Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Radiation ในการพยาบาลผู้ป่วยนรีเวช (ทีมการรักษา (นักฟิสิกส์การแพทย์…
Radiation ในการพยาบาลผู้ป่วยนรีเวช
โรคมะเร็งทางนรีเวช
มะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงที่เกี่ยวข้องกับปากช่องคลอด, ช่องคลอด, ปากมดลูก, มดลูก, ท่อนำไข่หรือรังไข่ ในประเทศไทยพบมะเร็งปากมดลูกได้ประมาณ 18 รายต่อประชากรแสนคนในแต่ละปี
การรักษาโดยรังสีรักษา
การฉายรังสี (external irradiation or teletherapy)
รังสีรักษาจะทำลายสารพันธุกรรมภายในเซลล์มะเร็งและทำให้เซลล์มะเร็งได้รับความเสียหายหรือตายไป
รังสีรักษาระยะไกล (External beam radiation therapy)
การฉายรังสีแบบปรับความเข้ม (Intensity modulated radiation therapy ,IMRT)
การฉายรังสีแบบปรับความเข้มหมุนรอบตัวผู้ป่วย (Volumetric Modulated Radiation Therapy , VMAT)
การฉายรังสีแบบ 3 มิติ (3D conformal radiotherapy ,3D-CRT)
Image-Guided Radiation Therapy (IGRT)
การฉายรังสีร่วมพิกัด (Stereotactic Radiation Therapy)
เป็นการรักษาไม่เจ็บปวดและมีความคล้ายคลึงกับการเอ็กซเรย์เพื่อวินิจฉัยโรค และมีความแม่นยำ
การใส่แร่ (Brachytherapy/Intracavitary irradia-tion)
นำเม็ดแร่ที่เป็นแหล่งกำเนิดของรังสี ใส่เข้าไปในร่างกายคนไข้ บริเวณที่ใกล้กับเซลล์มะเร็ง เพื่อให้รังสีทำลายเซลล์มะเร็งให้ตายลง อาจใช้ร่วมกับวิธีการรักษาอื่น เช่นการฉายแสง หรือการผ่าตัด
ขณะรับการรักษาผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บ ใช้เวลาในการรักษาประมาณ10 -40 นาที โดยมีพยาบาลเฝ้าสังเกตอาการทางโทรทัศน์วงจรปิดด้านนอก กระบวนการโหลดแร่จะถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์
รังสีรักษาระยะใกล้ (Brachytherapy)
จุดมุ่งหมายของการใช้รังสีรักษา
เพื่อควบคุมมิให้มีการแพร่กระจายของมะเร็งไปยังอวัยวะอื่น ๆ
เพื่อบรรเทาอาการหรือเพื่อการรักษาแบบประคับประคอง (palliative radiotherapy)
เพื่อรักษาโรคให้หายขาด
ผลข้างเคียง (Side effects)
รู้สึกอ่อนเพลีย เป็นอาการที่เจอบ่อยๆ ช่วงฉายรังสีไม่ว่าจะรักษาบริเวณไหนก็ตาม
เป็นผลข้างเคียงเฉพาะที่ ขึ้นกับบริเวณที่ได้รับการฉายรังสีอาการเหล่านี้มักเป็นชั่วคราว และมักเริ่มในช่วงสัปดาห์ที่สองและสามของการฉายรังสี
ทีมการรักษา
แพทย์รังสีรักษา
ผู้วางแผนการรักษาและการฉายรังสีของผู้ป่วย
นักฟิสิกส์การแพทย์
ผู้ทำงานร่วมกับแพทย์รังสีรักษาโดยตรง
ช่วยในการวางแผนการรักษาเป็นผู้คำนวณและร่วมออกแบบการรักษาด้วยรังสีให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละคน
นักรังสีการแพทย์
ผู้ให้การฉายรังสีตามแผนการรักษาของแพทย์
จดบันทึกการรักษาในแต่ละวัน และตรวจสอบการทำงานของเครื่องมือ
พยาบาลทางรังสีรักษา
ผู้คอยให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและญาติตั้งแต่ก่อนการรักษา ระหว่างการรักษา และหลังการรักษา
การดูแลตัวเองในช่วงการฉายรังสี
พักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากผู้ป่วยจะมีอาการอ่อนเพลียในช่วงฉายรังสี
ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
ทานอาหารที่มีประโยชน์ และอาหารที่มีพลังงานสูงในช่วงการรักษา
ดูแลบริเวณที่ได้รับการฉายรังสี บริเวณฉายรังสีมีความบอบบางเป็นพิเศษ
ทำความสะอาดทุกวันด้วยน้ำอุ่น ไม่ควรฟอกสบู่ในบริเวณที่ขีดเส้น เนื่องจากจะทำให้เส้นที่ขีดไว้ลบเลือนไป
หลีกเลี่ยงการใช้โลชั่น น้ำหอม แป้ง และเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์เพราะจะทำให้ผิวแห้งมากขึ้น
หลีกเลี่ยงการประคบเย็นประคบร้อนบริเวณฉายรังสี
หลีกเลี่ยงแสงแดด ควรสวมเสื้อผ้าหรือหมวกเพื่อปกป้องผิวจากแสงแดด
Reference