Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลครอบครัวนายชูชาติ - Coggle Diagram
การพยาบาลครอบครัวนายชูชาติ
LO 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพครอบครัว
ปัจจัยภายใน : พันธุกรรม โครงสร้างครอบครัวและบทบาทสมาชิก พฤติกรรมสุขภาพ การออกำลังกาย การปฏิบัติตัวเมื่อเจ็บป่วย การศึกษา เศรษฐกิจ ค่านิยม
ปัจจัยภายนอก : สภาพสังคม วัฒนธรรมประเพณี สภาพเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ระบบสุขภาพ ระบบบริการ สวัสดิการต่างๆในสังคม
LO 4.การส่งเสริมสุขภาพครอบครัว
1.ระยะครอบครัวเริ่มต้น (Beginning Families) ระยะหลังสมรส สิ้นสุดลงเมื่อภรรยาตั้งครรภ์ พยาบาลแสดงบทบาทผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับพันธกิจครอบครัวในระยะ เริ่มต้นให้คำปรึกษาใน เรื่องการปรับบทบาทในชีวิตสมรสและเรื่องเกี่ยว กับเพศ การวางแผนครอบครัว
2.ครอบครัวระยะเริ่มเลี้ยงดูบุตร(early childbearing families)ตั้งแต่มี บุตรคนแรกจนกระทั่งบุตรอายุได้ 30 เดือน หรือ 2 ขวบครึ่ง พยาบาลให้ความรู้ และให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวในเรื่อง การเป็นพ่อแม่ การดูแลสุขภาพ การดูแลปัญหาสุขภาพเบื้องต้นการปฐมพยาบาล การให้ภูมิคุ้มกันโรคเด็ก การสังเกตประเมินพัฒนาการเด็กและการกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการเด็ก การวางแผนครอบครัว สนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวมี สัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
3.ครอบครัวระยะมีบุตรวัยก่อนเรียน (families with preschool children)ระยะนี้บุตรคนแรกอายุ 2 ปี 6 เดือน ถึง 5 ปี ครอบครัว
พยาบาลเป็นผู้ค้นหาเกี่ยวกับพัฒนาการและการเจริญเติบโตของบุตรวัยก่อนเรียนให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาเรื่องการเลี้ยงดูเด็ก ส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กมีการเจริญเติบโตและ พัฒนาการตามวัย การป้องกันโรค
4.ครอบครัวระยะมีบุตรวัยเรียน(Families with school children)ระยะนี้จะเริ่มเมื่อมีบุตรคนแรก อายุ 6 ปีและสิ้นสุดเมื่อบุตรคนแรก อายุ 13 ปี พยาบาลให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวในการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กและการป้องกันปัญหาต่าง ๆ
5.ครอบครัวระยะมีบุตรวัยรุ่น (families with teenagers) ระยะที่ครอบครัวมีบุตรคนแรกอายุ 13 ปี จนกระทั่งอายุ 20 ปี พยาบาลแสดงบทบาทผู้ให้ความรู้ พร้อม ทั้งแสดงบทบาทผู้ให้คำปรึกษาแก่ครอบครัวในประเด็นการช่วยให้ครอบครัวเข้าใจเด็กวัยรุ่น
6.ครอบครัวระยะมีบุตรแยกจากครอบครัว (launching center families)ช่วงบุตรคนแรกจนถึงบุตรคนสุดท้ายแยกจากพ่อแม่ ครอบครัวไป อาจไปทำงาน ไปศึกษาหรือแต่งงาน สร้างครอบครัวใหม่จนกระทั่งเกิด “รังร้าง” (empty nest) พยาบาลแสดงบทบาทการเป็นผู้ค้นหาเกี่ยว กับภาวะซึมเศร้า การพลัดพรากจากบุตร และ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของบุตรที่ พยาบาลประเมินครอบครัวและให้การช่วยเหลือ ให้คำแนะนำ
7.ครอบครัวระยะวัยกลางคน (families of middle years)ช่วงที่บุตร แยกไปหมดแล้ว “รังร้าง” มีพ่อแม่หรือสามีภรรยาอยู่ด้วยกันเพียงสองคน และเตรียมตัวเกษียณจากหน้าที่การงาน สิ่งสำคัญที่พยาบาลควรปฏิบัติคือการส่งเสริมสุขภาพ ส่งเสริมการสร้างสัมพันธภาพที่ดีของสามีและภรรยา ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการ สื่อสาร มีสัมพันธภาพที่ดีกับบุตร บุตรเขย-บุตร สะใภ้ หลานและพ่อแม่วัยชรา ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย ป้องกันอุบัติเหตุ
8.ครอบครัวระยะวัยชรา(Aging families)เป็นระยะสุดท้ายของพัฒนาการครอบครัวเป็นช่วงที่สามีภรรยาเข้าสู่วัยชราเริ่ม เกษียณอายุจากภาระหน้าที่การงานและเริ่มสูญเสียคู่สามีภรรยา พยาบาลมีบทบาทเป็นผู้ให้บริการ สนับสนุน ในการช่วยเหลือให้ครอบครัวสามารถเผชิญกับภาวะการเปลี่ยนแปลงการสูญเสียได้อย่างเหมาะสมโดยช่วยสร้างความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ ส่งเสริมกระตุ้นให้มีกำลังใจในการดูแลสุขภาพ สร้างเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง
LO 2.การศึกษาแผนที่
ความสำคัญของแผนที่เดินดิน เพื่อให้เห็นภาพรวบของชุมชนครบถ้วน เข้าใจและเห็นภาพของสังคมในชุมชนนั้นและยังเป็นข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
องค์ประกอบของแผนที่ 1.ชื่อแผนที่ 2.ขอบระวาง 3. ทิศทาง 4.สัญลักษณ์ 5.มาตราส่วน 6.เส้นโครงแผนที่ 7.พิกัดภูมิศาสตร์
LO 3.หลักการเขียน Genogram
1.วาดข้อมูลครอบครัวอย่างน้อย 3 ชั่วอายุคน
2.ใส่ชื่อของสมาชิกทุกคนในครอบครัว
3.ใส่อายุหรือปีเกิดของสมาชิกทุกคนในครอบครัว
4.ใส่อายุและสาเหตุการเสียชีวิตของสมาชิกทุกคนในครอบครัว (ถ้ามี)
5.ระบุโรคหรือปัญหาความเจ็บป่วยที่สำคัญของสมาชิกในครอบครัว
6.วาดวงล้อมสมาชิกที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกันพร้อมชี้ว่าผู้ป่วยอยู่ตำแหน่งใดของแผนภูมิ