Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หลักการพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีและที่มีปัญหาสุขภาพ เกี่ยวกับความผิดปกติ…
หลักการพยาบาลผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีและที่มีปัญหาสุขภาพ
เกี่ยวกับความผิดปกติของอวัยวะสืบพันธุ์เพศสัมพันธ์
A tumor
มะเร็งปากมดลูก (cervical cancer)
สาเหตุ
สาเหตุ
เชื้อ Human Papilloma Virus; HPVโดยเฉพาะ type
16, 18, 31, 35, 39
, 45, 51, 52, 58, 59, 61, 66-68
ชนิด
Squamous cell carcinoma (SCC)
พบประมาณ ร้อยละ 80-85
เป็นการเปลี่ยนแปลงของ cervical intraepithelial neoplasia (CIN) แบ่งความรุนแรง 3 ระดับ คือ
well
moderately
poorly differentiated carcinoma
Adenocarcinoma
พบบริเวณ endocervix
พยาธิสภาพ
โรคมะเร็งปากมดลูกเกิดจากเซลล์บุของปากมดลูก บริเวณรอยต่อของเยื่อบุสแควมัสกับเยื่อบุคอลัมนา(Squamo-Columar Junction)
การเจริญเติบโตผิดปกติทั้งขนาด รูปร่าง และองค์ประกอบภายในเซลล์กลายเป็นรอยโรค และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
ควบคุมไม่ได้ และเข้าสู่มะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม สามารถแทรกซึมทำลายเนื้อเยือข้างเคียง จนกระทั่งกระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ
ได้ทางหลอดเลือดและ ระบบน้ำเหลืองของร่างกาย
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงทางนรีเวช
การมีคู่นอนหลายคน
การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย
การตั้งครรภ์หรือมีลูกหลายคน
การมีประวัติเป็นกามโรค
การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
การไม่มารับการตรวจคัดโรคมะเร็งปากมดลูก
ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายชาย
สตรีที่มีสามีเป็นมะเร็งขององคชาต
สตรีที่แต่งงานกับชายที่เคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก
ผู้ชายที่เคยเป็นกามโรค
ผู้ชายที่มีประสบการณ์ทางเพศตั้งแต่อายุน้อย
ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน
ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ
การสูบบุหรี่
ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ
สตรีที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำ
พันธุกรรม
การขาดสารอาหารบางชนิด
การวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูก
ประกอบด้วยการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจภายใน การตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา การตรวจทางห้องปฏิบัติการ และการตรวจทางรังสี
นอกจากเป็นการประเมินระยะของมะเร็งแล้ว ยังเป็นการตรวจหาภาวะแทรกซ้อน และโรคประจำตัวของผู้ป่วย ก่อนที่จะวางแผนการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
การแพร่กระจายของมะเร็งปากมดลูก
การลุกลามโดยตรง (direct invasion) ไปยังเนื้อเยื่อใกล้เคียง
ด้านข้างไปยังเนื้อเยื่อข้างปากมดลูก(parametrium)
ด้านบนเข้าไปในโพรงมดลูกกล้ามเนื้อมดลูกส่วนล่างและขึ้นไปถึง
ตัวมดลูกได้ มักพบในกรณีที่รอยโรคอยู่ภายในปากมดลูก
ด้านหน้าเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะอาจทำให้ผู้ป่วยถ่ายปัสสาวะเป็นเลือดและเกิดรูรั่วได้
ด้านหลังเข้าไปในลำไส้ตรง อาจทำให้ถ่ายอุจจาระเป็นเลือดและเกิดรูรั่วได้
ด้านล่างลงมาในผนังช่องคลอด
การแพร่กระจายทางหลอดน้ำเหลือง (lymphatic spreading)
กลุ่มปฐมภูมิคือต่อมน้ำเหลืองกลุ่มแรกที่มะเร็งปากมดลูกแพร่กระจายไปก่อนที่จะแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง
กลุ่มทุติยภูมิได้แก่ต่อมน้ำเหลือง parametrial, obturator, hypogastric, external iliac และ presacral
กลุ่มทุติยภูมิ ได้แก่ ต่อมน้ำเหลือง common iliac ,inguinal และ para-aortic
การแพร่กระจายทางกระแสเลือด (hematogenous spreading) มักพบในระยะท้าย ๆ ของมะเร็ง
การแบ่งระยะของมะเร็งปากมดลูก
ระยะ I
มะเร็งจำกัดอยู่ภายในปากมดลูกเท่านั้น การลุกลามไปที่ตัวมดลูกไม่นำมากำหนดระยะของมะเร็งปากมดลูก
ระยะ II
มะเร็งลุกลามออกนอกปากมดลูกแต่ไม่ถึงผนังด้านข้างของเชิงกราน มะเร็งลุกลามช่องคลอดแต่ลงมาไม่ถึงส่วนล่าง 1 ใน 3 ของช่องคลอด
ระยะ III
มะเร็งลุกลามถึงผนังด้านข้างของเชิงกราน การตรวจทางทวารหนักไม่พบช่องว่างระหว่างก้อนมะเร็งกับผนังด้านข้างของเชิงกราน หรือ มะเร็งลุกลามถึงส่วนล่าง
1 ใน 3 ของช่องคลอด ถ้ามีภาวะไตบวมน้ำ(hydronephrosis)หรือไตไม่ทำงาน(nonfunctioning kidney)ให้กำหนดอยู่ในระยะ III ยกเว้นว่าเกิดจากสาเหตุอื่น
ระยะ IV
มะเร็งลุกลามออกไปนอกอุ้งเชิงกราน หรือลุกลามเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะหรือไส้ตรง ภาวะเยื่อบุบวมบุลลัส (bullous edema)ไม่ถือว่าเป็นระยะ IV
การรักษา
การผ่าตัด (surgical treatment) ใช้สำหรับมะเร็งปากมดลูกระยะที่ I เป็นส่วนใหญ่และในระยะที่ IIA บางราย
รังสีรักษา (radiation therapy) ใช้รักษาได้ทุกระยะของมะเร็งปากมดลูก
เคมีบำบัด (chemotherapy) ใช้รักษาในระยะลุกลามมาก (advanced stage) และในกรณีที่มะเร็งกลับเป็นซ้ำ (recurrent tumor) ที่ไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่น
การรักษาร่วม (combined treatment) โดยใช้หลายวิธีร่วมกัน เช่น
การให้เคมีบำบัดพร้อมกับรังสีรักษา เรียกว่า “concurrent chemoradiation” ปัจจุบันเป็นวิธีมาตรฐานในการรักษา
ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามที่จะรักษาด้วยรังสี ซึ่งแนะนำให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการรักษา
การให้ยาเคมีบำบัดก่อนการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานเช่น ก่อนผ่าตัด เรียกว่า “neoadjuvant chemotherapy” มีจุดประสงค์
เพื่อทำให้ก้อนมะเร็งเล็กลงหรือ ระยะของมะเร็งลดลงทำให้สามารถผ่าตัดได้(operable)และอาจจะช่วยทำลายเซลล์มะเร็ง
ที่เริ่มแพร่กระจายและยังมีขนาดเล็ก (micrometastasis) ประสิทธิผลของการให้ยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัดอาจจะสูงขึ้นจาก
การที่ยาสามารถไปออกฤทธิ์ได้มากขึ้นเพราะยังไม่มีการรบกวนเส้นเลือดที่มาเลี้ยงก้อนมะเร็ง
การให้รังสีรักษาเมื่อพบว่ามะเร็งแพร่กระจายออกไปนอกปากมดลูกหลังการผ่าตัด เรียกว่า “adjuvant radiation therapy”
ซึ่งปัจจุบันจะให้ยาเคมีบำบัดร่วมด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการรักษา
การให้ยาเคมีบำบัดก่อนหรือหลังรังสีรักษา ปัจจุบันไม่นิยมใช้รักษามะเร็งปากมดลูก เพราะไม่ได้ทำให้ประสิทธิผล
ของการรักษาสูงขึ้น และอาจมีผลเสียต่อการรักษา
อ้างอิง
จตุพล ศรีสมบูรณ์. (2553). มะเร็งปากมดลูก: Cervical Cancer. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564, จาก
https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?
option=com_content&view=article&id=376:cervical-cancer&catid=40&Itemid=482
จตุพล ศรีสมบูรณ์. (2547). มะเร็งปากมดลูกการวินิจฉัยและการรักษา. ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : พี.บี.ฟอเรนบุ๊คส์ เซนเตอร์.
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)
ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกส่วน endometrial gland และ stroma ไปเจริญอยู่ที่ตาแหน่งอื่นนอกเหนือไปจากภายในโพรงมดลูก
สาเหตุ
ยังไม่ทราบ อาจสัมพันธ์กับภาวะมีบุตรยากที่ไม่ทราบสาเหตุและมักพบในสตรีวัยเจริญพันธุ์โดยเฉพาะช่วงอายุ 30-40 ปี
ปัจจัยเสี่ยง
สตรีที่มีระดูครั้งแรกอายุน้อย ช่วงรอบระดูสั้น และมีเลือดระดูออกมาก
พันธุกรรม สตรีที่มีมารดา พี่สาว หรือน้องสาวเป็นโรคนี้
มีพยาธิสภาพขัดขวางการไหลของระดู เช่นImperforate hymen
สตรีที่เข้าสู่ภาวะวัยหมดประจำเดือน (วัยทอง) ช้ากว่าปกติ
สตรีที่มีลูกคนแรกตอนอายุมาก ก็จะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้สูงขึ้น
นอกจากนี้ ยังพบว่าการดื่มแอลกอฮอล์ และกาแฟมากๆ ก็จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่สูงขึ้น
สตรีที่ไม่มีบุตรหรือมีบุตรน้อย
พยาธิสภาพ
เลือดออกในบริเวณรอยโรค พบ hemosiderin-laden macrophages และมักมีเซลล์แสดงการอักเสบและพังผืดอยู่รอบ ๆ ในรายที่
เป็ นมานาน ๆ หรือ endometrioma อาจไม่พบต่อมเยื่อบุโพรงมดลูก เนื่องจาก content ภายในก้อนเบียดกดจนฝ่อสลายไป เยื่อบุโพรงมดลูกที่อยู่ผิดที่ มักมีการเปลี่ยนแปลงไปตามฮอร์โมนของรอบระดู แต่อาจไม่เด่นชัดเหมือนเยื่อบุปกติ ทั้งนี้เพราะ receptor ของฮอร์โมนมีความแตกต่างออกไป
การวินิจฉัย
ซักประวัติถึงอาการและอาการแสดง
อาการและอาการแสดงที่สําคัญและพบได้บ่อย
เป็นมากขึ้นทุกๆ รอบเดือน (progressive dysmenorrhea)
ปวดภายในอุ้งเชิงกราน (pelvic pain)
ภาวะปวดประจําเดือน (dysmenorrhea)
คลําพบก้อนบริเวณท้องน้อย
มีบุตรยาก
การตรวจภายในช่องคลอด
อาจพบรอยโรคสีม่วงคล้าหรือสีแดง จากเลือดออกจากเมื่อสัมผัสถูก มักพบบริเวณ posterior fornix
กำรตรวจวินิจฉัยด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด
การตรวจวินิจฉัยด้วยกล้องส่องช่องท้อง (Diagnostic Laparoscopy)
เป็นการตรวจวินิจฉัยที่มีความแม่นยําสูง
Maker ในซีรั่ม
CA 125 เพื่อประเมินความรุนแรงได้
มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
( Endometrial Cancer )
ระบาดวิทยา (Epidemiology)
สำหรับประเทศไทยถือเป็นมะเร็งในระบบสืบพันธุ์สตรีที่พบบ่อยเป็นอันดับสาม รองจากมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งรังไข่
ปัจจัยเสี่ยง (Risk Factors)
1.อายุ
มะเร็งชนิดนี้พบได้มากในผู้ป่วยอายุ 40 ถึง 70 ปี โดยพบว่าส่วนมากเป็นผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้ว
2. ฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงผิดปกติ
ส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่สามารถลอกตัวออกมาเป็นประจำเดือนได้จนเกิดการหนาตัวผิดปกติและกลายเป็นมะเร็งในที่สุด
3. การได้รับฮอร์โมนเสริมจากภายนอก
เช่นการรับฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนในผู้หญิงบางรายที่มีอาการอันเนื่องมาจากภาวะวัยทอง
4. ภาวะอ้วนหรือน้ำหนักเกิน
BMI > 25 และวัยหมดระดูแล้ว มีอัตราการเปลี่ยน peripheral androstenedione ไปเป็นฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น ทำให้โอกาสมะเร็งได้สูง
5. ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic ovarian syndrome, PCOS)
ซึ่งมักมีอาการขาดประจำเดือนติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ร่วมกับอาการแสดงอื่นๆ ได้แก่ สิว ผิวหน้ามัน ขนดกแบบผู้ชาย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่การหนาตัวผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูกได้
6. พันธุกรรม
สตรีที่มีญาติสายตรงเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกจะมีโอกาสเสี่ยง
ระยะของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
ระยะที่ IIลุกลามเข้าเนื้อเยื่อปากมดลูก (cervical stroma)**
ระยะที่ III ลุกลามเฉพาะที่หรือเฉพาะบริเวณ
IIIA
ลุกลามไปถึงผิวนอกของมดลูกและ/หรือปีกมดลูก
IIIB
ลุกลามไปถึงช่องคลอดและ/หรือเนื้อเยื่อข้างปากมดลูก
IIIC
IIIC1
แพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองในอุ้งเชิงกราน (pelvic lymph nodes)
IIIC2
ต่อมน้ำเหลืองข้างหลอดเลือดเอออร์ตา (para-aortic lymph nodes)
ระยะที่ I มะเร็งจำกัดอยู่ที่ตัวมดลูก
IA
ไม่มีหรือมีการลุกลามเข้ากล้ามเนื้อมดลูกน้อยกว่าครึ่ง
IB
ลุกลามเข้ากล้ามเนื้อมดลูกมากกว่าหรือเท่ากับครึ่ง
ระยะที่ IV
IVA
ลุกลามไปเยื่อบุกระเพาะปัสสาวะหรือลำไส้
IVB
แพร่กระจายไปที่ต่างๆ ในช่องท้องและ/หรือต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ
อาการของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
ประจำเดือนมาผิดปกติ ในคนที่ยังไม่พ้นวัยหมดประจำเดือน
คลำเจอมดลูกโตบริเวณเหนือหัวหน่าวในอุ้งเชิงกรานหรือบริเวณช่องท้องน้อย
ตกขาวผิดปกติและมีกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ คล้ายกับโรคมะเร็งปากมดลูก
ปัสสาวะมีอาการผิดปกติ เช่น ปัสสาวะบ่อยเกินไป และมีอาการแสบขัด
เลือดออกทางช่องคลอดหลังวัยหมดประจำเดือน
อุจจาระมีอาการผิดปกติ เช่น ท้องผูกบ่อยๆ และมักจะปวดเบ่งเวลาอุจจาระ
มีอาการปวดท้องน้อยเรื้อรังและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
การวินิจฉัยมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
2. การเก็บชิ้นเนื้อโพรงมดลูกเพื่อส่งตรวจ (Endometrial biopsy)
การเก็บชิ้นเนื้อโดยใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กใส่เข้าไปในมดลูกเพื่อดูดเนื้อเยื่อโพรงมดลูกบางส่วนมาส่งตรวจ
3. การตรวจพิเศษอื่น
เช่น CT MRI หรือ PET-scan จะใช้เมื่อสงสัยมีการลุกลามของมะเร็งไปยังอวัยวะข้างเคียงหรือมีการแพร่กระจายไปบริเวณอวัยวะอื่น
1. การตรวจอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอด (Transvaginal ultrasound)
เพื่อประเมินความหนาของเยื่อบุโพรงมดลูก
การรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก (Treatment of endometrial cancer)
การประเมินก่อนการรักษา
ซักประวัติและตรวจร่างกาย เพื่อประเมินความพร้อมก่อนการรักษา และตรวจหาการกระจายของโรค
กระบวนการรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
1. การผ่าตัดเพื่อกำหนดระยะโรค (Surgical staging)
เป็นการรักษาหลักตามมาตรฐาน โดยเป็นการผ่าตัดมดลูกชนิดธรรมดา (Simple hysterectomy) ร่วมกับเลาะต่อมน้ำเหลืองเพื่อเป็นการกำหนดระยะโรค (Surgical staging)
2. การรักษาเพิ่มเติมหลังผ่าตัด (Adjuvant treatment)
ประเมินระยะของโรคและจำแนกความเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำ
กลุ่มความเสี่ยงต่ำ (Low risk)
ได้แก่ มะเร็งระยะ IA เกรด 1 หรือ 2 ไม่จำเป็นต้องรับการรักษาเพิ่มเติมเนื่องจากโอกาสกลับเป็นซ้ำต่ำมาก
กลุ่มความเสี่ยงปานกลาง (Intermediate risk)
ได้แก่ มะเร็งระยะ IA เกรด 3 มะเร็งระยะ IB ถึง IIA ควรได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษา
การให้รังสีรักษา (Radiotherapy)
ประกอบไปด้วย การใส่แร่ทางช่องคลอด (Vaginal brachytherapy; VBT) การฉายรังสีบริเวณอุ้งเชิงกราน (External beam pelvic radiation therapy; EBPRT) การฉายรังสีรักษาบริเวณช่องท้อง (Whole abdominal radiation therapy; WART) หรือการฉายรังสีรักษาขยายไปที่ช่องท้องด้านบน (Extended field radiation therapy; EFRT)
กลุ่มความเสี่ยงสูง (High risk)
ได้แก่ มะเร็งระยะ IIIA ขึ้นไป ถึง IV ควรได้รับการรักษาด้วยรังสีรักษาและพิจารณาเคมีบำบัดในผู้ป่วยบางราย
การให้เคมีบำบัด (Chemotherapy)
ในการรักษามะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกด้วยเคมีบำบัด มักจะพิจารณาในรายที่มะเร็งลุกลามมาก หรือมีการแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองรอบหลอดเลือดเอออร์ตา (IIIC2) หรือระยะที่ IV เพื่อหวังผลลดอัตราการกลับเป็นซ้ำบริเวณนอกอุ้งเชิงกราน (Extrapelvic recurrence)
อ้างอิง
ตั้งจิตกมล ศ. (2559). มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก Endometrial cancer. กรุงเทพฯ : คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช.
Di Saia PJ.(2012).Clinical Gynecologic Oncology.China: Elsevier Saunders.
ปรัชญาวรรณ ทองนอก.มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก Endometrial cancer[ออนไลน์].สืบค้นเมื่อวันที่ 21 พศจิกายน 2560.
จากเว็บไซต์:
https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1383:endometrial-
cancer&catid=45&Itemid=561.
มะเร็งรังไข่ (ovarian cancer)
คือ
เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของมะเร็งระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรี
พบได้ในผู้หญิงหลายช่วงวัยทั้งในวัยเด็กและวัยเจริญพันธุ์ แต่มักพบมากในผู้หญิงที่มีอายุ 40-60 ปี
โรคนี้เกิดจากการที่มีเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตในรังไข่ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญที่มีหน้าที่ในการผลิตไข่และฮอร์โมนเพศหญิง
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งรังไข่
คนในครอบครัวโดยเฉพาะ
มารดา
พี่สาว/น้องสาว
ลูกสาวมีประวัติสุขภาพเคยเป็นมะเร็งรังไข่
อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
มีประจำเดือนครั้งแรกก่อนอายุ 12 ปี
ยังไม่เคยตั้งครรภ์/คลอดบุตร
คลอดบุตรคนแรกหลังจากอายุ 30 ปีแล้ว
หมดประจำเดือนช้ากว่าอายุ 55 ปี
มีประวัติสุขภาพเคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งลำไส้
อาการของโรคมะเร็งรังไข่
รู้สึกอึดอัดในช่องท้อง
อาหารไม่ย่อย ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือปวดท้อง
รู้สึกอิ่มจนอึดอัดถึงแม้รับประทานอาหารอ่อนๆ
คลื่นไส้
ท้องเสีย ท้องผูก
ปัสสาวะบ่อย
เบื่ออาหาร
น้ำหนักขึ้นหรือลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
มีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด
แนวทางการรักษาโรคมะเร็งรังไข่
การผ่าตัด
หากแพทย์วินิจฉัยว่าเซลล์มะเร็งที่เจริญเติบโตในรังไข่ยังมีขนาดไม่ใหญ่และยังไม่มีการลุกลามมาก
แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อนำเอาก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบๆ ออก
หรืออาจผ่าตัดต่อมน้ำเหลืองในบริเวณใกล้เคียงออกด้วย
การใช้เคมีบำบัด
เป็นการใช้ยาในการฆ่าเซลล์มะเร็ง
เคมีบำบัดมีอยู่หลายรูปแบบ
เช่น
ยาฉีด
การใช้ยาเม็ด
ฉีดผ่านสายเข้าร่างกาย
เมื่อยาเข้าสู่กระแสเลือดแล้วจะเดินทางไปยังส่วนต่างๆ
ของร่างกายและฆ่าเซลล์มะเร็งที่อยู่ในร่างกาย (แต่ก็ส่งผลฆ่าเซลล์ร่างกายที่ดีด้วยเช่นกัน)
การใช้รังสีรักษา
เป็นการใช้รังสีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็งและทำให้ก้อนมะเร็งมีขนาดเล็กลง
การใช้รังสีนั้นอาจเป็นการฉายรังสี
จากภายนอกร่างกาย
และฉายตรงเข้าสู่ร่างกาย
การป้องกันมะเร็งรังไข่
ปัจจุบันยังไม่มีแนวทางเฉพาะสำหรับการป้องกันมะเร็งรังไข่
เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้
อีกทั้งมะเร็งรังไข่ในระยะแรกๆ มักไม่แสดงอาการ
ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดคือหมั่นสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย
รวมทั้งตรวจสุขภาพและตรวจภายในหรือทำอัลตราซาวนด์ช่องท้องอย่างน้อยปีละครั้งเพื่อตรวจเช็กว่ามีก้อนในช่องท้องหรือไม่
อ้างอิง
bumrungrad.(2563).มะเร็งรังไข่.สืบค้นเมื่อ 12 มกราคม 2563,จาก
https://www.bumrungrad.com/th/conditions/ovarian-cancer
มะเร็งปากช่องคลอด Vulva Cancer
สาเหตุและปัจจัย
เคยเป็นมะเร็งปากมดลูก
ภูมิคุ้มกันต่ำ
การติดเชื้อเรื้อรังบริเวณอวัยวะเพศ
โรคประจำตัว
ประวัตืระดูหมดเร็ว
ปัจจัยส่งเสริม เช่น บุหรี่
อายุ
อาการ
คันปากช่องคลอดเรื้อรัง (pruritus vulva)
มีก้อนขรุขระเหมือนหูดขนาดใหญ่หรือมีแผลเรื้อรังที่ปากช่องคลอดหรือ Labia majora มีหนองหรือเลือดออกที่แผล
ต่อมน้ำเหลืองที่ขาโต
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
ตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ แน่นอนที่สุด
Keys punch biopsy
Wedge biopsy
การรักษา
Redical vulvectomy และ Inguinal Lymphadenectomy
การผ่าตัดอวัยวะสืบพันธุ์และต่อมน้ำเหลืองข้างขาหนีบทั้ง 2 ข้าง
Simple vulvectomy or Hemivulvectomy
สำหรับมีรอยโรคเกิดขึ้นหลายๆแห่ง
รังสีรักษาหลังการผ่าตัด
ลดการกลับมาเป็นซ้ำที่ขาหนีบในผู้ป่วยมะเร็งที่กระจายมาที่ต่อมน้ำเหลืองมากกว่า 2 ต่อมขึ้นไป
การพยาบาล
ก่อนและหลังผ่าตัด
หลังการผ่าตัด Redical vulvectomy อาจเกกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลเเยก อักเสบติดเชื้อ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ น้ำเหลืองคั่ง ชาที่โคนขา กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ผู้ป่วยรับรังสีรักษา
การกลับเป็นซ้ำ
การเกิดการกลับเป้นซ้ำได้(Local recument) พบมากในผู้ป่วยที่มีขนาดมะเร็งใหญ่กว่า 4 cm และขอบของการผ่าตัดห่างจากมะเร็งน้อยกว่า 2 cm
รักษาด้วยรังสีร่วมกับการผ่าตัด
การกลับเป็นซ้ำในที่อื่นๆ (Distant recument) พบมากถ้าต่อมน้ำเหลืองมีมะเร็งมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ต่อมขึ้นไป
รักษาด้วยเคมีบำบัด หรือเคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา(Chemoradiation)
การเเพร่กระจาย
การเเพร่กระจายไปตามหลอดน้ำเหลือง ไปยังต่อมน้ำเหลืองข้างขาหนีบและในอุ้งเชิงกราน
การเเพร่กระจายทางแระเเสเลือด ไปยังอวัยวะห่างไกล เช่น ตับ ปอด กระดูก มักพบระยะลุกลามของมะเร็ง
การลุกลามไปอวัยวะใกล้เคียง เช่น ช่องคลอด ท่อปัสสาวะ และทวารหนัก
ระยะของมะเร็ง
ระยะ II
รอยโรคไม่จำกัดขนาดมีการกระจายไปอวัยวะข้างเคียงแต่ไม่พบในต่อมน้ำเหลือง
ระยะ III
รอยโรคไม่จำกัดขนาดมีการกระจายไปอวัยวะข้างเคียงและพบในต่อมน้ำเหลือง
IIIB
กระจายไปต่อมน้ำเหลืองขาหนีบ มากกว่าหรือเท่ากับ 2 ต่อม ขนาด มากกว่าหรือเท่ากับ 5 cm
กระจายไปต่อมน้ำเหลืองขาหนีบมากกว่าหรือเท่ากับ 3 ต่อม ขนาดน้อยกว่า 5 cm
IIIC
กระจายไปต่อมน้ำเหลืองขาหนีบและมีการกระจายไป extracapsule
IIIA
กระจายไปต่อมน้ำเหลืองขาหนีบ 1 ต่อม ขนาด มากกว่าหรือเท่ากับ 5 mm
กระจายไปต่อมน้ำเหลืองขาหนีบ 1-2 ต่อม ขนาด น้อยกว่า 5 mm
ระยะ I
รอยโรคจำกัดอยู่เเค่ปากช่องคลอด
IA
รอยโรคขนาด มากกว่าเท่ากับ 2 cm ไม่มีการกระจายไปต่อมน้ำเหลือง
IB
รอยโรคขนาดมากกว่า 2 cm ไม่มีการกระจายไปต่อมน้ำเหลือง
ระยะ IV
รอยโรคเเพร่กระจายไป 2/3 ส่วนบนของท่อปัสสาวะ หรือ 2/3 ส่วนบนของช่องคลอด หรือไปอวัยวะที่ห่างไกล
IVA
รอยโรคแพร่กระจายไปส่วนบนของท่อปัสสวาะหรือส่วนบนของช่องคลอด เยื่อบุกระเพาะปัสสาวะ เยื่อบุลำไส้ตรง กระดูกเชิงกราน หรือมีต่อมน้ำเหลืองขาหนีบมีลักษณะติดแน่นหรือเป็นแผล Ulcer
IVB
เเพร่กระจายไปอวัยวะที่ห่างไกลรวมถึงต่อมน้ำเหลืองเชิงกราน
อ้างอิง
พญ.จุฬาลักษณ์ จิระพัฒน์สกุล. 2016. มะเร็งปากช่องคลอด(Vulvar cancer). สืบค้นเมื่อ 13/01/21. จาก
Link Title
เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก Leiomyoma
คือ
เป็นรอยโรคทางนรีเวชที่พบบ่อยที่สุด
เป็นสาเหตุของการผ่าตัดมากที่สุดในโรคทางนรีเวช
โดยจะพบได้ประมาณ 50% ของสตรี ส่วนมากไม่มีอาการ
ในรายที่มีอาการจะขึ้นกับชนิดของเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกซึ่งแบ่งตามตำแหน่งของเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก
ชนิด
ชนิดแรก เนื้องอกที่ผิวด้านนอกมดลูก(Subserous myoma)
กลุ่มนี้มักจะไม่มีอาการ
ขนาดมักจะใหญ่
อาการที่เกิดมักเกิดจากขนาดของก้อนไปกดเบียดอวัยวะอื่น เช่น
กดกระเพาะปัสสาวะทำให้ปัสสาวะบ่อย
กดลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดอาการท้องผูก
กดท่อไตทำให้ท่อไตบวม
การทำงานของไตแย่ลงอาจถึงภาวะไตวาย
ชนิดที่สอง เนื้องอกที่กล้ามเนื้อมดลูก (Intramural myoma)
เนื้องอกภายในกล้ามเนื้อของมดลูก
ขัดขวางการบีบรัดตัวของมดลูก หรือขนาดใหญ่หรือใกล้โพรงมดลูก
เป็นผล
ทำให้มีอาการปวดท้องประจำเดือน
ประจำเดือนมามาก
ในบางรายขนาดเนื้องอกใหญ่มากอาจทำให้มดลูกโตและไปเบียดอวัยวะอื่นๆ
ทำให้เกิดความผิดปกติ
ชนิดที่สาม เนื้องอกมดลูกที่โพรงมดลูก (Submucous myoma)
เนื้องอกชนิดนี้อยู่ในกล้ามเนื้อใต้เยื่อบุโพรงมดลูก
ทำให้พื้นผิวในโพรงมดลูกไม่เรียบ
ซึ่งจะทำให้
มีเลือดออกผิดปกติ
ประจำเดือนกระปริดประปรอยระหว่างรอบเดือน
ปวดท้องประจำเดือน
เป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยาก
แนวทางการรักษา
กรณีไม่มีอาการ
ไม่ต้องทำการรักษาใดๆ
แนะนำ
และตำแหน่งของก้อนเนื้องอกมดลูก
ให้ตรวจติดตามต่อเนื่องเพื่อติดตามขนาด
กรณีมีอาการ
การรักษาหลัก คือ
การลดขนาดของเนื้องอกมดลูก
การลดขนาดของเนื้องอกมดลูก
ทางเลือกในการรักษา
การรักษาโดยใช้ยา
มีหลักฐานการวิจัยยืนยัน ได้แก่
การฉีดยา GnRH agonist.
เพื่อลดขนาดของก้อนเพื่อเข้ารับการผ่าตัด
การใช้ยากลุ่มอื่น
เช่น
การฉีดยาคุมกำเนิด
การทานยาคุมกำเนิด
สามารถช่วยได้ในเรื่องของการมีประจำเดือนมามาก แต่บางการศึกษาพบว่า เป็นการกระตุ้นให้ก้อนเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกโตขึ้นได้
การรักษาโดยการผ่าตัดเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก
1.การส่องกล้องทางโพรงมดลูก hysteroscopy
สามารถใช้ในการผ่าตัดรักษาเนื้องอกมดลูกที่อยู่ในโพรงมดลูก หรือที่มีการเบียดโพรงมดลูก
วิธีการผ่าตัดนี้ จะไม่มีแผลผ่าตัด
จะสอดกล้องผ่านช่องคลอด ปากมดลูกเข้าสู่โพรงมดลูก และใช้ลวดไฟฟ้าในการตัดเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก
ทำให้
สามารถฟื้นตัวได้เร็ว
ข้อจำกัดของการส่องกล้องทางโพรงมดลูก ได้แก่
ขนาดของเนื้องอกมดลูก
ดังนั้นการตรวจพบแต่เนิ่นๆจะทำให้สามารถรักษาได้ง่ายขึ้น
2.การส่องกล้องทางช่องท้อง Laparoscopy
การส่องกล้องทางหน้าท้องสามารถผ่าตัดรักษาเนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูกได้เทียบเคียงกับการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง
โดยจะมีแผลผ่าตัด
ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร
ขนาด 0.5-1 เซนติเมตร
1 more item...
ส่วนสำคัญคือ
การนำเนื้องอกออกจากช่องท้องหลังจากผ่าตัดแล้ว โดยเฉพาะก้อนที่มีขนาดใหญ่
การนำเนื้องอกออกจากช่องท้องหลังจากผ่าตัดแล้ว โดยเฉพาะก้อนที่มีขนาดใหญ่
เพื่อป้องกันการกระจายของเนื้องอกไปฝังตัวในช่องท้องตำแหน่งอื่น
การผ่าตัดส่องกล้องจะช่วยให้ผู้ป่วยใช้เวลาฟื้นตัวน้อยกว่า
เจ็บแผลน้อย ทำให้กลับสู่ชีวิตประจำวันได้อย่างรวดเร็ว
อาการ
มีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้น
บางทีไม่มีประจำเดือนแต่ก็รู้สึกปวดท้องคล้ายปวดประจำเดือนอยู่ตลอดเวลา
อาการประจำเดือนมามากผิดปกติ
ถ้าเนื้องอกมดลูกมีขนาดใหญ่ อาจจะไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ก็จะทำให้มีอาการปัสสาวะบ่อย
ถ้าเนื้องอกมดลูกไปกดทับบริเวณลำไส้ตรง ก็อาจทำให้ท้องผูก
อ้างอิง
nonthavej.(2557).เนื้องอกมดลูก.สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564,จาก
https://www.nonthavej.co.th/Leiomyoma.php
มะเร็งเนื้อรังไข่
รังไข่
คือรังไข่ เป็นอวัยวะที่มีเฉพาะในเพศหญิง จะมีลักษณะเป็นรูปไข่โดยปกติขนาด 2-3 ซม. (ประมาณไข่นกกระทา) อยู่ที่ปีกมดลูกทั้ง 2 ข้าง
มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ
-การผลิตไข่ เมื่อไข่ได้รับการผสมตัวจากเชื้ออสุจิ จะฝังตัวที่มดลูกเพื่อเจริญเป็นตัวอ่อนต่อไป หากไข่ไม่ได้รับการผสมตัว ไข่จะสลายไป
-ผลิตฮอร์โมน ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายของเด็กหญิง เพื่อเข้าสู่วัยสาว เช่น หน้าอกโตขึ้น สะโพกผาย เสียงแหลม มีขนขึ้นบริเวณหัวหน่าวและรักแร้
เนื้องอกรังไข่แบ่งออกเป็น 3 ชนิด
-ถุงน้ำ (Cyst)เป็นเนื้องอก ที่มีลักษณะเป็นถุง ภายในบรรจุของเหลว น้ำ เนื้อเยื่อ
-เนื้องอกธรรมดาหรือชนิดไม่ร้ายแรง (Benign)
-อาการของเนื้องอกรังไข่ชนิดไม่ร้ายแรง
1.มีความผิดปกติของประจำเดือน
2.ปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากเนื้องอกอาจไปกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ
4.ท้องโตขึ้น
5.ปวดท้องเฉียบพลัน อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อน เมื่อเนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้นเกิดการแกว่งตัวบิดขั้ว แตกออก เกิดการตกเลือด ติดเชื้อ
-เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง (Malignant)
-อาการที่ควรสงสัยว่าเป็นเนื้องอกรังไข่ชนิดเนื้อร้าย (มะเร็งรังไข่)
1.เบื่ออาหาร น้ำหนักลดเนื่องจากก้อนเนื้อโตเร็ว
2.อาจพบภาวะท้องมาน(มีน้ำในช่องท้อง) จากการตรวจร่างกายหรืออัลตราซาวด์ เนื่องจากมีการกระจายของเซลล์มะเร็งไปอวัยวะอื่นๆ
3.ผลการตรวจชิ้นเนื้อ สามารถจำแนกประเภทของเนื้องอกรังไข่ได้
สาเหตุของการเกิดยังไม่ทราบชัดเจนแต่พบว่ามีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่
-กรรมพันธุ์ ประวัติการเป็นมะเร็งของยาย ป้า มารดา พี่สาว น้องสาว
-หญิงที่เลี้ยงบุตรด้วยนมตนเอง พบว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่า
-อายุเข้าสู่วัยทองหรือมากกว่า 55 ปีขึ้นไป
การตรวจวินิจฉัยของแพทย์
1.แพทย์ซักประวัติ สอบถามอาการและตรวจร่างกายทั่วไป
2.ตรวจโดยการคลำทางหน้าท้อง อาจพบก้อน
3.ตรวจภายในหรือตรวจทางทวารหนัก
4.ตรวจด้วยการอัลตราซาวด์ ผ่านทางหน้าท้องหรือช่องคลอด
5.ตรวจโดยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan)
6.ตรวจโดยการเอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
แนวทางการรักษา
-กรณีแพทย์ตรวจวินิจฉัยแล้ว พบว่าเป็นเนื้องอกรังไข่ชนิดไม่ร้ายแรงจะรักษาด้วยยาและเฝ้าติดตามอาการว่าเนื้องอกยุบลงหรือโตขึ้น อาจจะนัดอัลตราซาวด์เป็นระยะ
-กรณีแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งรังไข่ แพทย์จะผ่าตัดเนื้อร้ายออกให้มากที่สุดและรักษาร่วมกับยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษา
-กรณีผ่าตัดสำหรับเนื้องอกรังไข่ชนิดธรรมดา โดยพิจารณาข้อบ่งชี้ คือ หากรักษาด้วยยาและติดตามการรักษาเป็นระยะแล้วก้อนไม่ยุบ โตขึ้นหรือมีภาวะแทรกซ้อนปวดเฉียบพลันจากการบิดขั้วของเนื้องอก มีการแตกของเนื้องอก มีเลือดออก แพทย์จะแนะนำให้ทำการผ่าตัด
การผ่าตัดทางนรีเวชมี 2 แบบ
1.การผ่าตัดแบบดั้งเดิม
คือ เป็นการผ่าเปิดแผลหน้าท้องยาวประมาณ 10 ซม.ซึ่งต้องใช้เวลาพักหลังผ่าตัดนาน มีแผลเป็น
2.การผ่าตัดด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
คือ การผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช (Gynecological Laparoscopic surgery) เหมาะสำหรับการผ่าตัดโรคทางนรีเวช เช่น โรคเนื้องอกรังไข่ ถุงน้ำรังไข่ ช็อกโกแลตซีสต์ เป็นต้น แต่อาจจะไม่เหมาะสำหรับมะเร็งอวัยวะสืบพันธุ์เพราะอาจจะไปเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง
เครื่องมือผ่าตัดแบบพิเศษนี้ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้
-กล้องเล็กๆ มีเลนส์ขยายภาพต่อเข้าเครื่องรับสัญญาณแสดงภาพที่จอ
-แหล่งกำเนิดแสง ช่วยให้ภาพชัดเจน
-คีมหยิบจับเนื้อเยื่อ
-กรรไกรสำหรับตัดเนื้อเยื่อ เลาะพังผืด
-เครื่องจี้หยุดเลือด
-อุปกรณ์สำหรับเย็บ
ข้อดีของการผ่าตัดผ่านกล้องทางนรีเวช
1.แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กมาก เจ็บแผลน้อย
2.เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวเร็ว
3.หลังผ่าตัดส่วนใหญ่สามารถรับประทานอาหารได้ทันที
4.นอนพักโรงพยาบาลประมาณ 1-2วัน ซึ่งการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องจะใช้เวลาพักนานกว่า
ขั้นตอนการผ่าตัดแบบผ่านกล้องทางนรีเวช
วิสัญญีแพทย์จะวางยาสลบผู้ป่วย (General anesthesia) จากนั้นแพทย์จะเจาะรูหน้าท้องเป็นรูเล็กๆขนาด0.5-1 ซม.ประมาณ 3-4 รูเพื่อเป็นช่องทางสำหรับใส่เครื่องมือผ่าตัดขนาดเล็กๆเข้าไป ระหว่างทำการผ่าตัดแพทย์และทีมงานจะสามารถเห็นอวัยวะภายในโดยดูผ่านจอภาพที่ส่งสัญญาณจากกล้องส่อง
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดโดยทั่วไป
1.งดน้ำและอาหารก่อนผ่าตัด 6-8 ชม.
2.ผู้ป่วยลงนามในหนังสือยินยอมผ่าตัด
3.ในรายที่อาจมีปัญหาในการดมยาสลบ
-การเตรียมตัวก่อนผ่าตัด: Vaginal Dough เย็น-เช้า, สวนอุจจาระ, Retained catheter / Void ก่อนไป OR
เตรียมความสะอาดบริเวณหน้าท้อง โกนขนตั้งแต่ใต้ลิ้นปี่ถึงหัวหน่าว
การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัด
1.การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง ต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 24 ชม.จนกว่าแพทย์จะอนุญาตให้รับประทาน หากเป็นการผ่าตัดผ่านกล้อง โดยส่วนใหญ่สามารถรับประทานอาหารได้ทันที ทั้งนี้ต้องอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ด้วย
2.หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์และการยกของหนักสักระยะ แพทย์จะเป็นผู้พิจารณากำหนดระยะเวลาดังกล่าว
3.ห้ามให้แผลเปียกน้ำ
4.สามารถเดินออกกำลังกายได้
5.รับประทานยาสม่ำเสมอตามคำสั่งแพทย์
6.มาพบแพทย์ตามนัด
การรักษา
แบบไม่ต้องผ่าตัด
รายที่เนื้องอกขนาดน้อยกว่า8cms.ให้สังเกตอาการทุก2-3เดือน
แบบผ่าตัดรายที่สงสัยเป็นมะเร็ง
Ovariancystectomy:ตัดเฉพาะถุงน้ํา/ก้อนเนื้องอกออกทําในรายที่อายุน้อย
Unilateralsalpinggo-oophorectomy:ผ่าตัดรังไข่และท่อนําไข่ออกข้างเดียว
Totalabdominalcysterectomywithbisalpingo-oophorectomy:
และต้องการมีบุตร ผ่าตัดมดลูกและท่อนําไข่ทิ้งทั้ง2ข้าง
การพยาบาล Post Operation
วันที่1
การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนจาก (General Anasthesia)
-Conscious ให้นอนรบตะแคงหน้าเพื่อให้เลือดไปเลี้ยงสมองและป้องกันการสำลัก
V/S if RR < 14 /min ให้ O2 cannula
Observe Bleeding ประเมินจากแผล และ ค่า V/S
แผล พบเลือดซึม Gaue วงด้วยปากกาน้ำเงิน
-V/S if BP < 90/60 , P > 100 bpm ระวัง Shock
ประเมิน Pain score พร้อมให้การพยาบาลที่เหมาะสม
วันที่2
กระตุ้น Early ambulation ให้ลุกจากเตียง เข้าห้องน้ำเอง
2.ประเมิน Painพร้อมให้การพยาบาลที่เหมาะสม
ประเมินBowel sound และเริ่ม Step diet
Observe Bleeding
วันที่3
Early ambulation
Fowler's position
ประเมิน Bowel sound (6-12/m.)...5-6/m
Observe การอักเสบของแผล & Discharge + (Vg.)
Dressing ปิดด้วย Tegaderm หากแพทย์เปิดแผล
แนะนำการดูแลแผล + อาหารส่งเสริมการหายของแผล
วันที่4
Ambulation
Observe การอักเสบของแผล / Discharge
แนะนำการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับโรคที่เป็น & การปฏิบัติตัวที่บ้าน
หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เพิ่มแรงดันในช่องท้อง เพื่อป้องกันแผลแยก
ไม่ยกของหนัก เกิน 3 กก. 6-8 สัปดาห์
การเดินขึ้น - ลงบันไดบ่อยๆ
การไอจาม
มะเร็งเนื้อรก
Gestational Trophoblastic Disease; GTD
ครรภ์ไข่ปลาอุก
Molar pregnancy/Hydatidiform mole
ชนิด
Complete molar pregnancy
Partial molar pregnancy
สาเหตุ
มีระดูน้อย/ช้ากว่าปกติ
อายุสตรีตั้งครรภ์อายุมากกว่า40ปี
HX.Molar pregnancy
อาการและอาการแสดง
ขนาดมดลูกโตผิดปกติ
พบเม็ดMoles
อาการของการตั้งครรภ์
เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด
ภาวะครรภ์เป็นพิษ
No feral heart sound/No fetus part
ถุงน้ำชนิด Theca lute in cyst
Trophoblastic embolization เกิดจาก Trophoblast cell กระจายไปที่ปอด
การวินิจฉัย
ซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
การตรวจภายใน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การเจาะเลือดตรวจหาระดับ beta-hogพบ>100,000 mIU/ml
การตรวจพิเศษ
Pelvic Ultrasonography
พบ snow storm pattern
Chest X-ray
มี bilateral pulmonary infiltration ในผู้ป่วยที่มีอาการ Trophoblastic embolization
Amniography
การฉีดสารทึบแสงเข้าไปในโพรงมดลูกแล้วถ่ายภาพ X-ray
การรักษา
การนัดตรวจตามการรักษาภายใน2ปีแรก
การให้ยาเคมีบำบัด
การทำให้ภาวะตั้งครรภ์สิ้นสุดลง
Uterine curettage ขูดมดลูก อายุครรภ์ไม่เกิน12สัปดาห์
Suction curettage ทำในรายที่ขนาดใหญ่เกิน 12 สัปดาห์ ควรให้oxytocin หลังขูด24ช.ม.เพื่อลดการเสียเลือด
Hysterectomy
ไม่นิยมใช้เสียเลือดมากกว่า suction curettage
ทำได้ในผู้ที่ไม่ต้องการมีบุตร
Hysterectomy with mole in situ
หัตถการนี้มีเสียเลือดมากระหว่างผ่าตัด
Hysterectomy after suction curettage
เสียเลือดน้อยกว่ามดลูกมีขนาดเล็กลง
พยาธิ
trophoblast ของรก บางตัวผิดปกติ โดย chorionic villi ที่เสื่อมจะเปลี่ยนเป็นถุงน้ำกระจายแทนที่บริเวณของรก โดยไม่มี embryo หรือ fetus
ผลต่อการตั้งครรภ์ครั้งต่อไปและการดูแลรักษา
อัตราเสี่ยงต่อการกลับเป็นซ้ำจะสูงขึ้นประมาณ 5-10 เท่าของสตรีตั้งครรภ์ทั่วไป
บางรายงานพบสูงถึง 20-40 เท่า
ประมาณร้อยละ 1.3 ของการตั้งครรภ์ แต่ก็สามารถที่จะตรวจพบและรักษาได้ตั้งแต่เริ่มแรก
การดูแลผู้ป่วยเมื่อตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
ให้มาฝากครรภ์ทันทีที่รู้ว่าตั้งครรภ์
ตรวจยืนยันการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้เป็นครรภ์ไข่ปลาอุกซ้ำอีก
หลังคลอดหรือแท้งก็ตาม ต้องตรวจรกหรือ conceptive products อย่างละเอียด
. ตรวจหาระดับของ hCG 6 สัปดาห์ ภายหลังสิ้นสุดการตั้งครรภ์ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มี trophoblastic neoplasia หลงเหลืออยู่
มะเร็งเนื้อรก
Gestational Trophoblastic Neoplasia
อาการและอาการแสดง
เลือดออกกะปริดกะปรอยทางช่องคลอดเนื่องจากมีการแพร่กระจายของมะเร็งเข้าไปในกล้ามเนื้อหรืออาจทะลุจนมีเลือดออกในช่องท้องได้
central necrosis และมีเลือดออกภายในก้อนมะเร็ง ผู้ป่วยจึงมีอาการหลากหลายแล้วแต่ตำแหน่งที่มะเร็งแพร่กระจาย
เช่น
เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดซึ่งเป็นอาการหลักของมะเร็งชนิดนี้
ไอเป็นเลือด
ปัสสาวะเป็นเลือด
ตัว/ตาเหลือง
การวินิจฉัย
ซักประวัติ
เกี่ยวข้องกับอวัยวะที่มีเนื้องอกกระจายออกไป
ไอเป็นเลือด
เหนื่อย
ปวดศรี
ตามัว
อุจจาระเป็นเลือด
ปัสสาวะเป็นเลือด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เจาะเลือดหา tumor marker ได้แก่Beta--hCG
ผลชิ้นเนื้อที่ตรวจได้เป็น choriocarcinoma
การตรวจพิเศษ
Chest X-ray
ใช้ในการตรวจหาการแพร่กระจายไปยังปอด
CT scan
ตรวจการแพร่กระจายไปยังสมอง
Ultrasound
จะพบ Metastatic evidence รอยโรคที่มีการแพร่กระจาย
พยาธิวิทยา
เกิดขึ้นตามหลังการตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก โดยมีการแพร่กระจายเข้าไปยังชั้นของกล้ามเนื้อมดลูก หรือเข้าสู่กระแสเลือดแล้วกระจายไปยังอวัยวะสืบพันธุ์ส่วนล่างหรือปอด
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
Nonmetastatic trophoblastic disease (NMTD) มะเร็งเนื้อรกที่มีการลุกลามเฉพาะที่ตัวมดลูกเท่านั้น
Metastatic trophoblastic disease (MTD) มะเร็งชนิดที่มีการแพร่กระจายทางหลอดเลือด เกิดหลัง molar pregnancy
การรักษา
ผู้ป่วยกลุ่ม low risk
ใช้การผ่าตัด Total Abdominal Hysterectomy ร่วมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัด (Metrotrexate+Actinomycin D+Cyclophosphmide)
ผู้ป่วยกลุ่ม high risk
ใช้การผ่าตัด Total Abdominal Hysterectomy ร่วมกับการรักษาด้วยเคมีบำบัด(Metrotexate+Actinomycin D)
การพยาบาล
การพยาบาลก่อน-หลังผ่าตัด
การพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด (ทั้งก่อนได้รับ ขณะได้รับ และหลังได้รับ)
คำจำกัดความ
ครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar pregnancy หรือ Hydatidiform mole) เป็นชนิดหนึ่งของ Gestational Trophoblastic Disease (GTD) ซึ่งเป็นคำเรียกกลุ่มโรคที่เกิดจากการแบ่งตัวอย่างผิดปกติของ placental trophoblast ซึ่งเป็นโรคที่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากการตั้งครรภ์ ลักษณะทางhistology สามารถแบ่งโรคกลุ่มนี้ออกเป็น
Benign
Benign GTD ได้แก่ ครรภ์ไข่ปลาอุก (molar pregnancy/ hydatidiform mole)
Malignant
Malignant GTD จะรวมเรียกเป็นมะเร็งเนื้อรก หรือ Gestational trophoblastic tumor/neoplasia (GTT/GTN)
อ้างอิง
พ.ญ. นวลอนงค์ วงศ์ขันแก้ว.(2016). ครรภ์ไข่ปลาอุก (Molar pregnancy/Hydatidiform mole).
สืบค้น 14/1/2564,จาก
https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1257:molar-pregnancy-hydatidiform-mole&catid=45&Itemid=561
B aub
วัยหมดระดู (Menopause)
หมายถึง
วัยของผู้หญิงและผู้ชายที่มีอายุในช่วง 40-59 ปี ซึ่งอยู่ระหว่างวัยเจริญพันธุ์และวัยผู้สูงอายุ
เป็นวัยที่ความสามารถในการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงเนื่องจากรังไข่หยุดทำงานจนเกิดการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย และมีโอกาสเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพได้ง่าย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น
แบ่งเป็น 3 ระยะ
1.ระยะก่อนหมดประจำเดือน (perimenopause)
เป็นระยะเริ่มของการหมดประจำเดือนทำให้สตรีมีประจำเดือนมาผิดปกติ ร่วมกับมีอาการทางร่างกาย เช่น ร้อนวูบวาบ มึนศีรษะ อ่อนเพลีย อารมณ์จะแปรปรวน ซึ่งระยะนี้จะเกิดประมาณ 2-3 ปี
2.ระยะหมดประจำเดือน (menopause)
เป็นระยะที่เริ่มตั้งแต่การหมดประจำเดือนมาแล้วเป็นเวลา 1 ปี
3.ระยะหลังหมดประจำเดือน (postmenopause)
เป็นระยะที่เริ่มตั้งแต่หลังหมดประจำเดือนมาแล้ว 1 ปี ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ ช่องคลอดตีบแคบ กระดูกพรุน และเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่างๆได้ง่าย
อาการของวัยหมดระดู
อาการระยะสั้น
ด้านจิตใจ มักพบเกิดอาการซึมเศร้า อารมณ์หงุดหงิด มีความวิตกกังวลง่าย
ช่องคลอดแห้ง จากระดับเอสโตรเจนที่ลดลง ทำให้มีปัญหาในการร่วมเพศ มีอาการคัน อาการการอักเสบของช่องคลอด มดลูก และช่องคลอดหย่อน ความต้องการทางเพศลดลง
นอนไม่หลับ อันเป็นผลของอาการร้อนวูบวาบ
โอกาสมีลูกน้อยลง จากการตกไข่ที่ไม่แน่นอน และไม่สามารถมีลูกได้อย่างถาวร หลังประจำเดือนไม่มาเต็ม 1 ปี
อาการร้อนวูบวาบ จากการแปรปรวนของระดับฮอร์โมนทำให้ร่างกายควบคุมอุณหภูมิผิดปกติ โดยจะมีอาการมากในช่วง 2-3 ปี แรก หลังหมดประจำเดือน และจะค่อยๆ ลดลงใน 1-2 ปี
ผิวหนังเหี่ยวแห้ง ขาดความยืดหยุ่น เป็นแผล และกระได้ง่าย
ประจำเดือนมาไม่ปกติ มาติดกันหรือห่างจากกันมาก บางรายอาจมีเลือดออกผิดปกติ
เต้านมเล็กลง หย่อน ไม่เต่งตึง
อาการระยะยาว
ปัญหาของทางเดินปัสสาวะ
ผลจากระดับกระดูกสันหลังที่ลดลงทำให้เยื่อบุผนังท่อปัสสาวะบางลง และกระเพาะปัสสาวะหย่อนยาน ทำให้มีอาการแสบร้อนขณะปัสสาวะ และมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
กระดูกพรุน
การขาดเอสโตรเจนของวัยหมดประจำเดือนจะทำให้มีการทำลายเนื้อกระดูกมากขึ้นถึงร้อยละ 5 ต่อปี จนเกิดเป็นโรคกระดูกพรุนตามมา โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกข้อมือ และกระดูกสะโพก เป็นต้น
น้ำหนักขึ้นและเริ่มอ้วน
ผลของการลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้มีผลต่อระบบการเผาผลาญอาหาร ทำให้มีการสะสมไขมันบริเวณหน้าท้องมากขึ้น
ระบบหัวใจและหลอดเลือด
หลังหมดประจำเดือน ร่างกายจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันมากขึ้น เนื่องจากจากการขาดเอสโตรเจน เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนทำหน้าที่สำคัญในการลดไขมันไม่ดี LDL
การตรวจวินัจฉัย
การตรวจร่างกาย
ตรวจอวัยวะสืบพันธุ์ภายในและภายนอก
ตรวจหาตำแหน่งที่เลือดออก
ประเมินขนาดของมดลูก
การกดเจ็บที่มดลูก
การคลำก้อนภายในอุ้งเชิงกราน
การตรวจอวัยวะใกล้เคียง เช่น ท่อปัสสาวะหรือบริเวณทวารหนัก
เพื่อหาปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
ประเมินค่า BMI (body mass index)
การตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงทางช่องคลอด (Transvaginal ultrasonography :TVUS)
การซักประวัติ
การได้รับบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ
ประวัติโรคประจำตัวและประวัติมะเร็งในครอบครัว
ความผิดปกติในการปัสสาวะหรืออุจจาระ
การได้รับฮอร์โมนทดแทน และประวัติการใช้ยายาต้านการแข็งตัวของเลือด
ลักษณะของเลือดที่ออก (ปริมาณ, ระเวลา, ความถี่)
ประวัติการใส่สิ่งแปลกปลอม เช่น pessary เป็นต้น
การสุ่มตรวจชิ้นเนื้อจากโพรงมดลูก (EndometrialSampling)
การขูดเยื่อบุโพรงมดลูกแบบ Dilatation and curettage
การใช้กล้องส่องโพรงมดลูก (Hysteroscopy)
Saline infusion sonography (SIS)
การพยาบาลสตรีวัยหมดอายุ
แนะนำให้ผู้ป่วยออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น ว่ายน้ำ ถีบจักรยาน หรือวิ่งระยะไกลครั้งละ 30 นาที อาทิตย์ละ 3 ครั้งอย่างสม่ำเสมอ
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการ เช่น การรับประทานอาหารที่มีแคลเซี่ยมสูง ไขมัน/โคเรสเตอรอลต่ำ
อธิบายลักษณะทางกายวิภาคและสรีรวิทยาของระบบสืบพันธุ์สตรี ตำแหน่งที่เกิดโรค ตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับแผนการรักษา การปฏิบัติตนก่อนและหลังการรักษา คำแนะนำการปฏิบัติตนเมื่อกลับไปอยู่บ้าน
สร้างสัมพันธภาพและประเมินสภาพจิตสังคม ให้คำแนะนำคนในครอบครัวเกี่ยวกับความช่วยเหลือดูแลสภาพจิตใจ
ดูแลให้ได้รับความสุขสบายจากอาการของวัยหมดระดู เช่น อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก ปวดศีรษะ
บรรณานุกรม
โรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต. (2561). ผู้หญิงวัยทองหรือวัยหมดประจำเดือน (Menopause). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
https://www.phukethospital.com/th/ไม่มีหมวดหมู่-en/menopause/
(สืบค้นวันที่ 11 มกราคม 2564)
การแท้ง Abortion
การยุติการตั้งครรภ์ก่อนถึงอายุครรภ์ที่ทารกจะเกิดมามีชีวิตได้ ก่อน 28 สัปดาห์(7 เดือน)โดยอาจเกิดขึ้นเอง (spontaneous abortion หรือ miscarriage) หรือเกิดจากการเหนี่ยวนำให้เกิดการแท้ง (induce abortion)
ชนิดของการแท้ง
การแท้งไม่ครบ (Incomplete abortion)
อาการ
มีส่วนของเด็ก /รกออกมาทางช่องคลอด มีเลือดออก อาจ shock ได้
การรักษา
ให้เลือดในรายที่เลือดออกมาก ขูดมดลูก
การที่รกมีการหลุดลอกออกจากโพรงมดลูกแล้ว ปากมดลูกมีการเปิดออก และมีการหลุดของถุงการตั้งครรภ์ รกหรือตัวอ่อนออกมาแล้วบางส่วน แต่ยังเหลือการตั้งครรภ์บางส่วนในมดลูกพบที่อายุครรภ์ 8-14 สัปดาห์
ภาวะแทรกซ้อน
เนื่องจากปากมดลูกเปิดอยู่นาน ดังนั้น อาจเกิดการติดเชื้อได้สูง
การแท้งครบ (Complete abortion)
อาการ
เลือดออกทางช่องคลอดเล็กน้อย ปวดท้องรุนแรง มีส่วนของทารกหลุดออกมาออกจากช่องคลอด
คลํามดลูกได้ขนาดเล็กกว่าอายุครรภ์ ตรวจภายในพบปากมดลูกปิด
การรักษา
ภายหลังแท้งครบไม่จําเป็นต้องขูดมดลูก
ให้ยาวิตามินบํารุงและยาเสริมธาตุเหล็ก
ภาวะที่มีการหลุดของชิ้นส่วนการตั้งครรภ์ออกมาแล้วทั้งหมด
การแท้งหลีกเลี่ยงไม่ได้ (Inevitabalabortion)
อาการ
เลือดออกมากกว่าแท้งคุกคาม ปวดท้องน้อยมากเนื่องจากมีการบีบรัดตัวของมดลูก ปากมดลูกเปิด อาจพบถุงนํ้าครําแตก ในรายที่ถุงน้าคล่า ยังไม่แตกจะพบถุงน้าคร่าโป่งตึงที่ปากมดลูก เรียกภาวะนี้ว่า Imminent abortion
การรักษา
ให้นอนพัก ให้ยาแก้ปวด ตรวจเลือดหา Hb เตรียมเลือดให้เพียงพอ และให้เลือดในรายที่จําเป็น ให้ oxytocin drip เพื่อเร่งให้ปากมดลูกเปิดกว้าง/เหน็บ ทุก 1-2ชม.เจาะถุงนํ้าครํา เพื่อให้การแท้งสิ้นสุดลงขูดมดลูก
การแท้งที่การตั้งครรภ์ไม่สามารดาเนินต่อไปได้
การแท้งค้าง (Missedabortion)
อาการ
มีอาการแท้งคุกคามอยู่ระยะหนึ่ง เลือดหยุด ต่อมามีเลือดสีน้าตาลออกกะปริดกะปรอย อาการของการตั้งครรภ์หายไป ตรวจหน้าท้องพบว่ามดลูกเล็กกว่าอายุครรภ์ HCG FHSneg.
การรักษา
ส่วนใหญ่จะแท้งเองภายใน 6สัปดาห์ ขูดมดลูก
การแท้งที่เด็กและรกค้างอยู่ในมดลูกอย่างน้อย 8สัปดาห์ หลังจากเด็กตายแล้ว
สาเหตุที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่นอน
ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการฉีด Progesterone เพื่อการรักษาแท้งคุกคามนานๆ ทั้งที่การแท้งนั้นเป็นการแท้งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว
ภาวะแทรกซ้อนที่สาคัญ
ภาวการณ์แข็งตัวของเลือดผิดปกติจากมีการดูดซึมเอาสาร Thromboplastin จากขบวนการ Autolysis ของเด็กที่ตายแล้ว เข้ากระแสเลือดแม่ ผลคือมารดาจะตกเลือดมาก และเลือดออกง่ายทั่วร่างกาย ต้องทําให้การแท้งสิ้นสุดลงโดยเร็วที่สุด
การแท้งคุกคาม(Threatened abortion)
การแท้งที่การตั้งครรภ์มีโอกาสดําเนินต่อไปได้
อาการ
เลือดออก หยุดเองได้ สีแดงสดจนสีแดงคลํ้า ปากมดลูกไม่เปิด
การรักษา
นอนพัก24-48 ชม. ให้ยานอนหลับ งดร่วมเพศ ห้ามใช้ยาถ่ายหลังเลือดหยุดอย่างน้อย2สัปดาห์
ติดตามค่า HCGอย่างต่อเนื่องเพื่อดูว่าการตั้งครรภ์ยังคงดาเนินต่อได้หรือไม่
การแท้งเป็นอาจิณ(Habitual abortion)
สาเหตุ
ความผิดปกติของฮอร์โมน
ภาวะทุพโภชนาการ
การติดเชื้อ ,อักเสบเรื้อรังของช่องคลอด
หมู่เลือด ABO ที่เข้ากันไม่ได้
สุขภาพจิต
ความผิดปกติของมดลูก
มีการเปิดขยายของปากมดลูกโดยไม่มีอาการเจ็บครรภ์
การรักษา
รักษาตามสาเหตุของปัญหา ในรายที่มี Incomplete cervix แพทย์จะทาผ่าตัดเย็บรัดปากมดลูกแบบหูรูด เรียกว่า Mac Donald และ Shirodkar
การแท้งที่เกิดขึ้นเองติดต่อกัน ตั้งแต่ 3ครั้งขึ้นไป
การทําแท้ง (Induced abortion)
การทําแท้งเพื่อการรักษา(Therapeutic abortion)
การทําแท้งที่ผิดกฎหมาย(Criminal abortion)
อ้างอิง
รับพร สวัสดิสรรพ์.(2017).เลือดออกทางช่องคลอดขณะตั้งครรภ์ไตรมาสแรก.สืบค้น11/1/2564,จาก
https://meded.psu.ac.th/binlaApp/class05/388_561/First_trimester_uterine_bleeding/index3.html
การขยายปากมดลูกแล้วเอาเด็กและรกออกโดยการขูดมดลูกDilatation and curettage
ควรทําในรายที่การตั้งครรภ์ไม่เกิน 12สัปดาห์
จัดให้ผู้ป่วยนอนท่า Lithotomy
การให้คําแนะนําการปฏิบัติตน เช่น การทําความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ การเปลี่ยน Pad การคุมกําเนิด การงดมีเพศสัมพันธ์ การสังเกตอาการผิดปกติ ติดตามตรวจตามนัด
ระดู( Mensesหรือ Menstrual blood )
หมายถึง เลือดที่ถูกขับออกจากมดลูกออกมาทางช่องคลอด โดยจะไหลออกมาทุกรอบดือน
ระดู คือการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของระบบสืบพันธุ์ร่วมกับระบบต่อมไร้ท่อ อาศัยการทำงานร่วมกันของ Hypothalamus, Pituitary gland, Ovary เรียกว่า Hypothalamus-pituitary-ovarian axis (HPO axis)
การำงานของรังไข่ แบ่งออกเป็น 3ระยะ
Proliferative phase
Secretory phase
Menstrual phase
ปกติวงรอบของระดู ( Interval ) ประมาณ 28 วัน ปริมาณวันละ 20-80 ml.
ระยะห่างของรอบระดู
ประจำเดือนมามาก และ มีลิ่มเลือด (Hypermenorrhea)
ประจำเดือนมามาก มานานกว่า 7 วัน หรือระยะห่างของรอบเดือนน้อยกว่า 21 วัน (Menorrhagia)
ประจำเดือนมาน้อยกว่าปกติ (Hypomenorrhea)
ระยะห่างของรอบประจำเดือนนานมากกว่า 35 วัน (Oligomenorrhea)
ประจำเดือนมามาก มานานกว่า 7 วัน ระยะห่างของรอบเดือนไม่สม่ำเสมอ (Menometrorhagia)
ประจำเดือนมาปริมาณปกติ แต่ระยะเวลาอาจมากกว่า 7 วัน และระยะห่างของรอบเดือนไม่สม่ำเสมอ (Metrorhagia)
ประจำเดือนหายไปมากกว่า 3-6 รอบเดือน (Amenorrhea)
เลือดออกจากช่องคลอดหลังวัยหมดประจำเดือน (Postmenopausal bleeding)
ชนิดของการมีระดู
1.ระดูที่มีไข่ตก ( Ovular menstruation ) เป็นการหลุดลอกของ
เยื่อบุโพรงมดลูกในระยะ Secretory P.
ระดูที่ไม่มีไข่ตก (Anovular Menstruation) เป็นการหลุดลอกของเยื่อบุโพรงมดลูกในระยะ proliferative P.
AUB ( Abnormal UterineBleeding )
ภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก
คือ ภาวะที่เลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่พยาธิสภาพ เช่น เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก มะเร็ง PID เป็นต้น
กลุ่มที่ไม่มีพยาธิสภาพ เช่นภาวะเลือดออกผิดปกติที่ไม่ได้มีโรค
อาจเกิดจากปัจจัยต่างๆดังนี้
ภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ในระยะแรก
โรคทางระบบสืบพันธุ์
เช่น
โรคของมดลูก
โรคของเยื่อบุมดลูก
โรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่
โรคของรังไข่
โรคอักเสบในอุ้งเชิงกราน
ภาวะแทรกซ้อนจากการคุมกำเนิด
DUB ( Dysfunctional Uterine Bleeding )
หมายถึง ภาวะที่มีเลือดออกจากโพรงมดลูกที่มีลักษณะรูปแบบแตกต่างจากการมีเลือดออกจากโพรง
มดลูกของรอบระดู โดยที่ไม่พบสาเหตุทางพยาธิวิทยา
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด
Ovulatory DUB
เป็นระยะที่มีไข่ตกเเละมีเลือดออกผิดปกติ
มักเกิดในสตรีที่อายุระหว่าง 30-40 ปี ส่วนใหญ่อาการเลือดออกมักจะไมรุนแรง
ระยทีเกิดในช่วงนี้คือ
ระยะ proliferative phase หรือ secretory phase ยาวนานกว่าปกติ หรือสั้นกว่าปกติ
ทำให้มีระดู 2 ครั้ง
•Corpus luteum บกพร่อง Ps. ต่ำ เกิดเลือดออกกะปริดประปรอยก่อนมีระดู
•Corpus luteum ทำงานนาน Ps. ไม่ลดแม้หมดระดูแล้ว ทำให้เลือดออกแม้ระดูหมด
Anovulatory DUB
เป็นภาวะเลือดออกผิดปกติชนิดที่ไม่มีไข่ตก
ความแตกต่างของ DUB 2 ชนิด
ไม่มีไข่ตก
วัยรุ่น / วัยใกล้หมด
สาเหตุ HPO axis imbalance
ไข่ตก
อายุ 35-40 ปี
สาเหตุ HPO Asix dysfunction
หมายถึง เลือดที่ถูกขับออกจากมดลูกออกมาทางช่องคลอด โดยจะไหลออกมาทุกรอบดือน
พยาธิสรีรวิทยา
ความผิดปกติทางกายวิภาค
❑ความผิดปกติทางกายวิภาค:มีรอยโรคในโพรงมดลูก
ความผิดปกติของระดับฮอร์โมน: Es โครงสร้างไม่เเข็งเเรง ลอกหลุดง่าย เลือดออกไม่หยุด
❑ ความไม่สมดุลของ cytokines: การทํางานของหลอดเลือด เพื่อหยุดเลือด
ความบกพร่องของ coagulopathy
การตรวจวินิจฉัย
การซักประวัติ
เช่น
ประวัติส่วนตัว เช่นอายุของผู้ป่วย
อาชีพ สถานภาพ สมรส ฐานะ
ประวัติประจําเดือน เช่น อายุที่ระดูมาครั้งแรก ความสม่ำเสมอ และระยะเวลาของรอบระดู ความเปลี่ยนแปลง ของเลือดระดูจากปกติที่เคยเป็น ระยะเวลาของความผิด ปกติ
ประวัติการมีเพศสัมพันธ์และการคุมกําเนิด
สาเหตุของการมีเลือดออก:เลือดออกหลังร่วมเพศ (contact bleeding หรือ Post-coital bleeding) ซึ่งอาจเกิดจากภาวะผิดปกติภายในช่องคลอดหรือปากมดลูก
ประวัติบาดเจ็บ: ถูกของแข็งทิ่มแทงเข้าไปข้างใน
การตรวจร่างกาย • การตรวจร่างกายทั่วไป • การตรวจภายใน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
เช่น
การตรวจปัสสาวะเพื่อทดสอบการตั้งครรภ์
• การตรวจ Complete Blood Count (CBC) และ
coagulogram
การตรวจหาฮอร์โมน
• การตรวจทางเซลล์วิทยา (cytology) การขูดมดลูกเเล้วนำไปตรวจหาความผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูก
การรักษา
เช่น
เพื่อหยุดเลือดในกรณีที่มีเลือดออกในปริมาณมาก (stop bleeding)
เพื่อป้องกันไม่ให้เลือดออกซํ้า
(prevention of re-bleeding)
Medical curettage ให้รับประทาน progestin นาน 10-14 วัน secretory endometrium การรักษาแบบน้ีจะได้ผลดีในกรณีที่มีเลือด ออกจากเยื่อบุโพรงมดลูกที่ได้รับการกระตุ้นด้วย estrogen
การรักษาเพื่อควบคุมระดู (regulate menstrual cycle) อาจ
จะเลือกให้progestin หรือ estrogen-progestin ก็ได้ แต่การให้ progestin จะได้ผลดี
การรักษาด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดมดลูก (Hysterectomy)
• การผาาตัดแบบ conservative (conservative surgery) เป็น วิธีการที่ทําลายเยื่อบุโพรงมดลูก เช่น การตัดเยื่อบุโพรง มดลูกด้วยขดลวดไฟฟ้า (electrical loop resection) หรือการทําลายเยื่อบุโพรงมดลูกด้วยความร้อนจากไฟฟ้า (electrical roller ball) หรือจาก laser หรือจาก thermal balloon
การพยาบาลผู้ป่วยในภาวะเลือดออกผิดปกติจากโพรงมดลูก
ประเมินความรุนแรงของการเสียเลือดและป้องกันภาวะซีด ติดตาม Hct, Hgb
ป้องกันภาวะช็อค
เฝ้าระวังสัญญาณชีพ สังเกตภาวะช็อค
บันทึกสารน้ำเเละปริมาณสารน้ำเข้าออกเสมอ บันทึกปริมาณสารน้ำเข้าออก
ดูแลการได้รับสารละลายทางหลอดเลือดดํา
ประคับประคองด้านจิตใจ
การตั้งครรภ์นอกมดลูก
หมายถึง
การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการฝังตัวของไข่ที่ถูกผสมเเล้ว(afertilized ovum) ภายนอกโพรงมดลูก เช่น
บริเวรท่อนำไข่ ปากมดลูก รังไข่ หรือภายในช่องท้อง
สาเหตุเเละปัจจัยเสี่ยง
1.สาเหตุที่ทำให้ไข่ที่ถูกผสมเเล้วเคลื่อนไปได้ช้าหรือเคลื่อนไปยังโพรงมดลูกไม่ได้
1.1 การอักเสบของปีกมดลูกหรือท่อนำไข่
1.2 การเกิดพังผืด (adhesion) รอบท่อนำไข่
จากการอักเสบติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน
1.3 ความผิดปกติของท่อนำไข่เเต่กำเนิด
1.4 เนื้องอกที่ทำให้ท่อนำไข่บิดเบี้ยวหรือคดงอ เช่น เนื้องอกกล้ามเนื้อมดลูก หรือเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญผิดที่
2.การเดินทางของไข่ผิดปกติ
(ovum transmigration)
3.การมีเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่(endometriosis)
4.เคยมีการตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อน
5.การใช้ห่วงคุมกำเนิด
ทำให้เกิดการอักเสบติดเชื้อโพรงมดลูก
ชนิดของการตั้งครรภ์นอกมดลูก
1.การตั้งครรภ์ที่ท่อนำไข่
(Tubal pregnancy)
2.การตั้งครรภ์ในช่องท้อง
(Abdominal pregnancy)
2.1 Primary abdominal pregnancy
2.2 Secondary abdominal pregnancy
3.การตั้งครรภ์ที่รังไข่
(Ovarian pregnancy)
4.การตั้งครรภ์ที่ปากมดลูก
(Cervical pregnancy)
5.Intraligamentous pregnancy
6.Rudimentary horn pregnancy
7.Heterotropic หรือ
Combined pregnancy
พยาธิสภาพ
หลังจากการปฏิสนธิเเล้ว ตัวอ่อนจะฝังตัวบนเยื่อบุท่อนำไข่ จากนั้น trophoblast ของตัวอ่อนจะเจริญอย่างรวดเร็วทะลุผ่านเยื่อบุท่อนำไข่ กล้ามเนื้อท่อนำไข่เเละหลอดเลือดรายรอบจนปริเเตก เลือดที่ไหลออกมาจะไหลเข้าไปในท่อนำไข่ ผนังท่อนำไข่ หรือเข้าไปในช่องท้องทำให้สภาพเเวดล้อมที่ท่อนำไข่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อน
การสิ้นสุดการตั้งครรภ์ที่บริเวณท่อนำไข่เป็นไปได้หลายกรณี ได้เเก่
1.การฝ่อไปเอง โดยไม่มีอาการเเสดงที่ชัดเจน
2.การเเท้ง(tubal abortion) พบบ่อยในการตั้งครรภ์นอกมดลูกที่บริเวณ ampulla part
3.การเเตกของท่อนำไข่ (tubal rupture) สาเหตุเกิดจากการฝังตัวของตัวอ่อนเเละ trophoblast ที่ฝังลึกจนถึงชั้นกล้ามเนื้อของท่อนำไข่ ทำให้ผนังท่อนำไข่บางจึงเเตกในที่สุด
4.การเเท้งเเล้วฝังตัวใหม่
(secondary implantation)
อาการเเละอาการเเสดง
1.ปวดท้องน้อย การปวดจะรู้สึกเหมือนถูกเเทง หรือปวดเเบบบิดๆอย่างรุนเเรงเฉียบพลัน
2.ขาดระดูหรือระดูมาช้า
ร่วมกับมีอาการของการตั้งครรภ์
3.เลือดออกผิดปกติทางช่องคลอด เป็นเลือดเก่าๆสีน้ำตาลเข้ม เเละออกกะปริดกะปรอยเป็นช่วงๆหรือออกเรื่อยๆ
4.อาการเป็นลมเเละช็อค
การวินิจฉัย
1.จากประวัติ อาการเเละอาการเเสดง
2.การตรวจทางหน้าท้อง
3.การตรวจภายใน
4.การตรวจการตั้งครรภ์ในปัสสาวะ
(Urine pregnancy test)
5.การตรวจหาค่าความเข้มข้นของเลือด
6.การตรวจหาค่า hCG ในเลือด
7.การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงชนิดตรวจทางช่องคลอด(Transvaginal sonography: TVS)
8.Culdocentesis ใช้วินิจฉัยภาวะเลือดในช่องท้อง
9.Laparoscopy การส่องกล้อง laparoscopy โดยทำการเจาะผ่านหน้าท้องบริเวณสะดือเข้าไปภายในอุ้งเชิงกราน
การรักษา
1.การเฝ้าสังเกตอาการ(Observation) การตั้งครรภ์นอกมดลูกในผู้ป่วยบางรายอาจฝ่อหายไปได้เอง มักใช้ในผู้ป่วยที่สามารถติดตามได้อย่างใกล้ชิด
2.การรักษาด้วยยา(Saloingocentesis) การรักษาด้วยการฉีดยา Methotrexate เข้าไปทำลายการตั้งครรภ์
3.การรักษาด้วยการผ่าตัด
(Surgical tretment) มีหลายวิธี ได้เเก่
3.1 Salpinggstomy เป็นการผ่าตัดเเบบดั้งเดิม เพื่อเก็บอวัยวะส่วนที่มีการตั้งครรภ์นอกมดลูกไว้ในรายที่มีบุตรยาก
3.2 Salpingotomy การผ่าตัดเย็บปิดเเผลบริเวณท่อนำไข่
3.3 Salpingectomy การผ่าตัดเอาท่อนำไข่ข้างที่มีพยาธิสภาพออก
3.4 Salpingo-oophorectomy การผ่าตัดเอาท่อนำไข่ข้างที่มีการตั้งครรภ์ออกพร้อมกับรังไข่
อ้างอิง
ตำราการพยาบาลนรีเวช(ฉบับองค์รวม)/ บรรณาธิการ นันทนา ธนาโนวรรณ.
พิมพ์ครั้งที่1 กรุงเทพมหานคร:วี.พริ้นท์,2553
C infection
การอักเสบติดเชื้อในระบบสืบพันธุ์สตรี
(Female Genital Tract Infections)
ตกขาว
ตกขาวปกติ
เป็นตกขาวที่พบในภาวะปกติ ลักษณะคล้ายแป้ง เปียก มีปริมาณไม่มาก ไม่เหม็น ไม่คัน
มีระดับความเป็นกรดด่างน้อยกว่า 4.5 ซึ่งเกิดจาก lactobacilli
สลายกลัยโคเจนของเซลล์เยื่อบุผนังช่องคลอดให้กลายเป็นกรดแลคติด
ชนิดและปริมาณของเซลล์ที่หลุดลอกออกมาเป็นตกขาวถูกกำหนดโดยขบวนการทางชีวเคมีซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากระดับของ
ฮอร์โมน เช่น ปริมาณตกขาวอาจจะมีมากขึ้นในช่วงกลางรอบเดือนที่มีการตกไข่เนื่องจากมีมูกจากปากมดลูกออกมามากขึ้น
แต่ภาวะดังกล่าวอาจจะไม่พบในสตรีที่รับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดเนื่องจากยาเม็ดคุมกำเนิดมีฤทธิ์ยับยั้งการตกไข่
ตกขาวปกติประกอบด้วยส่วนผสมของสิ่งที่ขับออกมาจากต่อมต่าง ๆ ของระบบอวัยวะสืบพันธุ์
เมื่อตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์มีปริมาณเซลล์เยื่อบุผนังช่องคลอดจำนวนมาก มีปริมาณเม็ดเลือดขาวเล็กน้อย
(สัดส่วนเม็ดเลือดขาวต่อเซลล์เยื่อบุผนังช่องคลอดน้อยกว่า 1:1) และอาจมีปริมาณ clue cells ได้เล็กน้อย
เมื่อย้อมกรัม พบเซลล์เยื่อบุผนังช่องคลอดและ lactobacilli (กรัมบวกชนิดแท่ง)
ตกขาวผิดปกติ
มักมีปริมาณมาก หรือมีกลิ่น และมีลักษณะผิดปกติ เช่น มีลักษณะเป็นหนอง มูกปนหนอง
หรือเป็นฟอง และมักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คัน แสบ ร้อนบริเวณปากช่องคลอด
สาเหตุ
ช่องคลอดอักเสบติดเชื้อ
เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของตกขาวผิดปกติ
สาเหตุจาก Bacterial vaginosis
สาเหตุจาก Vulvovaginal candidiasis
สาเหตุจาก Trichomoniasis พบร่วมกับ bacterial vaginosis ได้
ช่องคลอดอักเสบจากสาเหตุที่ไม่ติดเชื้อ
แพ้สารระคายเคือง
Atrophic vaginitis: จากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
ปากมดลูกอักเสบ
จากสาเหตุต่าง ๆ เช่น ติดเชื้อหนองใน ติดเชื้อ Chlamydia หรือการติดเชื้อเริม
พยาธิสภาพอื่นๆ บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
ปากมดลูกมีติ่งเนื้องอก(polyp)
หูดหงอนไก่
เนื้องอกหรือมะเร็งของมดลูก
ปากมดลูกและผนังช่องคลอดซึ่งมักจะเกิดการติดเชื้อ anaerobe ซ้ำร่วมด้วย
ภาวะรูรั่ว (Fistula)
รูรั่วระหว่างช่องคลอดและกระเพาะปัสสาวะ (vesicovaginal fistula)
รูรั่วระหว่างช่องคลอดและลำไส้ตรง (rectovaginal fistula)
ทางการแพทย์เรียกว่า Leukorrhea หมายถึง
สิ่งที่ถูกขับออกมาทางช่องคลอด ซึ่งไม่ใช่เลือด
อาจมีสีขาว เทา เหลือง เขียว หรือเป็นมูกใส
ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นสีขาวสะอาด
การวินิจฉัย
ประวัติทั่วไป
อายุ อาชีพ การศึกษา สถานภาพสมรส ฐานะความเป็นอยู่
ประวัติเฉพาะ
ตกขาว ปริมาณ ลักษณะ กลิ่น ความสัมพันธ์กับรอบประจำเดือน อาการร่วม เช่น คัน แสบร้อนช่องคลอด ปัสสาวะแสบขัด
พฤติกรรมอื่นๆ
พฤติกรรมการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ
พฤติกรรมการมีเพศสัมพันธ์
การสวนล้างช่องคลอด
การตรวจร่างกายและการตรวจภายใน
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจวัด pH ของช่องคลอด โดยการแตะ pH paper ลงในตกขาวโดยตรง ถ้า pH > 5.0 อาจจะเป็น
bacterial vaginosis หรือ trichomonasis หรือ atrophic vaginitis และถ้า pH < 4.5 อาจเป็นตกขาวปกติ
Wet smear เก็บตัวอย่างของตกขาวเพื่อตรวจหาเชื้อ Trichomonas vaginalis, Clue cell( คือ superficial
vaginal epithelial cell ที่มีแบคเรียโดยมักเป็นเชื้อGardnerella vaginalis), และ filament form ของเชื้อรา
Whiff test (Amine test) หยด KOH ลงบน secretion ถ้ามีกลิ่นเหม็นคาวปลา (fishy amine like odor)
จะช่วยในการวินิจฉัยโรค bacterial vaginalis หรือ trichomonas vaginalis
Culture เพาะเชื้อช่วยยืนยันในการวินิจฉัยโรค โดยเฉพาะกรณีที่เป็นซ้ำ บ่อย หรือดื้อต1อการรักษา แต่ไม่จำเป็นต้องทำทุกราย
Bacterial vaginalis
อาการทางคลินิก
สตรีที่มีการติดเชื้อ BV ประมาณร้อยละ 50 – 75 ไม่มีอาการ (9;10) สตรีบางรายอาจจะมาพบแพทย์ด้วย
อาการตกขาวผิดปกติ มีอาการคัน มีกลิ่นเหม็นเหมือนคาวปลาหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ส่วนอาการปัสสาวะแสบขัด
เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ การอักเสบในช่องคลอดหรืออาการแสบร้อนบริเวณปากช่องคลอดพบได้น้อย
การวินิจฉัย
อาศัยลักษณะทางคลินิกและการตรวจ wet smear เป็นส่วนใหญ่
เกณฑ์การวินิจฉัย
ตกขาวมีลักษณะ homogeneous, thin and grayish-white
มีความเป็นกรด-ด่างในช่องคลอดมากกว่า 4.5 โดยการนำตกขาวมาแตะกับกระดาษวัด pH ในช่องคลอด
Whiff test ได้ผลบวก
การตรวจ wet smear พบ clue cell (เซลล์เยื่อบุช่องคลอดที่ถูกเชื้อแบคทีเรีย
เช่น Gardnerella vaginalis มาเกาะบริเวณขอบของเซลล์)
การรักษา
Metronidazole 500 mg รับประทานวันละ 2 ครั้ง, 7 วัน
0.75% Metronidazole gel ทาในช่องคลอดวันละครั้ง, 5 วัน
2 % Clindamycin cream ทาในช่องคลอดวันละครั้งก่อนนอน, 7วัน
Trichomoniasis vaginalis
อาการทางคลินิก
อาการตกขาวมีลักษณะคล้ายหนอง มีกลิ่นเหม็น ร่วมกับอาการแสบร้อนและคันบริเวณปากช่องคลอดและช่องคลอด ปัสสาวะแสบขัด การเจ็บปวดเวลามีเพศสัมพันธ์(dyspareunia)
หรือ เลือดออกหลังร่วมเพศ ส่วนอาการที่มีลักษณะจำเพาะของการติดเชื้อชนิดนี้ คือ ตกขาวมีสีเขียวเป็นฟองและมีกลิ่นเหม็นพบได้น้อยกว่าร้อยละ 10
เมื่อตรวจภายในพบการอับเสบ บวมแดงบริเวณปากช่องคลอด ช่องคลอด ตกขาวมีลักษณะเป็นฟองสีเหลืองเขียว
ส่วนจุดเลือดออกบริเวณช่องคลอดและปากมดลูกที่มีลักษณะจำเพาะเรียกว่า strawberry cervix พบได้ร้อยละ 2 ของผู้ป่วย
การวินิจฉัย
การตรวจ wet smear พบ trichomonads มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดขาวเล็กน้อยร่วมกับมีเม็ดเลือดขาวปริมาณมาก ลักษณะการเคลื่อนไหวของ trichomonads ที่มีการโบกพัด
ของ flagella โดยการเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจอยู่ได้นาน 10 – 20 นาที หลังจากการเก็บ specimen มาตรวจ การตรวจ wet smear มีความไวในการตรวจหาเชื้อ TV ร้อยละ 60 - 70
การเพาะเชื้อใน Diamond's medium อาจใช้ในกรณีที่สงสัยว่าจะมีการติดเชื้อ TV แต่ตรวจไม่พบเชื้อ TV จากการตรวจ wet smear
การตรวจความเป็นกรด-ด่างในช่องคลอดที่มีค่า pH มากกว่า 4.5
การตรวจ Whiff test ได้ผลบวก
การรักษา
Metronidazole 2 กรัม รับประทานครั้งเดียว
Tinidazole 2 กรัม รับประทานครั้งเดียว
Metronidazole 500 mg รับประทานวันละ 2 ครั้ง, 7 วัน
Vulvovaginal candidiasis
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโร
โรคเบาหวาน: ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะติดเชื้อราในช่องคลอดได้ง่าย
การใช้ยาปฎิชีวนะเป็นเวลานาน ทำให้มีการทำลายเชื้อปกติที่อยู่ในช่องคลอดและมีการติดเชื้อราได้ง่ายมากขึ้น
การมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนสูงขึ้น ทำให้มีการติดเชื้อราในช่องคลอดได้ง่ายมากขึ้น
เช่น การใช้ยาคุมกำเนิด ภาวะตั้งครรภ์ การได้รับฮอร์โมนเอสโตรเจนจากภายนอก
ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น การติดเชื้อเอดส์ หรือ การได้รับยาสเตียรอยด์
การแบ่งประเภทการติดเชื้อ VVC (14)
การติดเชื้อ VVC แบบไม่ซับซ้อน (Uncomplicated VVC)
การติดเชื้อ VVC แบบชั่วคราว (sporadic or infrequent VVC)
การติดเชื้อ VVC แบบเล็กน้อยถึงปานกลาง
การติดเชื้อ VVC ที่เกิดจากเชื้อ Candida albicans
การติดเชื้อ VVC ในคนภูมิคุ้มกันปกติ
การติดเชื้อ VVC แบบซับซ้อน (Complicated VVC)
การติดเชื้อ VVC ในสตรีที่ควบคุมเบาหวานได้ไม่ดี ภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือสตรีตั้งครรภ์
การติดเชื้อ VVC ที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อ Candida albicans
การติดเชื้อ VVC ที่กลับเป็นซ้ำ
การติดเชื้อ VVC ที่รุนแรง
ลักษณะทางคลินิก
คันบริเวณปากช่องคลอด แต่อาจมีอาการแสบร้อนในช่องคลอด ปัสสาวะแสบขัดหรือการเจ็บเวลามีเพศสัมพันธ์ ไม่มีอาการจำเพาะสำหรับการติดเชื้อ VVC
การตรวจภายในมีการบวมแดงบริเวณปากช่องคลอดและช่องคลอด ตกขาวมีลักษณะจำเพาะคือ เหมือนแป้งเปียก (curd – like หรือ cottage cheese - like)
การวินิจฉัย
การตรวจ wet smear ร่วมกับการใช้ 10% KOH ซึ่งทำให้มีการสลายของเซลล์อี่น ๆ ทำให้มองเห็น budding yeast และ pseudohyphae ได้ง่ายมากขึ้น แต่การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์อาจไม่พบ budding yeast หรือ pseudohyphae ได้ถึงร้อยละ 50 (15) และถ้าเป็นเชื้อ C. albican พบมี budding filament แต่ C. glabrata มีเพียงสปอร์
การเพาะเชื้อ มักทำในผู้ป่วยที่มีการกลับเป็นซ้ำของโรคหลายครั้งและดื้อต่อการรักษาหรือผู้ป่วยที่สงสัยจะมีการติดเชื้อ VVC แต่การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ไม่พบ budding yeast หรือ pseudohyphae
การเพาะเชื้อไม่ได้ทำในผู้ป่วยทุกรายที่มาด้วยอาการตกขาวผิดปกติเนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น เสียเวลา ทำให้การวินิจฉัยล่าช้าและการเพาะเชื้อพบเชื้อราในช่องคลอดในผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ ไม่มีข้อบ่งชี้ในการรักษา
การตรวจความเป็นกรด-ด่างในช่องคลอดที่มีค่า pH น้อยกว่า 4.5
การย้อมกรัม พบยีสต์หรือ pseudohyphae
การตรวจ Whiff test ให้ผลลบ
การรักษา
ยาที่ใช้ในช่องคลอด
2% Butoconazole ทาในช่องคลอดวันละครั้ง, 3 วัน หรือ
1% Clotrimazole ทาในช่องคลอดวันละครั้ง, 7 - 14 วัน หรือ
Clotrimazole 100 mg สอดในช่องคลอดวันละครั้ง, 7 วัน หรือ
Clotrimazole 100 mg สอดในช่องคลอดครั้งละ 2 เม็ด, 3 วัน หรือ
2% Miconazole ทาในช่องคลอดวันละครั้ง, 7 วัน หรือ
Miconazole 100 mg สอดในช่องคลอดวันละครั้ง, 7 วัน หรือ
Miconazole 200 mg สอดในช่องคลอดครั้งละ 1 เม็ด, 3 วัน หรือ
Miconazole 1,200 mg สอดในช่องคลอดครั้งละ 1 เม็ด, 1 วัน หรือ
Nystatin 100,000 unit สอดในช่องคลอดครั้งละ 1 เม็ด, 14 วัน หรือ
6.5% Tioconazole ointment ทาในช่องคลอด 1 ครั้ง หรือ
0.4% Terconazole ทาในช่องคลอดวันละครั้ง, 7 วัน หรือ
0.8% Terconazole ทาในช่องคลอดวันละครั้ง, 3 วัน หรือ
Terconazole 80 mg สอดในช่องคลอดวันละครั้ง, 3 วัน หรือ
ยารับประทาน
Fluconazole 150 mg รับประทาน 1 เม็ดครั้งเดียว
อ้างอิง
จารุวรรณ แซ่เต็ง. (2555). ตกขาว(Leukorrhea). สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2564, จาก
https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/index.php?option=com_content&view=article&id=1413:icm-vaginal-discharge-and-vaginal-bleeding&catid=127&Itemid=1010
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
(Sexually Transmitted Disease: STDs)
หนองใน
อาการ
ชาย
มีอาการปัสสาวะแสบขัด มีหนองไหลจากปลายองคชาต
บางรายมีอาการปวด และบวมของถุงอัณฑะ บางคนอาจไม่มีอาการ
หากมีอาการมักจะปรากฏใน 1-14 วัน หลัง จากสัมผัสคนที่เป็นโรค
หญิง
มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน (ผลข้างเคียง) จากการติดเชื้อที่
รุนแรงมากกว่าชาย ไม่ว่าจะมีอาการติดเชื้อมากหรือน้อยก็ตาม มักไม่มี
อาการได้เช่นกัน หรืออาการไม่มาก โดยอาจมีปัสสาวะแสบขัด ตกขาว
มี เลือดออกทางช่องคลอดระหว่างรอบเดือน หรือประจำเดือน
เกิดได้จากการสัมผัสเยื่อบุช่องคลอด ช่องปาก ทวารหนัก องคชาต (อวัยวะเพศชาย) โดยอาจมี
หรือไม่มีการหลั่งน้ำอสุจิก็ได้ นอกจากนี้ ยังอาจติดจากมารดาสู่ทารกในระหว่างการคลอดได้ผู้ที่
เป็นโรคหนองใน หลังจากได้รับการรักษาแล้ว หากสัมผัสโรคอีก ก็เป็นโรคซ้ำได้
ความเสี่ยง
ไม่มีการใช้ถุงยางอนามัยในการมีเพศสัมพันธ์
คนที่มีคู่นอนมากกว่าหนึ่งคน
ผู้ติดยาเสพติด
เคยเป็นโรคนี้มาแล้ว และ/หรือ เคยเป็นโรคติดเชื้อ
ทางเพศสัมพันธ์ชนิดอื่นๆมาแล้ว เช่น โรคซิฟิลิส (Syphilis)
กลุ่มวัยรุ่น
การวินิจฉัย
จากประวัติทางการแพทย์ต่างๆ เช่น อาการต่างๆ เรื่องคู่นอน เรื่อง
การมีเพศสัมพันธ์ การตรวจร่างกาย การตรวจบริเวณอวัยวะเพศ
การตรวจภายใน (ในผู้หญิง) การส่งตรวจหาเชื้อที่ป้ายจากแผล
หรือ จากปากมดลูก ท่อปัสสาวะ ทวารหนัก และ/หรือ ช่องคอ
การรักษา
การใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งใช้ได้ผลดี แต่ในหลายพื้นที่อาจมีเชื้อดื้อยาได้
หลังการรักษา ถ้ายังคงมีอาการ จึงควรต้องกลับมาปรึกษาแพทย์อีกครั้ง
จำเป็นต้องตรวจหาการติดเชื้อที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ
ที่อาจพบร่วมด้วยโดยเฉพาะ เชื้อ เอชไอวี (HIV) หรือ โรคเอดส์
แม้ว่ายาปฏิชีวนะจะรักษาโรคให้หายแล้ว แต่ยาปฏิชีวนะไม่สามารถ
ซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย ซึ่งเกิดจากภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวไปแล้วได้
หากยังไปสัมผัสโรคอีก ก็กลับมาเป็นโรคอีกได้
หนองในเทียม
โรคหนองในเทียมหมายถึงการอักเสบของท่อปัสสาวะที่เกิดเชื้อโรคที่ไม่ใช่หนองในแท้ (Gonococcal Urethritis)
สาเหตุจากเชื้อ
Chlamydia trachomatis
Ureaplasma urealyticum 10-40%
Trichomonas vaginalis (rare)
Herpes simplex virus (rare)
Adenovirus
Haemophilus vaginalis
Mycoplasm genitalium
สาเหตุ
การมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะทางทวารหนัก ปาก หรือทางช่องคลอด
หนองในเทียมอาจติดต่อจากแม่สู่ลูกขณะมีการคลอดทางช่องคลอด
คนที่มีคู่นอนมาก หรือมีเพศสัมพันธ์อายุน้อยจะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อนี้เพิ่มขึ้น
การที่ผู้ชายมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย หรือผู้หญิงมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง ก็สามารถติดหนองในเทียมได้
อาการ
ชาย
หนองไหลออกจากอวัยวะเพศ
ปวดแสบร้อนเวลาปัสสาวะ
คันหรือระคายเคืองท่อปัสสาวะ
ปวดหน่วงบริเวณอวัยวะเพศ
อาจจะมีอัณฑะอักเสบ
หญิง
ปัสสาวะขัด
ปวดท้องน้อย มีเลือดออกขณะร่วมเพศ
ตกขาว
เชื้อจะไปที่ปากมดลูก cervix และท่อปัสสาวะจะทำให้เกิดอาการตกขาว
ปัสสาวะขัด หากไม่รักษาเชื้ออาจจะลามไปที่ท่อรังไข่ Fallopian tube
เกิดช่องเชิงกรานอักเสบซึ่งจะมีอาการปวดท้องน้อย มีไข้ เจ็บท้องเมื่อมีเพศสัมพันธ์
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยทำโดยการน้ำหนองหรือสารคัดหลั่งจากช่องคลอด
หรืออวัยวะเพศมาเพาะเชื้อ หรือส่องกล้องตรวจ
เมื่อย้อมจะพบเม็ดเลือดขาวมากกว่า 5 เซลล์
การป้องกัน
วิธีดีที่สุดคือการงดเพศสัมพันธ์
ใช้ถุงยางอนามัย
มีสามีหรือภรรยาคนเดียว
หากต้องการมีคู่นอนคนใหม่ต้องตรวจเช็คก่อนทุกครั้ง
หากคุณเป็นโรคหนองในเทียมให้งดการมีเพศสัมพันธ์
ให้รักษาทั้งตัวคุณเองและคู่ครองหากคนใดคนหนึ่งเป็นโรคนี้อีก
คนจะต้องรักษาไม่ว่าจะมีอาการหรือไม่ หากไม่รักษาจะมีโอกาศเกิดซ้ำ
หากมีอาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จะต้องตรวจหาเชื้อหนองในเทียม
การรักษา
Azithromycin 1 g รับประทานครั้งเดียว
Doxycycline 100 mgรับประทานวันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 7วัน
กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อ Chlamydia trachomatis เข้าสู่ร่างกายทางแผลถลอกหรือ
เยื่อเมือกของอวัยวะเพศ แล้วแพร่ผ่านท่อน้ำเหลืองไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบ
ต่อมาเกิดเป็นฝีหลายอันล้อมรอบต่อมน้ำเหลืองนั้น หากไม่รักษาฝีจะแตกออกเป็นแผลมีหนอง และจะลุกลาม
ทำให้ท่อและต่อมน้ำเหลืองอุดตันเกิดเป็นแผลเรื้อรังหรือลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง เช่น อวัยวะเพศบวม
มีหนองปนเลือดไหลออกทางทวารหนัก เป็นต้น เชื้อมีระยะฟักตัวประมาณ 3-30 วัน (เฉลี่ย 1-2 สัปดาห์)
การวินิจฉัย
ประวัติเคยมีเพศสัมผัสหรือเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และลักษณะอาการ และอาการแสดงทางคลินิก
จากการตรวจบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์เพื่อหารอยโรคหรือภาวะแทรกซ้อน และจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ
โดยการส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์เพื่อดูลักษณะหนองจากท่อปัสสาวะ มีตกขาว มีหนองจากฝี
มีน้ำเหลืองจากแผล หรือจากตำแหน่งอื่นที่สงสัยว่ามีการติดเชื้อ
นำสารคัดหลั่งจากรอยโรคมาย้อมสีซึ่งจะพบสิ่งผิดปกติของเซลล์หรือพบเม็ดเลือดขาวหรือติดสีต่างๆ ที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อ
และนำมาเพาะแยกเชื้อ โดยเพาะในอาหารเลี้ยงเชื้อหรือเซลล์เพาะเลี้ยงสำหรับเชื้อชนิดต่างๆ และตรวจทางน้ำเหลือง
ซึ่งเป็นการทดสอบแอนติเจนและแอนติบอดีของเชื้อนอกจากนี้ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการตรวจกรองสำหรับเชื้อซิฟิสิสด้วย
อาการ
มีแผลขนาดเล็กที่อวัยวะเพศ (ผู้ป่วยชายมักเป็นบริเวณหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ผู้หญิงมักเป็น
ที่ผนังช่องคลอดด้านใน) แผลจะหายเองได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่เกิน 1 สัปดาห์
ต่อมามีการอักเสบบวมโตเป็นก้อนของต่อมน้ำเหลือบริเวณขาหนีบ เป็นฝีหนองซึ่งอาจแตกมีหนองไหลออกมา
และมีอาการทั่วไปร่วมด้วย เช่น มีไข้ หนาวสั่น ปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดข้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
การรักษา
ให้ยาต้านจุลชีพ เช่น Doxycycline รับประทาน 100 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 21 วัน
ให้ Erythromycin หรือ Tetracycline รับประทานในขนาด 500 มิลลิกรัม วันละ 4 ครั้ง นาน 21 วัน
เจาะดูดหนองออกจากฝีหรือต่อมน้ำเหลืองที่บวม และนัดผู้ป่วยมาติดตามผลการรักษา 6 เดือน หลังจากการรักษาเสร็จ
อ้างอิง
มูลนิธิเอ็มพลัส. หนองใน. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2564, จาก
https://www.mplusthailand.com/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ/หนองใน/
มูลนิธิเอ็มพลัส. หนองในเทียม. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2564, จาก
https://www.mplusthailand.com/โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ/หนองในเทียม/
กรมควบคุมโรค. (2562). กามโรคของต่อมและท่อน้ำเหลือง. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2564, จาก
https://ddc.moph.go.th/
disease_detail.php?d=34
หูดข้าวสุก (Molluscum contagios)
สาเหตุ เกิดจาก เชื้อไวรสั Poxuiridac
(กล่มุ
Poxvirus)
อาการเเละอาการแสดง
เป็นตุ่มแข็งๆ ที่มีรอยบุ๋มที่ส่วนบน (central umbilicalyion) พบที่บริเวณอวัยวะเพศและหัวหน่าว ส่วนใหญ่ไม่เจ็บ ไม่คัน และหายเองได้ใน 6-9 เดือน
การวินิจฉัย
บีบหรือเจาะรอยบุ๋มจะได้ ของเหลวข้นๆสีขาวเหลือง นําไปย้อม gram stain จะเห็น Molluscum bodies ลักษณะ เป็นรูปไข่
เริม
Herpes
สาเหตุของการเกิดเริมแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
Herpes Simplex virus type 1 หรือ เชื้อ HSV ชนิดที่ 1 มักพบการติดเชื้อบริเวณปากหรือรอบๆ ปาก เกิดขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น มีความเครียด พักผ่อนน้อยเป็นต้น
Herpes Simplex virus type 2 หรือ เชื้อ HSV ชนิดที่ 2 เป็นการติดเชื้อที่บริเวณอวัยวะสืบพันธ์ หรือ อวัยวะเพศ ช่องคลอด ปากมดลูก ทหารหนัก อวัยวะเพศชาย ถุงอัณฑะ เป็นต้น
คืออาการติดเชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes Simplex Virus)
อาการเเละอาการแสดง
ลักษณะตุ่มนํ้าใส เล็กๆ คัน ปวดแสบปวดร้อน ผู้ที่ติดเชื้อครั้งแรกอาจมีไข้ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ต่อมนํ้าเหลืองโต
การวินิจฉัย: การเพาะเชื้อจากตุ่มนํ้าใส
การรกั ษา: Acyclovia 200 mg วันละ 5 มื้อ นาน 5 วัน
การป้องกัน
การป้องกันโรคเริม นั้นสำหรับคนที่ยังไม่เคยได้รับเชื้อ ต้องหมั่นรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพราะเชื้อเริมอาจมีในสิ่งแวดล้อมทั่วไป ซึ่งเราสามารถสัมผัสเชื้อผ่านสิ่งของ เครื่องใช้ การใช้สิ่งของหรืออุปกรณ์ในที่สาธารณะ หากร่างกายอ่อนแอ และถ้าหากเรามีสุขภาพไม่แข็งแรง เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายเชื้อก็จะสามารถก่อโรคและอันตรายได้
บรรณานุกรม
เซฟคลินิก.(2562). เริม โรคเริม ( Herpes ) คืออะไร สาเหตุ อาการ วิธีรักษา และการป้องกันโรคเริม เป็นอย่างไร(ออนไลน์).เข้าถึงได้จาก
https://www.bangkoksafeclinic.com/th/โรคเริม/สืบค้นวันที่
14 ม.ค 2563
เอดส์
สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อ Human Immunodeficiency Virus /HIV
อาการและอาการแสดง
มีไข้
ปวดเมื่อย
ผื่นขึ้นตามร่างกาย
ปวดศีรษะ
ต่อมน้ำเหลืองโต
อาจถึงขั้นเสียชีวิต เมื่อติดเชื้อฉวยโอกาสเช่น วัณโรค
การรักษา
ยังไม่มีการรักษาที่หายขาดได้ ส่วนใหญ่จะมีการรักษาแบบประคับประคองโดยการกินยาต้านไวรัส
D pelvic
การหย่อนของอวัยวะใน
อุ้งเชิงกราน
(Pelvic Floor Relaxation)
สาเหตุหลัก
การถูกทำลายของเส้นประสาท เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อที่พยุงอวัยวะในอุ้งเชิงกราน
ปัจจัยเสี่ยง
อายุและวัยหมดระดู
การตั้งครรภ์และการคลอดบุตร
มีการเพิ่มขึ้นของความดันในช่องท้อง
ชนิดของการหย่อนของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน
1.การหย่อนของผนังช่องคลอด (Vagina prolapse)
1.1 Cystocele
คือ กระเพาะปัสสาวะหย่อน ลงมาในช่องคลอด เกิดขึ้นเมื่อกระเพาะปัสสาวะเคลื่อนตัวหย่อนลงมาจากตำแหน่งปกติ
ปวดปัสสาวะบ่อย
ปวดปัสสาวะมาก
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
1.2 Urethrocele
คือ ท่อปัสสาวะหย่อน ลงในช่องคลอด มักเกิดขึ้นร่วมกับภาวะกระเพาะปัสสาวะหย่อน
กลั้นปัสสาวะไม่ได้
เมื่อแรงดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น
การเดิน
การกระโดด
การไอ
การจาม
การหัวเราะ
การเคลื่อนไหว
การออกกำลังกาย
ปัสสาวะเล็ดออกมาไม่รู้ตัว
1.3 Rectocele
คือ ลำไส้ใหญ่ส่วนปลายหย่อน ลงมาในช่องคลอด เกิดขึ้นเมื่อลำไส้ใหญ่หรือลำไส้ตรงดันผนังช่องคลอด หรือดันผนังช่องคลอดให้ยื่นออกจากช่องคลอด
สาเหตุมาจาก
อาการบาดเจ็บเรื้อรังจากการคลอดบุตร
ทำให้เกิดอาการท้องผูกเรื้อรัง
1.4 Enterocele
คือ ลำไส้ส่วนบนหรือส่วนของลำไส้เล็กหย่อนลงมาในช่องคลอด เป็นการเคลื่อนตัวของลำไส้เล็กไปดันผนังช่องคลอด
ด้านหลัง
1.6 Vagina vault prolapse
คือ การหย่อนของส่วนปลายช่องคลอดด้านในหลังจากการตัดมดลูก หรือจะเรียกว่า การปลิ้นออกของผนังช่องคลอด
อ้างอิง
แพทย์หญิงวิทัศศนา.ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนหรือภาวะกระบังลมหย่อน สืบค้นวันที่ 13/01/2564 จาก
https://www.drvitasna.com/นรีเวชทางเดินปัสสาวะแล/
2.การหย่อนของมดลูก (Uterine prolapse)
คือ การเคลื่อนต่ำของมดลูกของมดลูกลงมาในช่องคลอดเนื่องจากการยืดขยายของ uterosacral และ cardinal ligament โดยปกติมดลูกจะอยู่สูงกว่าปุ่มกระดูก ischial spine
2.2 Second degree
คือ การมีมดลูกเคลื่อนต่ำลงมาจากปากมดลูกอยู่ที่
ปากช่องคลอดพอดี
2.1 Frist degree
คือ การที่มดลูกเคลื่อนต่ำลงมาจาก ischial spine แต่ไม่ถึงปากช่องคลอด
2.3 Third degree
คือ การที่มดลูกเคลื่อนต่ำลงมาจากปากมดลูกโผล่พ้นช่องคลอด หรือมดลูกทั้งอันออกมาพ้นคลอด (procidentia uteri)
อ้างอิง
นางสาวกัญญารัตน์ เชื้อหมอ งานการพยาบาลสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา .คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคกระบังลมหย่อนที่มารับการผ่าตัดมดลูกทางช่องคลอดและเย็บซ่อมแซมช่องคลอด
https://www.2.si.mahidol.ac.th/vision/
แนวทางการรักษา
1.การรักษาโดยใช้พฤติกรรมบำบัด เช่น การรักษาภาวะไอ
จามเรื้อรัง ท้องผูก
2.การฝึกขมิบช่องคลอด คือ การออกกำลังกายเพื่อความกระชับของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานและ
ช่องคลอด
3.การรักษาทางการแพทย์
1) การใส่อุปกรณ์ช่วยพยุงอวัยวะอุ้งเชิงกราน คือการพยุงช่องคลอดไม่ให้หย่อนโดยไม่จำเป็นต้องผ่าตัด
2) การผ่าตัดเพื่อซ่อมแซม
มดลูกหย่อน
2.1 มดลูกหย่อน
ใช้การผ่าตัดมดลูกออกทางช่องคลอด
2.2 ผนังช่องคลอดหย่อน
ใช้การผ่าตัดเย็บซ่อมแซมผนังช่องคลอดให้กระชับขึ้น หรือการทำรีแพร์ (Repair)
อ้างอิง
เครือโรงพยาบาลพยาไทย.เรื่องหย่อนๆ ยานๆ ของผู้หญิง สืบค้นเมื่อวันที่13/01/2564 จาก
http://www.thaibreastcancer.com/971/
การตรวจร่างกาย/การผ่าตัดทางนารีเวช
การตรวจร่างกาย
General appearance
V/S
น้ำหนัก ส่วนสูง
ภาวะซีด ภาวะขาดน้ำ
Hand&Neck
การตรวจศรีษะและคอ
Breastexamination
การตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
Neurological&musculoskeletal examination
การตรวจระบบประสาท และกล้ามเนื้อ
Pelvic examination
เป็นการตรวจดูอวัยวะภายในบริเวณอุ้งเชิงกรานของผู้หญิง
เพื่อค้นหาความผิดปกติที่เป็นสัญญาณความเจ็บป่วย
การตรวจวินิจฉัยโรคทางนรีเวช
Papanicoloaou smear (Pap smear)
การตรวจคัดกรองมะเร็งระยะแรก
Swap (wet smear)
การนำหนองหรือสิ่งขับหลั่งที่อยู่ภายในช่องคลอดออกมาตรวจหาเชื้อ
Smear (dry smear)
การนำหนอง หรือสิ่งขับหลั่งในตำแหน่ง urethra, skene gland, Blartholin‘gland และ cervix ออกมาตรวจ
Biopsy
การตัดชิ้นเนื้อของอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกมาตรวจ
Twist
การบิดติ่งเนื้อที่อยู่บริเวณปากมดลูก
การผ่าตัดทางนารีเวช
การจี้โดยใช้ความเย็น cryosurgery
คือการทำลายมะเร็งโดยทำให้บริเวณที่เป็นมะเร็งเย็นเป็นน้ำแข็ง
เป็นการผ่าตัดที่สามารถใช้ร่วมกับการผ่าตัดใหญ่การให้เคมีบำบัด การฉายแสงได้
ทำให้เนื้อเยื่อปกติไม่ได้รับอันตรายและความเย็นไม่เป็นอันตรายสามารถเพิ่งปริมาณได้ไม่จำกัด
สามารถดูเลมะเร็งที่มีขนาดเล็กหรือใหญ่หรือก้อนเดียวหรือหลายก้อนได้ และช่วยทำลายมะเร็งที่แพร่กระจายไปที่อื่นได้ด้วย
การใช้ laser
การจี้ด้วยไฟฟ้า electrocoagulation diathermy
เพื่อป้องกันการเสียเลือดทำให้แผลผ่าตัดสะอาดภายหลังการบาดเจ็บ ใช้ในการกำจัดเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ
มีประโยชน์ในการปิดแผลที่เส้นเลือดไปในเวลาเดียวกัน
คือการใช้ไฟฟ้าเพื่อให้ความร้อนแก่เนื้อเยื่อ
การใช้ขดลวดไฟฟ้า loop diathermy
เป็นการรักษาความผิดปกติของปากมดลูกก่อนเป็นมะเร็งและมะเร็งระยะแรกเริ่ม
เป็นการใช้เครื่องจี้ไฟฟ้าที่มีความถี่สูงและใช้หัวที่จี้ด้วยลวดโลหะขดเป็นวง ไฟฟ้ากระแสสลับมีความถี่สูงเมื่อวิ่งผ่านขดลวดจะเกิดพลังงานทำให้ชิ้นเนื้อมีลักษณะเป็นแว่น
การตัดปากมกลูกเป็นกรวย conization
ช่วยในการรักษาโรคในผู้ป่วยที่เป็นระยะก่อนเป็นมะเร็ง ถ้าตัดออกได้หมดมักจะหายขาดจากโรคได้
ช่วยในการวินิจฉัยโรคในรายที่การตัดชิ้นเนื้อปากมดลูกออกเพื่อการวินิจฉัยยังไม่ได้ข้อสรุป
มี 3 วิธีคือ
การตัดปากมดลูกด้วยมีด เป็นแบบดั้งเดิม
การตัดด้วยขดลวดไฟฟ้า เป็นที่นิยมมากสุด เพราะสามรถรับการผ่าตัดได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาชาหรือยาระงับความรู้สึก
การตัดด้วยเลเซอร์ ไม่นิยมเนื่องจากเครื่องมือมีราคาสูง
การผ่าตัดเอามดลูกออกทางหน้าท้อง Total Abdominal Hysterectomy : TAH
ลักษณะรอยโรคที่ควรพิจารณาผ่าตัดคือ
ขนาดมดลูกใหญ่มากกวาครรภ์ 12 สัปดาห์
ก้อนที่บริเวณปีกมดลูก
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญ
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เป็นบริเวณกว้าง
การผ่าตัดเอามดลูกออกคงเหลือปากมดลูกไว้
คือการผ่าตัดทางหน้าท้องเอามดลูกออกทั้งหมด รวมทั้งคอมดลูก ปีกมดลูก และรังไข่ออกทางหน้าท้อง
การผ่าตัดใหญ่เพื่อเอามดลูกและต่อมน้ำเหลืองของอุ้งเชิงกรานออก Radical Hysterectomy and Pelvic Node Dissection: RHND
เป็นการผ่าตัดมดลูกแบบถอนรากถอนโคน
เป็นวิธีที่ช่วยให้ผู้ป่วยระยะแรกเริ่มหายขาด หรือช่วยยืดอายุ และลดความทุกข์ทรมานในผู้ป่วยระยะสุดท้าย
การรักษา
การผ่าตัด
Explore Laparotomy
จําเป็นในรายที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างหรือรายที่การทําผ่าตัดแบบ Laparoscopic ล้มเหลว
Conservative Surgery
Surgeryรักษาในสตรีที่อายุน้อย และมีความต้องการที่จะมีบุตร ทําโดยการผ่าตัดเลาะเฉพาะจุดที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกที่ขึ้นผิดที่ออก คงสภาพท่อนําไข่เอาไว้ในมากที่สุด
Laparoscopic Surgical
นิยมในปัจจุบัน
ข้อดี: ขนาดของแผลเล็ก ความเจ็บปวดภายหลังผ่าตัดไม่มาก ใช้เวลาพักฟื้นน้อยและลดการเกิดพังผืดในช่องท้อง
Radical Surgery
ตัดมดลูก ท่อรังไข่และรังไข่รวมถึงเลาะพังผืด (Lysis Adhesion) ออกทั้งหมด
รักษาด้วยยา
ใช้ฮอร์โมนเพื่อควบคุมการหลั่งของGnRHทําให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อมีภาวะ pseudopregnancy
Progesterone
เช่นDepoMedroxyProgesterone Acetate (DMPA) จะยับยั้งการหลั่งFSH และLH
Danazol
Danazolยับยั้งการหลั่งของGnRHส่งผลให้เกิดการฝ่อของเยื่อบุโพรงมดลูกจากการที่มีระดับเอสโตรเจนที่ต่าและมีปริมาณแอนโดรเจนที่สูงขึ้น สามารถลดปริมาณประจําเดือนได้ถึง 50% หรือทําให้ไม่มีประจําเดือนให้ยาขนาด 200 มก./วัน
ผลข้างเคียงมากจากการที่มีระดับแอนโดรเจนที่สูง คือ น้าหนักเพิ่ม หน้ามัน เป็นสิว
Combined Estrogen-Progestin Hormone
ยับยั้งการหลั่งของFSH, LH ทาให้รังไข่หยุดทางาน
GnRHagonist
ยับยั้งการหลั่งของGnRH
อ้างอิง
กําธร พฤกษานานนท์.ภาวะเย่ือบุโพรงมดลูกอยู่ผิดที่ในอุ้งเชิงกราน Endometriosis.สืบค้น11/1/2564,จาก
http://wongkarnpat.com/upfilepat/%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%99%E0%B9%8C%20393-394.pdf
โรงพยาบาลธนบุรี.โรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่.สืบค้น11/1/2564,จาก
https://www.thonburihospital.com/Endometriosis.html
Radical wide excision
การตัดรอยโรคออกให้ลึกและกว้าง ห่างจากมะเร็งอย่างน้อย 1 cm
1.5 Relaxation of vagina outlet (RVO)
คือ การหย่อนหรือไม่กระชับของฝีเย็บหรือปากช่องคลอด
มักพบในสตรีที่เคยคลอดบุตรมาหลายครั้ง หรือไม่ได้รับการเย็บฝีเย็บ
เคมีบำบัด
สันติ พงศ์ภัณฑารักษ์.(2561).เนื้องอกในมดลูก.สืบค้นเมื่อ 13 มกราคม 2564,จาก
https://www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/
6.ท้องอืด เบื่ออาหาร