Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลครอบครัวนายชูชาติ 10 LO - Coggle Diagram
การพยาบาลครอบครัวนายชูชาติ 10 LO
LO 3.หลักการเขียน Genogram
1.วาดข้อมูลครอบครัวอย่างน้อย 3 ชั่วอายุคน
2.ใส่ชื่อของสมาชิกทุกคนในครอบครัว
3.ใส่อายุหรือปีเกิดของสมาชิกทุกคนในครอบครัว
4.ใส่อายุและสาเหตุการเสียชีวิตของสมาชิกทุกคนในครอบครัว (ถ้ามี)
5.ระบุโรคหรือปัญหาความเจ็บป่วยที่สำคัญของสมาชิกในครอบครัว
6.วาดวงล้อมสมาชิกที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันพร้อมชี้ว่าผู้ป่วยอยู่ตำแหน่งใดของแผนภูมิ
อ้างอิง
กฤษณะ สุวรรณภูมิ.(2562).แผนภูมิ.ครอบครัว.สืบค้น 28 ธันวาคม 2563จาก
https://www.slideshare.net/mobile/georgesonthi/genogram-130087454
รุ่งนภา มาละเสาร์.(2563).เครื่องมือ7ชิ้น. สืบค้น 4 มกราคม2564 จาก
https://w1.med.cmu.ac.th/commed/
LO 2.การศึกษาแผนที่
ความสำคัญของแผนที่เดินดิน เพื่อให้เห็นภาพรวบของชุมชนครบถ้วน เข้าใจและเห็นภาพของสังคมในชุมชนนั้นและยังเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
องค์ประกอบของแผนที่ 1.ชื่อแผนที่ 2.ขอบระวาง 3. ทิศทาง 4.สัญลักษณ์ 5.มาตราส่วน 6.เส้นโครงแผนที่ 7.พิกัดภูมิศาสตร์
อ้างอิง
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.(2557).คู่มือการเรียนรู้สำรวจชุมชน.สืบค้น 28 ธันวาคม 2563 จาก
https://datacenter.deqp.go.th/media/879046/5สำรวจช-มชน.pdf
LO 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพครอบครัว
ปัจจัยภายใน : พันธุกรรม โครงสร้างครอบครัวและบทบาทสมาชิก พฤติกรรมสุขภาพ การออกำลังกาย การปฏิบัติตัวเมื่อเจ็บป่วย การศึกษา เศรษฐกิจ ค่านิยม
ปัจจัยภายนอก : สภาพสังคม วัฒนธรรมประเพณี สภาพเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ระบบสุขภาพ ระบบบริการ สวัสดิการต่างๆในสังคม
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.(2558). ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ และวิถึชีวิตเพื่อสุขภาพ.จาก
http://www.elnurse.ssru.ac.th/kanit_ng/pluginfile.php/178/block_html/content/).pdf
การนัดเยี่ยม
หญิงมีครรภ์ -อายุครรภ์ต่ำกว่า 28 สัปดาห์ ระยะเวลาเยี่ยม เดือนละครั้ง -อายุครรภ์ 28 สัปดาห์ ระยะเวลาเยี่ยม 2 สัปดาห์ต่อ 1 ครั้ง
-อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ขึ้นไป ระยะเวลาเยี่ยม 1 สัปดาห์ต่อครั้ง
มารดาหลังคลอดและทารกแรกเกิด ระยะเวลาเยี่ยม 4-6 ครั้งในระยะ 6-8 สัปดาห์หลังคลอด 3.เด็กวัยทารก (อายุ 1 เดือนถึง 1 ปี) ระยะเวลาเยี่ยม เดือนละครั้ง 4.เด็กก่อนวัยเรียน (อายุ 1- 5 ปี) ระยะเวลาเยี่ยม เด็กปกติเยี่ยมปีละครั้ง 5.ประชาชนทั่วไปและคนชรา ระยะเวลาเยี่ยม ปีละ 2 ครั้ง 6.ผู้เจ็บป่วย ระยะเวลาเยี่ยม เมื่อเริ่มมีอาการเจ็บป่วยหรืออาการผิดปกติ
การจัดลำดับรายเยี่ยม
1.ความเร่งด่วน
2.การป้องกันการแพร่กระจายของโรค โดยเยี่ยมครอบครัวที่มีผู้ป่วยโรคติดต่อควรเยี่ยมเป็นอันดับสุดท้าย เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
LO 5. การดูแลครอบครัวสุขภาพดี ครอบครัวที่มีภาวะเสี่ยงและมีปัญหาสุขภาพโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
อ้างอิง ประไพ กิตติบุญถวัลย์.(2563). การดูแลครอบครัวสุขภาพดี ครอบครัวที่มีภาวะเสี่ยงและมีปัญหาสุขภาพ. เอกสารประกอบการสอนวิชาการอนามัยชุมชน1 เรื่อง การพยาบาลครอบครัว สระบุรี : วิทยาลัยพยาบาลบรม ราชชนนี สระบุรี.
LO 6. การประเมินสุขภาพใช้เรื่องมือ Inhomesss
I= Immobility ประเมินว่าผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้มากน้อยเพียงใด
N=Nutrition ประเมินว่าผู้ป่วยมีภาวะโภชนาการอย่างไร อาหารโปรด วิธีการเตรียมอาหาร/เก็บอาหาร
H=Housing ประเมินว่าบ้านมีลักษณะอย่างไร ภายในบ้าน รอบบ้าน เพื่อนบ้าน
O=Other people ประเมินว่าภาระบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในบ้านเป็นอย่างไร ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินจะมีใครเป็นตัวแทนที่จะตัดสินใจแทนผู้ป่วยได้
M=Medication ประเมินว่าผู้ป่วยกินยาอะไรบ้าง กินอย่างไร มีวิธีกรจัดยาและมื้ออย่างไร
E=Examination ตรวจร่างกายและประเมินว่าผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้มากน้อยเพียงใด
S=Safety ประเมนิสภาพความปลอดภัยภายในบ้าน
S=Spiritual health ประเมนิความเชื่อ ค่านิยม ของคนในบ้านจากศาสนวัตถุในบ้าน วารสาร นิตยสารที่อ่านประจำหรือจากการพูดคุยกับผู้ป่วยและญาติโดยตรง
S=Services ให้ญาติที่ใกล้ชิดอยู่ด้วยได้ในขณะที่หมอไปเยี่ยมบ้านเพื่อให้เข้าใจตรงกันในการวางแผนดูแลผู้ป่วย รวมทั้งเข้าใจบริการการดูแลสุขภาพทั้งที่บ้านและโรงพยาบาล
อ้างอิง
Mc whinney IR. The doctor, the patient, and the house: returninig to our roots. Fourth Nicholas J Piscano Lecture. JABFP 1997;10(6):430-435
Oldenquist GW, Scott L,Finucane TE. Home care: What a physician needs to know. Cleveland Clinic Journal of Medicine 2001;63(5)433-440
Meyer GS, Gibbons RV. House calls to the elderly: a vanishing practie among physicians. N Engl J Med 1997;337:1815-1820
The College of family Physicians of Canada. The role of the family physician in home care: a discussion paper-December 2000.
http://www.cfpc.ca/homecaredee00.htm
Health Canada. Provincial and territorial home care programs: a synthesis for Canada. 1999
Montauk SL. Home health care. Am Fam Physician 1998;1608-
Cauthen DB. The house calls in current medical practice. J Fam Pract 1981;13:209-213
LO7 การวินิจฉัยปัญหาครอบครัว ระบุปัญหา พร้อมกับข้อมูลสนับสนุน
LO8 การวางแผนการพยาบาล
SOAPIE
S : ข้อมูลที่ได้รับจากผู้ป่วยโดยไม่แปลงสาร
O : ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือการตรวจทางห้องปฏิบัติการต่างๆ การตรวจร่างกาย
A : การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อระบุปัญหา
P : วัตถุประสงค์
I : การปฏิบัติการพยาบาลต่อผู้รับบริการ
E : การประเมินผล
อ้างอิง
คณาจารยสถาบันพระบรมราชชนก. การพยาบาลผใหญ่และผู้สูง
อายุ.พิมพครั้งที่2 (แก้ไขเพิ่มเติม) นนทบุรี : โดยการสวัสดิการ
วิทยาการสถาบันบรมราชชนก.2541
ดร.อรสา พันธ์ภักดี.2556. “กระบวนการพยาบาล:การให้คำแนะนำในการเลิกบุหรี่”.วารสารพยาบาลปีที่ 62 [วารสารออนไลน์].เข้าถึงได้จากเอกสารหน้าที่ 65
LO 9.การประเมินผลการพึ่งพาตนเองได้ของครอบครัว
การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ พ่อแม่ลูกสอนลูกตั้งแต่เล็กให้เคารพอาชีพสุจริตทุกอาชีพ และทำตนเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูกในด้านการออม การใช้จ่ายที่ไม่เกินตัว การดำเนินชีวิตตามหลักพื้นฐานและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การรู้จักทำบัญชีการใช้จ่ายในครอบครัว
การพึ่งตนเองทางสุขภาพ 1.พึงตระหนักในความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันระหว่างสุขภาพร่างกายและสุขภาพทางอารมณ์ จิตใจ 2.พึงเห็นความสำคัญของการพึ่งตนเองได้ในการระวังรักษาสุขภาพ เพื่อการป้องกัน 3.ตระหนักในคุณค่าของการมีชีวิตที่มีคุณภาพและปลอดภัย เพื่อรักษาความเข้มแข็งของครอบครัวไว้ไม่ให้สูญเสีย
การพึ่งตนเองทางข้อมูลข่าวสาร
1.ต้องมีการคัดกรองข่าวสาร
2.บริโภคข้อมูลข่าวสารรอบๆตัวด้วยสติปัญญา
3.ใช้สติกำกับการใช้ข้อมูลข่าวสาร
การพึ่งตนเองทางการเรียนรู้
1.ตระหนักถึงการเรียนรู้
2.รู้จักแสวงหาความรู้
3.เรียนรู้ผลที่เกิดขึ้นจากสถานการ์ต่างๆ
4.ตระหนักถึงความสำคัญของการรวมพลังความรู้
อ้างอิง ศาสตราจารย์ ดร.จรรจา สุวรรณทัต. (2554). ชุดความรู้เกี่ยว
กับการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวตามมาตรฐาน
ครอบครัวเข้มแข็ง. จาก
http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER5/DRAWER087/GENERAL/DATA0000/00000039.PDF
LO 10.กระบวนการเยี่ยมบ้านและกระเป๋าเยี่ยม
การเยี่ยมบ้านมี 3 ระยะ ก่อนเยี่ยม ขณะเยี่ยม หลังเยี่ยม
ของใช้ในกระเป๋าเยี่ยม
ของใช้ประเภทผ้า
ผ้าเช็ดมือ 1-2 ผืน ผ้ากันเปื้อน หรือเอี๊ยมพลาสติก 1 ตัว ผ้าชั่งน้ำหนักเด็ก
เวชภัณฑ์และของใช้จำเป็นอื่น ๆ
ขวดใส่น้ำยาที่จำเป็น เช่น แอลกอฮอล์ 70 % ยาใส่แผลสด และแอมโมเนีย ลูกสูบยาง สายวัดตัวเด็ก เครื่องชั่งน้ำหนักเด็ก ตลับวาสลิน ชามรูปไต 1 ใบ ขนาดให้พอเหมาะกับกระเป๋า ปรอทสำหรับวัดอุณหภูมิทางปาก และทาง ทวารหนัก อย่างละ 1 อัน กรรไกร ปากคีบ 1 คู่ (มีเขี้ยวและไม่มีเขี้ยว) ใช้สำหรับทาแผล ไม้กดลิ้น ขวดน้ำสบู่สำหรับใช้ล้างมือ สำลี ผ้าก๊อซสะอาด ไม้พันสำลี.
ข้อควรคำนึงในการใช้กระเป๋าเยี่ยม
.เทนิคความสะอาด รวมถึงความสะอาดของเครื่องมือ
ความพร้อม เตรียมของใช้ที่จำเป็นให้พร้อมและเพียงพอ
การเยี่ยมบ้าทุกครั้ง ควรนำกระเป๋าเยี่ยมติดตัวไปด้วยเสมอ
อ้างอิง
ประไพ กิตติบุญถวัลย์.(2563). การดูแลครอบครัวสุขภาพดีครอบครัว
ที่มีภาวะเสี่ยงและมีปัญหาสุขภาพ.เอกสารประกอบการสอนวิชาการอนามัยชุมชน1 เรื่อง การพยาบาลครอบครัว สระบุรี:วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี.
LO 4.การส่งเสริมสุขภาพครอบครัว
1.ระยะครอบครัวเริ่มต้น (Beginning Families) ระยะหลังสมรส สิ้นสุดลงเมื่อภรรยาตั้งครรภ์ พยาบาลแสดงบทบาทผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับพันธกิจครอบครัวในระยะ เริ่มต้นให้คำปรึกษาใน เรื่องการปรับบทบาทในชีวิตสมรสและเรื่องเกี่ยว กับเพศ การวางแผนครอบครัว
2.ครอบครัวระยะเริ่มเลี้ยงดูบุตร(early childbearing families)ตั้งแต่มี บุตรคนแรกจนกระทั่งบุตรอายุได้ 30 เดือน หรือ 2 ขวบครึ่ง พยาบาลให้ความรู้ และให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวในเรื่อง การเป็นพ่อแม่ การดูแลสุขภาพ การดูแลปัญหาสุขภาพเบื้องต้นการปฐมพยาบาล การให้ภูมิคุ้มกันโรคเด็ก การสังเกตประเมินพัฒนาการเด็กและการกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การวางแผนครอบครัว สนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวมี สัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
3.ครอบครัวระยะมีบุตรวัยก่อนเรียน (families with preschool children)ระยะนี้บุตรคนแรกอายุ 2 ปี 6 เดือน ถึง 5 ปี ครอบครัว
พยาบาลเป็นผู้ค้นหาเกี่ยวกับพัฒนาการและการเจริญเติบโตของบุตรวัยก่อนเรียนให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงดูเด็ก ส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กมีการเจริญเติบโตและ พัฒนาการตามวัย การป้องกันโรค
4.ครอบครัวระยะมีบุตรวัยเรียน(Families with school children)ระยะนี้จะเริ่มเมื่อมีบุตรคนแรก อายุ 6 ปีและสิ้นสุดเมื่อบุตรคนแรก อายุ 13 ปี พยาบาลให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กและการป้องกันปัญหาต่าง ๆ
5.ครอบครัวระยะมีบุตรวัยรุ่น (families with teenagers) ระยะที่ครอบครัวมีบุตรคนแรกอายุ 13 ปี จนกระทั่งอายุ 20 ปี พยาบาลแสดงบทบาทผู้ให้ความรู้ พร้อม ทั้งแสดงบทบาทผู้ให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวในประเด็นการช่วยให้ครอบครัวเข้าใจเด็กวัยรุ่น
6.ครอบครัวระยะมีบุตรแยกจากครอบครัว (launching center families)ช่วงบุตรคนแรกจนถึงบุตรคนสุดท้ายแยกจากพ่อแม่ ครอบครัวไป อาจไปทำงาน ไปศึกษาหรือแต่งงาน สร้างครอบครัวใหม่จนกระทั่งเกิด “รังร้าง” (empty nest) พยาบาลแสดงบทบาทการเป็นผู้ค้นหาเกี่ยว กับภาวะซึมเศร้า การพลัดพรากจากบุตร และ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของบุตรที่ พยาบาลประเมินครอบครัวและให้การช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ
7.ครอบครัวระยะวัยกลางคน (families of middle years)ช่วงที่บุตร แยกไปหมดแล้ว “รังร้าง” มีพ่อแม่หรือสามีภรรยาอยู่ด้วยกันเพียงสองคน และเตรียมตัวเกษียณจากหน้าที่การงาน สิ่งสำคัญที่พยาบาลควรปฏิบัติคือการส่งเสริมสุขภาพ ส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพที่ดีของสามีและภรรยา ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการ สื่อสาร มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุตร บุตรเขย-บุตร สะใภ้ หลานและพ่อแม่วัยชรา ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย ป้องกันอุบัติเหตุ
8.ครอบครัวระยะวัยชรา(Aging families)เป็นระยะสุดท้ายของพัฒนาการครอบครัวเป็นช่วงที่สามีภรรยาเข้าสู่วัยชราเริ่ม เกษียณอายุจากภาระหน้าที่การงานและเริ่มสูญเสียคู่สามีภรรยา พยาบาลมีบทบาทเป็นผู้ให้บริการ สนับสนุน ในการช่วยเหลือให้ครอบครัวสามารถเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงการสูญเสียได้อย่างเหมาะสมโดยช่วยสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ ส่งเสริมกระตุ้นให้มีกำลังใจในการดูแลสุขภาพ สร้างเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
อ้างอิง
จินตนา วัชรสินธุ์ เเละคณะ. (2559).ผลของโปรแกรมการปรึกษาเชิงพฤติกรรมต่อการเสริมสร้างสุขภาพ
ครอบครัว. สืบค้น29 ธันวาคม 2563, จากView of ผลของโปรแกรมการปรึกษาเชิงพฤติกรรมต่อการเสริมสร้างสุขภาพครอบครัว (tci-thaijo.org)
ดารุณี จงอุดมการณ์. (2558). การพยาบาลสุขภาพครอบครัว: แนวคิดทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในครอบครัวระยะ
วิกฤต (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพ: บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด
นางสาวภาวินี เวียนสูงเนิน รหัส 62109301073 ชั้นปีที่ 2