Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 7 ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ (ฐานคติของทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ…
บทที่ 7 ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ
ความหมายของทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ
วิชาที่นำเอาความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมของตลาดมาใช้อธิบายพฤติกรรมการตัดสินใจที่เกิดขึ้นในภาครัฐ ตลอดจนหาแนวทางในการนำเอากลไกตลาดมาปรับปรุงการบริหารงานภาครัฐให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ Robert Bish,1971
วิชาที่นำเอาหลักการทางเศรษฐสาสตร์มาใช้ประกอบในการศึกษาการตัดสินใจที่อยู่ในส่วนของภาครัฐ Mueller,1979
ทฤษฎีทางเลือกสาธารณะและความแตกต่างระหว่างภาครัฐและเอกชน
ในภาคเอกชน ประชาชนผู้รับบริการมีอำนาจในการเลือก
ในภาครัฐ ประชาชนผู้รับบริการมักจะไม่มีทางเลือก
ฐานคติของทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ
ยิ่งให้สิ่งจูงใจกับประชาชนมากเท่าใด ประชาชนก็จะเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการสาธารณะมาขึ้นเท่านั้น
ยิ่งมีทางเลือกในการให้บริการมากเท่าใด ประชาชนผู้รับบริการก็จะได้รับประโยชน์มากขึ้นเท่านั้น
ยิ่งมีการแข่งขันมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเกิดประโยชน์สาธารณะมากยิ่งขึ้น ในทางกลับกัน ยิ่งมีการผูกขาดมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเกิดความเสียหายแก่ประโยชน์สาธารณะมากขึ้นเท่านั้น
ยิ่งมีระบบและกลไกในการตรวจสอบถ่วงดุล ที่มีประสิทธิภาพมากเท่าไหร่ ก็จะปกป้องและรักษาประโยชน์สาธารณะได้มากขึ้นเท่าตัว
ยิ่งมีความเหมือนมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีนวัตกรรมและประสิทธิภาพน้อยลง
ในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการให้ริการประชาชน ยิ่งมีการกระจายอำนาจในการบริหารมากเท่าใด ก็จะยิ่งเกิดประโยชน์ต่อประชาชนผู้รับบริการมากขึ้น
ยิ่งมีการรวมอำนาจในการบริหารมากขึ้น ก็จะเกิดความมั่นคงต่อประเทศ เกิดเสถียรภาพทาการเงิน และเป็นเอกภาพมากขึ้น
ยิ่งประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของภาครัฐมากขึ้นเท่าได ก็ยิ่งจะเกิดประโยชน์ต่อสาธารณะมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
ยิ่งส่งเสริมใ้หประชาชนได้เข้ามาร่วมลงมือทำในกิจกรรมของภาครัฐมากขึ้นเท่าใด ก็จะยิ่งเกิดประโยชน์และส่งผลต่อความสำเร็จในนโยบายของภาครัฐมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
ยิ่งส่งเสริมให้บังคับใช้กฎหมายโดยมีสิ่งจูงใจมากขึ้น โอกาสที่ประชาชนชนจะร่วมมือปฏิบัติตามก็จะสูงขึ้น
ยิ่งมีการใช้ข้อมูลและสื่อสารกับประชาชนในส่วนที่รัฐต้องการให้ประชาชนปฏิบัติตามมากขึ้น โอกาสที่ประชาชนจะยินยอมทำตามก็จะมีมากขึ้น
ยิ่งมีการพัฒนาระบบซ้ำเสริมมากขึ้น ก็จะยิ่งทำให้ประสิทธิภาพของการบริหารความเสี่ยงดีขึ้น เกิดเสถียรภาพและความมั่นคงต่อระบบมากยิ่งขึ้น
ยิ่งมีการจัดระบบและกลไกในการรับฟังคำเรียกร้อง ติชม จากประชาชนผู้รับบริการมากขึ้นเท่าใด ประชาชนก็จะมีความพึงพอใจในการให้บริการและจะมีความจงรักภักดีต่อหน่วยงานที่ให้บริการมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
ทฤษฎีรัฐประศาสนาศาสตร์และความแกร่งของทฤษฎีทางเลือกสาธารณะ
ในทฤษฎีว่าด้วยการพรรณา
ในส่วนที่เกี่ยวกับทฤษฎีว่าด้วยการคาดคะเน
การนำทฤษฎีทางเลือกสาธารณะมาใช้ในการปรับปรุงการบริหารงานภาครัฐ
1.ภาครัฐสามารถออกแบบสิ่งจูงใจ
2.ภาครัฐสามารถปรับปรุงการให้บริการประชาชน
3.ภาครัฐสามารถนำระบบกลไกที่ภาคเอกชนใช้อยู่ในการรับฟังความคิดเห็นของลูกค้าและประชาชน
4.ภาครัฐควรจัดโครงสร้างในการให้บริการภาครัฐให้มีความเหมาะสม
5.ภาครัฐควรส่งเสริมกระบวนการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของรัฐอย่างเต็มรูปแบบ
6.ภาครัฐควรยึดถือนโยบายส่งเสริมให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมปฏิบัติในกิจกรรมของรัฐอย่างจริงจัง