Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
Database Model - Coggle Diagram
Database Model
1. Hierarchical Model
- โครงสร้างจะเป็นแบบ parent/child เป็นตัวบอกความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล
- parent สามารถมี child ได้หลายคน แต่ child สามารถมี parent ได้เพียงหนึ่งเดียว
- ประเถทความสัมพันธ์จะเป็นแบบ 1:N หรือ one-to-many
ข้อดี :check:
- เป็นระบบโครงสร้างฐานข้อมูลที่มีระบบโครงสร้างซับซ้อนน้อยที่สุด
- ค่าใช้จ่ายในการจัดสร้างฐานข้อมูลน้อย
- เหมาะกับข้อมูลที่เรียงลำดับต่อเนื่อง
- ป้องกันความปลอดภัยในข้อมูลที่ดี เนื่องจากต้องอ่านข้อมูลที่เป็นต้นกำเนิดก่อนทำให้ข้อมูลมีความคงสภาพที่ดี
ข้อเสีย :green_cross:
- ยากต่อการพัฒนา ผู้พัฒนาต้องมีความเข้าใจโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูล
- มีข้อจำกัดด้านการนำไปใช้ เช่น ไม่รองรับความสัมพันธ์แบบ M:N
- กรณีโครงสร้างเปลี่ยน แอปพลิเคชั่นโปรแกรมทั้งหมดก็ต้องเปลี่ยนตามด้วย
- ไม่มีภาษที่ใช้สำหรับจัดการข้อมูลใน DBMS
2. Network Model
- เป็นโครงสร้างคล้ายกับโครงสร้างแบบลำดับขั้น รองรับความสัมพันธ์ของข้อมูลที่ซับซ้อนขึ้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าลำดับขั้น
- สามารถมีต้นกำเนิดของข้อมูลได้มากกว่า 1 และยินยอมให้ระดับชั้นที่อยู่เหนือกว่าจะมีได้หลายแฟ้มข้อมูลถึงแม้ว่าระดับชั้นถัดลงมาจะมีเพียงแฟ้มข้อมูลเดียว
ข้อดี :check:
- มีหลักการที่ง่าย ใกล้เคียงกับแบบลำดับขั้น
- สนับสนุนความสัมพันธ์แบบ M:N
- การเข้าถึงข้อมูลมีความยืดหยุ่นสูงกว่าแบบลำดับขั้นและแฟ้มข้อมูล
- ความซ้ำซ้อนในข้อมูลเกิดขึ้นน้อยกว่าแบบลำดับขั้น
ข้อเสีย :green_cross:
- การป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลมีน้อย เนื่องจากสามารถเข้าถึงเรคอร์ดได้โดยตรง
- ใช้ตัวชี้วัดตำแหน่งแบบพอยต์เตอร์ทำให้สิ้นเปลืองในหน่วยความจำ
- การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างมีความยุ่งยาก
3. Relational Model
- เป็นแบบจำลองข้อมูลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด
- ข้อมูลจะจัดเก็บในรูปแบบตาราง 2 มิติ คือ แถว(Row) คอลัมน์(Column)
- มีการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ต่างๆ โดยอาศัยคีย์ในคอลัมน์ที่เหมือนกันของตารางต่างๆ เป็นตัวเชื่อมโยง
ข้อดี :check:
- มีความเป็นอิสระในโครงสร้าง โดยถ้ามีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตารางจะไม่ส่งผลกระทบต่อแอปพลิเคชั่นโปรแกรมที่ใช้งาน
- DBMS ที่พัฒนาล้วนรองรับ
- การเรียกใช้ข้อมูลสามารถเรียกใช้ได้ด้วยคำสั่ง SQL
- มีระบบความปลอดภัยที่ดี เนื่องจากไม่ทราบโครงสร้างของข้อมูลจริงๆในการจัดเก็บ
ข้อเสีย :green_cross:
- มีค่าใช้จ่ายในระบบค่อนข้างสูง เนื่องจากอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์ ต้องมีประสิทธิภาพ
- การแก้ไขปรับปรุงแฟ้มข้อมูลทำได้ยากเนื่องจากไม่ทราบถึงกระบวนการจัดเก็บข้อมูลภายในฐานข้อมูล
-
5. Object Oriented Model
- สามารถจัดการกับข้อมูลชนิดต่างๆที่ซับซ้อนได้ดี มักนำไปใช้กับหน่วยงานขนาดใหญ่และต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการจัดการกับข้อมูลที่ซับซ้อน
- เกิดจากแนวคิดการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
ข้อดี :check:
- คุณสมบัติด้านการสืบทอดทำให้ข้อมูลมีความคงสภาพสูง
- สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
- การนำเสนอเป็นรูปแบบ Visual ทำให้อธิบายหัวข้อความหมายได้ดี
ข้อเสีย :green_cross:
- ต้องพึ่งพาผู้เชียวชาญโดยเฉพาะ และมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับระบบค่อนข้างสูง
- ยังไม่มีมาตรฐานรองรับที่ชัดเจนเมื่อเทียบกับแบบจำลองข้อมูลเชิงสัมพันธ์
- ผู้เชียวชาญส่วนใหญ่จะคุ้นกับเทคโนโลยีฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์มากกว่า
-
7. Semi-structured Data
- ข้อมูลที่ถูกจัดเก็บอย่างมีรูปแบบในระดับหนึ่งและข้อมูลที่สามารถค้นหา (search) หรือแท็ก (tag) ได้
- จัดเรียงข้อมูลตามหัวเรื่องหรือแบบลำดับชั้น แต่ข้อความภายในเป็นแบบปลายเปิดโดยไม่มีโครงสร้างในตัวเอง
- ข้อมูลไม่สอดคล้องกับ Database Model แต่มีโครงสร้างบางอย่างสอดคล้องกัน
ข้อดี :check:
- ข้อมูลไม่ถูกจำกัดโดยโครงสร้าง
- มีความยืดหยุ่น โครงสร้างสามรถเปลี่ยนแปลงได้ง่าย
- การเรียกใช้ข้อมูลสามารถเรียกใช้ได้ด้วยคำสั่ง SQL
- ข้อมูลเป็นแบบพกพาได้
ข้อเสีย :green_cross:
- การขาดโครงสร้างที่คงที่ทำให้การจัดเก็บข้อมูลทำได้ยาก
- การตีความความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลเป็นเรื่องยาก เนื่องจากไม่มีการแยกโครงสร้างและข้อมูล
- แบบสอบถามจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าข้อมูลที่มีโครงสร้าง