Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 1 มโนทัศน์ของความผิดปกติทางสุขภาพจิตและจิตเวช, นางสาวจิราภรณ์…
บทที่ 1 มโนทัศน์ของความผิดปกติทางสุขภาพจิตและจิตเวช
แนวคิดการเกิดโรคทางจิตเวช
Stress diathesis model
มียีนส์หรือการรวมกันทางพันธุกรรมที่เฉพาะเจาะจง
Case formulation
ปัจจัย 4 ประการ (4 P‘s)
ปัจจัยเสี่ยง (predisposing factors)
สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม หรือสิ่งที่แฝงอยู่ในตัวบุคคล
พันธุกรรม ภาวะโภชนาการ การเลี้ยงดู รายได้ ฯลฯ
ปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการ (precipitating factors)
สถานการณ์ สิ่งแวดล้อมภายนอกที่ทำให้บุคคลเริ่มปรากฏความผิดปกติของโรคทางจิตเวชขึ้น
การใช้ยาเสพติด การนอนหลับเปลี่ยนแปลง สอบตก สัมพันธภาพล้มเหลว มีหนี้สิน
ปัจจัยที่ทำให้อาการคงอยู่ (perpetuating factors)
สถานการณ์ สิ่งแวดล้อม ความเชื่อทัศนคติหรือพฤติกรรมของบุคคลที่ทำให้อาการความผิดปกติขอบโรคทางจิตเวชที่เกิดขึ้นยังไม่หายไป
การไม่ได้รับการรักษา ไม่รับประทานยาต่อเนื่อง ไม่ยอมรับความเจ็บป่วย
ปัจจัยปกป้อง (protective factors)
ช่วยให้บุคคลปรับตัวต่อสถานการณ์
ช่วยให้ความผิดปกตินั้นหายคืนสู่สภาพปกติ เช่น มีงานทำ ครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดี
สิทธิของผู้ป่วย กฎหมาย จริยธรรมในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551
เจอ
เมื่อพบบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตตามมาตรา 22 (ผู้ที่มีภาวะอันตราย และ/หรือมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา
แจ้ง
แจ้งพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เป็นต้น พนักงานฝ่ายปกครอง เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เป็นต้น หรือตำรวจเพื่อนำส่งสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษาที่อยู่ใกล้ชิดโดยไม่ช้า เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและประเมินอาการเบื้องต้นตามมาตรา 27 ทั้งนี้โดยจะมีผู้รับดูแลบุคคลดังกล่าว
ตรวจ
สถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษา ต้องประเมินอาการและวินิจฉัยเบื้องต้น ภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่เวลาที่บุคคลนั้นมาถึงสถานพยาบาลของรัฐหรือสถานบำบัดรักษาโดยมีแพทย์และพยาบาลอย่างละ 1 คน เป็นผู้ตรวจวินิจฉัยอาการเบื้องต้น
ส่ง
ส่งรักษาในสถานบำบัด (โรงพยาบาลจิตเวช) เมื่อผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัย และการประเมินอาการโดยละเอียด ภายใน 30 วันหลังรับไว้ กรณีที่เป็นผู้ป่วยมาตรา 22 คณะกรรมการสถานบำบัดจะเป็นผู้ลงความเห็นถึงแผนการดูแลผู้ป่วยต่อไป โดยมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1.ให้บุคคลนั้นต้องเข้ารับการบำบัดรักษา ในสถานบำบัดรักษา
2 .ให้บุคคลนั้นต้องรับการบำบัดรักษา ณ สถานที่อื่น นอกจากสถานบำบัดรักษาเมื่อบุคคลนั้นไม่มีภาวะอันตราย
หลักจริยธรรมในการถือปฏิบัติ เพื่อการตัดสินใจ ในการให้การดูแลหรือปฏิบัติทางการพยาบาลทางสุขภาพจิตและจิตเวช
1)การเคารพเอกสิทธิ์
2)ความซื่อสัตย์
3)ความเอื้ออาทรต่อผู้ป่วย
4)ระเบียบวินัย
5)ความยุติธรรมหรือความเสมอภาค
6)การเสียสละ
7)ความรับผิดชอบ
8)การบอกความจริง
9)การรักษาความลับ
ปัจจัยการเกิดโรคทางจิตเวช
ปัจจัยทางกายภาพหรือชีวภาพ (Biological factors)
การทำหน้าที่ผิดปกติของสารสื่อประสาท
dopamine มาก = โรคจิตเภท (schizophrenia) มีอาการคลุ้มคลั่ง (mania) dopamine น้อย = โรคซึมเศร้า (depressive illness)
Serotonin สัมพันธ์กับโรคอารมณ์แปรปรวน (mood disorder) โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive compulsive disorder) และโรคจิตเภท (schizophrenia)
norepinephrine มาก = โรควิตกกังวล (anxiety disorder) โรคอารมณ์แปรปรวน (mood disorder) ที่แสดงอาการคลุ้มคลั่ง ถ้า norepinephrine น้อย = ภาวะซึมเศร้า
GABA ลดลงกว่าปกติ = โรคชัก (seizure disorder) โรควิตกกังวล (anxiety disorder)
acetylcholine ลดลง = อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease)
monoamine oxides = ความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมแปรปรวน
ความผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของสมอง
พันธุกรรม
ความผิดปกติที่มีมาแต่กำเนิด
ความผิดปกติของฮอร์โมนในร่างกาย
การสะสมของสารพิษภายในร่างกาย
ความเจ็บป่วยหรือโรคทางสมอง
ปัจจัยทางด้านจิตใจ (psychological factors)
มักเป็นผลจากการเลี้ยงดู ความคิด ความเชื่อที่มีอยู่ในตัวมนุษย์
ปัจจัยทางด้านสังคม (social factors)
การอบรมเลี้ยงดูและความรักในครอบครัว การศึกษา ปัจจัยทางเศรษฐกิจสังคมและวัฒนธรรม การเมือง และศาสนา
การอบรมเลี้ยงดู
แบบเผด็จการ (authoritarian)
ปล่อยปละละเลย (rejection)
ทนุถนอมมากเกินไป (overprotection)
ประชาธิไตย (democracy)
ปัจจัยทางจิตวิญญาณ (spiritual factors)
ปรัชญาชีวิต (Philosophy of Life)
สิ่งที่นับถือหรือที่พึ่งทางใจ (concept of deity)
อาการทางวิทยาและเกณฑ์การจำแนกโรคทางจิตเวช
อาการแสดง
การแสดงออกทางสีหน้าที่จำกัด
การเคลื่อนไหวร่างกายอย่างเชื่องช้า
อาการ
มีอารมณ์เศร้า
รู้สึกหมดเรี่ยวแรง
กลุ่มอาการ
อาการและอาการแสดงหลายๆอย่างที่พบร่วมกัน
เรียกด้วยชื่อเฉพาะกลุ่มอาการ
โรคทางจิตเวช
กลุ่มอาการและอาการแสดงที่เป็นความผิดปกติของพุทธิปัญญา การควบคุมอารมณ์ หรือพฤติกรรม ที่สะท้อนถึงความผิดปกติทางจิต
1.กลุ่มของอาการและอาการแสดงทางจิตเวช จัดได้ 7 กลุ่ม
ความผิดปกติของความรู้สึกตัว (disturbance of consciousness)
ความผิดปกติของระดับความรู้สึกตัว
ความผิดปกติของการคงความใส่ใจ
ความผิดปกติขอบการถูกชักจูง
ความผิดปกติของพฤติกรรมการเคลื่อนไหว (disturbance of motor behavior)
ความผิดปกติของอารมณ์ (disturbance of emotion)
ความผิดปกติของการพูด (disturbance of speech)
ความผิดปกติของความคิด (disturbance of thinking)
ความผิดปกติของการรับรู้สัมผัส (disturbance of perception)
ความผิดปกติของความจำ (disturbance of memory)
2.เกณฑ์การจำแนกโรคทางจิตเวช
ICD10 (International Classification of Disease and Related Health Problem 10th Revision
พัฒนาขึ้นโดย WHO มีการใช้สัญลักษณ์ตัวอักษรร่วมกับตัวเลข
นางสาวจิราภรณ์ แก้วขวาน้อย
รหัส 180101041 คณะพยาบาลศาตร์ชั้นปีที่ 3