Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 2 ผู้นำกับการบริหาร - Coggle Diagram
หน่วยที่ 2 ผู้นำกับการบริหาร
2.1 ภาวะผู้นำทางการพยาบาล
2.1.1 ความหมายของภาวะผู้นำ
การกระทําที่มีอิทธิพลจูงใจให้ผู้อื่นร่วมมือปฏิบัติงานเพื่อให้งานสําเร็จตามเป้าหมาย หรือภาวะผู้นําเป็นความสามารถของบุคคลที่จะใช้อิทธิพลต่อบุคคลอื่น เพื่อให้บุคคลอื่นยอมรับฟังเห็นคล้อยตาม และยอมปฏิบัติตนตามคําแนะนําชี้แจง
2.1.2 กระบวนการภาวะผู้นําทางการพยาบาล
บทบาทของผู้นําทางการพยาบาล
มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคต่าง ๆ ในการปฏิบัติการพยาบาลจนเป็นที่ประจักษ์แก่ผู้อื่น
การร่วมมือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบ
การเปลี่ยนแปลงบทบาทตามสถานการณ์
ผู้นําควรส่งเสริมการทํางานของสมาชิก
ควบคุมการกระทบกระทั่งระหว่างสมาชิก
ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
รู้จักการใช้อํานาจบังคับและออกคําสั่งในกรณีจําเป็น
2.1.3 ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างผู้นําและผู้บริหาร
-ผู้บริหารเป็นตําแหน่งที่กําหนดขึ้นในองค์การ มีอํานาจโดยตําแหน่งและได้รับความคาดหวังในหน้าที่เฉพาะเจาะจง จะมุ่งเน้นที่การควบคุม การตัดสินใจ และผู้บริหารจะต้องมีลักษณะของผู้นํา
-ผู้นําจะเน้นที่กระบวนการกลุ่ม การรวบรวมข้อมูลข่าวสาร การให้ข้อมูลย้อนกลับ และการใช้อํานาจกับบุคคลอื่น ดังนั้นภาวะผู้นําจึงเป็นปัจจัยสําคัญต่อการบริหารหรือต่อตัวผู้บริหาร เพราะภาวะผู้นําจะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นความสําเร็จของหน่วยงาน
2.1.4 ความแตกต่างระหว่างภาวะผู้นํากับการบริหาร
ผู้นํา (Leader) และภาวะผู้นํา (Leadership) จึงเป็นคําที่มีความสัมพันธ์กัน เมื่อมีผู้นําก็ต้องมีภาวะผู้นําของคนนั้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติของความเป็นผู้นําที่อยู่ในตนเองที่ทําให้ผู้อื่นรู้สึกสัมผัส การนําเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ผู้นําจึงต้องเป็นผู้ที่มีทั้งศาสตร์และศิลป์อยู่ในตนเอง
2.1.5 ความมีประสิทธิภาพของภาวะผู้นํา
ประสิทธิภาพผู้นําแบ่งเป็น 3 ลักษณะคือ 1. ผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม (Outcome) 2. ทัศนคติของผู้ตาม (Attitude of Followers) 3. คุณภาพของกระบวนการกลุ่ม (Quality of Group Process)
2.1.6 องค์ประกอบของ
ภาวะผู้นําทางการพยาบาล
มีคุณธรรม จริยธรรม
การตระหนักในตนเอง
พิทักษ์สิทธิ์ ผู้นําต้องช่วยเหลือผู้อื่นให้เจริญก้าวหน้า
กล้าหาญชาญชัย
2.1.7 การศึกษางานวิจัยด้านภาวะผู้นํา
ภาวะ
ผู้นํา (Leadership) คือกระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือมากกว่า พยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตน กระตุ้น ชี้นํา ผลักดัน ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่ม บุคคลอื่น มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทําสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ โดยมีความสําเร็จของกลุ่ม หรือองค์การเป็นเป้าหมาย
2.2 ทฤษฎีภาวะผู้นํา
2.2.1 ทฤษฎีคุณลักษณะภาวะผู้นํา
(Trait Theories)
1. The tasks of Leadership :
กล่าวถึงงานที่ผู้นําจําเป็นต้องมี 9 อย่าง ได้แก่ มีการกําหนด เป้าหมายของกลุ่ม มีบรรทัดฐานและค่านิยมของกลุ่ม รู้จักสร้างและใช้แรงจูงใจ มีการบริหารจัดการ มีความสามารถในการปฏิบัติการ สามารถอธิบายได้ เป็นตัวแทนของกลุ่ม แสดงถึงสัญลักษณ์ของกลุ่ม และมีความคิดริเริ่มสร้างสรร
2. Leader – constituent interaction
เชื่อว่าผู้นําต้องมีพลังวิเศษเหนือบุคคลอื่นหรือมีอิทธิพล เหนือบุคคลอื่นๆเพื่อที่สนองตอบความต้องการขั้นพื้นฐาน ความคาดหวังของบุคคล และผู้นําต้องมีความเป็น ตัวของตัวเอง สามารถพัฒนาตนเองและพัฒนาให้ผู้ตามมีความแข็งแกร่ง และสามารถยืนอยู่ด้วนตนเองอย่างอิสระ
2.2.2 ทฤษฎีพฤติกรรมผู้นํา(Behavioral Theories)
เป็นการพัฒนาในช่วงปี ค.ศ.1940 – 1960 แนวคิดหลักของทฤษฎี คือ ให้มองในสิ่งที่ผู้นําปฏิบัติและชี้ให้เห็นว่าทั้งผู้นําและผู้ตามต่างมีอิทธิพลซึ่งกันและกัน
2.2.3 ทฤษฎีตามสถานการณ์
(Situational or Contingency Leadership Theories)
ภาวะผู้นําเป็นกระบวนการที่มีความสลับซับซ้อนที่เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ทางสังคม โดย มีผลกระทบมาจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ซึ่งรวมเรียกว่า สถานการณ์ (Situation) ที่ประกอบด้วย ลักษณะของผู้ใต้บังคับบัญชา ลักษณะของงานที่ต้องปฏิบัติ และธรรมชาติขององค์การ
2.2.4 รูปแบบการมีส่วนร่วม (Participation)
ผู้นําแบบเน้นการทํางานแบบมีส่วนร่วม (Participation) ผู้นําประเภทนี้จะคอยอํานวยความสะดวกต่าง ๆ ในการตัดสินใจ มีการซักถาม มีการติดต่อสื่อสาร 2 ทางหรือรับฟังเรื่องราว ปัญหาต่าง ๆ จากผู้ตามคอยให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม
2.2.5 ทฤษฎีภาวะผู้นําเชิงบารมี(Charismatic Leadership)
ลักษณะภาวะผู้นําเชิงบารมีเป็นภาวะผู้นําที่อธิบายถึงผู้ที่มีบทบาท มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงในเชิงทัศนคติและความรู้สึกของสมาชิกในองค์กร โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีความไม่ลงตัว มองประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง กล้าเสี่ยง กล้าลอง กล้าท้าทายแม้จะตกอยู่ในสถานการณ์ที่กดดัน
2.2.6 ทฤษฎีภาวะผู้นําเชิงปฏิรูป(Transformational Leadership Theories)
ผู้บริหารควรมีลักษณะความเป็นผู้นําเชิงเป้าหมาย (Transactional Leadership) โดยอธิบายว่า เป็นวิธีการที่ผู้บริหารจูงใจผู้ตามให้ปฏิบัติตามที่คาดหวังไว้ ด้วยการระบุข้อกําหนดงานอย่างชัดเจนและให้รางวัล เพื่อการแลกเปลี่ยนกับความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายของผู้ตาม
2.3 การทํางานเป็นทีมและทีมการพยาบาล
2.3.1 ความหมายและคุณลักษณะของการทํางานเป็นทีม
การประสานงานที่ดี สามารถผสมกลมกลืนกันอย่างมีประสิทธิภาพ
ในการทํางาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการทํางานร่วมกัน
2.3.2 องค์ประกอบที่ส่งเสริมการทํางานเป็นทีม
ผู้นํา ผู้บริหารหรือหัวหน้า
การสื่อสาร
โอกาส
การกําหนดบทบาทหน้าที่
การมีส่วนร่วม
การประชุมปรึกษาหารือ
2.3.3 การทํางานเป็นทีมในองค์กรพยาบาล
การสร้างทีมงาน
การกําหนดภารกิจหรืองานที่จะทํา
สร้างความเข้าใจกับสมาชิก
ระดมความคิด
คัดเลือกความคิด
กําหนดแผนปฏิบัติงาน
การปฏิบัติตามแผน
การประเมินผล
2.3.4 การพยาบาลเป็นทีม
การพยาบาลเป็นทีม หมายถึง การพยาบาลที่เกิดขึ้นโดยกลุ่มเจ้าหน้าที่พยาบาลระดับต่าง ๆ (ทีมพยาบาล) มาปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้การพยาบาลเป็นรายบุคคล หรือเป็นกลุ่มไม่ว่าจะเป็นในโรงพยาบาลหรือในชุมชน
ลักษณะเฉพาะของทีมการพยาบาล
หัวหน้าทีมจะต้องเป็นพยาบาลระดับวิชาชีพ
รูปแบบการบริหารภายในทีม
ทีมจะต้องรับผิดชอบในการให้การดูแลผู้ป่วยที่ได้รับมอบหมายอย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบ
มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างสมาชิกทีมการพยาบาล
2.4 อํานาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ
และภาระรับผิดชอบ
2.4.1 แนวคิดเกี่ยวกับอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบ และภาระรับผิดชอบ
-อํานาจหน้าที่ (Authority) หมายถึง สิทธิอันชอบธรรมที่ได้รับมอบหมายมาให้สั่งบุคคลอื่นปฏิบัติตามที่ตนต้องการได้
-ความรับผิดชอบ (Responsibility) เป็นภาระผูกพันของบุคคลในการปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยบุคคลจะต้องรับผิดชอบในการทํางานเพื่อให้งานสําเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
2.4.2 อํานาจบารมีหรือพลังอํานาจ
สรุปได้ว่าอํานาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ และภาระรับผิดชอบต่อผลงานมีความสําคัญในวิชาชีพ
พยาบาล ซึ่งจะช่วยให้งานขององค์กรมีคุณภาพ บรรลุตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
2.4.3 ความรับผิดชอบ และภาระรับผิดชอบ
ต่อผลงานที่ตรวจสอบได้
ลักษณะสําคัญของความรับผิดชอบ
ความรับผิดชอบสามารถแบ่งหรือมอบต่อได้ หรืออาจไม่มอบให้ใครเลยก็ได้
ความรับผิดชอบอาจมอบให้กันทั้งหมด หรือมอบเฉพาะบางส่วนก็ได้
ความรับผิดชอบในขั้นสุดท้าย ผู้รับมอบจะแบ่งให้ผู้อื่นมิได้
ความรับผิดชอบกับอํานาจหน้าที่ควรมีคู่กันอย่างได้สัดส่วน
วิธีปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายควรเป็นหน้าที่ของผู้รับมอบตัดสินใจเลือกวิธีปฏิบัติเอง
ความรับผิดชอบจะควบคู่กันไปกับอํานาจหน้าที่เสมอ
คนที่มีความรับผิดชอบจะตระหนักอยู่เสมอว่าตนได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชาจึงต้องพยายามปฏิบัติงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
2.4.4 ความสําคัญของอํานาจหน้าที่ความรับผิดชอบ และภาระรับผิดชอบต่อผลงานในวิชาชีพการพยาบาล
การใช้อํานาจบารมีในการเพิ่มอิทธิพลของวิชาชีพ(Using Power to Increase Your ProfessionalInfluence ) เป็นสิ่งที่พยาบาลควรถือว่าเป็นความรับผิดชอบของพยาบาล ที่จะช่วยกันสร้างความแข็งแกร่งให้เกิดขึ้นในวิชาชีพการพยาบาล
2.5 กระบวน การตัดสินใจ วินิจฉัยสั่งการ
และการแก้ปัญหา
2.5.1 ความหมายของการตัดสินใจ
หมายถึง กระบวนการเลือกทางเลือกใดทางเลือกหนึ่งจากหลาย ๆ ทางเลือกที่ได้พิจารณา หรือ
ประเมินอย่างดีว่า เป็นทางให้บรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ
2.5.2 ทฤษฎีการตัดสินใจ
ทฤษฎีการตัดสินใจภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ
ทฤษฎีการตัดสินใจแบบใช้หลักสมเหตุสมผล (Rational Theory)
ทฤษฎีการใช้ส่วนเพิ่ม(Incremental Theory)
ทฤษฎีแบบผสมผสานกลั่นกรอง (Miroed Scaning Theory)
2.5.3 ผู้บริหารกับการตัดสินใจ
โดยเราสามารถจําแนกการตัดสินใจในการทํางานของผู้บริหารออกเป็น 4 ลักษณะต่อไปนี้
การตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ (Strategic Decision)
การตัดสินใจทางยุทธวิธี (Tactical Decision)
การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า (Fire-fighting)
การควบคุม (Control)
2.5.4 กระบวนการตัดสินใจวินิจฉัย สั่งการ
หลักการในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ หลักการสั่งงานมีดังนี้
ต้องรู้แจ้งในข้อเท็จจริง
ต้องสั่งงานให้ตรงประเด็น
2.5.5 หลักสําคัญในการตัดสินใจ
2.5.6 เทคนิคการตัดสินใจ
เช่น ใช้สัญชาติญาณ (Intuition), ยึดข้อเท็จจริง (Facts), ยึดถือประสบการณ์(Experience) เป็นต้น
2.5.7 องค์ประกอบการตัดสินใจ
องค์ประกอบต่าง ๆ ที่นํามาใช้ในการตัดสินใจหรือวินิจฉัยสั่งการ
ผู้ทําหน้าที่ตัดสินใจ
เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการตัดสินใจ
ทางเลือก
ข้อมูลข่าวสาร
การเสี่ยง
คุณค่า
จํานวนบุคคลที่เกี่ยวข้อง
ทางเลือกที่จะไปสู่เป้าหมาย
สภาพแวดล้อม
2.5.8 การตัดสินใจ
ในการปฏิบัติงานในองค์การพยาบาล พยาบาลและผู้นําทางการพยาบาลจะต้องมีการตัดสินใจอยู่
ตลอดเวลา เพื่อริเริ่มการเปลี่ยนแปลง หรือเพื่อแก้ปัญหา