Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Case 2 COPD ผู้ป่วยชายอายุ 68 ปี (กิจกรรมการพยาบาล (ดูแลจัดให้ O2 canula …
Case 2 COPD ผู้ป่วยชายอายุ 68 ปี
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
2.เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนเนื่องจากภาวะหลอดลมหดเกร็งและมีเสมหะปริมาณมากทำให้การระบายลดลง
3.ความทนต่อกิจกรรมลดลงเนื่องจากหายใจหอบ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย
1.เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนเนื่องจากพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลงจากภาวะปอดอักเสบ
4.ไม่สุขสบายเนื่องจากไอและมีเสมหะมาก
สาเหตุ
การสูบบุหรี่
มลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละออง ควันพิษ รวมถึงการหายใจเอาสารเคมีบางอย่างเข้าไปในปอดติดต่อกันเป็นเวลานาน
โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคพร่องสาร alpha-1-antitrypsin (AAT) ซึ่งเป็นเอ็นไซม์ที่ผลิตในตับแล้วหลั่งเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อป้องกันไม่ให้ปอดถูกทำลายจากสารต่างๆ
สำหรับปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้แก่ การสูบบุหรี่ทั้งที่เป็นโรคหืด และอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปเนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่พัฒนาอย่างช้าๆ ดังนั้นกว่าที่จะตรวจพบโรค ผู้ป่วยก็มักเข้าสู่วัยกลางคนแล้ว
พยาธิสรีรภาพ
เมื่อหลอดลมได้รับการระคายเคืองบ่อย ๆ จะทำให้เยื่อบุหลอดลมโดยเฉพาะต่อมเมือก (Mucous gland) หลังสารคัดหลั่งออกมา ต่อมาเซลล์จะมีขนาดใหญ่และเพิ่มจำนวนมากขึ้นทำให้ผนังหลอดลมหนาตัวขึ้นและความยืดหยุ่นเสียไป ท่อหลอดลมจะตีบแคบลง ผู้ป่วยที่สูบบุหรี่หรือได้รับควันบุหรี่จะทำให้ขนกวัดในเซลล์เยื่อบุหลอดลมเคลื่อนไหวได้น้อยลง ต่อมและเซลล์เมือกไม่สามารถขับมูกจำนวนมากที่เหนียวออกไปได้
โรคถุงลมปอดโป่งพองเกิดจากมีการระคายเคืองของเยื่อบุหลอดลมเป็นเวลานาน เมือกที่ฉาบอยู่บนผิวของหลอดลมถูกทำลาย ทำให้ผนังหลอดลมหนาตัวขึ้นและกลายเป็นแผลเป็น ขนกวัดถูกทำลายจึงทำให้สารที่เป็นอันตรายต่าง ๆ รวมทั้งเชื้อแบคทีเรียและไวรัสสามารถแทรกเข้าสู่เซลล์ของหลอดลม
มีการอักเสบและสร้างเสมหะออกมามาก และเมื่อกลไกการขับเสมหะตามปกติถูกทำลายไปจะทำให้เสมหะที่สร้างขึ้นนั้นจับตัวกันเป็นก้อนอุดหลอดลมไว้อากาศผ่านเข้าออกจากถุงลมไม่ได้จึงดันให้ถุงลมโป่งออก ถุงลมสูญเสียความยืดหยุ่น คือ ยืดได้หดไม่ได้ เมื่อมีการคั่งของอากาศนาน ๆ เข้าถุงลมจะยิ่งโป่งออกจนมีการฉีกขาดและหลอดเลือดบริเวณนั้นถูกทำลาย พื้นที่ผิวในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง มีการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการไอ มีเสมหะมาก หายใจลำบาก หากปอดอักเสบเรื้อรังผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ ติดต่อกันอย่างน้อยปีละ 3 เดือนติดต่อกันไม่น้อยกว่า 2 ปี มักเป็นตอนเช้า จนนึกว่าเป็นเรื่องปกติ ต่อมาไอถี่ขึ้นตลอดทั้งวันและมีเสมหะเป็นจำนวนมาก อาจมีสีขาว เหลือง เขียว อาจมีไข้ ไอมีเลือดปน ตามด้วยอาการหอบ ส่วนถุงลมโป่งพองมีอาการหอบเหนื่อยง่าย เวลาทำงานหรือออกแรง
case
อาการหายใจลำบากและไอ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกำเริบของปอดอุดกั้นเรื้อรัง มีไข้หนาวสั่น ไอ หายใจลำบาก
การรักษา
ยา azithromycin
ยา vancomycin
ยา piperacillin / tazobactam
ยา tobramycin
ยา fluoroquinolone
ยา macrolide
การวินิจฉัย
-ซักประวัติ
-ตรวจร่างกาย
-ตรวจทางห้องปฏิบัติการ
Case
ได้นำเลือดและเสมหะของผู้ป่วยไปเพาะเชื้อ และได้มีการตรวจ urinary antigen tests ทางห้องปฎิบัติการเพื่อตรวจ pneumococcus และ legionella และได้ผล positive pneumococcal antigen test
กิจกรรมการพยาบาล
ดูแลจัดให้ O2 canula 2 L/min ตามแผนการรักษา
ดูแลวัด vital signs และวัด O2 sat ทุก 1 ชั่วโมง.
ดูแลจัดให้นอนในท่าศีรษะสูงอย่างน้อย 30-45 องศาเพื่อปริมาตรในช่องอกทำให้ปอด สามารถขยายตัวได้.
ฟังเสียงปอดเพื่อประเมินเสียงผิดปกติ อย่างน้อยเวรละ 1 ครั้ง
ประเมินการไหลเวียนเลือดที่อวัยวะส่วนปลายโดยทดสอบCapillary refill time
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแบบแผนการรักษาของแพทย์
แนะนำการไออย่างมีประสิทธิภาพโดยหายใจเข้าออกลึกๆ 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นให้หายใจเข้า ออกลึกๆ 2-3 ครั้ง หลังจากนั้นให้หายใจเข้าสุดๆเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง กลั้นหายใจสักครู่ หายใจออกพร้อมไอออกมาแรงๆ 2-3 ครั้งติดต่อกัน
ดูแลช่วยเหลือในการทำกิจกรรมและส่งเสริมให้ผู้ป่วย มีส่วนร่วมในการดูแลตนเอง
ดูแลประเมินภาวะการหายใจ ประเมินอาการเหนื่อย หอบ
นางสาวธิดารัตน์ มาตราช UDA6080045