Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
หน่วยที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีการบริหาร, นางสาวจีราพรรณ์ บุรีแก้ว …
หน่วยที่ 1 แนวคิดและทฤษฎีการบริหาร
แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารงานพยาบาล
แนวคิดเกี่ยวกับผลผลิตทางการพยาบาล
ผลผลิต (Out put)หมายถึง สิ่งของหรือบริการที่จัดทำขึ้นหรือผลิตขึ้น เพื่อให้บุคคลภายนอกได้ใช้ประโยชน์ มีลักษณะเป็นรูปธรรม รับรู้ได้ นับเป็นจำนวนหน่วย/ชม./วัน/ปี เช่น ราย ครั้ง ชั่วโมง/นาที หรือ วันนอน
ผลลัพธ์ (Out come) หมายถึง ผลประโยชน์ที่ได้จากผลผลิตและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้สินค้าหรือบริการ จุดมุ่งหมายของการบริหารที่เน้นผลผลิต ก็เพื่อให้ผลผลิตที่กำหนดไว้ล่วงหน้าบังเกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ ตรงตามความต้องการของลูกค้า หรือผู้รับบริการ มีประสิทธิภาพ และได้ประสิทธิผล คือบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่หน่วยงานวางไว้ เช่น จำนวนผู้ที่หายป่วย % VAP % Pressure ulcer
การวัดผลผลิตทางการพยาบาล 3 วิธี
Operation target output : วัดผลการปฏิบัติงานตามเป้าหมายโดยวัดจำนวนผลผลิตที่นับได้ เช่น จำนวนผู้ป่วย วันนอน จำนวนหัตถการ ฯลฯ
Performance indicators : วัดผลการดำเนินงานโดย KPI
Nursing outcomes: วัดคุณค่าที่เกิดขึ้นกับผู้รับผลงานเมื่อใช้บริการพยาบาลแล้วเป็นอย่างไร
องค์ประกอบของการบริหารงานพยาบาล
กระบวนการบริหาร (Administrative Processes)
การวางแผน (Planning) -->การจัดองค์กร (Organizing) -->การจัดบุคลากร (Staffing) --> การอำนวยการ (Directing) --> การประสานงาน (Co-ordination) --> การรายงาน (Reporting) --> การงบประมาณ (Budgeting)
วัตถุประสงค์ของการบริหารงาน (Objective)
มีประสิทธิผล (Effectiveness) คือทำงานสำเร็จ มีมีผลงานออกมาชัดเจน
มีประสิทธิภาพ (Efficiency) คืองานดี มีคุณภาพ และมีคุณค่า
ประหยัด (Economic) ทั้งเวลา แรงงาน กำลังงาน และกำลังใจ สิ่งของ
ทรัพยากรการบริหาร หรือปัจจัยการบริหาร (Administrative resources)
เงิน หรือ งบประมาณ (Money)2. เงิน หรือ งบประมาณ (Money)
วัสดุอุปกรณ์ (Materials)
คน หรือ บุคลากร (Man)
รูปแบบของการบริหาร
การบริหารโดยมุ่งตัวบุคคล (Personal center) --> ปรับงานให้เข้ากับคน
การบริหารที่มุ่งคนและงาน (Modern development) --> ความสัมพันธ์ทั้งคน องค์กรและระบบสังคม
การบริหารมุ่งผลงาน (Task center) --> ปรับคนให้เข้ากับงาน
การบริหารที่มุ่งถึงประสิทธิภาพตามสถานการณ์
Meaning
บุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปร่วมมือกันทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยใช้วิธีการที่เหมาะสมอย่างมีศิลปะในการนำเอาทรัพยากรการบริหารอันได้แก่ คน เงิน วัตถุ และการจัดการ มาประกอบการตามกระบวนการบริหาร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
ทฤษฎีการบริหาร
การบริหารสมัยใหม่หรือสมัยปัจจุบัน (Modern Theory)
ผู้บริหารทุกคนต้องคำนึงถึง และบริหารให้องค์การปรับตัวตามทันสถานการณ์ใหม่ๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้การบริหารแนวใหม่ ดังนี้
การวางแผนองค์การ (corporate planning)
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การ (corporate culture)
การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (T.Q.M.=total quality management)
การรื้อปรับระบบ (reengineering)
ยุคนีโอคลาสสิค (NEO–Classical Theory)หรือทฤษฎีการบริหารแบบใหม่กว่าเดิม
ทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation Theory) แนวคิดทฤษฎีนี้เชื่อว่า การบริหารองค์กรนอกจากจะยึดมั่นในผลสำเร็จของงานแล้วยังต้องคิดถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่จะทำให้งานสำเร็จได้นั่นคือตัวบุคคล
ทฤษฎีกลุ่ม (Work Group Theory) แนวคิดทฤษฎีนี้เชื่อว่ามนุษย์จะทำงานคนเดียวไม่ได้ การทำงานเป็นกลุ่มหรือเป็นทีมย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่าการงานคนเดียว
ทฤษฎีการตัดสินใจ(Decision Making Theory) แนวคิดทฤษฎีนี้เชื่อถือเรื่องการตัดสินใจเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการบริหารงาน การตัดสินใจอยู่ที่การใช้ความคิดเมื่อข้อมูลเพียงพอ การเลือกทางเลือกจะต้องใช้สมอง และคิดอย่างมีเหตุผล
ยุคคลาสสิค(Classical or Traditional Theory)หรือทฤษฎีการบริหารแบบดั้งเดิม
ทฤษฎีการจัดการเชิงบริหาร (administrative management)
ใช้วิธีบริหารตัวองค์การให้มีประสิทธิภาพ โดยมีหลักการให้ผู้บริหารเป็นผู้ประสานกระบวนการต่าง ๆ ภายในองค์การเข้าด้วยกัน ซึ่งกระบวนการบริหารจะแตกต่างกันไปตามแนวคิดทางการบริหารของแต่ละคน
ทฤษฎีระบบราชการ (bureaucracy) มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัด ซึ่งบางครั้งก่อให้เกิดการสร้างอาณาจักร (empire building) เน้นในกฎระเบียบแบบแผน ยึดมาตรฐานมีรูปแบบที่แน่นอน ทำให้บุคลากรพยาบาลไม่ค่อยกล้าที่จะริเริ่มสร้างสรรค์ใด ๆ แต่จะมีพฤติกรรมการทำงาน เพื่อความปลอดภัยไว้ก่อน
ทฤษฎีการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management) ใช้วิธีตั้งปัญหาและหาแนวทางเพื่อไปสู่จุดหมายที่ต้องการ มีการทดลองด้านเหตุผลอย่างมีขั้นตอน เน้นการบริหารที่ตัวงาน
นางสาวจีราพรรณ์ บุรีแก้ว
รหัสนักศึกษา 60440101002