Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
The Digestive System - Coggle Diagram
The Digestive System
1.อาการวิทยาของโรคระบบทางเดินอาหาร
ปวดท้อง เกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้อง
Generalized pain – ปวดทั่วท้อง มักเกิดจากติดเชื้อไวรัส อาหารไม่ย่อยมีแก๊ส ถ้ารุนแรงจะเกิดจากลำไส้อุดตัน
Localized pain – ปวดเฉพาะที่ มักเป็นสัญญาณความผิดปกติของอวัยวะภายใน
Cramping pain – ปวดเหมือนตะคริว มักเกิดจากมีแก๊ส หรือท้องอืด และตามด้วยท้องเสีย หากปวดบ่อย มีไข้ร่วม หรือปวดนานกว่า 24 ชั่วโมง สะท้อนว่าผิดปกติ
Colicky pain – ปวดบิด มักเกิดจากการหดรัดตัวรุนแรงของลำไส้และท่อไต ปวดตามจังหวะการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อ สาเหตุที่รุนแรง เช่น นิ่วในไต หรือนิ่วในท่อน้ำดี
Referred pain – ปวดร้าว เกิดจากอวัยวะภายในช่องท้องถูกกระตุ้นและส่งกระแสประสาทผ่านไขสันหลัง T6 ถึง T12 ไปยังสมองเพื่อแปลผลเป็นความเจ็บในช่องท้อง ในขณะเดียวกันจะส่งกระแสประสาทไปยังผิวหนังทำให้มีอาการปวดที่ผิวหนัง
คลื่นไส้ อาเจียน – คลื่นไส้เป็นอาการไม่สบายกระเพาะอาหาร จะเกิดร่วมกับอาเจียนหรือไม่ก็ได้ , อาเจียน หมายถึงการผลักเศษอาหารหรือของเหลวที่มีอยู่ในกระเพาะหรือลำไส้ออกมาทางปากอย่างแรง
กลืนลำบาก ( Dysphagia ) คือ อาการที่เกิดขึ้นหลังการกลืนอาหารโดยมีความรู้สึกว่า อาหารหรือของเหลวที่กลืนไปติดที่หลอดอาหารหรือกลืนไม่ลง
กลืนลำบากที่บริเวณหลอดอาหาร มีสาเหตุจากมะเร็งหลอดอาหารทำให้เกิดการตีบตันรู้สึกอาหารติดที่หน้าอก ส่วน Achalasia และ Diffuse esophageal spasm ทำให้เกิดการไม่ประสานงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
กลืนลำบากที่บริเวณคอหอย มีสาเหตุจากความผิดปกติของระบบกล้ามเนื้อหรือระบบประสาท มักกลืนไม่ลง ไอ อึดอัด แต่ถ้าต่อมไทรอยด์โตหรือมีมะเร็งหลัง Cricoid cartilage จะมีก้อนอุดในคอ
แสบร้อนกลางอก / แสบหน้าอก ( Heartburn , Pyrosis ) เป็นอาการแสบหรือร้อนคล้ายไฟลนที่บริเวณลิ้นปี่หรือกลางทรวงอกส่วนล่าง จัดเป็นความปวดชนิดหนึ่ง เกิดจากความผิดปกติของการบีบตัว Neuromuscular activity ที่บริเวณขั้วหรือเหนือขั้วของกระเพาะอาหาร รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงในการเกร็งตัวของหลอดอาหาร
เลือดออกในระบบทางเดินอาหาร ( Gastrointestinal Bleeding ) แบ่งเป็น 2 ชนิด
ภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนบน ( Upper Gastrointestinal Bleeding ) คือมีเลือดออกจากตำแหน่งที่สูงกว่า Ligament of Treitz หรือบริเวณรอยต่อของลำไส้ส่วน Duodenum กับส่วน Jejunum จะมีอาการคือ อาเจียนเป็นเลือด ( Hematemesis ) และมีถ่ายดำเหนียวเหมือนยางมะตอยและเหม็น ( Melena or tarry stool ) ร่วมด้วย
ภาวะเลือดออกทางเดินอาหารส่วนล่าง ( Lower Gastrointestinal Bleeding ) คือมีเลือดออกจากตำแหน่งที่ต่ำกว่า Ligament of Treitz ถึงรูทวาร อาการจะมีถ่ายเป็นเลือดสด มูกปนเลือด ถ่ายดำปนแดง ถ้าเสียเลือดเรื้อรังจะมีภาวะซีดร่วมด้วย ตรวจอุจจาระพบว่ามี occult blood
2.การพยาบาลผู้ป่วยที่มีโรคทางเดินอาหารส่วนต้น
-มะเร็งช่องปาก ( Oral cancer or Carcinoma of the mouth ) เนื้องอกชนิด squamous cell carcinoma พบได้ที่ริมฝีปาก buccal mucosa ลิ้น เหงือก และพื้นปาก ชนิด Basal cell carcinoma พบได้บริเวณริมฝีปาก
สาเหตุ ปัจจัยส่งเสริม คือสูบบุหรี่ การดื่มแอลกลอฮอล์ และเคี้ยวหมาก
อาการและอาการแสดง : ที่ริมฝีปาก เริ่มจากการเป็นแผลนูน โตเร็ว แตกบานออก ผิวไม่เรียบ เหมือนกะหล่ำ ในช่องปากอาจเป็นแผลที่มีความลึก ( ulceration ) หนาตัวหรือเป็นผิวหยาบหรือเป็นจุดก็ได้ อาจเป็นแผ่น( Patch ) สีขาว แข็ง เรียกว่า Leukoplakia ถือเป็น premalignant condition ระยะไม่ปวด เมื่อลุกลามไปมากจะปวด
ตรวจวินิจฉัย ตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจ
การรักษา การผ่าตัดซึ่งต้องทำศัลยกรรมตกแต่งด้วยการปลูกผิวหนัง ( Graft ) และเนื้อเยื่อ ( Flap ) ถ้าลุกลามจะผ่าตัดเอาต่อมน้ำเหลืองที่คอออกหมดด้วย ( RND-Radical neck dissection ) และ/หรือรังสีรักษา
-โรคกรดไหลย้อน ( Gastro-esophageal reflux disease : GERD ) เป็นโรคที่เกิดจากการไหลกลับของสิ่งคัดหลั่ง
การวินิจฉัย การซักประวัติ อาการและอาการแสดง และยืนยันโดยการตรวจ 24 – hour esophageal pH monitoring
การรักษา การให้ยากลุ่ม PPI ( Proton-pump inhibitor ) และการผ่าตัดเพิ่มความดันหูรูดส่วนล่าง
อาการที่พบ อาการปวดในทรวงอก หรืออาการปวดหลังกระดูกหน้าอก ( retrosternal chest pain ) หรืออาการแสบร้อนกลางอก อาการปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่ นอกจากนี้ยังมีอาการอาหารไม่ย่อย ( Dyspepsia ) ขย้อนอาหาร ( Regurgitation ) พูดและกลืนลำบากและน้ำลายไหลมาก ( Hypersalivation
-มะเร็งกระเพาะอาหาร ( Gastric adenocarcinoma ) พบในผู้ชายมากกว่าผู้หยิง 2 เท่า สาเหตุยังไม่พบแน่ชัด
อาการแรกเริ่มไม่มีอาการหรือว่ามีอาการปวด เมื่อก้อนโตขึ้นจะมีอาการ Pain at epigastrium , Anorexia and weight loss , Nausea and vomiting , Dysphagia , Early satiety , Upper GI hemorrhage , Abdominal mass , Palpable lymph node
การรักษา มีการผ่าตัด , Chemotherapy , Radiation , Target therapy
-Stress ulcer เป็นการอักเสบของกระเพาะอาหาร ( gastritis ) ในลักษณะของ erosions หรือ ulcer โดยเกิด Stress จากสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น ช็อก การบาดเจ็บรุนแรง , การผ่าตัดใหญ่ , การติดเชื้อในกระแสเลือดหรือไฟไหม้ เป็นต้น และจากเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของ CNS
อาการและอาการแสดง จะมี sign ของการตกเลือด
การรักษา มักทำการป้องกันในผุ้ป่วยที่มีความเสี่ยงคือ ผู้ป่วยใน ICU ที่ได้รับยาลดกรด และ H2blockers เช่น Ranitidine หรือ Sucralfate
-แผลเป็ปติก ( Peptic ulcer ) เป็นภาวะที่มี acute peptic ulcer มักเป็นชั้น superficial ของ mucosa หรือ chronic peptic ulcer แผลลงลึกไปถึง submucosa มีขอบเรียบและ clean base
เกิดขึ้นในบริเวณที่มี Gastric secretions เช่น หลอดอาหารส่วนกลาง , กระเพาะอาหาร , ลำไส้เล็กส่วน duodenum และ jejunum แบ่งเป็น 2 ประเภท Gastric ulcer ( แผลในกระเพาะอาหาร ) ส่วนใหญ่เกิดที่ lesser curve มักมีปริมาณของ gastric secretion และ gastric emptying rate ปกติ แต่มีการเพิ่มของการแพร่กลับของกรดเข้าสู่ gastric tissue ส่วน Duodenal ulcer ( แผลในลำไส้ล็ก ) มักมีจำนวนกรดเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ และ gastric emptying rate สูงกว่าปกติ
อาการและอาการแสดง epigastric pain or heartburn , อาการปวดท้องสัมพันธ์กับการรับประทานอาหาร , คลื่นไส้ หรืออาจร่วมกับปวดท้องหรืออาเจียน , อาการปวดหลัง
การรักษา ใช้ยา H2 – receptor antagonists , การผ่าตัดเมื่อมีอาการแทรกซ้อน
3.การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโรคทางเดินอาหารส่วนปลาย
2.Inflammation of the lower Gastrointestinal Tract
-Diverticular Disease / Diverticulitis คือการอักเสบของ Diverticulum
Diverticulum คือถุงเล็กๆคล้ายไส้ติ่งที่เกิดจากเยื่อบุลำไส้ยื่นผ่านชั้นกล้ามเนื้อออกมาภายนอกลำไส้ อาจพบที่ใดก็ได้ในทางเดินอาหารและมักเกิดทีละหลายๆถุง
Diverticulosis คือภาวะที่มี Diverticula หลายๆอันแต่ไม่มีการอักเสบและไม่มีแสดงอาการใดๆ
สาเหตุ แรงดันในลำไส้มากขึ้น เนื่องจากทานอาหารที่มี fiber น้อยเป็นประจำ , การเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของลำไส้ที่ทำให้ผนังลำไส้ไม่แข็งแรง เช่น Muscular hypertrophy , Normal aging process
อาการและอาการแสดง Diverticulosis ไม่มีอาการแสดงและแบบแผนการขับถ่ายเปลี่ยนแปลง หรือมี rectal bleeding ปวดบริเวณ LLQ คลื่นไส้ อาเจียน และปัญหาขับถ่ายปัสสาวะ , Diverticulitis จะปวดท้องบริเวณที่มีการอักเสบ ท้องผูก/ท้องเสียมากขึ้น ท้องอืด มีไข้ต่ำๆ มีก้อนเป็นปล้องที่ท้องด้านซ้าย
การวินิจฉัย ผลการตรวจ colonoscopy , CT scan , Ultrasound , Barium enema พบว่าลำไส้เป็นถุงเล็กๆ
การรักษา หลักการักษาเมื่อเกิดการอักเสบคือการให้ลำไส้ได้พักผ่อน , ถ้ารักษาด้วยยาหรือเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ทะลุหรือมีฝี จะมีการผ่าตัด
-เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ( Peritonitis ) สาเหตุ Primary Peritonitis มาจาก Bacterial infection , การแตกทะลุของอวัยวะในช่องท้อง ส่วน Secondary Peritonitis การได้รับบาดเจ็บ , การระคายเคืองของสารเคมี
การรักษา รักษาตามอาการ , ต้องให้ยาปฏิชีวนะจำพวก broad spectrum ในขนาดสูง , ให้ยา analgesics และ antiemetics ตามความเหมาะสม , ถ้าอวัยวะแตกหรือทะลุต้องรีบผ่าตัด , ให้ Fluid และ electrolyte ทดแทนป้องกันภาวะ shock
อาการและอาการแสดง ปวดท้องรุนแรง ท้องแข็งตึง หน้าท้องเกร็ง มีไข้สูง คลื่นไส้ อาเจียน อาจเกิด hypovolemic shock และ septicemia ผู้สูงอายุจะอาการรุนแรงไม่เท่าวัยรุ่น
-Inflammatory Bowel Disease ( IBD ) หมายถึง การอักเสบและเป็นแผลเรื้อรังของผนังระบบทางเดินอาหาร IBD ที่พบบ่อยคือ Crohn’s disease ( หรือ regional enteritis ) และ ulcerative colitis ซึ่งไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนเป็นปฏิกิริยาที่ซับซ้อนระหว่างพันธุกรรม ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และปัจจัยสิ่งแวดล้อม เมื่อมีสิ่งเร้าภายนอก
การวินิจฉัยโรค Crohn’s disease การทำ barium study ของ upper GI tract จะเห็น “string lesions” ( การหดรั้งของลำไส้ที่เกิดจากตีบแคบอย่างรุนแรงของ lumen ) ที่บริเวณส่วนปลายของ Ileum ซึ่งบ่งชี้ลักษณะสำคัญของ Crohn’s disease , ulcerative colitis จะพบความผิดปกติของ mucosa มีการดึงรั้ง fistula ของลำไส้เป็นแห่งๆ จะเห็น colon ที่สั้นกว่าปกติ เมื่อทำ endoscope จะพบ mucosa ที่อักเสบมีสารคัดหลั่งและมีแผล
การรักษาจะรักษาตามอาการ มีทั้งการผ่าตัดและการใช้ยา
-ไส้ติ่งอักเสบ ( Appendicitis ) หมายถึงการอักเสบของ Vermiform appendix สาเหตุ มีการสะสมของ mucus หรือมีการตกค้างและอุดตันของรูเปิดไส้ติ่ง จนทำให้เกิดการอักเสบและติดเชื้อ ปัจจุบันพบว่ามีการอุดตันโดย facalith ( เศษอุจจาระที่มีลักษณะแข็ง ) การอักเสบ ก้อนเนื้องอก พยธิ หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆเป็นสาเหตุที่พบบ่อย
อาการและการแสดง การปวดท้องเฉียบพลัน เริ่มที่ลิ้นปี่หรือใต้สะดือ จากนั้นจะเคลื่อนมาปวดที่ RLQ บริเวณ McBurney’s Point ( จุดกึ่งกลางระหว่างสะดือกับ right anterior iliac crest ) การปวดเริ่มแรกจะปวดเป็นระยะๆ จากนั้นจะปวดอย่างต่อเนื่องและรุนแรง ผู้ป่วยมักมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนและมีไข้ต่ำๆร่วม หรือบางรายท้องผูก
การรักษา ทำการผ่าตัด ( Appendectomy ) โดยเร็วที่สุดเพื่อป้องกัน ruptured appendix ในกรณีมี rupture และ perforation เกิดขึ้นจะให้ Antibiotics และ IV fluid จากนั้นจึงพิจารณาผ่าตัดหลังรับยาอย่างน้อย 6 – 8 ชั่วโมง
1.Functional Bowel Disorders
-Irritable Bowel Syndrome (IBS ) หมายถึงกลุ่มอาการทางเดินอาหารที่หาสาเหตุผิดปกติของโครงสร้างและการทำงานของสารชีวเคมีของลำไส้ไม่พบ มีลักษณะเรื้อรังเป็นๆหายๆ ของอาการปวดท้อง ท้องอืดขับถ่ายที่ผิดปกติ
อาการและอาการแสดง Classic symptoms ของ IBS คืออาการปวดท้อง colicky pain , crampy pain โดยอาการปวดจะหายไปหลังอุจจาระหรือผายลม ตำแหน่งไม่แน่นอนมักปวดทางด้านซ้าย เกิดจากการหดตัวของลำไส้แบบ spastic contraction ท้องอืดแน่นท้อง คลื้นไส้ เรอ มีความรู้สึกถ่ายไม่สุด ปวดถ่ายแต่ถ่ายไม่ออก แบบแผนขับถ่ายผิดปกติ และปวดมากเมื่อเบ่ง มักพบมูกในผู้ที่ท้องร่วง
การวินิจฉัยเพื่อบ่งชี้ IBS โดยการทำ Stool examination , contrast x-ray studies , proctoscopy และ rectal biopsy
การรักษา เป้าหมายคือควบคุมอาการท้องผูกหรือท้องเสียและลดความเครียดหรือความไม่ปกติของอารมณ์ ใช้ยาตามอาการ
-Malabsorption Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการที่ขาดสารอาหารที่เกิดจากการที่ระบบทางเดินอาหารไม่สามารถดูดซึมอาหาร วิตามิน หรือแร่ธาตุได้
อาการและอาการแสดง เกิดจากการย่อยอาหารหรือดูดซึมที่ผิดปกติคือ Diarrhea หรือถ่ายเป็นกากอาหารจำนวนมาก ถ้าดูดไขมันไม่ได้จะถ่ายเป็น Steatorrhea , มีอาการปวดแน่นท้อง , อ่อนเพลีย ไม่สุขสบาย , อาการเฉพาะขาดสารอาหาร
กาวินิจฉัยโรค ทำEndoscopy และ Biopsy ส่งชิ้นเนื้อลำไส้ตรวจ และ radiologic imaging studies และวิเคราะห์สาเหตุโดย stool studies , lactose tolerance tests , Shcilling test , D-xylose absorption
การรักษาจะรักษาตามสาเหตุที่พบ โดยใช้ทั้งยาและอาหาร
3.Obstructive disorder
-สำไส้อุดตัน ( Intestinal Obstruction ) ภาวะที่สารคัดหลั่งในลำไส้ไม่สามารถผ่านลำไส้ไปได้ ส่วนใหญ่เกิดที่ลำไส้เล็ก
อาการและอาการแสดง มีอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องอืด คลื่นไส้ ไม่ถ่าย ไม่ผายลม ซึ่งในระยะแรกจะมีอาการปวดท้องถี่มาก Bowel sound มาก ระยะที่ไม่ทำงานแล้วจะไม่มี Bowel sound มีไข้สูง เสี่ยงเกิดHypovolemic shock
การรักษา งดน้ำงดอาหารระบายcontent , ให้สารน้ำและelectrolyte , ให้ยาปฏิชีวนะ เมื่อติดเชื้อ , ถ้าเป็น Mechanical obstruction จะผ่าตัด
เนื่องจากมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาอุดตัน ( Mechanical obstruction ) ได้แก่ มะเร็ง , เนื้องอก , อุจจาระอุดตัน( Fecal impact ) , การติดกันของพังผืด( Adhesion ) , ลำไส้บิดเกลียว( Volvulus ) , ไส้เลื่อน( Inguinal hernia ) , ลำไส้กินกัน( Intussusception ) หรือเกิดจากการทำงานของลำไส้ผิดปกติ
เกิดได้บางส่วนหรือทั้งหมด ( Functional obstruction ) เกิดจากการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยมีการรบกวนโดยหยิบจับหรือสัมผัสลำไส้ เช่นการผ่าตัด และสาเหตุอื่น เช่นอวัยวะในช่องท้องทะลุ บาดเจ็บเสียหาย
-ไส้เลื่อน ( Intestinal hernia ) การที่อวัยวะในช่องท้องเลื่อนจากตำแหน่งเดิมไปบริเวณใกล้เคียง เกิดจากผนังกล้ามเนื้อบางส่วนอ่อนแอ ร่วมกับแรงดันในช่องท้องเพิ่มมากขึ้น ทำให้ดันอวัยวะนั้นไปบริเวณใกล้เคียง
Hiatal Hernia คือกระเพาะอาหารดัน Diaphragm ทำให้ Gastric juice ไหลย้อนไปที่หลอดอาหาร จะทำให้มีอาการแสบร้อนกลางอก การรักษา ถ้าไม่รุนแรงจะให้ยาลดกรด แต่ถ้ารุนแรงจะผ่าตัด
Inguinal Hernia แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
Indirect Inguinal Hernia เป็นการที่ลำไส้ยื่นผ่าน Abdominal inguinal ring มายัง inguinal canal ในผู้ชายลงในอัณฑะ ในผู้หญิงลง Labia มีอาการปวดเมื่อออกแรง ดีขึ้นเมื่อนอนหงาย
Direct Inguinal Hernia เป็นการที่ลำไส้ยื่นผ่านผนังหน้าท้องที่อ่อนแรง เหนือ inguinal ligament มายัง inguinal canal โดยไม่ผ่าน inguinal ring ปกติไม่ปวด นอนหงายหายปวด นั่งหรือยืนจะพบก้อนที่บริเวณหัวหน่าว การรักษา Indirect Inguinal Hernia ถ้าไม่สามารถดันกลับจะผ่าตัด Herniorrhaphy หรือ Hernioplasty
Incisional Hernia ลำไส้โผล่ออกมาบริเวณหน้าท้องที่เคยมีการผ่าตัดมาก่อน เป็นมาจากการหายของแผลไม่ดี ทำให้แผลแยก( Wound dehiscence ) การรักษา เย็บผิดแผล
-มะเร็งลำไส้เล็ก ( Small Intestinal Cancer ) สาเหตุไม่แน่ชัด ในระยะแรกไม่มีอาการมาก และมีอาการเป็นอาการทั่วไปของโรคมะเร็งอื่นๆ การรักษา ที่ได้ผลดีที่สุดคือ การผ่าตัด , ในกรณีที่มีการลุกลามจะแก้ไขแค่การอุดตันและเลือดออก , อาจให้ยาเคมีบำบัดหรือรังสีรักษาร่วมด้วย
-มะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง ( Colorectal Cancer ) ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด มี 4 ระยะ
โดยระยะที่ 1 มีก้อนมะเร็งอยู่ชั้น Mucosa ไม่ลุกลาม , ระยะที่ 2 มีก้อนโตขึ้นทะลุเข้ามาในชั้นกล้ามเนื้อ หรือ ถึงชั้นเยื้อหุ้มลำไส้ ไม่ลุกลาม , ระยะที่ 3 มะเร็งใหญ่หรือเล็กก็ได้ขอแค่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองแต่ไม่ไปอวัยวะอื่น , ระยะที่ 4 มะเร็งใหญ่หรือเล็กก็ได้ขอแค่ลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองและไปอวัยวะอื่นด้วย
การรักษา การผ่าตัดได้ผลดีที่สุด ในกรณีไม่ลุกลามอาจจะทำเพียงผ่าตัด , เคมีบำบัดในระยะ 3 , 4 หลังผ่าตัด , รังสีรักษา จะใช้ร่วมกับการผ่าตัดพิจารณาเป็นกรณีๆไป
4.Anorectal Disorder
-ริดสีดวงทวาร ( Hemorrhoids ) เป็นภาวะหลอดเลือดดำที่มีอยู่ตามธรรมชาติของคนทั่วไป ในบริเวณทวารหนักเกิดการปูดพองเป็นหัวเรียกว่าหัวริดสีดวง แล้วมีการปริแตกของผนังหลอดเลือดขณะเบ่งถ่ายอุจจาระ ทำให้มีเลือดเป็นครั้งคราว อาจพบเพียงหัวเดียวหรือหลายหัวก็ได้
สาเหตุที่เกิดเนื่องจากมีภาวะความดันในหลอดเลือดดำสูงโดยแบ่งเป็น เกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดบริเวณนั้น , เกิดจากการเพิ่มความดันของอุ้งเชิงกราน , อยู่ทาเดิมนานๆ หรืออ้วนเกินไป
ชนิดของริดสีดวงทวาร ริดสีดวงภายใน( Internal hemorrhoid ) คือริดสีดวงที่อยู่เหนือเส้นสมมติ dentate line , ริดสีดวงภายนอก( External hemorrhoid ) คือริดสีดวงที่อยู่ใต้เส้นสมมติ dentate line, Mixed hemorrhoid คือ มีริดสีดวงทั้งในและนอก
อาการและอาการแสดง 1.ถ่ายเป็นเลือดสด 2.มีก้อนออกมาขณะถ่าย 3.เจ็บบบริเวณทวารหนัก(ภาวะแทรกซ้อน) หรือถึงขั้นมีเนื้อตาย
การรักษาจะมีการผ่าตัดเมื่อมีอยู่ในระยะ 3 – 4 ที่มีขนาดใหญ่
-ฝีคัณฑสูตร ( Anorectal Abscess and Fistula In Ano ) มีระยะเฉียบพลัน( anorectal abscess ) เป็นผลจากการอักเสบของต่อมเมือกในช่องทวารหนักมักเป็นซ้ำซ้อนและกลายเป็นเรื้อรัง( fistula in ano ) คือช่องทางติดต่อระหว่าง Anal canal กับผิวหนังส่วนนอกบริเวณ Perineum
อาการและอาการแสดง ระยะฉียบพลัน ขอบทวารหนักบวมและเจ็บ( perianal abscess ) แก้มก้นด้านในจะบวมและเจ็บมักมีไข้ร่วม ปวดในทวารหนักตลอดเวลา ปวดมากตอนเบ่ง , ระยะเรื้อรัง มีตุ่มที่ขอบทวารหนัก คันๆเจ็บๆ มีน้ำเหลืองซึม บางครั้งอักเสบบวมแดงและมีหนองออก เป็นๆหายๆ อาจมีประวัติเฉียบพลันมาก่อน
การรักษามีการใช้ยาและการผ่าตัด
5.การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินน้ำดี
-ถุงน้ำดีอักเสบ ( Cholecystitis ) มีทั้งระยะที่เฉียบพลันและเรื้อรัง โดยสามารถสรุปปัจจัยเสี่ยงเป็น 4F ดังนี้ Female(ผู้หญิง) , Fat(อ้วน) , Forty(อายุมากกว่า 40 ปี) , Fertile(เคยตั้งครรภ์ – มีบุตรแล้ว)
สาเหตุ Calculous Cholecystitis คืออักเสบโดยมีนิ่ว , Acalculous Cholecystitis คืออักเสบโดยไม่มีนิ่ว
อาการและอากแสดง อาการปวดที่รุนแรงที่ใต้ชายโครงขวาและร้าวไปลิ้นปี่หรือไหล่และปวดมากขึ้นเมื่อหายใจเข้าลึกๆ ถ้าเป็นแบบเฉียบพลันจะปวดแบบ Colicky pain ถ้าเป็นแบบเรื้อรังจะปวดเป็นพักๆ ปวดมากจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ซีด เหงื่อออกและอ่อนเพลีย , พบRebound tenderness (Blumberg’s sign) , เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน , ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย , มีไข้ หนาวสั่น(บางรายหนาวสั่น) , ตา ตัวเหลือง ปัสสาวะเข้ม อุจจาระซีด และมีไขมันในอุจจาระ พบในผู้ป่วยท่อน้ำดีอักเสบร่วมด้วย , มีอาการขาดวิตามินละลายในไขมัน
การรักษา จะให้การรักษาแบบประคับประคองคือแก้ไขตามอาการ , การผ่าตัด
-นิ่วน้ำดี ( Gallstone , Cholelithiasis ) เป็นการรวมตัวของสารเคมีต่างๆจนเกิดเป็นก้อนนิ่ว ที่ใดก็ได้ในถุงเดินน้ำดี
อาการและอาการแสดง อาการปวดจะปวดแบบ Colicky pain อย่างรุนแรงเหมือนมีมีดทิ่มแทง อาจปวดร้าวไปไหล่ขวาหรือหลัง ตำแหน่งจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่เกิดนิ่ว , ตา ตัวเหลือง , อาหารไม่ย่อย , อาการขาดวิตามินชนิดละลายในไขมัน เลือดออกง่าย , คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ และเลือดขาวสูงขึ้น , อุจจาระซีด เทา คล้ายดินเหนียว ปัสสาวะสีเข้ม
การรักษา การใช้เครื่องสลายนิ่ว , การกำจัดนิ่วโดยการส่องกล้อง , การรักษาด้วยการผ่าตัด
ประเภทของนิ่วน้ำดี Pigment stones(calcified stones) คือนิ่วที่มีเม็ดสีและสารละลายอื่นๆที่อยู่ในน้ำดีและมีสถานะไม่อิ่มตัว , Cholesterol stones คือนิ่วที่มีส่วนประกอบเป็นคอสเลสเตอรอลมากกว่า 70%
-มะเร็งท่อน้ำดี ( Cholangiocarcinoma : CHCA ) คือมะเร็งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังของท่อน้ำดีทั้งที่อยู่ภายในและภายนอก การจำแนกโดยจำแนกดังนี้
Intrahepatic cholangiocarcinoma : 1 = peripheral cholangiocarcinoma , 2a, 2b = right and left hepatic duct , 3 = perihilar carcinoma and Klatskin tumors
Extrahepatic cholangiocarcinoma : 4 = common hepatic duct , 6 = cytstic duct , 7 = common bile duct
อาการและอาการแสดง ในระยะแรกๆไม่แสดงอาการ มักแสดงอาการในระยะท้ายๆโดยทั่วไปมีอาการปวดที่ท้องไปชายโครงขวา และอาจร้าวไปหลังหรือไหล่ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตับโต
การรักษา การผ่าตัด , การรักษาแบบประคับประคองเมื่อไม่เอื้อต่อการผ่าตัด , การใช้รังสีรักษามักรักษาร่วมหลังจากการผ่าตัด , ให้ยาเคมี แต่ไม่สามารถสรุปได้ว่าทำให้มะเร็งหาย
6.การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับอ่อน
ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน ( Acute Pancreatitis )
สาเหตุ การดื่มสุราเป็นประจำ , ผู้ที่มีโรคเกี่ยวทางเดินน้ำดี , ผู้ที่ได้รับการกระทบกระเทือนทางช่องท้อง , ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง , ผู้ที่มีการเผาผลาญผิดปกติ , ผู้ที่มีไตวาย , มีการติดเชิ้อ , การอักเสบของหลอดเลือด
อาการและอาการแสดง ปวดท้องรุนแรง มักปวดที่ลิ้นปี่หรือทั่วบริเวณ LUQ ของหน้าท้องและปวดร้าวไปที่หลัง , บางรายอาจมาด้วยอาการโรคเบาหวาน ,ตา ตัวเหลือง
การรักษาจะรักษาตามอาการ
ตับอ่อนอักเสบเรื้อรัง ( Chronic Pancreatitis )
มีลักษณะเด่นคือจะมีลักษณะเด่นคือผู้ป่วยจะมีระยะอาการของโรคสงบ(remission) และระยะอาการกำเริบ(exacerbation) สลับกัน ต่างจากเฉียบพลันคือมีอาการตับอ่อนบวม
ประเภทแบ่งได้ 2 กลุ่ม Alcohol-induced chronic (Chronic calcifying pancreatitis : CCP) เป็นการอักเสบที่เกิดจากการทานสุราเป็นเวลานานและเป็นประจำ , Chronic obstructive pancreatitis เกิดจากการที่ sphincter of Oddi มีการอักเสบ หดเกร็งหรืออุดตัน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากนิ่วถุงน้ำดี
อาการและอาการแสดง และการรักษาจะคล้ายกับชนิดเฉียบพลัน
4.การพยาบาลผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของตับ
-ภาวะตับแข็งและตับเสียหน้าที่
ตับแข็ง ( Cirrhosis ) คือโรคตับเรื้อรังระยะสุดท้าย เนื้อตับมีรอยโรค (scar) เกิดขึ้นโดยทั่วและมีอาการของตับเสียหน้าที่ โรคตับแข็งจะเกิดขึ้นโดยไม่แสดงอาการภายนอกและเมื่อตับเสียหน้าที่และแสดงอาการออกภายนอก
สาเหตุ การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี,ซี , จากการดื่มสุรา , autoimmune hepatitis , ไขมันคอสเลสเตอรอลสะสมที่ตับ , การอุดกั้นทางเดินน้ำดี ได้รับสารพิษ
ประเภทของตับแข็ง Compensated cirrhosis เป็นระยะแรกตับจะโตขึ้นเพราะทำหน้าที่ทดแทน , Decompensated cirrhosis เป็นระยะหลังของโรค ตับจะฝ่อและสูญเสียหน้าที่ต่างๆอย่างชัดเจน
อาการและอาการแสดง การสูญเสีหน้าที่ของการเผาผลาญไขมัน โปรตีน และคาร์โบไฮเดรต , การสูญเสียหน้าที่ในการสร้างปัจจัยในการแข็งตัวของเลือดและการสร้างเซลล์เม็ดเลือด , การคั่งของเลือดในระบไหลเสียนเลือด , สูญเสียหน้าที่ในการจัดการบิลิรูบิน , สูญเสียหน้าที่ในการเผาผลาญฮอร์โมน , สูญเสียหน้าที่ในการทำลายพิษและกำจัดยา สารเคมี และแอมโมเนีย
การรักษา ทางอายุรกรรม ไม่มียารักษาให้หายขาด วัตถุประสงค์ป้องและรักษาภาวะแทรกซ้อน , ทางศัลยกรรม เพื่อรักษาภาวะแทรกซ้อน
-ตับอักเสบ ( Hepatitis ) การที่เซลล์ตับเกิดการอักเสบที่พบบ่อยมีดังนี้
Hepatitis A virus (HAV ; Infectious hepatitis) ระยะฟักตัว 15 – 50 วัน การติดต่อ Oral-fecal อาการแสดงคล้ายไข้หวัดใหญ่ อาจมีอาการตาและตัวเหลือง ไม่มีภาวะตับวาย
Hepatitis B virus (HBV ; Serum hepatitis) ระยะฟักตัว 48 – 180 วัน การติดต่อ ส่วนมากทางเลือด อาการแสดง เบื่ออาหาร คลื่นไส้และอาเจียน มีไข้ อ่อนเพลีย ปวดท้องบริเวณใต้ชายโครงขวา ตับโต ปัสสาวะมีสีเข้ม อุจจาระมีซีด ปวดตามข้อและมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง serum AST , ALT , bilirubin สูงขึ้น และมี abdominal liver function test
Hepatitis C virus (HCV ; non-A , non-B hepatitis) ระยะฟักตัว 21 – 180 วัน การติดต่อ ส่วนมากทางเลือด ไม่รุนแรง ไม่มีตาตัวเหลือง รู้ตัวอีกทีตอนมาตรวจและเป็นระยะเรื้อรัง
Hepatitis D virus (HDV ; delta hepatitis)
Hepatitis E virus (HEV ; epidemic non-A , non-B hepatitis or enterically transmitted hepatitis)
การรักษา มีวัตถุประสงค์คือลดการอักเสบ การใช้ยาคือใช้ยาที่ไม่มีผลต่อตับ , การป้องกันโดยใช้วัคซีน
นายสุชาครีย์ วงศ์สุริยะ 613060199-2 sec 03