู้ป่วยกลับบ้าน ย้าย หรือถึงแก่กรรม และเป็นการเตรียมเตียงเพื่อรับผู้ป่วยรายใหม่ อาจคลุมด้วยผ้าคลุมเตียง เพื่อรักษาที่นอนและหมอนให้สะอาด
การทำความสะอาดตา 👁
การรักษาความสะอาดดวงตาต้องทำด้วยความระมัดระวังมิฉะนั้นอาจเกิดอันตรายได้การทำความสะอาดดวงตาโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีขี้ตามากช่วยเหลือตัวเองไม่ได้พยาบาลจะต้องทำความสะอาดด้วยการเช็ดตาให้
-
วิธีการเช็ดตา
-
-
-
สำลีก้อนที่ 4 เช็ดขอบตาล่างด้วยบอกให้ผู้ป่วยมองขึ้นข้างบนใช้นิ้วหัวแม่มือข้างซ้ายดึงหนังตาล่างลงจากหัวตาไปหางตา
การทำความสะอาดหู👂🏻
การทำความสะอาดหูจะทำเฉพาะภายนอกโดยใช้ผ้าถูตัวเช็ดขนาดที่ล้างหน้าห้ามใช้ไม้แข็งของมีคมกิ๊บหนีบผมหรือสิ่งแปลกปลอมใส่เข้าหูเพื่อเช็ดขี้หูออก ถ้ามีขี้หูมากและแข็งมากจะทำให้นุ่มโดยใช้ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์กลีเซอรีนบอแรกซ์หรือน้ำมันมะกอกหยอด 2-3 หยดหลังจากนั้นใช้ไม้พันสำลีเช็ดออก
การทำความสะอาดจมูก👃🏻
การทำความสะอาดจมูกที่ปลอดภัยคือเช็ดเบาๆโดยเฉพาะบริเวณรอบๆจมูกและรูจมูกด้านนอกและระหว่างที่เจ็บป่วยน้ำมูกจะแห้งและรวมกันอยู่ในรูจมูกทำให้ไม่สุขสบายควรใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือเช็ดรูจมูกให้สะอาด
-
สุปาณี เสนาดิสัย,วรรณภา ประไพพานิช (บรรณาธิการ). (2554). การพยาบาลพื้นฐานและแนวคิดและการปฏิบัติ.
พิมพ์ครั้งที่ 13. บริษัทจุดทอง จำกัด