Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
สารเสพติด (เฮโรอีน (การพยาบาล (ประเมินสภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ ได้แก่…
สารเสพติด
เฮโรอีน
-
อาการได้รับยามากเกินไป ไม่มีสมาธิ ง่วงนอนมากจนเผลอหลับ ความดันโลหิตต่ำลง หายใจช้า ริมฝีปาก นิ้วมือและนิ้วเท้ามีสีคล้ำเขียว หมดสติ ถึงขั้นเสียชีวิต
อาการขาดยาในการรักษา กระวนกระวาย หงุดหงิด วุ่นวาย ไม่มีสมาธิ เหงื่อออก ร้อนๆ หนาวๆ อยากยา ซึมเศร้า ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้อเป็นตะคริว ปวดท้อง ปวดกระดูก ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท
การพยาบาล
- ประเมินสภาพทางด้านร่างกายและจิตใจ ได้แก่ อาการขนลุก คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ หงุดหงิด กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ
- วัดสัญญาณชีพ เพื่อประเมินสภาพ
- ประเมินอาการถอนพิษยาโดยใช้แบบประเมิน COWS
- พูดคุยโดยการเสริมศักยภาพผู้ป่วยและให้กำลังใจให้ผู้ป่วยสามารถอดทนต่ออาการขาดยา
- ให้ข้อมูลครอบครัวในการดูแลผู้ป่วยในระยะขาดยา ให้กำลังใจและคอยให้ความช่วยเหลือ เช่น การนวดเพื่อคลายอาการปวดกล้ามเนื้อ
-
-
- สังเกตและบันทึกอาการเปลี่ยนแปลงได้แก่ ขนลุก เหงื่อออก คลื่นไส้อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ หงุดหงิด กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ
- ติดตามความร่วมมือและแรงจูงใจของผู้ป่วยเป็นระยะ
ฝิ่น
-
-
อาการขาดยา น้ำตา น้ำมูกไหล ปวดหัว เกิดอาการคัน หาวนอน ขนลุก สะบัดร้อนสะบัดหนาว ม่านตาขยาย ต่อมาจะหงุดหงิด กระวนกระวาย ตื่นตกใจ เมื่อรุนแรงขึ้นจะทำให้ นอนไม่หลับ เหงื่อออก ปวดเมื่อยตามแขนขา คลื่นไส้อาเจียน และมีอาการท้องร่วง
การพยาบาล
- ดูแล ให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างเพียงพอ เพื่อลดความทรมารจากอาการถอนพิษยา โดยเฉพาะรายที่รักษาแบบผู้ป่วยนอก การได้ยาไม่เพียงพอ จะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยง ต่อการกลับไปเสพฝิ่นในขณะ รักษาได้
2.การดูแลตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้ป่วย จะเพิ่มความร่วมมือในการรักษา และลดการเรียกร้องขอยาเพิ่มเกินความจำเป็น
3.ผู้ป่วยระยะถอนพิษยาฝิ่น มักมีอาการท้องผูก ควรกระตุ้นให้ดื่มน้ำมากๆ เน้นอาหารย่อยง่ายและผักผลไม้ และออกกำลัง บางรายอาจพิจารณาให้ยาระบายช่วย
- กระตุ้นให้ผู้ป่วยมี Activity เพื่อฟื้นฟูสภาพร่างกายให้ฟื้นหายเร็วขึ้น
5.การทำกลุ่มจะช่วยให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจเกี่ยวกับโรคได้ดีขึ้น โดยกลุ่มที่ควรจัดให้กับผู้ป่วยควรจัดแบบ Spacial group โดยกลุ่มที่ทำอาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ1) กลุ่มให้ความรู้ เน้นเรื่องความรู้ด้านการปฏิบัติตัวเพื่อดูแลตนเอง การส่งเสริมสุขภาพร่างกายจิตใจ 2) กลุ่มสร้างความตระหนัก 3) กลุ่มสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม 4) กลุ่มป้องกันการเสพยาซ้ำ
ใบกระท่อม
-
อาการเสพมาก เม็ดสีทำให้มีผิวคล้ำและเข้มขึ้น บางรายอาจพบจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน อาการท้องผูก ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย
อาการขาดยา ได้แก่ ไม่มีแรง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและกระดูก แขนขากระตุก รู้สึกอ่อนเพลียไม่สามารถทำงานได้ อารมณ์ซึมเศร้า นํ้าตาไหล นํ้ามูกไหล ก้าวร้าว
การพยาบาล
- การรวบรวมข้อมูลมีเป้าหมายเช่นเดียวกับการให้พยาบาลจิตเวชในกลุ่มอื่นข้อมูลที่ควรรวบรวม ได้แก่ 1) ชนิดของสารเสพติดที่ผู้ป่วยเคยใช้และก่อนใช้ที่จะมาขอรับการรักษาครั้งนี้ 2) วิธีการนำสารเข้าสู่ร่างกายเช่นการดมการสูดการกินการฉีด 3) ปริมาณสารเสพติดที่ใช้ในแต่ละครั้ง 4) ระยะเวลาความถี่ในการใช้สารและหลังสุดผู้ป่วยใช้สารเสพติดเมื่อไหร่ 5) สภาพการณ์ที่ผู้ป่วยต้องใช้สารเสพติดนั้น ๆ 6) ประสบการณ์ที่เกี่ยวกับอาการต่างๆทางร่างกายและจิตใจ
- อาการและอาการแสดงในภาวะฉุกเฉินนอกจากความรู้เกี่ยวกับฤทธิ์ของสารเสพติดในแต่ละกลุ่มแล้วพยาบาลที่เกี่ยวกับผู้ป่วยสารเสพติด
ต้องสามารถให้การช่วยเหลือโดยด่วนไม่เช่นนั้นผู้ป่วยอาจมีอันตรายถึงชีวิตได้เมื่อผู้ป่วยเกิดอาการเป็นพิษหรือเมื่อขาดสาร
- ข้อมูลตามแผนสุขภาพผู้ใช้สารเสพติดส่วนมากหลีกเลี่ยงการให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมามักไม่บอกปัญหาที่แท้จริงจนเองดังนั้นอาจ
ต้องให้การรวบรวมข้อมูลที่น่าเชื่อถือของตัวผู้ป่วยมากขึ้น
- การปฏิบัติการพยาบาลในผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องใช้เวลานานโดยเริ่มจากขั้นถอนพิษสารเสพติดไปจนกระทั่งผู้ป่วยหยุดใช้
บุหรี่
อาการหลังเสพ ประสาทสัมผัสของการรับรู้กลิ่นและรส จะทำหน้าที่ได้ลดลง แสบตา น้ำตาไหล ขนอ่อนที่ทำหน้าที่พัดโบก เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมภายในหลอดลมเป็นอัมพาต หรือทำงานได้ช้าลง ระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในปอด และในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น และความดันโลหิตสูงขึ้น มีกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น เกิดกลิ่นที่น่ารังเกียจตามร่างกาย และเสื้อผ้า ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น และมีกลิ่นปาก
อาการขาด อาการอยากนิโคตินเพิ่มขึ้นอย่างรุนแรง อาการวิตกกังวล กระสับกระส่าย หรือเบื่อ ซึมเศร้า นอนไม่หลับ รวมถึง ฝันร้าย ง่วงซึม รู้สึกเครียด กระวนกระวาย และสิ้นหวัง ปวดหัว มีอาการอยากอาหารและมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ไม่มีสมาธิ เวียนศีรษะ อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง อาการท้องผูกหรือมีลมในกระเพาะอาหาร ไอ ปากแห้ง เจ็บคอ และน้ำมูกไหล
การพยาบาล
- ให้คำปรึกษาแนะนำ ติดตามผลการรักษา และให้คำปรึกษาป้องกันการกลับสูบบุหรี่ใหม่ซ้ำ
- ประเมินระดับความรุนแรงในการติดบุหรี่
- ร่วมจัดกิจกรรมเชิงรุกในชุมชนเพื่อกระตุ้นให้คนในชุมชนเห็นความสำคัญของการเลิกบุหรี่ โดยอาจจัดควบคู่ไปกับงานเชิงรุกเรื่องอื่นๆด้วยก็ได้
- เมื่อทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชนก็ควรสอดแทรกการให้คำปรึกษาแนะนำช่วยเลิกบุหรี่เข้าไว้ในงานนั้นๆด้วย
- เน้นย้ำถึงผลเสียต่อสุขภาพและเศรษฐกิจของผู้สูบและคนอื่นๆในชุมชน
- เน้นย้ำถึงประโยชน์ของชุมชนที่จะได้รับจากการที่คนในชุมชนเองเลิกบุหรี่ เช่น เป็นชุมชนสุขภาพดี ลดผลกระทบจากควันบุหรี่มือสอง
- ให้คำปรึกษาแนะนำเบื้องต้นแก่ผู้ที่ประสงค์จะเลิกบุหรี่ในชุมชนได้ พร้อมติดตามผล
- ช่วยตอกย้ำและให้คำปรึกษาที่ชุมชนเพื่อป้องกันการกลับสูบบุหรี่ใหม่ซ้ำ