Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
นวัตกรรมทางการพยาบาลสาธารณสุข, นายณัฐมงคล เชื้อไทย 600577, Capture -…
นวัตกรรมทางการพยาบาลสาธารณสุข
แนวคิด ความหมาย ความสำคัญ ประเภทของนวัตกรรมสาธารณสุข
นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ
แนวคิด กระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานความคิดริเริ่มสร้างสรรค์บนฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ให้เป็นผลงานที่นำไปสู่การแก้ปัญหา หรือพัฒนาสังคมสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ ช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงทาง สุขภาพ หรือส่งเสริมให้คนมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
ความสำคัญ
พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการบริการพยาบาล
สร้างความรู้ใหม่ในการให้บริการพยาบาลระบบบริการพยาบาลหรือระบบสุขภาพ
ลดค่าใช้จ่ายหรือลดการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อแก้ปัญหางบประมาณกำลังคน ภาระงาน การบริหารจัดการวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ
ประสานความร่วมมือกับหุ้นส่วนทางด้านสุขภาพในการให้บริการแก่ผู้ใช้บริการ
ช่วยจัดการความเสี่ยงและสนับสนุนการลดปัจจัยเสี่ยง
เสริมสร้างพลังอำนาจและการมีคุณค่าของพยาบาลวิชาชีพในการให้บริการซึ่งการคิดค้นและพัฒนาการให้บริการ
เป็นการธำรงไว้ซึ่งความเป็นเอกลักษณ์ของวิชาชีพและสานต่อองค์ความรู้ของวิชาชีพ
เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในเรื่องการพัฒนา
นโยบายให้มีการพัฒนาอย่างรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ประเภท
การสร้างนวัตกรรมสาธารณสุขใหม่และเป็นนวัตกรรมที่ค้นพบโดยเน้นการค้นหาความคิดใหม่
ตามลักษณะการใช้นวัตกรรมจนเกิดผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการบริการพยาบาลชุมชน
เป็นกระบวนการบริการพยาบาลซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากแนวคิดใหม่ ๆ
วิวัฒนาการของการสาธารณสุขไทย
พ ศ 2505 กองมาลาเรีย ได้ดำเนินการโครงการอาสาสมัครมาลาเรีย
พ ศ 2507-2509 การดำเนินโครงการสารภี โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพอนามัยในรูปของ ผสส อสม และกระทรวงสาธารณสุข
พ ศ 2520-2524 กระทรวงสาธารณสุขเริ่มดำเนินแผนงานสาธารณสุขมูลฐาน โดยเน้นหนักการฝึกอบรมครูฝึกสาธารณสุขมูลฐาน การอบรม ผสส. /อสม สนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ 500 บาท
จุดเริ่มต้นการพัฒนา 3 ก
พ ศ 2523 ประเทศไทยลงนามในกฎบัตรเพื่อการพัฒนาสาธารณสุข โดยสนับสนุนการสาธารณสุขมูลฐาน
พ ศ 2525 โครงการหมู่บ้านพึ่งตนเองทางสาธารณสุขมูลฐาน ทดลองใน 12 หมู่บ้านใน 9 เขต
พ ศ 2526 โครงการกองทุนบัตรสุขภาพ ได้ทำการทดลองใน 7 จังหวัด 8 ตำบล 1 หมู่บ้าน
พ ศ 2527 รัฐบาลประกาศเป็นปีรณรงค์สาธารณสุขมูลฐานแห่งชาติ เน้นการพัฒนากิจกรรม
สาธารณสุขมูลฐาน
พ ศ 2528 ได้มีการพัฒนาระบบส่งต่อ (Referral System) จัดตั้ง โรงพยาบาลสาขา (Extended OPD.)
พ ศ 2529 ชมรมแพทย์ชนบท และชมรมสาธารณสุขอำเภอ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขจัดตั้ง
คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.)
พ ศ 2530-2534
พัฒนาปรับเปลี่ยน รูปแบบ หลักเกณฑ์ กองทุนบัตรสุขภาพ
เพิ่มพื้นที่การดำเนินงานจังหวัด เร่งรัดพัฒนาคุณภาพชีวิต
การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขที่จำเป็นอย่างต่อเนื่อง
พ ศ 2535-2539 ดำเนินการ โครงการทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัย (ทสอ)
โครงการปรับโฉมสถานบริการสาธารณสุขทุกระดับ โดยหลัก 3 ส. (3 S = Smile, Smell &Surrounding)
พ ศ 2540-2544
ดำเนินการ โครงการ Health For All ต่อเนื่อง
เน้นการดำเนินการสาธารณสุขเชิงรุก เช่น โครงการดูแลสุขภาพอนามัยประชาชนที่บ้าน
โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
โครงการเมืองน่าอยู
นวัตกรรมสาธารณสุขไทยสู่สุขภาพดีถ้วนหน้า
ลักษณะของความเป็นนวัตกรรมสาธารณสุข
การให้บริการแบบใหม่หรือมีการคิดค้นวิธีการให้บริการใหม่เป็นสิ่งใหม่ที่ใช้การได้ใช้งานได้จริง คุ้มค่าคุ้มทุน ก่อให้เกิดการเรียนรู้และมีผลลัพธ์ที่ดี
เป็นบริการที่นำวิธีการจัดการระบบมาใช้ในการประเมินกระบวนการและผลลัพธ์ก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลง
บริการที่ใช้การประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยให้การให้บริการ
บริการที่แสดงออกถึงความคิดสร้างสรรค์ในการให้บริการ
บริการเดิมหรืออุปกรณ์เดิมที่มีอยู่มาปรับเปลี่ยน ปรับปรุง ดัดแปลง ต่อยอดจากของเดิม
แนวทางการพัฒนานวัตกรรมสาธารณสุข
กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการพัฒนานวัตกรรมสาธารณสุข
คิดรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมสาธารณสุข
ใช้ความร้เูดิมวิธีการเดิมขยันทำให้มากขึ้น ผลงานพัฒนาขึ้นใหม่
ใช้ความร้เูดิมวิธีการใหม่(เก่าจากที่อื่น) ผลงานพัฒนาขึ้นใหม่
ใช้ความร้ใูหม่ วิธีการเดิม ผลงานพัฒนาขึ้นใหม่
ใช้ความร้เูดิมวิธีการใหม่ (ใหม่จากที่อื่น) ผลงานพัฒนาขึ้น
ใช้ความร้ใูหม่ วิธีการใหม่ ผลงานพัฒนาขึ้นใหม่
ดำเนินการตามวิธีคิดรูปแบบการพัฒนานวัตกรรมสาธารณสุข
บทบาทพยาบาลกับนวัตกรรมทางการพยาบาลสาธารณสุข
ด้านคิดค้นนวัตกรรม หรือวางแผนใช้นวัตกรรม
ด้านเป็นผู้ใช้นวัตกรรม
ด้านการประเมินผล
สรุปแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-12
แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 1 (พ ศ 2503-2509)
เริ่มใช้กลวิธีการพัฒนาชุมชนในการปรับปรุงสุขาภิบาลหมู่บ้าน
เน้นการขยายสถานบริการสาธารณสุขเพื่อให้บริการพื้นฐานด้านสุขภาพแก่ประชาชน มีการผลิตบุคลากรสาธารณสุขให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ
มีการสร้างโรงพยาบาลใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นหลายแห่ง ส่วนโรงพยาบาลที่มีอยู่
แล้วก็ได้ขยายและปรับปรุงให้มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย งานปราบปรามและควบคุมโรคติดต่อ
แผนพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ ศ 2510-2514)
เน้นการสร้างสาธารณูปโภค บริการสาธารณสุขในระดับอำเภอและระดับตำบล
รัฐมีนโยบายจะขยายบริการสาธารณสุขให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
การเพิ่มจำนวนแพทย์ พยาบาล เตียงคนไข้และสถานีอนามัย
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 3 (พ ศ 2515-2519)
เป็นแผนแรกที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสังคม
ปรับปรุงส่วนราชการกระทรวงสาธารณสุขครั้งที่ 2 โดยแยกกรมการแพทย์และกรมอนามัยออกจากกัน และให้ทำหน้าที่เป็นกรมสนับสนุนวิชาการ
เรื่องการขาดแคลนเจ้าหน้าที่โดยเฉพาะแพทย์และพยาบาล เฉพาะอย่างยิ่งในส่วนภูมิภาค ประชาชนในชนบทห่างไกล
มีการให้การรักษาโดยไม่คิดเงินแก่ผู้มีรายได้น้อยเป็นครั้งแรก
(รักษาฟรีแก่ผู้มีรายได้น้อย)
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 4 (พ ศ 2520-2524)
เน้นการขยายการผลผลิตด้านการเกษตร
เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนหรือประชาชนในการพัฒนา
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 5 (พ ศ 2525-2529)
เน้นการแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาชนบท ส่งเสริมบทบาทและความร่วมมือจากภาคเอกชน
กองทุนบัตรสุขภาพ กองทุนพัฒนาหมู่บ้าน อัตราการเพิ่มของประชาชนเหลือ
ร้อยละ 2.04 พศ.2527 เป็นครั้งแรกที่พบผู้ป่วย HIV/AIDS
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ ศ 2530-2534)
แนวโน้มไปสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม มีการส่งเสริม พัฒนาคุณภาพและศักยภาพของชุมชนและองค์กร รณรงค์ในเรื่องคุณภาพชีวิต
จัดระบบส่งต่อเพื่อรองรับงานสาธารณสุขมูลฐานและการส่งต่อของสถานบริการทุกระดับในระบบบริการสุขภาพของประเทศ
รัฐได้ให้ความสำคัญอย่างมากในการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมเพื่อให้ไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศอุตสาหกรรมใหม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที 7 (พ ศ 2535-2539)
เน้นการเจริญด้านเศรษฐกิจและการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค ปัญหาสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม
ดำเนินโครงการทศวรรษแห่งการพัฒนาสถานีอนามัย ขยายหลักประกันสุขภาพจนสามารถครอบคลุมประชากรได้มากกว่า 2 ใน 3
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที 8 (พ ศ 2540-2544)
เน้นการพัฒนาศักยภาพคนด้านสุขภาพและพลานามัย ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนอย่างเป็นองค์รวมทั้งกาย ใจ และสติปัญญา
ส่งเสริมการกระจายอ านาจและการบริหารจัดการงานสาธารณสุขมูลฐานให้กับองค์กร ปกครองท้องถิ่น
อัตราการเพิ่มของประชาชนเหลือร้อยละ 0.72 โรคปอดอักเสบเริ่มเป็นปัญหาเนื่องจากสิ่งแวดล้อม
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ ศ 2545-2549)
เน้นคนเป็นศูนย์กลางปรับปรุงให้เป็นแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ
รัฐบาลประกาศนโยบายสุขภาพแห่งชาติ(30 บาทรักษาทุกโรค) ปรับระบบบริการเป็นการบริการปฐมภูมิ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ ศ 2550-2554)
การพัฒนาสุขภาพไทยไปสู่ระบบสุขภาพพอเพียงสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ยึดทางสายกลาง มีความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณ การมีเหตุผล มีระบบภูมิคุ้มกัน
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ ศ 2555-2559)
คนไทยภาคภูมิใจในความเป็นไทย มีมิตรไมตรีบนวิถีชีวิตแห่งความพอเพียง ยึดมั่นในวัฒนธรรมประชาธิปไตย และหลักธรรมาภิบาล การบริการสาธารณะขั้นพื้นฐานที่ทั่วถึง มีคุณภาพ สังคมมีความปลอดภัยและมั่นคง อยู่ใน สภาวะแวดล้อมที่ดี เกื้อกูลและเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน ระบบการผลิตเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน อยู่บนฐานทางเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองและแข่งขันได้ในเวทีโลก สามารถอยู่ในประชาคมภูมิภาคและโลกได้อย่างมีศักดิ์ศรี
ยังคงยึดหลักการปฏิบัติตาม “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง"
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ ศ 2560-2564)
มุ่งสู่การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยจากประเทศ ที่มีรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศที่มีรายได้สูง มีความมั่นคง และยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมี ความสุข
เป้าหมาย
การหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางสู่รายได้สูง
การพัฒนาศักยภาพคนให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศและการสร้าง สังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพ
การลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
การสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การบริหารราชการแผ่นดินที่มีประสิทธิภาพ
นายณัฐมงคล เชื้อไทย 600577