Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitive Theory) (ทฤษฎีทางปัญญาของเบค (Beck’s Cognitive…
ทฤษฎีปัญญานิยม (Cognitive Theory)
ทฤษฎีปัญญานิยมให้ความสำคัญกับความคิดความเชื่อว่ามีอิทธิพลต่อความรู้สึกและการ
กระทำของมนุษย์
ทฤษฎีการบำบัดแบบเน้นเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรม
(Rational-EmotiveBehavior Therapy: RET)
ผู้ก่อตั้งทฤษฎีการบำบัดแบบเน้นเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรม
อัลเบิร์ต แอลลิส (Albert Ellis) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
มีเป้าหมายการบำบัดเพื่อขจัดความ
เชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล โดยให้บุคคลตระหนักถึงความคิดที่ไม่ถูกต้องของตน
กระบวนการเกิดความคิดที่ไม่สมเหตุสมผลในรูปแบบ A-B-C
B หมายถึง ความเชื่อ (Belief)
C (Consequences) หมายถึง การ
ตอบสนองทางอารมณ์ที่เกิดตามมา
A หมายถึง เหตุที่เป็นตัวกระตุ้น
(Activating event)
ตัวอย่างเช่น เพื่อนเดินผ่านฉันไปโดยไม่สนใจฉัน (A)
ฉันเชื่อว่าเพื่อนไม่สนใจฉันเพราะฉันเป็นคนไร้ค่า (B)
ฉันจึงรู้สึกเศร้า (C)
ให้บุคคลหยุดการตำหนิตนเองและยอมรับตนเองอย่างที่เป็นตนเองซึ่งมีข้อบกพร่อง ไม่สมบูรณ์แบบ แยกปัญหาจากความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม โดยใช้หลัก A-B-C
ทฤษฎีทางปัญญาของเบค
(Beck’s Cognitive Theory)
ผู้ริเริ่มทฤษฎีทางปัญญา และการบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา
แอรอน เบค (Araron Beckt) จิตแพทย์ชาวอเมริกัน
เริ่มต้นศึกษาในผู้ป่วยซึมเศร้า โดยมีความเชื่อว่าภาวะซึมเศร้าเกิดจากการแปลความหมายของสิ่งต่างๆ ไปในทางลบ
ทฤษฎีทางปัญญาจำแนกปัญญาออกเป็น 3 ชนิด
กระบวนการทางปัญญา (Cognitive process)
ในผู้ป่วยซึมเศร้าจะเป็น
กระบวนการข้อมูลข่าวสารที่บิดเบือน (Distorted information processing)
โครงสร้างทางปัญญา (Cognitive structure)
ความเชื่อที่ไม่
สมเหตุสมผล (Irrational belief)
เหตุการณ์ทางปัญญา (Cognitive event)
แสดงออกเป็นความคิดอัตโนมัติ
(Autonomic thought)
มุ่งตรวจสอบการรับรู้ที่บิดเบือน ความเชื่อที่ผิดพลาดและจุดบอดของบุคคล ซึ่งนำไปสู่ปฏิกริยาทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมต่อเหตุการณ์ การแก้ไขปัญหาที่จะมุ่งที่การตรวจสอบความเป็นจริงโดยใช้กระบวนการแก้ไขปัญหาเพื่อแก้ไขความคิดและกระบวนการที่ผิดพลาดซึ่งจะทำให้บุคคลเกิดการมองตนเองและมองโลกตามความเป็นจริงมากขึ้น
การประยุกต์ใช้ในการพยาบาลจิตเวช
ช่วยเหลือผู้ป่วยโดยการ
เปลี่ยนแปลงความเชื่อที่ไม่สมเหตุสมผล
ชี้ให้ผู้ป่วยเห็นถึงความเป็นจริงโดยสะท้อนพฤติกรรมทางบวกที่เป็นอยู่ เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยเชื่อมั่นว่าตนเองมีคุณค่า และลดความคิดโทษตนเอง
ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยพูดถึงแต่
จุดอ่อนหรือข้อบกพร่องของตนเองให้พยาบาลฟัง
ภายหลังการรับฟัง พยาบาลอาจกล่าวว่า “เรามา
ช่วยกันดูสิว่าคุณมีจุดแข็งและข้อดีอะไรบ้าง”