Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 8 การแปรสภาพกิจกรรมรัฐเป็นกิจกรรมเอกชน (รูปแบบต่างๆและวัตถุประสงค์ขอ…
บทที่ 8 การแปรสภาพกิจกรรมรัฐเป็นกิจกรรมเอกชน
ความหมายของการแปรสภาพกิจกรรมรัฐเป็นกิจกรรมเอกชน
การเปลี่ยนแปลงบทบาทของภาครัฐในสังคม De Ru,1989
เน้นหลักนำกลไกตลาดเข้ามาใช้ในการบริหารงานภาครัฐเพื่อทำให้เกิดการแข่งขัน และเพื่อทำให้มีหน่วยงานภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการจัดหาหรือให้บริการแทนรัฐ Siedman, 1989
การแปรสภาพกิจกรรมรัฐเป็นกิจกรรมเอกชน:วิวัฒนาการ และอุดมการณ์
ค่ายเสรีนิยม
ใช้เศรษฐกิจแบบเสรีนิยมที่มีรากฐานมาจากระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย ทุนนิยม
ค่าสังคมนิยม
ใช้ระบบสังคมนิยม มีรากฐานมาจาก Karl Marx รัฐเป็นผู้ประกอบการเอง ไม่ให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
รูปแบบต่างๆและวัตถุประสงค์ของการแปรสภาพกิจกรรมรัฐเป็นกิจกรรมเอกชน
1.การถอนตัวจากการให้บริการของรัฐ
2.การจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สิน
3.การจ้างเหมาบริการ
4.การร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน
5.การให้สัมปทาน
6.การให้เช่า
7.การเรียกเก็บค่าบริการ
8.สิทธิบัตรหรือคูปอง
9.การลดระเบียบกฎเกณฑ์
10.กาปล่อยให้ดำเนินการโดยเสรี
11.การที่รัฐเข้าไปควบคุมและเป็นเจ้าของกิจการของภาคเอกชน
12.การแปรสภาพกิจการรัฐเป็นกิจการของประชาชน
13.การแปรสภาพกิจการรัฐเป็นกิจการของเอกชนต่างชาติ
สมมติฐานและเงื่อนไขสู่ความสำเร็จ
1.ยิ่งมีการถอนตัวจากการให้บริการของรัฐมากเท่าใด ก็จะยิ่งเป็นการสร้างงานให้กับภาคเอกชนได้มากขึ้น สร้างการแข่งขัน ลดการผูกขาด และสร้างประสิทธิภาพให้กับภาครัฐมากขึ้น
2.ยิ่งมีการจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินมากเท่าใด ก็ยิ่งสร้างประสิทธิภาพให้เกิดขึ้นกับภาครัฐ ตลอดจนมีการใช้และแสวงหาประโยชน์จากทรัพย์สินของภาครัฐได้มากยิ่งขึ้น
3.ยิ่งมีการจ้างเหมางานบริการในหน่วยงานภาครัฐมากเท่าใด ก็จะยิ่งเป็นการสร้างงานให้เกิดขึ้นกับภาคเอกชน และทำให้ภาครัฐนำกำลังคนมาทำภารกิจหลักที่สำคัญได้
4.ยิ่งส่งเสริมให้รัฐและเอกชนลงทุนร่วมกันเป็นบริษทมหาชนทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของกิจการของรัฐจะได้รับการตรวจสอบจากประชาสังคมและเป็นประโยชน์ในวงกว้าง
5.การให้สัมปทานของรัฐแก่เอกชน จะช่วยสร้างรายได้ เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม
6.การให้เช่าทรัพย์สินของรัฐในรูปแบบใหม่โดยมีเอกชนมาลงทุนบริหารกิจการและคืนทรัพย์สินแก่รัฐ
7.การเรียกเก็บค่าใช้บริการการใช้ทรัพยากรของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรมสร้างโอกาสการขยายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
8.การให้เอกชนเป็นผู้จัดหาหรือให้บริการแทนรัฐทำได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ระบบสิทธิบัตรที่มีข้อตกลงระหว่างรัฐและเอกชน
9.การลดระเบียบกฎเกณฑ์ที่มีต่อเอกชนจะช่วยลดค่าใช้ใจของรัฐและเพิ่มการแข่งขันของเอกชน
10.การเปิดเสรีธุรกิจให้เอกชนทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้าสู่การแข่งขันได้ และทำให้อิทธิพลผู้ประกอบการรายใหญ่ผูกขาดลดลง
11.การแปรสภาพกิจกรรมเอกชนเป็นของรัฐทำได้เมื่อกรณีจำเป็นเพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชน เพื่อให้เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
12.สามารถวัดความสำเร็จของการแปรสภาพรัฐเป็นเอกชนได้จากประชาชนผู้ถือหุ้นมีสัดส่วนมากน้อยเพียงใด
13.หากไม่มีระบบการความคุมที่มีประสิทธิภาพอาจทำให้เกิดการแปรสภาพกิจกรรมรัฐเป็นกิจกรรมของเอกชนต่างประเทศ